อานิสงส์ของการรักษาศีล
อานิสงส์ คือ ผลดีที่เกิดอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ผู้ที่รักษาศีลย่อมมีอานิสงส์มากมาย หรืออย่างน้อยที่สุด ก็เป็นความสุขใจในการดำรงชีวิตในโลกปัจจุบัน ยิ่งกว่านี้ ย่อมเป็นปัจจัยให้บรรลุมรรคผลนิพพาน หรือแม้ยังไม่ได้นิพพานสมบัติ การรักษาศีลย่อมมีผลให้เกิดอำนาจสะกัดกั้นปิดประตูอบายภูมิในขณะเดียวกัน ประตูสวรรค์ก็พร้อมที่จะเปิดรับ เมื่อผู้รักษาศีลอำลาโลกแล้ว
๑.อานิสงส์ของการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต มีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการคือ
(๑) มีร่างกายสมส่วน ไม่พิการ
(๒) เป็นคนแกล้วกล้า ประเปรียว ว่องไว มีกำลังมาก
(๓) ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ไม่เศร้าหมอง
(๔) เป็นคนอ่อนโยน มีวาจาไพเราะ เป็นเสน่ห์แก่คนทั้งหลาย
(๕) ศัตรูทำร้ายไม่ได้ไม่ถูกฆ่าตาย
(๖) มีโรคภัยเบียดเบียนน้อย
(๗) ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน
๒.อานิสงส์ของการไม่ลักทรัพย์ มีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ คือ
(๑) ย่อมมีทรัพย์สมบัติมาก
(๒) แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมได้โดยง่าย
(๓) โภคทรัพย์ที่ได้แล้วย่อมยั่งยืนถาวร
(๔) สมบัติไม่ฉิบหายเพราะโจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย เป็นต้น
(๕) ย่อมได้อริยทรัพย์
(๖) ย่อมไม่ได้ยินและไม่รู้จักคำว่า “ไม่มี”
(๗) อยู่ที่ไหนย่อมเป็นสุข เพราะไม่มีใครเบียดเบียน
๓. อานิสงส์ของการไม่ประพฤติผิดในกาม มีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการคือ
(๑) ไม่มีศัตรูเบียดเบียน
(๒) เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
(๓) มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์
(๔) ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกะเทยอีก
(๕) เป็นผู้มีสง่า มีอำนาจมาก
(๖) มีอินทรีย์ ๕ (มีศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา) บริบูรณ์
(๗) มีความสุขไม่ต้องทำงานหนัก
๔.อานิสงส์ของการไม่พูดมุสา มีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ คือ
(๑) มีอินทรีย์ ๕ (ศรัทธา,วิริยะ,สติ,สมาธิ,ปัญญา) ผ่องใส
(๒) มีวาจาไพเราะ มีไรฟันสม่าเสมอเป็นระเบียบดี
(๓) มีร่างกายสมส่วนบริบูรณ์ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
(๔) มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว
(๕) มีวาจาศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป
(๖) พูดจาไม่ติดอ่าง ไม่เป็นใบ้
(๗) มีริมฝีปากบางและแดงระเรื่อ
๕.อานิสงส์ของการไม่ดื่มน้ำเมา มีอานิสงส์โดยย่อ ๖ ประการ คือ
(๑) รู้กิจการในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ได้รวดเร็ว
(๒) มีสดีตั้งมั่นทุกเมื่อ
(๓) มีความรู้มาก มีปัญญามาก
(๔) ไม่บ้า ไม่ใบ้ ไม่มัวเมาหลงใหล
(๕) มีวาจาไพเราะ มีนํ้าคำเป็นที่น่าเชื่อถือ
(๖) มีความชื่อสัตย์สุจริตทั่งกาย วาจา ใจ
จากการที่เราได้ฟัง หลังจากที่พระภิกษุให้ศีลแก่ญาติโยมจบแล้วทุกครั้ง ท่านจะสรุปอานิสงส์ให้แก่ผู้ฟังเสมอ คือ
๑. สีเลนะสุคะติง ยันติ
“ศีลทำให้ใปสู่สุคติ”
หมายความว่า สีล ย่อมทำให้ไปดี(สุ=ดี, คติ=ที่ไป) คือ มีอนาคตเจริญก้าวหน้า มีชื่อเสียง เป็นที่ยกย่อง เคารพนับถือ ไว้วางใจ จากคนทั่วไป ครั้นเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว ย่อมไปดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก คือ ไปเกิดบนสวรรค์หรือเป็นเทวดา นางฟ้า
๒. สีเลนะโภคะส้มปะทา
“ศีลทำให้มีโภคทรัพย์”
หมายความว่า ศีล ย่อมทำให้ผู้รักษาได้โภคทรัพย์ประการหนึ่ง และใช้ทรัพย์ได้เต็มอิ่มอีกประการหนึ่ง
ศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์ได้อย่างไร เราจะสังเกตเห็นได้ง่ายๆ จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ล้วนต้องการบุคลากรที่มีคุณธรรมทั้งสิ้น ดังนั้น ในการสมัครเข้าทำงานหรือการแต่งตั้งบุคลากรประจำตำแหน่งต่างๆ ผู้ที่มีศีลสมบูรณ์ ย่อมจะได้รับการพิจารณาก่อน ในทางตรงข้าม คนทุศีล ย่อมไม่มีใครต้องการรับไว้ทำงาน
บิดามารดาที่มีทรัพย์สมบัติ ย่อมปรารถนาจะยกมรดกให้บุตรที่ประพฤติตัวดี มีศีลมีธรรม เพราะท่านมั่นใจว่า บุตรผู้นั้นจะสามารถรักษาทรัพย์ที่มอบให้ได้ และสามารถใช้ทรัพย์นั้นให้เกิดประโยชน์งอกเงยต่อไปได้
ศีลทำใหํใช้ทรัพย์ได้เต็มอิ่มคืออย่างไร ทรัพย์สินที่เราได้มาด้วยความทุจริต ย่อมก่อให้เกิดความไม่สบายใจทุกครั้งที่เราคิดถึงหรือแลเห็น คนโบราณมักกล่าวว่า สิ่งของที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรมเปรียบเสมือนมีผีสิง ทั้งนี้เพราะเจ้าของจะหวาดผวาทุกครั้งที่ได้เห็นทรัพย์สินที่ตนได้มาโดยทุจริต
๓. สีเลนะนิพพุติง ยันติ
“ศีลทำใหไปนิพพาน”
คำว่า นิพพาน มีความหมายเป็น ๒ นัยยะ คือ
(๑) นิพพานขั้นต้น หมายถึง คนที่มีศีลย่อมเกิดความสบายใจ จะอยู่ที่ใดก็สงบเย็นเป็นสุข
(๒) นิพพานขั้นสูง หมายถึง ศีลทำให้ผู้รักษาหมดกิเลส ผู้ที่หมดกิเลสย่อมได้ไปนิพพานทั้งสิ้น