อย่าประมาท...ต้องรีบสร้างความดี

วันที่ 11 ธค. พ.ศ.2564

641212-B.jpg

อย่าประมาท...ต้องรีบสร้างความดี

       คืนนี้เป็นคืนที่ ๒๖ ของการบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม ถวายแด่คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย อาตมาก็ขอบรรยายธรรมถึงคุณธรรมของคุณยายบางประการ เพื่อเป็นกุศโลบายในการสร้างความดีสำหรับท่านผู้ฟังทุกๆ ท่านสืบต่อไป

          ตลอดชีวิตของคุณยายที่ได้เป็นแบบอย่างในการสร้างความดีนั้น ท่านมีชีวิตที่สันโดษ เรียบง่าย ยินดีในปัจจัยที่พึงมีพึงได้ รักความสะอาด รักธรรมะ รักในการสั่งสมบุญ แล้วก็รักที่จะสอนบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา ท่านเป็นบุคคลที่ใครๆ ก็ อยากเข้าใกล้ เพราะเข้าใกล้แล้วมีความสุข ใจสงบอย่างประหลาดทีเดียว แค่คิดถึงท่าน ใจเราก็เริ่มรวม สบาย อบอุ่น และมีกำลังใจอย่างน่าอัศจรรย์ มีกำ ลังใจที่จะสร้าง ความดีให้ได้เหมือนยาย แล้วก็มีกำลังใจว่า คุณยายอยู่ใกล้ๆ เรา

         641212_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-1.jpg

          อาตมาแม้ได้มาร่วมสร้างบารมีกับคุณยายในช่วงที่ท่านอายุประมาณ ๖๔ ปี แล้ว แต่ก็มีความคิดว่า เราเองยังมาช้ากว่ารุ่นพี่ๆ อีกหลายคน การสร้างบุญในขณะที่เรายังเรียนอยู่ ช่วงศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ก็พยายามที่จะมาวัดตลอด อยากจะรีบเรียนให้จบเร็วๆ จะได้มีโอกาสอยู่สร้างวัดได้มาอยู่ใกล้ๆ คุณยายเพราะท่านบอกว่า ให้ไปเรียนให้จบปริญญาตรีเสียก่อนจึงค่อยมาอยู่วัด จะได้เป็นแบบอย่าง แล้วใครๆ ก็จะติเราไม่ได้

         641212_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-2.jpg

          อาตมาจึงพยายามศึกษาเล่าเรียนไปด้วย มาสร้างบารมีกับคุณยายและหลวงพ่อไปด้วย โดยไม่ให้ขาดเลย เพราะกลัวว่า เดี๋ยวบุญจะไม่ทันรุ่นพี่ๆ รุ่นพี่ๆ เขาคุยกันในเรื่องการสร้างบุญอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็มีความรูสึกว่าจะตามไม่ทัน ทำให้เรารีบขวนขวายในการสร้างบุญให้ยิ่งๆขึ้นไป คิดว่า ถ้าเราได้อยู่ใกล้ๆ คุณยาย อยู่ใกล้ๆ หลางพ่อซึ่งเป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม ก็จะมีโอกาสสร้างบุญได้ยิ่งๆ ขึ้นไป หมู่ญาติของเราเองก็จะได้บุญไปด้วย

641212_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-3.jpg

          ในการมาวัด ครั้งนั้นอาตมายังศึกษาอยู่ก็พยายามที่จะติดกลุ่มมากับรุ่นพี่ๆ ชมรมพุทธศาสตร์ฯ แล้วบางทีก็มาเองบ้าง แต่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๗ นั้น สาธุชนที่มาวัดยังไม่มาก วันอาทิตย์ธรรมดามีสาธุชนมาปฏิบัติธรรมประมาณสัก ๓๐๐ คนเศษ อาทิตย์ต้นเดือน ประมาณ ๕๐๐ คน เศษ ไม่มากมายเหมือนปัจจุบัน เรามาวัดวันศุกร์เย็นก็มาเตรียมพื้นที่ สำหรับการเทศน์สอนของหลวงพ่อทัตตชีโว พยายามเร่งเตรียมให้เสร็จภายในครึ่งวันเสาร์เช้า เพื่อว่าในครึ่งวันบ่าย จะได้มีโอกาสไปร่วมสร้างบุญปลูกต้นไม้กับคุณยาย

