พระวินัย

วันที่ 20 ตค. พ.ศ.2564

พระวินัยบัญญัติ

พระวินัยบัญญัติ


อปฺปเกนปิ เมธาวี
ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ
อณุํ อคฺคึว สนฺธมํ ฯ

ผู้มีปัญญา มีความพินิจรอบคอบ
ย่อมตั้งตัวได้ด้วยต้นทุนแม้เพียงเล็กน้อย
เหมือนก่อไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่.

ที่มา : จุลลกเสฏฐิชาดก ขุ.ชา. ๒๗/๔

 

พระวินัย

         พระพุทธศาสนา เป็นที่ศรัทธาเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือเป็นศูนย์กลางจิตใจของคนไทยมาแต่สมัยกรุงสุโขทัยคนไทยยอมรับพระพุทธศาสนาว่าเป็นแนวทางสำหรับดำเนินชีวิตที่เป็นหลักใหญ่ วัฒนธรรมไทยขนบธรรมเนียมไทย ตลอดถึงการประพฤติปฏิบัติอันเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ล้วนเกี่ยวข้องหรือมีรากฐานมาจากคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นเส้นเลือดและเป็นชีวิตของคนไทย และกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนายั่งยืนสืบสานต่อเนื่องมายาวนานได้ถึงปัจจุบันก็เพราะคนไทยไม่ห่างจากพระพุทธศาสนา
         พระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีคุณค่าแก่สังคมไทยในรูปแบบต่างๆ อย่างที่เห็นได้ชัดเจนเช่น

         ๑. คุณค่าทางศิลปะ ได้แก่รูปแบบของศิลปะและวัตถุประเภทต่างๆ รสนิยมของศิลปะการก่อสร้าง ที่มีคุณค่ามีความสำคัญโดดเด่น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
         ๒. คุณค่าทางวัฒนธรรม ได้แก่หลักการดำเนินชีวิตอันเกี่ยวด้วยศีลธรรม เลือกปฏิบัติในสิ่งที่ถูกที่ควร ภาษาที่ใช้ ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ตลอดถึงแนวกฎหมาย ส่วนใหญ่ได้รูปแบบมาจากพระพุทธศาสนา
         ๓. คุณค่าทางความคิด ได้แก่ วิสัยทัศน์สติปัญญา การมองเห็น คุณค่าของความเสียสละ ความไม่เห็นแก่ตัว การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น การปล่อยวาง เป็นต้น
         ๔. คุณค่าทางจิตใจ ได้แก่ อุปนิสัย นิสัย และอัธยาศัย ที่ประกอบด้วยคุณธรรม ทำให้ให้อภัย มีจิตเมตตา มีความเกื้อกูล ใจกว้าง เป็นต้น
         ๕. คุณค่าทางสังคม ได้แก่ ทำให้มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สันโดษ พอเพียง ชอบสงบ
         ๖. คุณค่าทางความมั่นคง ได้แก่ ทำให้มีความสามัคคีมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ให้อภัยกันได้ยอมกันได้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.050784265995026 Mins