แก่นแท้ของชีวิต

วันที่ 24 พค. พ.ศ.2550

แก่นแท้ของชีวิต

           “โลกมนุษย์ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร มีแต่การทำพระนิพพานให้แจ้งเท่านั้นที่เป็นแก่นสารอย่างแท้จริง”ตลอดชีวิตการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของหลวงพ่อ ได้มีโอกาสได้เยี่ยมเมืองสำคัญๆ ในหลายประเทศ เมืองไหนๆที่เขาว่าดี ก็ได้ไปมาทั่วโลกแล้ว แต่ไปแล้วก็ได้ข้อสรุปว่าไม่มีแก่นสารอะไรทั้งนั้น พวกเราเข้าวัดเพื่อปฏิบัติธรรมแล้ว อย่าได้เอาใจออกห่างจากศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อย่าไปเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่อง หรือเรื่องที่ทำให้ใจหลุดออกจากศูนย์กลางกายอยู่เลย มีแต่จะทำให้เสียบุญเสียบารมีไปเปล่าๆ เพราะผลสุดท้ายก็จะได้ข้อสรุปว่า โลกนี้ไม่มีแก่นสารอะไร

แก่นแท้ของชีวิต

ตั้งใจฝึกฝนตนเองให้เข้าถึงแก่นแท้ของการศึกษาในพระพุทธศาสนา

           บุคคลที่มีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาแล้ว จะกลายเป็นคนที่เจริญก้าวหน้าในการฝึกฝนตนเองได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่เข้าใจแก่นแท้ของการศึกษาในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ถึงจะทำได้ ไม่ใช่เป็นเพราะได้ศึกษาพระบาลีจนกระทั่งจบ ป.ธ. ๙ หรือเรียบจบด๊อกเตอร์ได้ปริญญาเอกหลาย ๆใบ แล้วจะเข้าใจแก่นแท้ของการศึกษาในพระพุทธศาสนาการศึกษาที่ถูกต้องไม่ได้มุ่งเอาแต่ความรู้เพียงอย่างเดียวแต่มุ่งการฝึกฝนอบรมตนเองเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะคำว่า “ศึกษา” มาจากคำบาลีว่า “สิกขา” ซึ่งบงบอกแก่นแท้ของการศึกษาในพระพุทธศาสนาอยู่ในนั้น

ส + อิกข + า = สิกขา

ส แปลว่า อัตตา

อิกข แปลว่า มอง, เห็น, พิจารณาเป็นปัจจัย

สิกขา แปลว่า เห็นตน พิจารณาตน มองตน

           นั่นคือ “สภาพใด ทำให้มองเห็นตนได้ชัดเจนสภาพนั้นเรียกว่า สิกขา”จากคำแปลของคำว่าสิกขานี้ ทำให้เรามองเห็นแก่นแท้ของการศึกษาพระพุทธศาสนาที่ซ่อนอยู่ในนั้นได้ว่า การศึกษา คือ การพัฒนานิสัยใฝ่รู้ – ใฝ่ดี ให้ยิ่งขึ้นไป โดยอาศัยวิชาการต่างๆและหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นอุปกรณ์สำคัญในการพัฒนาตน ซึ่งเมื่อพัฒนาไปได้มากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ผู้ศึกษานั้นเกิดปัญญา ความบริสุทธิ์และความกรุณาในสันดานเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นเมื่อเราได้ฝึกฝนอบรมตนเองจนกระทั่งได้นิสัยทุ่มชีวิตใฝ่หาความรู้และทุ่มชีวิตสร้างความดีเช่นนี้แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาภายในชีวิตก็คือ

ประการแรก คือ ยิ่งฝึกฝนตนเองมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งใกล้ธรรมะภายในของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากเท่านั้น

ประการที่สอง คือ ยิ่งฝึกฝนตนเองมาเท่าไรก็ยิ่งกลายเป็นผู้มีความสะอาดบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ มากเท่านั้น

ประการที่สาม คือ ยิ่งฝึกฝนตนเองมากเท่าไรก็ยิ่งได้ชื่อว่าเป็นพุทธบริษัท ๔ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตัวจริง

 

             บุคคลที่ฝึกฝนอบรมตนเองมาตามเส้นทางนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงแก่นแท้ของการศึกษาที่แท้จริง คือ การศึกษาที่ไม่ใช่เอาแต่ความรู้ แต่เป็นการศึกษาเพื่อมุ่งกำจัดแก้ไขพฤติกรรมชั่วๆในตัวให้หมดไปและทุ่มชีวิตสร้างความดีเพื่อให้เกิดนิสัย ๆ ขึ้นในตนวางเป้าหมายไว้ที่การเข้าถึงธรรมะภายในตนพุทธศาสนิกชนที่แท้ มีความจำเป็นต้องศึกษาเส้นทางการสั่งสมบุญบารมีให้ชัดเจนจากพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อศึกษาแล้วจึงมี เรื่องหนึ่งที่ต้องตอบให้ได้ นั่นคือ ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ธรรมะ”