641212_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-4.jpg

          ความที่มีเจ้าหน้าที่ช่วยงานกันน้อย ดังนั้นในช่วงต้นงานทุกอย่างเราจะช่วยกันทำทั้งหมด ไม่มีการแบ่งแผนกช่วยกันทุกอย่างตั้งแต่งานเตรียมพี้นที่ งานก่อสร้างบ้างนิดหน่อย งานครัว งานปักร่มกลด ตลอดจนงานกางเต็นท์และกางร่มชูชีพ (ร่มขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เมตร) โดยเอาไม้ไผ่ยาวๆ ยันตรงกลาง แล้วแผ่ชายผ้าร่มออกโดยรอบ เอาเชือกยึดโยงกับสมอบก ภารกิจทุกอย่างถือว่าทุกคนมีหน้าที่ร่วมกัน และไปจบที่ต้องช่วยกันล้างห้องนํ้าเตรียมไว้

          พอถึงบ่าย คุณยายพักจากการนั่งปฏิบัติธรรมก็จะออกมาเตรียมการสำหรับการปลูกต้นไม้ ท่านมีงอบใบหนึ่งสวมที่ศรีษะกันแดด มือซ้ายถือกระป๋องพลาสติก ซึ่งบรรจุไปด้วยมีดอีโต้เล็กๆ ไว้สำหรับสับแต่งกิ่งไม้หรือดายหญ้า แล้วก็มีเชือกพลาสติกหลากสีซึ่งได้มาจากการมัดของที่ซื้อมาจากตลาด ท่านเก็บไว้สำหรับมัดต้นไม้ที่ปลูกใหม่ติดกับหลักไม้ไผ่เล็กๆ ส่วนมือขวาท่านจะหิ้วจอบเล็กๆ อันหนึ่ง หรือไม่ก็ชะแลงเหล็กอันย่อมๆ เพื่อไปปลูกต้นไม้

641212_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-5.jpg

          พวกเราจะเตรียมพันธุ์กล้าไม้หรือปุ๋ยอินทรีย์ที่จะใช้ในการปลูก ซึ่งมีทั้งพันธุ์ไม้ป่าต่างๆ แต่ที่จะขาดเสียไม่ได้คือ หน่อกล้วยนํ้าว้า กับต้นกล้ามะละกอ โดยใส่รถเข็น แล้วเข็นตามคุณยายไป พอถึงพื้นที่ที่ปลูก คุณยายก็สั่งการว่า ปลูกบริเวณนั้นบริเวณนี้ มีระยะห่าง ปลูกให้เข้าแถวเข้าแนว ระยะห่างที่เราใช้ประมาณ ๔ เมตรคูณ ๔ เมตร หรือไม่ก็กะได้ว่า ๔ ก้าวใหญ่ๆ

