อบายภูมิ ๔ : นรก

วันที่ 20 มีค. พ.ศ.2565

อบายภูมิ ๔

650318_03.jpg

อบายภูมิ มี ๔ คือ นรก เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย

ค่าว่า อบาย มาจากคำว่า อป รวมกับคำว่า อย

อป แปลว่า ปราศจาก ไม่มี

อย แปลว่า กุศลกรรม ความงาม ความสุข ความสบาย ความเจริญ

อบาย จึงแปลว่า มีฐานะที่ปราศจากกุศลกรรม (คือไม่ได้โอกาสทำกุศล)

ภูมิ แปลว่า ที่เกิดของสัตว์ทั้งหลาย

อบายภูมิ จึงแปลว่า สถานที่ที่สัตว์เกิดแล้วไม่มีโอกาสกระทำกุศลกรรม มี ๔ ภูมิ

นรก

           คำว่า นรก มาจากคำว่า นิรย ซึ่งมาจากคำว่า นร รวมกับคำว่า อย

                    นิร เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ปราศจาก ไม่มี

                    อย แปลว่า ความสุข ความเจริญ กุศลกรรม

                    นิรย จึงแปลว่า ไม่มีความสุขความสบาย

                    นรก มีชุมใหญ่สำคัญ ๆ เรียกว่า มหานรกมีอยู่จำนวน ๔ ขุม ตั้งอยู่ในบริเวณปังสุปถวี ตรงลงไปเบื้องล่างของโลกมนุษย์ที่เราอาศัยอยู่ (ชมพูทวีป) มีลักษณะเหมือนอุโมงค์อยู่ใต้ดิน มหานรกขุมหนึ่งๆ มีนรกย่อยเป็นบริวาร (อุสสทนรก) ๕ ชั้นล้อมรอบเป็นบริเวณเนื้อที่ทั้งขุมเล็กขุมใหญ่กว้างยาวอย่างละ ๑๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นรูปสี่เหลี่ยม ขุมใหญ่แต่ละชุมมีระยะลึกห่างกันลงไปขุมละเท่า ๆ กัน คือ ๑๕,๐๐๐ โยชน์

 

มหานรกขุมที่ ๑ ชื่อ สัญชีวะนรก

                     (๑) มหานรกขุมที่ ๑ ชื่อ สัญชีวะนรก สัตว์นรกในขุมนี้แม้ถูกลงโทษจนตายจะฟื้นมีชีวิตรับโทษใหม่อีกเป็นอยู่ดังนี้โดยตลอด ผู้ลงโทษคือนายนิรยบาลมีมือถืออาวุธมีแสง ไล่ฆ่าฟันสัตว์นรกทั้งหลายให้ตาย ตายแล้วก็กลับเป็นขึ้นใหม่ดังนี้ (สัญชีวะ แปลว่า ชีวิตที่เป็นขึ้นมาใหม่) ผู้ที่จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรกขุมที่หนึ่งนี้ ส่วนใหญ่ ได้แก่ผู้ที่เมื่อครั้งเกิดเป็นมนุษย์ มีอำนาจมาก ใช้อำนาจนั้นเบียดเบียนบุคคลที่ต่ำกว่าตนโดย :ไม่เป็นธรรม หรือพวกมหาโจรที่ปล้นทำลายบ้านเมือง ตลอดถึงฆ่าคนเอาทรัพย์

 

ขุมที่ ๒ ซื่อ กาฬสุตตะนรก

                   (๒) ขุมที่ ๒ ซื่อ กาฬสุตตะนรก สัตว์นรกในขุมนี้จะถูกตีหรือขึงด้วยเส้นเชือกสีดำ (เหมือนที่ช่างไม้ใช้เชือกชุบสีดำตีลงเป็นแนวในเนื้อไม้ เพื่อสะดวกในการเลื่อยหรือไส) นายนิรยบาลจะใช้เครื่องมือที่มีคมถากหรือตัดสัตว์นรกตามแนวเส้นสีดำที่ตีไว้เครื่องประหารต่าง ๆ เหล่านั้นมีขวาน จอบ มีด เลื่อย เป็นต้น (กาฬะ แปลว่า ดำ สุตตะ แปลว่า เชือก) สัตว์นรกที่เกิดอยู่ในมหานรกขุมที่สองนี้มาจากผู้ที่เคยเป็นมนุษย์แล้วเบียดเบียนหรือฆ่า ภิกษุ สามเณร นักบวช หรือเป็นเพชฌฆาตมีหน้าที่ประหารบุคคลพวกภิกษุ สามเณร ผู้ทุศีล เป็นอลัชชี บุคคลบางพวกที่ฆ่าพ่อแม่ ก็อาจตกอยู่ในนรกขุม
นี้ด้วย