 

ธรรมะ คืออะไร? คำว่าธรรมะแบ่งความหมายออกเป็น ๓ นัย

ประการที่ ๑ ธรรมะ คือ ธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในตัวมนุษย์ทุกคน หากใครเข้าถึงธรรมะนี้ได้เมื่อไร วิชชาเครื่องกำจัดกิเลสย่อมเกิด ความสว่างย่อมเกิด ความบริสุทธิ์ย่อมเกิด หากใจของใครเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมะนี้ได้ กิเลสย่อมถูกกำจัดหมดสิ้นไปได้ ทุกข์ทั้งปวงย่อมหมดสิ้นไปด้วย

ประการที่ ๒ ธรรมะ คือ คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนให้มนุษย์พ้นจากทุกข์ทั้งปวง มีไว้ให้พวกเรานำไปทุ่มชีวิตฝึกฝนอบรมตนเองตามนั้น เมื่อฝึกฝนอบรมตนเองได้ดีแล้ว ย่อมต้องสามารถเข้าถึงสัจธรรมภายในได้อย่างแน่นอน

ประการที่ ๓ ธรรมะ คือ นิสัยดี ๆ ที่เกิดจากการตั้งใจปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ อย่างจริงจัง ด้วยการละเว้นความชั่ว ทำความดี กลั่นใจให้ผ่องใส เพื่อเข้าถึงธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในตน ทำให้เกิดปัญญาความบริสุทธิ์ ความกรุณาในสันดานของตนเพิ่มมากขึ้น

            นักบาลีบางท่านแม้จะสามารถแปลธรรมะในพระไตรปิฎกได้แล้ว ตาเพราะไม่ได้นำสิ่งที่แปลได้นั้น มาฝึกฝนอบรมตนเองให้ยิ่งๆขึ้นไป เขาจึงได้แต่คำแปล แต่ไม่รู้จักตัวจริงของธรรมะเหมือนกับที่ พระมงคลเทพมุนี หลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านได้รู้คนที่เห็นธรรมะได้นั้น อย่างน้อยที่สุดต้องฝึกนิสัยควบคุมกาย วาจา ใจให้มีพฤติกรรมที่ดี ๆ จนกระทั่งมีนิสัยใฝ่รู้และใฝ่ดีเกิดขึ้นในตนเองที่ฝึกควบคุม “พฤติกรรม” ตนเองได้แต่ในระดับ “กาย” กับ “วาจา” แต่ยังไม่ค่อยเป็นนิสัยฝังเข้าไปในตัว ก็จะได้เพียงแค่ “จริยธรรมขั้นตน”ผู้ที่ฝึกจริยธรรมขั้นตนของตนเองให้ยิ่งๆขึ้นไปในระดับ “ใจ” จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยฝังอยู่ข้างในตัวก็จะได้ ”ศีลธรรมประจำใจ”ผู้ที่เคี่ยวเข็ญฝึกฝนอบรม “ศีลธรรมประจำใจ” ของตนเองให้เป็นนิสัยดีงามที่มั่นคงยิ่งๆขึ้นไปด้วยปริยัติธรรมที่เรียนมารอบแล้วรอบเล่า ในที่สุด ”ใจต้องหยุดนิ่ง”

 

          ใจหยุดนิ่งได้เมื่อไร “พระธรรมกาย” ที่มีอยู่แล้วในตัวเอง ของทุก ๆ คน ย่อมเกิดขึ้นเมื่อนั้นเมื่อตั้งใจเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีแล้ว ก็ต้องเคี่ยวเข็ญฝึกฝนอบรมตนเองอย่างเคร่งครัด วางเป้าหมายชีวิตมุ่งไปที่การฝึกฝนอบรมตนเอง ฝึกปฏิบัติสมาธิเจริญภาวนาให้ได้เข้าถึงพระธรรมภายในเป็นสำคัญ เราศึกษาธรรมะมากเท่าไร ก็ต้องทุ่มเทเคี่ยวเข็ญฝึกฝนอบรมตนเองให้ได้ตามนั้น เป็นชีวิตที่ไม่คิดก่อกรรมทำเวรแก่ใคร ไม่คิดเบียดเบียนใคร แค่ประคองตัวเองไปอย่างนี้ แล้วไม่มีความชั่วไปตลอดชีวิต เมื่อถึงคราวละจากโลกนี้ไป ก็ต้องได้สุคติ มีสวรรค์เป็นที่ไปอย่างแน่นอน หรือสามารถฝึกฝนตนเองด้วยการ ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา จนเข้าถึงพระธรรมกาย สามารถปราบมารประหารกิเลส ให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ กระทำพระนิพพานให้แจ้งได้ในที่สุด

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0035327315330505 Mins