ภัทเทกรัตตคาถา
บทนี้ว่าด้วยการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า บริหารเวลาให้เกิดประโยชน์ นิยมสวดในงานศพ
(นำ) (หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย มาสวดภัทเทกรัตตคาถากันเถิด.)
(รับ) อะตีตัง นาน๎วาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง,
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ด้วยอาลัย, และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ;
ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง,
สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว ; สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา ;
ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ, อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย.
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้น ๆ อย่างแจ่มแจ้ง, ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้.
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว,
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้, ใครจะรู้ความตาย แม้พรุ่งนี้ ;
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา,
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามาก ย่อมไม่มีสำหรับเรา ;
เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง, ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนิ.
มุนีผู้สงบ ย่อมกล่าวเรียก ผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น, ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน ว่า, " ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม ".