บทสวดมนต์ทำวัตรเช้า

วันที่ 08 กย. พ.ศ.2556

บทสวดมนต์ทำวัตรเช้า

บทสวดมนต์ทำวัตรเช้า, ทำวัตรเช้า, สวดมนต์, สวดมนต์วัดพระธรรมกาย, บูชาพระ, สวดมนต์ตอนเช้า

      ขณะที่ประธานกำลังจุดเทียน ธูป บูชาพระรัตนตรัย ให้ทุกคน สำรวมใจ นั่งคุกเข่าประนมมือขึ้นพร้อมกัน ครั้นประธานกล่าวคำ นมัสการนำ ทุกคนก็ว่าตามโดยพร้อมเพรียงกันอย่างชัดเจน ไม่ค่อยหรือดังเกินไป พร้อมทั้งกำหนดนึกถึงพระพุทธรูปตามวิธีที่กล่าวมาแล้ว ควบคู่กันไปด้วย  เมื่อผู้เป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว พึงกล่าวคำนมัสการนำ ให้ว่าตามดังต่อไปนี้

 

      (เกริ่นนำ) พระรัตนตรัย เป็นทั้งที่พึ่งและที่ระลึกอันสูงสุดของพวกเราทั้งหลาย สิ่งอื่นที่จะเป็นที่พึ่งที่ระลึกยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ดังนั้นขอนิมนต์พระภิกษุทุกรูป (หรือขอเรียนเชิญทุกท่าน) พึงตั้งใจ กล่าวคำสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย ด้วยการสวดมนต์ทำวัตรเช้าโดยพร้อมเพรียงกัน

๑. คำบูชาพระรัตนตรัยโดยพิสดาร

     โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ,
ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม ,
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ,
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง ,
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ ,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ,
ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา ,
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ ,
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ  ฯ

     

๒. คำนมัสการพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา , พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม , ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , สังฆังนะมามิ ฯ (กราบ)

 

๓. ปุพพะภาคะนะมะการะ

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส ฯ     

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ    (๓ ครั้ง)

 

๔. พุทธาภิถุติ

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ

    โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา, โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพ๎รห๎มะกัง, สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ, โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัล๎ยาณัง มัชเฌกัล๎ยาณัง ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง, สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พ๎รห๎มะจะริยัง ปะกาเสสิ, ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิฯ

(กราบระลึกถึงพระพุทธคุณ)

 

๕. ธัมมาภิถุติ

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ

        โย โส ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ, 

        ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิฯ 

(กราบระลึกถึงพระธรรมคุณ)

 

๖. สังฆาภิถุติ

(กล่าวนำ) หันทะ  มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ

       โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะฯ ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิฯ

(กราบระลึกถึงพระสังฆคุณ)

 

๗. ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถา

(ต่อไปนี้นั่งพับเพียบตามปกติ แล้วสวด)

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ 
สังเวคะปะริกิตตะนะ ปาฐัญจะ ภะณามะ เส ฯ

     พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว ,
โยจจันตะสุทัพพะระญาณะโลจะโน , 
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก ,
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง , 
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน , 
โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก , 
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน , 
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง , 
สังโฆ สุเขตตาภ๎ยะติเขตตะสัญญิโต ,
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก , 
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส , 
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,  
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง ,
วัตถุตตะยัง  วันทะยะตาภิสังขะตัง , 
ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา , 
มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา ฯ

 

๘. สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ

      อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน  อะระหัง สัมมาส้มพุทโธ  , ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต, มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง, โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, เสยยะถีทัง, รูปูปาทานักขันโธ, เวทะนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ  , วิญญาณูปาทานักขันโธ  , เยสัง ปะริญญายะ , ธะระมาโน โส ภะคะวา, เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี, พะหุลา ปะวัตตะติ, รูปัง อะนิจจัง, เวทะนา อะนิจจา, สัญญา อะนิจจา, สังขารา อนิจจา,วิญญาณัง อะนิจจัง, รูปัง อะนัตตา, เวทะนา อะนัตตา, สัญญา อะนัตตา, สังขารา อะนัตตา, วิญญาณังอะนัตตา สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ, เต มะยัง (ท่านหญิงว่า ตา มะยัง) โอติณณาม๎หะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา, อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ, จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา ธัมมัญจะ สังฆัญจะ ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ สา สา โน ปะฏิปัตติ อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุฯ

 

๙. ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส 

        ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ ยาวะเทวะ หิริโกปินะ ปะฏิจฏาทะนัตถังฯ

        ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิเนวะ ทะวายะ นะ มะทายะ นะ มัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ, ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา ยาปะนายะ วิหิงสุปะระติยา พรัหมะจะริยานุคคะหายะ อิติปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ, ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะผาสุวิหาโร จาติฯ

        ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ ฑังสะ-มะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถังฯ

       ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง ปะฏิเสวามิ, ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานังปะฏิฆาตายะ อัพยาปัชฌะปะระมะตายาติฯ

