หมวดปกิณกะ

วันที่ 20 สค. พ.ศ.2565

650825_06.jpg

หมวดปกิณกะ

การใช้สรรพนามในหมู่พระภิกษุและสามเณร
        การใช้สรรพนามในหมู่พระภิกษุและสามเณร เป็นเรื่องที่ธรรมทายาทควรทำความศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการฝึกให้มีสัมมาคารวะ และความอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งเป็นที่มาแห่งปัญญา เพราะผู้สูงอายุกว่าจะเกิดความเอ็นดู แล้วถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ และคุณธรรมความดีงามมาสู่ตัวเรา
       ๑. ความเคารพซึ่งกันและกัน ก่อนบวช เคารพกันตามอายุ ใครอายุมากกว่าให้เรียก "พี่" พี่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่น้องๆ และน้องๆ ก็ควรเชื่อฟังคำแนะนำของพี่
       ๒. เคารพกันตามอาวุโส หลังบวช พระเคารพกันตามวันเวลาที่บวช บวชก่อนเป็นกันเต บวชทีหลังเป็นอาวุโส สามเณรเคารพกันตามอายุ
       ๓. การใช้สรรพนาม
       -พระภิกษุผู้บวชก่อนเรียกผู้บวชทีหลังว่า "ท่าน" ส่วนผู้บวชทีหลังเรียกผู้ที่บวชก่อนว่า "หลวงพี่" ขณะพูดควรประนมมือและลงท้ายด้วย
"ครับ" พระภิกษุเรียกสามเณรว่า สามเณร
       -สามเณรที่มีอายุมากกว่า เรียกผู้ที่อายุน้อยกว่าว่า "ท่าน" ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า เรียกผู้ที่มีอายุมากกว่าว่า "พี่เณร" สามเณรเรียกพระ
ภิกษุว่า "หลวงพี่" ขณะพูดต้องประนมมือ และลงท้ายด้วยคำว่า "ครับ"
       -ในกรณีที่พระคุยกับพระ ให้ใช้แทนตัวว่า "ผม" และให้เรียกอีกฝ่ายหนึ่งว่า "ท่าน" ในกรณีที่บวชใกล้ๆ กัน

650825_05.jpg

การปฏิสันถารญาติโยม
       ๑. ช่วงก่อนบวช ไม่อนุญาติให้พบโยม เพื่อให้มีโอกาสปฏิบัติธรรมได้เต็มที่ เมื่อบวชแล้วจะได้พบในช่วงบ่ายวันอาทิตย์
       ๒. การพบโยมให้พระนั่งบนเก้าอี้ โยมนั่งที่เสือ เป็นการเคารพในพระรัตนตรัย และการแสดงธรรมตามพระธรรมวินัย
       ๓. ใช้สรรพนามแทนตนเองว่า "พระ" หรือ "หลวงพี่" ตามความเหมาะสมถ้าเป็นญาติผู้ใหญ่หรือพ่อ แม่ ให้แทนตัวเองว่า "พระ" เรียกอีกฝ่ายว่า โยมพ่อโยมแม่ โยมลุง ฯลฯ
       ๔. ถ้าเป็นเพื่อนไม่ต้องเรียก โยม ให้เรียกชื่อเลย
       ๕. ไม่พูด "ครับผม" กับโยม
       ๖. ลงท้ายด้วยคำพูดว่า "นะ" หรือใช้การทอดเสียงตอนจบการพูดไม่ใช้คำว่า "จ๊ะ"
       ๗. ไม่ต้องยกมือไหว้โยม
       ๘. ถ้าพูดกับโยมที่ไม่คุ้นเคยกัน ให้ใช้แทนตัวเองว่า "อาตมา"
       ๙. การถ่ายภาพ ไม่ยืนชิดโยมผู้หญิงเกินไป และไม่อุ้มเด็กถ่ายภาพเพื่อป้องกันข้อครหา
       ๑๐. ถ้าพระนั่งเก้าอี้ ให้โยมนั่งคุกเข่าหรือนั่งพับเพียบ
       ๑๑. การนั่ง ถ้านั่งเก้าอี้ ไม่นั่งกางขา ไม่นั่งกึ่งนอน ไม่นั่งเถ้าอี้สองขาไม่นั่งไขว่ห้าง เพราะดูไม่งาม และไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา
       ๑๒. ถ้านั่งบนเสือ ไม่เหยียดเท้าไปหาโยม และไม่นอนเล่น เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา
       ๑๓. ห่มดอง ทุกครั้งที่พบโยม
       ๑๔. โกนหนวด เครา ตัดเล็บ ล้างหน้า บ้วนปาก ให้สะอาด พร้อมที่จะพบโยม เพื่อยังจิตของโยมให้เลื่อมใส

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.022201633453369 Mins