 

ขุมที่ ๓ มหานรกขุมนี้ชื่อ สังฆาตะนรก

                    (๓) ขุมที่ ๓ มหานรกขุมนี้ชื่อ สังฆาตะนรก มีภูเขาเหล็กสูงใหญ่ ลุกโพลงด้วยไฟ กลิ้งบดทับเหล่าสัตว์นรกให้จมลงไปในแผ่นดินเหล็ก มีประมาณแค่สะเอว แหลกจนเป็นจุณ

                     บาปอกุศลกรรมที่จะทำให้เป็นสัตว์นรกขุมนี้ เนื่องจากเคยเกิดเป็นบุคคลที่มีหน้าที่ทรมานสัตว์ใช้งาน เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ หรือบุคคลที่ไม่มีความเมตตาสงสารสัตว์ที่ตนใช้งานเบียดเบียนให้ได้รับความทุกข์ยาก รวมทั้งพวกนายพรานเนื้อ พรานนก เป็นต้น บางแห่งกล่าวว่า สตรีที่ชอบคบชู้และแย่งสามีผู้อื่นก็ตกนรกขุมนี้ (ส่วนบุรุษที่ประพฤติผิดทำนองเดียวกันเกิดในอุสสทนรก)

 

ขุมที่ ๔ มหานรกขุมนี้ชื่อ โรรุวะนรก

                     (๔) ขุมที่ ๔ มหานรกขุมนี้ชื่อ โรรุวะนรก (รูมโรรุวะหรือ จูฬโรรุวะ) ในมหานรกขุมนี้สัตว์นรกถูกควันไฟร้อนอ้าว อบเข้าสู่ทวารทั้งเก้า ย่อมร้องด้วยเสียงดังอยู่ตลอดเวลา

                       บาปที่ทำให้ตกอยู่ในนรกขุมนี้ เนื่องจากตอนเป็นมนุษย์มีอาชีพเป็นชาวประมงเป็นผู้จุดป่าที่สัตว์ทั้งหลายอาศัยอยู่ ทำให้สัตว์เหล่านั้นได้รับความลำบากต่าง ๆ บ้าง ตายบ้างหรือผู้ที่ขังสัตว์ เช่น เนื้อ นก เป็นต้นแล้วฆ่าให้ตาย คนที่ดื่มสุรามึนเมาประทุษร้ายผู้ที่ไม่สมควร

 

ขุมที่ ๔ มหานรกขุมนี้ชื่อ มหาโรรุวะนรก

                     (๕) ขุมที่ ๔ มหานรกขุมนี้ชื่อ มหาโรรุวะนรก หรือชาลโรรุวะ สัตว์นรกในมหานรกขุมนี้ร้องดังกว่าในขุมโรรุวะ เพราะถูกเปลวไฟร้อนแรงไหม้อยู่ มิใช่ควัน เปลวไฟไหลเข้าสู่ทวารทั้งเก้าเผาไหม้อยู่ตลอด

                   อกุศลกรรมที่สัตว์นรกขุมนี้กระทำไว้คือ ลักขโมยทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณสูง หรือสิ่งของของพระภิกษุ สามเณร นักบวช ให้ได้รับความลำบาก ขโมยเครื่องสักการะที่ใช้บูชาพระรัตนตรัย การโกงเอาของคนอื่นมาเป็นของตนเอง หรือผู้ที่ขโมยด้วยประการหนึ่งประการใดในการขโมย ๒๕ อย่าง มี ขโมยทรัพย์สิ่งของทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ๕ ประเภท ขโมยเฉพาะสิ่งมีชีวิต ๕ ประเภท การกระทำที่สำเร็จเป็นอทินนาทานก่อนลงมือขโมย ๕ ประเภท การขโมยด้วยตนเอง 4 ประเภท การฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงวัตถุสิ่งของ ทำวัตถุปลอม ล่อลวง ตัดช่องย่องเบา ๕ ประเภท

 

