ทสธัมมสุตตปาโฐ
ใช้เป็นบทสวดเพื่อพิจารณาธรรม ๑๐ ประการ เพื่อไม่ให้ประมาทในชีวิต
(นำ) (หันทะ มะยัง ทะสะธัมมะสุตตะคาลาโย ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลายจงกล่าวคาถาพิจารณาธรรม ๑๐ ประการเถิด.)
(รับ) ทะสะ อิเม ภิกขะเว ธัมมา ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
ธรรมของผู้บวชในพระศาสนา ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ๑๐ อย่างนี้คือ :-
เววัณณิยัมปิ อัชฌูปะคะโตติ,
บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว, อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ ;
ปะระปะฏิพัทธา เม ชีวิกาติ,
การเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ;
อัญโญ เม อากัปโป กะระณีโยติ,
อาการกายวาจาอย่างอื่น ที่เราจักต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอีก มิใช่เพียงเท่านี้ ;
กัจจิ นุ โข เม อัตตา, สีสะโต นะ อุปะวะทะตีติ,
ตัวเราเอง ติเตียนตัวเราเอง โดยศีลได้หรือไม่ ;
กัจจิ นุ โข มัง อะนุวิจจะ วิญณู สะพ๎รัห๎มะจารี, สีสะโตนะ อุปะวะทันตีดิ,
ท่านผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว, ติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่ ;
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโวติ,
เราจักเป็นต่าง ๆ คือว่า เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้นไป ;
กัมมัสสะโกมหิ, เรามีกรรมเป็นของของตน ;
กัมมะทายาโท, เราเป็นผู้รับผลของกรรม ;
กัมมะโยนิ, เรามีกรรมเป็นกำเนิด ;
กัมมะพันธุ, เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ ;
กัมมะปะฏิสะระโณ, เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ;
ยัง กัมมัง กะริสสามิ, เราจักทำกรรมอันใดไว้ ;
กัล๎ยาณัง วา, ปาปะกัง วา, ดีหรือชั่วก็ตาม ;
ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามีติ, เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๆ ;
กะถัมภูตัสสะ เม รัตตินทิวา วีติปะตันติ, วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราท่าอะไรอยู่ ;
กัจจิ นุ โขหัง สุญญาคาเร อะภิระมามีติ, เรายินดีในที่สงัดหรือไม่ ;
อัตถิ นุ โข เม อุตตะริมะนุสสะธัมมา, อะละมะริยะญาณะทัสสะนะริเสโส อะธิคะโต โสหัง ปัจฉิเม กาเล สะพ๎รัห๎มะจารีหิ ปุฏโฐ
นะ มังกุ ภะวิสสามีติ,
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันยิ่งกว่าธรรมทางมนุษย์ที่เราบรรลุแล้ว ซึ่งจะทำให้เราเป็นไม่เก้อเขินในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลังมีอยู่หรือไม่ ;
อิเม โข ภิกขะเว ทะสะธัมมา, ธรรมสิบประการนี้ ;
อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพาติ. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ อย่าได้ประมาท ดังนี้แล.