          คุณยายจะสั่งงานว่า เอ้า คนโน้นขุดดิน คนนี้ไปขนกล้าไม้มา ไปขนปุยมา หรือคนโน้นไปช่วยกันเตรียมถากหญ้า หรือขนพวกใบไม้ผุๆมารองก้นหลุม คุณยายก็จะสอนไป ให้กำลังใจไป แล้วอธิบายว่า การปลูกนั้นทำอย่างไร พอพวกเราเข้าใจแล้วก็เริ่มลงมือทำ แต่ในขณะทำนั้นคุณยายก็จะสังเกตการทำงานของทุกๆ คนท่านทำไปด้วย สังเกตไปด้วย ใครที่ทำแล้วไม่ค่อยได้ตรงเป้าหมาย ท่านก็จะเข้าไปสอนใหม่ว่า ขุดหลุมขนาดนั้น ลึกเท่านั้น ลึกเท่านี้ กว้างเท่านั้นเท่านี้ แล้วก็เอาพวกปุ๋ยคอก ขี้เถ้าแกลบ หรือไม่ก็เศษใบไม้ผุๆ รองก้นหลุม ต้องเอาดินใส่เข้าไปหน่อยหนึ่ง ต้นไม้ก็ถอดถุงออกแล้ววางตั้งตรง เอาดินกลบ เอาปุ๋ยใส่อีกครั้ง แล้วอย่าลืมโรยหน้าด้วยขุยมะพร้าว กาบมะพร้าว หรือฟางข้าวแห้งๆ ปักไม้ไผ่เอาไว้ เอาเชือกที่ท่านเตรียมมา ผูกต้นไม้ตรึงแน่นกับไม้ไผ่ เพื่อไม่ให้ลมโยก ทำให้ต้นไม้เอียง

          จากนั้นก็รดนํ้า ท่านรดน้ำด้วยกระป๋องที่หิ้วมานั้นแหละ โดยไปจ้วงตักเอาจากคูนํ้าใกล้ๆ คุณยายทำเองทุกอย่าง แต่พวกเราที่ไปก็จะช่วยท่าน พอเห็นท่านไปขุดดิน เราก็ไปช่วยท่าน พอท่านไม่ได้ขุดดิน ก็ไปทำอย่างอื่น ไม่ยอมยืนอยู่เฉยๆ ท่านจะไปดายหญ้าตรงต้นไม้เก่า ที่ท่านปลูกในวันก่อนหน้านี้ หรือไปรดนํ้า พวกเราก็จะไปช่วยกันตักนํ้า ไม่อยากให้คุณยายลงไปตักนํ้าในคู เพราะตลิ่งมันลาดชันกลัวจะลื่นพลัดตกในคูนํ้า

641212_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-8.jpg

          ลักษณะนี้จะเป็นภาพที่เห็นอยู่ตลอดในบรรดาอุบาสกรุ่นแรกๆ ที่มาช่วยท่านทำงาน ในขณะทำงานท่านก็จะให้โอวาทไปด้วย ให้กำลังใจไปด้วย แม้ในช่วงอากาศร้อนมาก ท่านก็ไม่ได้ถือร่มไปเลย ใส่งอบเพียงใบเดียว พวกเราที่ไปช่วย ท่านก็จะให้ใส่หมวกตอกไม่ไผ่ แล้วก็ให้
โอวาทไปว่า อากาศร้อนก็ทนเอานะ อดทนสร้างความดีไปในนรกมันร้อนกว่านี้ ถ้าทนได้เราก็จะไม่ต้องไปลงนรกหรอก ให้เร่งสร้างความดี แล้วก็ช่วยกันปลูกต้นไม้ จะได้เสร็จเร็วๆ

          ต้นไม้ที่เราใช้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกไม้ป่า หรือไม้ตระกูลถั่ว เช่น ต้นประดู่ เราได้รับความกรุณาจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรฯ โดยไปขอพันธุไม้จากศูนย์เพาะชำกล้าไม้ หรือจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บ้าง หรือจากศูนย์ฝึกนิสิตเกษตรฯ บ้าง เป็นไม้ป่าคละชนิดกัน แต่เท่าที่สังเกตไม้ที่โตได้ดีที่สุดคือต้นประดู่ ต้นกระถินณรงค์ ไม่เพียงแต่พวกไม้ป่า คุณยายยังไปขอหน่อกล้วยน้ำว้าจากสาธุชนข้างๆ วัดหรือกลุ่มสาธุขนที่มาวัดในยุคนั้นมาปลูกแทรกในพื้นที่ทั่ววัด ปนกันไปด้วย

