อุโบสถศีล คืออะไร 

วันที่ 23 มีค. พ.ศ.2566

อุโบสถศีล คืออะไร 

อุโบสถศีล คืออะไร 

เหมือนหรือต่างกับศีล ๘ อย่างไร
      อุโบสถศีล คือ ข้อปฏิบัติสําหรับพัฒนาตนให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น เดียวกับศีล ๘ อุบาสกอุบาสิกาจะสมาทานรักษาเป็นประจําในวันพระ คือขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (แรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด) มีองค์สิกขาบทองค์แห่งศีล เหมือนกัน ต่างกันแต่ คําอาราธนา คําสมาทาน และ
กาลเวลา ที่กําหนดเท่านั้น
      อุโบสถ แปลว่า การเข้าอยู่ หรือดิถีอันวิเศษที่จะเข้าจําศีลการถืออุโบสถจะมีเวลากําหนด เช่น หนึ่งวันกับหนึ่งคืน โดยกําหนดเอาอรุณแห่งวันรุ่งขึ้นเป็นการหมดเขตการสมาทาน หรือหมดเวลาการรักษาอุโบสถศีล ส่วนศีล ๘ ไม่มีเวลากําหนด สามารถรักษาได้ตลอดเวลา
      การสมาทานอุโบสถศีล จะสมาทานร่วมกันทุกข้อ เรียกว่า เอกัชฌสมาทาน ดังนั้น การรักษาอุโบสถศีลจึงต้องรักษารวมกันทุกสิกขาบทหรือทุกข้อ ถ้าขาดข้อใดไป ก็คือว่าศีลขาดจากความเป็นผู้รักษาอุโบสถศีล

 

อุโบสถศีล ๓ ประเภท

อุโบสถศีล แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
      ๑.ปกติอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่รักษากันในช่วงเวลา ๑ วัน กับ ๑ คืน โดยมากรักษากันในวันขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ หรือแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนคี่ พูดง่ายๆ ก็คือ รักษากันในวันพระนั่นเอง ปกติอุโบสถ จัดเป็น อุโบสถขั้นต้น
      ๒.ปฏิชาครอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่รักษากันในช่วงเวลานานถึง ๓ วัน ตัวอย่างเช่น วัน ๗ ค่ำ เป็นวันรับอุโบสถ วัน ๘ ค่ำเป็นวันรักษาอุโบสถ วัน ๙ ค่ำ เป็นวันส่งอุโบสถ รวมเป็น ๓ วัน คือวันรับวันรักษา และวันส่ง ปฏิชาครอุโบสถจัดเป็น อุโบสถขั้นกลาง
      ๓.ปาฏิหาริยอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่มีกําหนดเวลาดังนี้
      (๑) อย่างต่ำ เริ่มตั้งแต่ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึง แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ รวม ๑๔ วัน
      (๒) อย่างสูง เริ่มตั้งแต่ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ รวม ๔ เดือน ปาฏิหาริยอุโบสถจัดเป็น อุโบสถขั้นสูง

 

บทความจากหนังสือ ศีลคุณค่าของความเป็นมนุษย์
หนังสือธรรมะแจกฟรี ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ (ไฟล์ PDF) กดที่นี่ 

ชื่อหนังสือ ศีลคุณค่าของความเป็นมนุษย์

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.047842466831207 Mins