ขุมที่ ๖ ชื่อ ตาปนะนรก

                  (๖) ขุมที่ ๖ ชื่อ ตาปนะนรก หรือ จูฬตาปนะ มหานรกขุมนี้ ลงโทษสัตว์นรกโดยให้นั่งตรึงติดอยู่ในหลาวเหล็กอันร้อนแดง มีไฟนรกอันเร่าร้อนลุกไหม้อยู่ตลอดเวลา

                สัตว์นรกพวกนี้มาจากผู้ที่ทำบาปเผาบ้านเมือง กุฏิ โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ปราสาท ทำลายเจดีย์ สิ่งสาธารณประโยชน์ที่สำคัญ

 

ขุมที่ ๗ มหานรกขุมนี้ชื่อ มหาตาปนะนรก

                (๗) ขุมที่ ๗ มหานรกขุมนี้ชื่อ มหาตาปนะนรก หรือปาตปนะ มหานรกขุมนี้ยังสัตว์นรกให้เร่าร้อนจัดยิ่งกว่าตาปนะนรก เหล่าสัตว์นรกถูกบังคับให้ขึ้นไปบนภูเขาเหล็กร้อน แล้วมีลมกรรมชนิดหนึ่งพัดลากให้ตกลงมาถูกหลาวมีคมที่อยู่เบื้องล่างเสียบมีไฟนรกลุกไหม้โดยตลอด

                   ผู้ที่ตกอยู่ในมหานรกขุมนี้ คือ ผู้มีความคิดเห็นผิดเป็นชอบ นอกจากนี้ยังมี

                    (ก) อุจเฉททิฏฐิ คือเชื่อเรื่องขาดสูญ ตายแล้วสูญ ไม่มีการเกิดอีก ก่อกรรมใด ๆ ไม่มีผล

                    (ข) สัสสตทิฏฐิ เชื่อความมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเกิดเป็นอย่างไร จะเกิดซ้ำ เดิมอยู่ดังนั้น

                    (ค) นัตถิกทิฏฐิ เชื่อว่าผลของกรรมดีชั่วไม่มี (ไม่เชื่อผล) มี ๑๐ ประการ คือ เชื่อว่า

๑. ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
๒. การบูชาพระรัตนโตรไม่มีผล
๓. การบูชาเทวดาไม่มีผล
๔. ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี
๕. คุณของมารดาไม่มี
๖. คุณของบิดาไม่มี
๗. สมณะ พราหมณ์ผู้มีศีล ผู้ปฏิบัติดีไม่มี
๘. สัตว์ในโอปปาติกกำเนิด เช่น เทวดา สัตว์นรก เปรตอสุรกายพรหมไม่มี
๙. ชาตินี้ไม่มี
๑๐. ชาติหน้าไม่มี

                    (ง.) อเหตุกทิฏฐิ ไม่เชื่อเหตุ

                    (จ.) อกิริยทิฏฐิ ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผลคนที่มีความเชื่อผิด ๆ เหล่านี้รวมทั้งผู้ที่เชื่อแล้วชักชวนผู้อื่นให้เชื่อตาม ต้องตกมหานรกขุมนี้

 

ขุมที่ ๘ มหานรกขุมนี้ชื่อ อวีจินรก

                    (๘.) ขุมที่ ๘ มหานรกขุมนี้ชื่อ อวีจินรก สัตว์นรกทั้งหลายถูกเผาอยู่ในเปลวไฟ ไม่มีเวลาว่างเว้นเลย

                 สัตว์นรกในอวีจีนรกทำบาปมา อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ถ้าผู้นั้นกระทำไว้หลายอย่าง กรรมที่หนักที่สุดจะให้ผล ที่เหลือกลายเป็นอโหสิกรรม คือ ฆ่าบิดามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำพระบาทของพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ทำสังฆเภท (ยุยงสงฆ์ที่สามัคคีให้แตกแยกกัน) ท่าลายพุทธเจดีย์ พระพุทธรูป ต้นโพธิ์ที่ตรัสรู้ ด้วยจิตคิดประทุษร้ายติเตียนพระสงฆ์ พระอริยบุคคล ผู้มีคุณแก่ตน รวมทั้งพวกที่ยึดถือ นิยตมิจฉาทิฏฐ์ ๓ คือ ไม่เชื่อผลของกรรม ไม่เชื่อเหตุ ไม่เชื่อทั้งเหตุและผล กรรมชั่วทั้งปวงเหล่านี้ถ้ามีกำลังมากต้องตกอยู่ในอวีจีนรก ถ้ากำลังลดน้อยก็ตกนรกขุมบริวารชื่อ โลหกุมภีอุสสท

