พุทธศาสนาและปัญญาชนตะวันตก

วันที่ 07 ตค. พ.ศ.2547

 

พระราชสุทธิญาณมงคล (จรัญ ธิตธัมโม)

 

.....เป็นบันทึกการสนทนาธรรมระหว่าง พระราชสุทธิญาณมงคล และนักวิชาการตะวันตกผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาต่าง ๆ และต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับพระธรรม คำสอนจากประสบการณ์ของพุทธศาสนิกชน เพื่อนำไปเสริมความรู้ที่ได้จากการศึกษาคัมภีร์พุทธศาสนา

 

.....สำหรับพระราชสุทธิญาณมงคล เป็นพระนักปฏิบัติที่มีประสบการณ์ การปฏิบัติธรรมยาวนาน และผลงานของการนำพระธรรม ไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทางด้านศาสนาและจริยธรรมเป็นที่รู้จักกันดี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

.....การสนทนาธรรม ที่ครอบคลุมปัญหาต่าง ๆ ที่น่าสนใจหลายเรื่องด้วยกัน เช่น ใครเป็นผู้สร้างกฎแห่งกรรม การตัดกรรม เป็นไปได้หรือไม่ บุญ เป็นสิ่งที่ซื้อขายกันได้หรือไม่ ทำบุญอย่างอย่างไรจึงจะได้บุญมากที่สุด นิพพานเป็นแดนสุขาวดีใช่หรือไม่ การปฏิบัติกรรมฐานช่วยให้หายเครียดได้ไหม ศาสนาพุทธส่งเสริมเรื่อง “ การผสมเทียม ” และโคลนนิ่งมนุษย์หรือไม่ แพทย์ควรถอดเครื่องช่วงชีวิตคนไข้เมื่อใด พุทธานุภาพยังคงอยู่ในโลกได้อย่างไร ฯลฯ

   

.....จากการที่ศาสตราจารย์เจอรัลด์ แมคเคนนี่ ศาสตราจารย์เจมส์ สจวตท์ และศาสตาจารย์ไวโอเล็ต โอเล็ต ลินเบค นักวิชาการชาวอเมริกันสนใจ พุทธศาสนานิกายเถรวาท มากจนถึงกับเดินทาง มาประเทศไทยเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ถือว่าท่านทั้งสาม เป็นตัวอย่างของปัญญาชน ตะวันตกที่ไม่ได้เป็นชาวพุทธ แต่สนใจศึกษาพุทธศาสนาด้วยเหคุผล และยังมีข้อข้องใจเกี่ยวกับคำสอน และการปฏิบัติในพุทธศาสนาอยู่หลายเรื่อง ที่สำคัญได้แก่ เรื่องกฎแห่งกรรม นิพพาน เสรีภาพ สันโดษ การปฏิบัติกรรมฐาน การทำบุญ บทบาทและพฤติกรรมของพระสงฆ์ นอกจากนั้นยังสงสัยว่าพระธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นเป็นประโยชน์แก่คนและสังคมปัจจุบันที่กำลังก้าวไปสู่ศตวรรษที่ ๒๑ ได้อย่างไร

 

.....พุทธศาสนาเป็นศาสนา ที่ไม่เชื่อเรื่องอำนาจของ “ พระเจ้า ” และใช้กฎแห่งกรรมอธิบาย สาเหตุของความเข้มแข็งความอ่อนแอ ความไม่เสมอภาค และความแตกต่างในด้านต่าง ๆ รวมทั้งความสามารถ และฐานะความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยการโยงไปที่การกระทำ และทายาทของกรรมที่ได้ทำไว้ วิธีอธิบายเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาโดยใช้กฎแห่งกรรมเป็นพื้นฐาน เป็นของใหม่สำหรับชาวตะวันตก ที่เติบโตมาในวัฒนธรรมของศาสนาคริสต์ มีจิตใจความนึก คิดหล่อหลอมด้วยคำสอนในศาสนานี้ ดังนั้นจึงเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม และสังสารวัฎได้ยาก และมักเข้าใจผิดกันว่า ในพุทธศาสนากฎแห่งกรรมเป็นพระเจ้า ที่บังคับคนแต่ละคนให้มีชีวิตเป็นไปตามชะตากรรมที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และที่เปลี่ยนแปลงแก้ไชไม่ได้ นอกจากนั้นการที่พุทธศาสนา เน้นกรรมส่วนบุคคลโดยสอนให้ คนแต่ละคนรับผิดชอบชีวิต ของตนเองเต็มที่นั้น ทำให้เข้าใจผิดด้วยว่าพุทธศาสนา ปัดความรับผิดชอบที่สังคม/รัฐบาลพึงมีต่อคนนั้นเป็นเรื่องของ “ กรรม ” ที่ผู้นั้นได้ทำไว้เอง ความเข้าใจผิดเหล่านี้ จะหมดไปเมื่อคนตะวันตก ศึกษาคำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมให้ลึกซึ้งขึ้น

 

.....และสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ได้รับประโยชน์ จากการศึกษาการสนทนาธรรมระ หว่างหลวงพ่อกับศาสตราจารย์ทั้งสามคือ การมองเห็นความสำคัญของการปฏิบัติ การปฏิบัติด้วยการรักษาศีล เป็นประโยชน์ทั้งแก่ผู้ปฏิบัติ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง การปลูกฝังให้ตัวเองมีคุณธรรมต่าง ๆ ในพุทธศาสนาจะทำให้ชีวิต เจริญงอกงามจนสามารถพัฒนาตัวเอง จากการเป็นปุถุชนให้เป็นอริยบุคคลได้ การปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาเป็น การป้องกันไม่ให้มีความเครียด ความวิตกกังวล และความหวาดกลัวต่าง ๆ เกิดขึ้นในใจและนำไปสู่การเกิดปัญญาที่รู้แจ้ง ซึ่งจะช่วยให้ไม่หลงใหล ในสรรพสิ่งทั้งหลายรวมทั้งบุญกุศลประเภทต่าง ๆ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าพระธรรมคำสอนในพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒๕๐๐ ปีที่แล้ว ยังคงเป็นประโยชน์แก่ชาวโลกและสังคมมนุษย์ หลักจริยธรรมของศาสนาพุทธยัง สามารถนำมาใช้เป็นบรรทัดฐาน สำหรับความเจริญก้าวหน้าของตัวเองและสังคม และเป็นสิ่งกำหนดทิศทาง ของการใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย แก่มนุษย์และธรรมชาติ

 

.....อาจคาดคะเนได้ว่า ในอนาคตที่ไม่ไกลนี้ ปัญญาชนตะวันตกผู้แสวงหา สัจธรรมในพุทธศาสนาจะเป็นกำลัง สำคัญทั้งในการสร้าง ความเจริญทางวิชาการให้ แก่พุทธศาสนานิกายเถรวาท และในการเผยแพร่พระธรรม คำสอนไปที่ต่าง ๆ ที่พระสงฆ์ยังเข้าไปไม่ถึง

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

สุพัฒนะ.

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0021558324495951 Mins