ธรรมทายาทคือใคร ?

วันที่ 02 กค. พ.ศ.2565

ธรรมทายาทคือใคร ?

ธรรมทายาทคือใคร ?

       โดยคำแปลแล้ว "ธรรมทายาท" คือ ผู้รับมรดกธรรมจาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
       โดยความหมาย "ธรรมทายาท" คือ "ผู้ตั้งใจฝึกหัดอบรมตนตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด มีความประพฤติดีงาม ชนทั้งหลายสามารถถือเป็นตัวอย่างได้ ยอมสละความสุขส่วนตนทางโลกโดยไม่หวังเอาลาภ ยศ สรรเสริญ และประโยชน์สุขส่วนตัวเป็นสั่งตอบแทนแต่มุ่งที่จะประกอบบุญกุศล สร้างสมบารมี ตามอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมัยเมื่อยังทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่"

        การที่จะบำเพ็ญตนดังนื้ได้ จำเป็นต้องหมั่นศึกษาฝึกฝนอบรมตนให้มีความรู้ ความสามารถทั้งทางโลกและทางธรรม และสร้างนิสัยความเป็นผู้นำ ให้เกิดขึ้นแก่ตนเองอีกด้วย
         "ธรรมทายาท" ที่แท้จริงจึงจำเป็นต้องฝึกหัดอบรมตนเอง ให้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
        - ต้องตั้งใจศึกษาหาความรู้ โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก ให้เป็นบัณฑิต เป็นพหูสูต ทั้งทางโลกและทางธรรม
        - ต้องมีหิริ โอตตัปปะ ตั้งใจละชั่ว ประพฤติชอบ ประกอบความเพียร เพื่อให้กาย และใจใสละอาดอยู่เป็นนิตย์
        - ต้องฝึกตนให้เป็นผู้มีขันติ เข้มแข็ง อดทน อดกลั้นต่ออำนาจฝ่ายตั้งของกิเลส
        - ต้องฝึกตนให้เป็นคนรักสงบ รังเกียจการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตการรังแกเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
        - ต้องสำรวมระวังความประพฤติให้ดีงาม รักศีลยิ่งกว่าชีวิตฝึกอบรม กิริยามารยาทให้เรียบร้อยอยู่เสมอ
        - ต้องฝึกตนให้เป็นคนรู้จักประมาณตน ไม่เห็นแก่กิน ไม่ฟุ่มเฟือย หรูหรา
        - ตั้งใจฝึกสมาธิให้แก่กล้ายิ่งขึ้น โดยไม่ทอดธุระ

 

ธรรมทายาทคือใคร ?

วัตถุประสงค์การอบรมธรรมทายาท

       ๑. เพื่อเป็นการอบรมการฝึกสมาธิอย่างถูกต้อง ณ สถานที่อันร่มรื่นเหมาะสมกับการฝึกสมาธิ ภายใต้การดูแลของคณะพระอาจารย์พระพี่เลี้ยง
       ๒. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ในการฝึกอบรมตนเองให้เป็นผู้ที่มีความอดทน มีความตั้งใจมั่นคง และมีความเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่าง ๆ
       ๓. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นการขจัดข้อสงสัย ข้อโต้แย้งนานาประการ เกี่ยวกับการฝึกสมาธิ และหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
      ๔. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถนำหลักธรรม คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตประจำวัน อันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
      ๕. เพื่อสร้างธรรมทายาทผู้เป็นทายาททางธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาส้มพุทธเจ้า เป็นผู้มีสัมมาทิฐิ ไม่งมงาย ไม่ยึดมั่นในสิ่งผิด เป็นผู้มีสติตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เป็นผู้มีคุณธรรมเพียบพร้อมครบครัน ทั้งปัญญาทางโลกและทางธรรม

ข้อปฏิบัติระหว่างการอบรม
       ๑. สมาทานรักษาศีล ๘ อย่างเคร่งครัด เพื่อทำใจให้สงบไม่ฟุ่งซ่าน
       ๒. อยู่ในเสนาสนะที่กำหนดให้
       ๓. งดการสูบบุหรี่ หรือยาเสพติดอื่น ๆ อย่างเด็ดขาด
       ๔. ไม่พกพาหรือครอบครองสิ่งที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการอบรม เช่น อาวุธ ยาเสพติด วิทยุเทป หนังสือเริงรมย์ เครื่องประดับมีค่า อุปกรณ์สื่อสารเป็นต้น
       ๕. อยู่ในเขตการอบรมที่กำหนดให้หากจำเป็นต้องออกนอกเขตการอบรมต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากคณะผู้ดำเนินการอบรมก่อนทุกครั้ง
       ๖. ในช่วงปฏิบัติธรรมก่อนบวช ควรหลีกเลี่ยงการนัดหมายให้ผู้อื่นมาพบหรือโทรศัพท์ไปสนทนา เพื่อหลีกเลี่ยงจากความไม่สงบใจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความมุ่งมั่นในการฝึกฝนอบรมตนได้

       หมายเหตุ ในช่วงหลังบวชแล้ว ช่วงบ่ายวันอาทิตย์ เป็นเวลาสำหรับญาติโยมได้พบปะสนทนากับพระภิกษุสามเณรธรรมทายาท เพราะในช่วงเวลาอื่นอาจไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร

       ๗. จงอดทน อดกลั้น ต่ออุปสรรคทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความลำบากทางกาย หรือความไม่ชอบใจใดๆ ก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นบทฝึกอันดีเยี่ยมที่ฝึกฝนให้คุณธรรม และความสามารถของเราเพื่มพูนยิ่งขึ้นไป
       ๘. ให้ความเคารพเชื่อฟัง ต่อคณะผู้ดำเนินการอบรมไม่ฝ่าฝืนกฎระเบียบของการอบรม
       ๙. การลา ให้ลาได้ในกรณีพิเศษ เช่น เกณฑ์ทหาร พ่อแม่ป่วยหนักหรือเสียชีวิต เป็นต้น ถ้าลาในกรณีทั่วไป จะต้องถูกตัดคะแนน ๓ คะแนนในวันแรก และตัดอีกวันละ ๑ คะแนนในวันต่อ ๆ มา ถ้าถูกตัดถึง ๑๐ คะแนน จะหมดสิทธิ์บวช ส่วนหลังบวชแล้วไม่อนุญาตให้ลาในกรณีทั่วไป

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.032143167654673 Mins