641212_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-6.jpg

          ในครั้งนั้นอาตมายังเรียนหนังสืออยู่ บางทีก็ต้องไปดำเนินเรื่องเอกสารการขอกล้าไม้กับผู้ใหญ่ทางราชการของกรมป่าไม้กับรุ่นพี่ๆ ในนามชมรมพุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรฯ เพี่อให้ท่านอนุมัติพันธุ์ไม้ แล้วก็ไปเบิกตามศูนย์เพาะชำที่ต่างจังหวัด ซึ่งได้มากบ้าง น้อยบ้างแล้วแต่เขาจะมีเหลือ บางครั้งเราได้มาไม่พอ เพราะบางช่วงหลวงพ่อธัมมชโยมีนโยบายให้พวกนิสิต นักศึกษามาช่วยกันปลูกเป็นจำนวนมาก เพี่อเป็นกิจกรรมให้เขามาวัด

          ช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๘ คุณยายมักจะปรารภเสมอว่า ช่วงนี้ยายอยากจะเร่งปลูกต้นไม้ให้มาก เพราะยายเห็นในที่อีกไม่นานคนจะมากันเยอะ เป็นพัน เป็นหมื่น เป็นแสน เราจะได้ต้นไม้ซึ่งโตเพียงพอที่จะรองรับบุคคลเหล่านั้น ช่วงบ่ายแต่ละวันท่านจึงไปปลูกต้นไม้อย่างมีความสุขเพื่อรองรับผู้ที่จะมาปฏิบัติธรรมในอนาคต

          แต่พันธุ์กล้าไม้ที่เราได้มานั้นมันไม่เพียงพอเลยหันมาปรึกษากันว่า จะทำยังไงถึงจะได้กล้าไม้ที่เพียงพอไปขอจนเขาผลิตให้ไม่ทันแล้วเพราะตอนนี้ต้นไม้โตไม่ทันคุณยายเลยบอกว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน เขาไม่มีให้ก็ไม่ใช่ความผิดของเขา เราต้องช่วยตัวเอง เราปลูกขึ้นมาเองสร้างขึ้นมาเองก็ได้

641212_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-7.jpg

          ท่านให้ความคิดว่า ลองไปหาวิธีเพาะต้นกล้าขึ้นมาเอง อาตมากับรุ่นพี่ๆ ตอนนั้นดูแล้วว่า เป็นแนวทางที่ดี เราจะได้ไม้ซึ่งตรงกับความต้องการของเราด้วย คือต้นประดู่ ก็สอบถามไปยังรุ่นพี่ๆ ว่า ต้นประดู่นั้นมีต้นใหญ่ๆ ที่ใหน ที่มีเมล็ดพอที่เราจะเอามาเพาะปลูกได้ ก็ได้ความว่าพี่วิชา ซึ่งปัจจุบันคือ พระมหาวิชา อธิวิชฺโช ทำงานอยู่ที่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยรามคำแหง แจ้งว่า ที่สนามกีฬารามคำแหง มีต้นประดู่เยอะมีต้นประดู่เป็นต้นใหญ่ซึ่งเราจะได้เมล็ดพันธุ์มากพอ

          พอรู้แหล่งว่ามีที่ไหน พวกเราเด็กวัดทั้งหลายก็รีบไปเก็บเมล็ดพันธุ์กัน มีอาตมาแล้วก็มีพี่ๆ ไปอีก ๒-๓ คน ต้องไปปีนต้นนะ เพื่อจะเก็บเมล็ดประดู่ เอาไม้ไผ่ไปช่วยกันสอยบ้าง ก็ได้เมล็ดประดู่มาหลายกระสอบ แล้วไปหาพื้นที่เพาะที่บ้านเช่าแห่งหนึ่ง ซึ่งตอนนั้น หลวงพ่อธัมมชโย ตั้งชื่อให้ว่า "บ้านเอื้อเฟื้อ" ทำแปลงเพาะเมล็ดประดู่ และบรรจุลงถุงเพาะ ปลูกประมาณ ๓ เดือนก็ได้ต้นกล้าที่ใหญ่พอจะเอามาใช้ลงในพื้นที่ของวัดได้

