คู่มือ ธรรมทายาท
คำนำ
แผนที่หรือเข็มทิศ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราสามารถเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพได้ฉันใด
หนังสือ "คู่มือธรรมทายาท" เล่มนี้ ก็เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ ธรรมทายาทผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน สามารถเดินทางไปสู่จุดหมาย หรือถึงฟากฝั่งแห่งความสำเร็จคือการบรรลุวัตถุประสงค์ของการมาอบรมในครั้งนี้ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพได้ฉันนั้น
เมื่อธรรมทายาทเดินทางกลับจากการฝึกภาคสนาม ก่อนที่จะเข้ารับการฝึกอบรมต่อไป ธรรมทายาททุกท่านจะได้รับการปฐมนิเทศ ให้ทราบถึงข้อควรปฏิบัติในระหว่างการอบรม และสิ่งสำคัญอื่น ๆ ที่ควรทราบ เพื่อให้การอบรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังที่ตั้งใจ
ดังนั้น คณะกรรมการจัดการอบรมธรรมทายาท จึงได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อธรรมทายาท จัดพิมพ์เป็นเล่มขึ้น เพื่อมอบให้แก่ธรรมทายาทใช้ประกอบการปฐมนิเทศ และใช้เป็นคู่มือปฏิบัติไปตลอดการอบรม
คณะกรรมการจัดการอบรมธรรมทายาทหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ธรรมทายาททุกคนที่ได้หนังสือเล่มนี้จะมีความรู้ความเข้าใจถึงความเป็นมาของโครงการ เนี้อหาการอบรม กฎระเบียบ ข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวันของธรรมทายาท ทั้งในช่วงก่อนบวชและหลังบวช ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ทั้งในขณะที่ยังอบรมอยู่ และภายหลังที่จบการอบรมแล้ว อันจะส่งผลให้สามารถฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็น "ธรรมทายาท" ผู้เป็นทายาททางธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง
คณะผู้จัดทำ
๑ มนาคม ๒๕๔๘
หลวงพ่อธัมมชโย
กิจของมนุษย์
การที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์โลกนี้ทุกคน มีกิจอยู่ ๒ อย่าง คือ ศึกษาวิชาในทางโลก สอนแค่เพียงว่าเราจะทำมาหากินอย่างไร จึงมีปัจจัยสี่
เป็นเครื่องอาศัยหล่อเลี้ยงร่างกายของเราให้เป็นอยู่ในทางโลก ได้อย่างรื่นรมย์ ผาสุก สะดวกสบาย
ศึกษาวิชชาในทางธรรม มีเป้าหมายเพื่อยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นจนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกายภายในตัว เราจะได้ทราบว่าควรดำเนินชีวิตในโลกนี้อย่างไร จึงจะเต็มเปียมไปด้วยความสุขอย่างแท้จริง และพบหนทางหลุดพ้น
จากทุกข์ในที่สุด
การเกิดมาของมนุษย์มีกิจที่ต้องกระทำอยู่ ๒ อย่างนี้เท่านั้น
แต่ว่าที่จริงแล้ว งานที่เป็นเป้าหมายสำศัญของการเกิดมาในโลกนี้ ก็คือการฝึกฝนอบรมจิตใจของเราให้บริสุทธึ๋ ให้ผ่องใส ให้เข้าถึงธรรมกาย
เมื่อเราเข้าถึงธรรมกายแล้ว เราจะมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีชีวิตที่มีแต่ความสุข มีความสุขกายสบายใจ และเต็มเปี่ยมไปด้วยสติปัญญาอย่างที่เราไม่เคยเป็นมาก่อน เราจะเข้าถึงตัวตนที่แท้จริงที่อยู่ภายใน คือ กายธรรม
หลวงพ่อทัตตชีโว
วุฒิธรรม
หลักการที่พระสัมม่าสัมพุทธเจ้าตรัสรับรองไว้ชัดเจนว่า ผู้ใดตั้งใจประพฤติปฏิบัติตรงตามนี้แล้ว จะสามารถฟันฝ่ากระแสโลกไปได้ตลอดรอดฝั่ง และยังสามารถสร้างบุญบารมีได้เต็มที่ มีแต่ความเจริญก้าวหน้าเพียงอย่างเดียวไม่พบความเสื่อมเลย ก็คือหมวดธรรมที่ชื่อว่า วุฒิธรรม ซึ่งมีหลักในการประพฤติปฏิบัติ อยู่ ๔ ประการคือ
๑. คบสัตบุรุษ ( คนดี ) ๒. ฟังคำลอนของลัตบุรุษ
๓. ตรองคำลอนของสัตบุรุษ ๔. ปฏิบัติตามคำสอนของสัตบุรุษให้เต็มที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ชัดเจนว่า "ภิกษุ เราเป็นเพียงผู้ชี้ทางให้แต่เธอต้องเดินเอง" เพราะฉะนั้น เริ่มแรก ต้องมีครูเพื่อชี้ทางถูกให้ หลังจากรู้จักทางที่ถูกแล้ว ก็ต้องพึ่งตัวเองต่อไป คือ ต้องเดินทางนั่นเองใครจะเดินแทนไม่ได้