 

ขุมที่ ๘ มหานรกขุมนี้ชื่อ อวีจินรก

                  อวีจินรก มี ๑๒ ประเภท ชื่อ ปหาสะ อปราชิตะ อัพพุทะ นิรัพพุทะ อัพพะอหหะ อัฏฏะ กุมุทะ โสคันธิกะ อุปปะละ ปุณฑริกะ มหาปทุมะ

                  ๘.๑ ปหาสนิรย สัตว์นรกในขุมนี้มาจากบุคคลที่ยินดีพอใจหลงใหลในกามคุณ ๕ ชอบแสดงฟ้อนรำ ขับร้อง ภาพยนตร์ ละคร ลิเก หรืออื่น ๆ เป็นพระเอก นางเอก หรือบทอื่น ๆ หัวเราะ ร้องไห้ ฟ้อนรำ เต้นรำ ร้องเพลง ไปตามเรื่องที่ตนแสดง ทำให้ผู้ดูผู้ชมพลอยลืมตัวมีอารมณ์ต่าง ๆ ร่วมไปด้วย นักแสดงพวกนี้ตายแล้วจะเกิดอยู่ในนรกที่ชื่อ ปหาสะ การเสวยทุกข์ในที่นั้นคล้าย ๆ กับว่าไปทำอาการต่าง ๆ ตามที่ตนชอบแสดง เช่น ฟ้อนร้า ร้องเพลง โดยไม่มีเวลาจบสิ้น

                    ๘.๒ อปราชิตนิรย สัตว์นรกเหล่านี้คือผู้ที่ขณะยังมีชีวิตในมนุษยโลกยินดีพอใจในการรบราฆ่าฟัน เมื่อตายแล้วมาตกอยู่ในนรกขุมนี้ ต้องเสวยทุกข์ด้วยการรบราฆ่าฟันกันอยู่ตลอดเวลาไม่สิ้นสุด

                  ส่วนอวีจินรกอีก ๑๐ ประเภทที่เหลือ เกิดจากบาปกรรมที่ได้กล่าวคำตำหนิติเตียนดูถูกพระอริยเจ้าด้วยประการมิชอบ อันเป็นการไม่สมควร เช่นในสมัยพุทธกาล พระโกกาลิกะ สาวกของพระเทวทัตต์กล่าวครหาว่าพระอัครสาวกทั้งสองคือ พระสารีบุตรเถระ และพระโมคคัลลานเถระมีความผิดถึงขั้นล่วงปาราชิกสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ครั้นสิ้นชีวิตพระโกกาลิกะจึงไปบังเกิดยัง มหาปทุมนรก นรกทั้ง ๑๐ ประเภทของอวีจีนรก เรียกชื่อตามหลักของการนับประมาณเวลาหรืออายุของสัตว์ในนรกขุมนั้น ๆ

                   อายุของอัพพุทะนรก (อุปมานำเกวียนที่เต็มไปด้วยเมล็ดงา ๒๐ ขารี (๑ ขารี-๒๔๖ ทะนาน) ล่วงไปแสนปีเอาออก ๑ เมล็ด) หรือเปรียบเทียบเหมือนนำเมล็ดงามา ๔๐๔,๖๐๐,๐๐๐ เมล็ด ครบเวลา ๑๐๐ ปีในเมืองมนุษย์เอาออกทิ้งเสียหนึ่งเมล็ด จนหมดจึงเป็นอายุของนรกขุมนี้ (๔๔,๐๖๐ ล้านปีมนุษย์)