         641212_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-9.jpg

          คุณยายให้กำลังใจอยู่เรื่อยๆ ว่าอุปสรรคแม้เล็กน้อย อย่าให้มาขวางการสร้างความดีของเราได้ การที่เราไปศึกษาวิชามานี้ ต้องพยายามใช้วิชาที่เราเรียนนั้นให้ได้ ท่านเล่าให้ฟัง หลวงพ่อวัดปากนํ้าเคยสอนยายไว้เรียนวิชาอะไรมา ต้องใช้วิชานั้นให้ได้ ถ้าเรียนวิชามาแล้วใช้วิชานั้นไม่ได้ เรียนมาเสียข้าวสุก เพราะฉะนั้นยายก็เอาวิชชาของหลวงพ่อมาใช้สร้างวัด สร้างบุญ สร้างบารมีของยาย พวกเราเรียนวิชาทางโลกมา เรียนวิชาของมหาวิทยาลัยเกษตรฯ นี้ ต้องพยายามเอาวิชานั้นมาใช้ให้เกิดเป็นบุญเป็นกุศลของเราให้ได้จึงจะคุ้ม ท่านจะให้กำลังใจอย่างนี้

           ท่านบอกว่า ยายอยากได้ต้นประดู่เยอะๆ เป็นหมื่นๆ มาปลูกในพื้นที่ มันจะได้โตเร็ว ทันกับการใช้งาน ต้นไม้จะมีมากก็บริเวณที่วัดของเรานี่เอง นอกนั้นรอบๆ วัดจะเป็นทุ่งโล่งหมด เพราะฉะนั้นถ้าใครเข้ามาวัด เห็นต้นไม้เยอะๆ ใจเขาก็จะสบาย ใจเขาจะเริ่มรวม ความสบายใจนี้เป็นต้นเหตุในการเข้าถึงธรรม ไม่มีใครอยากไปอยู่ในพื้นที่ร้อนๆ แม้คุณยายเองท่านเล่าว่า ตอนเด็กๆ ยายขี่ควายไปทำนา ในเขตท้องนามันร้อน พอได้เห็นพวกต้นสะแกบ้าง ต้นมะขามเทศบ้าง ก็จะดีใจว่า เออ เราพอจะหลบร้อนตรงนี๋ใด้ ใช้เป็นที่พักอาศัย แม้จะชั่วคราวก็ยังทำความสบายใจให้กับคนที่ไปพักอาศัยได้

641212_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-10.jpg

          พื้นที่วัดที่เราสร้างให้เกิดความร่มเย็นด้วยต้นไม้นี้เอง ต่อไปเมื่อต้นไม้โตขึ้น ผู้คนได้มาอาศัยประพฤติปฏิบัติธรรมกันมาก พวกเราก็จะได้บุญมาก นกกาได้มาอาศัยพวกเราเองก็จะได้บุญด้วย เพราะฉะนั้นให้ช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากๆ เราเองก็จะได้ร่มเงา สาธุชนมาเขาก็จะได้ความสบายใจ คุณยายมักจะพูดเสมอๆ ว่าไม้ดกนกชุม ความสบายใจเป็นต้นทางในการเข้าถึงธรรม ใครมานั่งธรรมะใต้ต้นไม้ที่เราปลูกเราก็จะได้บุญไปด้วย

          คุณยายทำงานค่อนข้างหนักมาก นอกจากการประพฤติปฏิบัติธรรมแล้ว บางครั้งก็ต้องรับแขกด้วย ปลูกต้นไม้ด้วย ทำภารกิจอะไรต่ออะไรหลายๆ อย่าง สุขภาพท่านก็ไม่ค่อยดี เริ่มมีอาการป่วย ต้องไปหาหมอบ่อย แต่ท่านก็พยายามที่จะประคับประคองสังขารให้สามารถ สร้างบุญไปได้เรื่อยๆ

 

จากหนังสือ เกิดด้วยสองมือยาย 

พระรังสฤษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.062859451770782 Mins