พูดง่าย ๆ คือเริ่มต้นต้อง "หาครูดี" ให้ได้ก่อน ถ้าหาครูดีไม่ได้ชาตินี้ก็เอาดิไม่ได้ ขั้นต่อมา แม้หาครูดีได้แล้ว ก็ยังไม่พอยังต้องตั้งใจ "ฟ้งคำครู" และไม่ใช่แต่ฟังแบบผ่านหูซ้ายทะลุหูขวา ต้องผ่านใจด้วย คือจะต้องนำคำสอนนั้นๆ ของครูไปคิด ไปพิจารณาต่อไปอีก เรียกว่า "ตรองคำครู" ฟังมาแล้วก็ต้องนำไปตรองแล้วตรองอีก ให้เข้าใจความหมายลึกชึ้งที่อยู่ในคำสอนนั้น ๆ จนสามารถนำไปปฏิบัติอย่างเหมาะสมได้ แล้วก็ลงมือปฏิบัติ เรียกว่า "ทำตามครู" การทำตามครู ก็ยังต้องปฏิบัติแล้วปฏิบัติอีก จนกว่าจะถูกต้องเชื่ยวชาญ
ความเป็นมาของโครงการอบรมธรรมทายาท
การอบรมธรรมทายาทรุ่นแรกของวัดพระธรรมกายได้เริ่มขึ้น ในภาคฤดูร้อนของปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ในสมัยแรกๆนั้นยังไม่มีการบวช มีแต่การมาถือศีล ๘ รักษาธุดงควัตร ปักกลดบนท้องทุ่งนากลางแจ้ง ปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องประมาณ ๑๕ วัน โดยไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๒ การอบรมธรรมทายาทรุ่นที่ ๗ เป็นรุ่นแรก ที่มีการบวชโดยขยายระยะเวลาการอบรมเป็น ๒ เดือน คือเดือนแรกเป็นการเตรียมตัวก่อนบวช ซึ่งก็เป็นธรรมเนียมของชายไทยมาแต่โบราณแล้วว่า บิดามารดาจะพากุลบุตร มาฝากตัวไว้ที่วัด แล้วฝึกหัดถือศีล
๘ ท่องบทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น ท่องคำขานนาคและจะต้องท่องบทให้พรให้ได้แล้วจึงจะบวช ก็ได้ยึดถือ แนวปฏิบัตินี้มาโดยตลอด
ฉะนั้นใครจะบวชต้องมาถือศีล ๘ อยู่ที่วัดก่อน และที่สำคัญที่สุดจะต้องฝึกสมาธิอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จะได้เตรียมทั้งภายนอกและภายใน การเตรียมเรื่องภายนอก คือ เตรียมกายและวาจา โดยมาฝึกถือศีล งดข้าวเย็น งดร้องรำทำเพลง มาฝึกนั่ง นอน ยืน และเดิน ในอิริยาบทของนักบวชกันก่อนดังนั้นพระภิกษุ สามเณรธรรมทายาท แม้บวชวันแรกก็สวดมนต์ให้พรได้เลยส่วนการเตรียมภายใน คือ การฝึกสมาธิ ให้ใจผ่องใส
ช่วงที่สอง หลังจากบวชแล้วก็จะฝึกฝนตนเองตามพระธรรมวินัยอีกหนึ่งเดือน เพื่ออานิสงส์นี้จะได้กับตนเองพ่อแม่และผู้สนับสนุนการบวชของทุกคน
หลังจากที่ได้เริ่มมีการบวชมาไม่นาน จำนวนผู้เข้ารับการอบรม ก็เพิ่มมากขึ้น จากจำนวนเป็นร้อย เป็นจำนวนพัน ปัญหาที่คาดไม่ถึงก็เกิดขึ้น คือ เมื่อผู้รับการอบรมมีจำนวนมากๆเข้า การเรียกรวมกลุ่ม ทำกิจกรรมสงฆ์ แต่ละครั้ง กว่าจะให้เป็นระเบียบเรียบร้อยได้ต้องใช้เวลามาก แรกๆก็มองปัญหา ไม่ออกเพราะคนน้อย แต่พอเป็นร้อยเป็นพัน ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะฉะนั้น เลยต้องส่งให้ทหารเขาช่วยฝึกระเบียบวินัย ใช้เวลาประมาณ ๓-๔ วัน ธรรมทายาทก็มีระเบียบวินัยดีขึ้น การมารวมตัวกันทำกิจกรรมสงฆ์ เช่น การบิณฑบาต การตื่นมาสวดมนต์ก็เร็วขึ้น
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ การอบรมธรรมทายาทรุ่นที่ ๑๔ นับเป็นรุ่นแรกที่มีการเดินธุดงค์ จนถึงรุ่นที่ ๒๒ เป็นรุ่นสุดท้ายที่มีการเดินธุดงค์
โดยรุ่นถัดมาได้ปรับเป็นการไปปฏิบัติธรรมแทน เพื่อที่จะให้ธรรมทายาทได้ใช้พื้นที่สัปปายะ คือ มีดวามเหมาะสมทั้ง ๔ ด้าน คือ สถานที่เป็นที่สบายอาหารเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย และธรรมะเป็นที่สบาย ทำให้ธรรมทายาทมีผลการปฏิบัติธรรมที่ดีขึ้น
โครงการอบรมธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ เป็นโครงการปลูกฝังคุณธรรมให้แก่เยาวชนของชาติตามพุทธวิธี ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียวในการนำมาใช้พัฒนาเยาวชนของชาติอย่างได้ผล ด้วยการปักกลดอยู่ธุดงค์ ฟังธรรมรักษาคืล ๘ อย่างเคร่งครัด (แต่ไม่เคร่งเครียด) และฝึกสมาธิอย่างจรีงจังติดต่อกันเป็นเวลา ๑ เดือน เพิ่อเตรียมกาย และใจให้พร้อมที่จะบวช