                  นรกขุมที่เหลือต่อไปอีก ๗ ขุม ใช้คำนวณโดยวิธีเพิ่มขึ้นจากขุมรองลงไปขุมละ ๒๐ เท่าตามลำดับ แม้ในนรกจะมีอายุโดยประมาณเป็นเวลาไว้ แต่สัตว์นรกแต่ละตนจะได้รับทุกข์อยู่ในนั้นไม่แน่นอน แล้วแต่น้ำหนักของบาปกรรมที่กระทำไว้ เช่นในสมัยพุทธกาล พระนางมัลลิกาเทวี ปรกติสร้างกุศลกรรมไว้มาก เมื่อใกล้จะสิ้นพระชนม์ไประลึกถึงคำมุสาที่ทรงกล่าวต่อพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงไปบังเกิดให้อวีจีมหานรกเป็นเวลาเพียง ๗ วันในเมืองมนุษย์ ส่วนพระเทวทัตต์ทำบาปหนักมีทำพระบาทของพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ทำสังฆเภท กรรมอันหลังเป็นกรรมหนักที่สุด ตายแล้วไปบังเกิดในอวีจีมหานรก ต้องเสวยทุกข์อยู่ ณ ที่นั้นนับเป็นแสนมหากัปป์ (หนึ่งกัปป์ประมาณได้ดังนี้ นำเมล็ดงาไปใส่ไว้ในหลุมที่กว้าง ยาว ลึก อย่างละ ๑ โยชน์ ครบเวลา ๑๐๐ ปืนำเมล็ดงาออกทั้ง ๑ เมล็ด เมล็ดงาหมดบ่อเมื่อใด เรียกว่าหนึ่งกัปป์) ร่างกายของพระเทวทัตต์ในอวีจีมหานรกนี้สูงประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งแต่หูขึ้นไปจมอยู่ในแผ่นเหล็กที่ร้อนจัดจนแดงที่วางหนุนศีรษะ เบื้องล่างตั้งแต่ตาตุ่มลงไปจมอยู่ในแผ่นเหล็กแดง มีตะปูตัวโตเท่าต้นตาลตอกมือทั้งสองติดไว้กับฝา หลาวเหล็กแทงข้างซ้ายทะลุข้างขวา แทงข้างหน้าทะลุข้างหลัง แทงตลอดตั้งแต่ศีรษะทะลุลงมาถึงเบื้องล่าง เพื่อไม่ให้กระดุกกระดิกได้ มีเปลวไฟแผดเผาอยู่ตลอดเวลา

                   มหานรกแต่ละขุม มีนรกที่เป็นบริวาร ๑๖ ขุมเล็ก หรือเรียกว่า อุสสทนรก อยู่ทิศละ ๔ รวมอุสสทนรกทั้งสิ้น ๑๒๘ อุสสท (รวม ๘ ทิศ) แปลว่า มีมาก คือในนิรยภูมินี้มีความทุกข์ล่าบากมากอุสสทนรกที่อยู่ประจำทิศ ๆ ละ ๔ เป็นสถานที่ทรมานสัตว์นรกที่พ้นจากอวีจีมหานรกแล้ว แต่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่ต้องชดใช้กรรมต่อไปในนรกเหล่านี้ ชุมบริวารคือ

                    (๑) คูถะนรก เป็นนรกอุจจาระเน่า อยู่ติดต่อกับอวีจีมหานรก

                    (๒) กุกกุละนรก เป็นนรกขี้เถ้าร้อน อยู่ติดต่อกับคูถะนรก

                    (๓) สิมปลิวนะนรก เป็นป่าไม้งิ้ว อยู่ติดต่อกับกุกกุละนรก

                    (๔) อสปัตตวนะนรก และเวตตรณีนรก เป็นนรกป่าไม้ใบดาบ และนรกแม่น้ำเค็มที่มีหวายหนาม กล่าวไว้ในตำราบางแห่ง มีเพิ่มอีก ๔ คือ 

อังคาระกาส          นรกหลุมถ่านเพลิง
โลหรสะ                 นรกน้ำเหล็ก
อัคคิสะโมทะกะ     นรกน้ำร้อน
โลหะกุม                นรกหม้อโลหะ

                  อุสสทนรก นรกขุมบริวารเหล่านี้ อยู่แห่งเดียวกับมหานรกก็มี อยู่ตามป่าตาม ภูเขา มหาสมุทร แม่น้ำ ทวีปเล็ก ๆ และเกาะที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ก็มี 

                     (มีนรกอีกแห่งหนึ่งคือ โลกันตริกนรก จะกล่าวถึงในภูมือสุรกาย)

 

650318_16.jpg

ตสฺส สหีรปญฺญสฺส              วิวโร ชายเต มหา
เมื่ออ่อนปัญญา                  ช่องทางวิบัติก็เกิดได้มหันต์

พุทธพจน์

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0016495148340861 Mins