 

๑๐. ธาตุปฏิกูลปัจเวกขณปาฐะ

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง ธาตุปะฏิกูละปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เสฯ

       ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง ยะทิทัง จีวะรัง ฯ ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล ธาตุมัตตะโก นิสสัตโต นิชชีโว สุญโญ ฯ สัพพานิปะนะอิมานิจีวะรานิอะชิคุจฉะนียานิ อิมัง ปูติกายัง ปัตวาอะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิชายันติฯ

      ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง ยะทิทัง ปิณฑะปาโต ฯ ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล ธาตุมัตตะโก นิสสัตโต นิชชีโว สุญโญ ฯ สัพโพ ปะนายัง ปิณฑะปาโต อะชิคุจฉะนีโย อิมัง ปูติกายัง ปัตวา อะติวิ-ยะ ชิคุจฉะนีโย ชายะติฯ

      ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง ยะทิทัง เสนาสะนัง ฯ ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล ธาตุ-มัตตะโก นิสสัตโต นิชชีโว สุญโญ ฯ สัพพานิปะนะ อิมานิเสนาสะนานิ อะชิคุจฉะนียานิอิมัง ปูติกายัง ปัตวา อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติฯ

      ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง ยะทิทัง คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโรฯ ตะทุปะภุญชะ-โก จะ ปุคคะโลธาตุมัตตะโก นิสสตโต ั นิชชโวี สุญโญฯ สัพโพ ปะนายัง  คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโรอะชิคุจฉะนีโย อิมัง ปูติกายัง ปัตวาอะติวิยะ ชิคุจฉะนีโย ชายะติฯ

  

๑๑. ปัตติทานะคาถา

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง ปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เสฯ 

        ยา เทวะตา สันติวิหาระวาสินี
ถูเป ฆะเรโพธิฆะเรตะหิงตะหิง
ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุปูชิตา
โสตถิงกะโรนเตธะวิหาระมัณฑะเล
เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ ภิกขะโว
สารามิกา ทานะปะตีอุปาสะกา
คามา จะ เทสา นิคะมา จะ อิสสะรา
สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุเต
ชะลาพุชา เยปิจะ อัณฑะสัมภะวา
สังเสทะชาตา อะถะโวปะปาติกา
นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง ปะฏิจจะ เต
สัพเพปิทุกขัสสะกะโรนตุสังขะยังฯ
   ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม 
   ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา
   สังโฆ โหตุ สะมัคโค วะ   
   อัตถายะ จะ หิตายะ จะ 
   อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม  
   สัพเพปิ ธัมมะจาริโน 
   วุฑฒิง สัมปาปุเณยยามะ 
   ธัมเม อะริยัปปะเวทิเต ฯ

     

๑๒. โอวาทปาฏิโมกข์

(กล่าวนำ) หันทะ มะยังโอวาทะปาฏิโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา ,
ความอดทน คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา ,
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสว่าพระนิพพานเป็นเยี่ยม  
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี ,
ผู้ล้างผลาญผู้อื่น ,ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต ,
ผู้เบียดเบียนผู้อื่น , ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย 
เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ฯ
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย    
สัพพะปาปัสสะ  อะกะระณัง ,
การไม่ทำบาปทั้งปวง  หนึ่ง      
กุสะลัสสูปะสัมปะทา ,
การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม  หนึ่ง      
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง , 
การกลั่นจิตของตนให้ผ่องแผ้ว หนึ่ง  
เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ฯ
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อะนูปะวาโท ,   
การไม่เข้าไปว่าร้ายกัน หนึ่ง   
อะนูปะฆาโต ,
การไม่เข้าไปล้างผลาญกัน หนึ่ง 
ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร ,
ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ หนึ่ง    
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง,
ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร หนึ่ง   
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง ,
การนอนการนั่งอันสงัด  หนึ่ง 
อะธิจิตเต จะ อาโยโค ,
การประกอบความเพียรในอธิจิต หนึ่ง 
เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ฯ
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

 

    ทำวัตรเช้าเสร็จแล้ว ให้ทุกท่านสำรวมใจ นั่งคุกเข่าประนมมือขึ้นพร้อมกัน
เพื่อสวดมนต์ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ครั้นประธานกล่าวนำ ทุกคนก็ว่าตามโดยพร้อมเพรียงกัน ดังต่อไปนี้

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา , พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ
(กราบครั้งที่หนึ่งแล้วกล่าวว่า) 
พุทโธ เม นาโถ , พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา 

สวากขาโต ภะคะวะตาสัมโม , ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ
(กราบครั้งที่สองแล้วกล่าวว่า) 
ธัมโม เม นาโถ , พระธรรมเป็นที่พึ่งของเรา 

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , สังฆัง นะมามิ
(กราบครั้งที่สามแล้วกล่าวว่า) 
สังโฆ เม นาโถ , พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของเรา

 

        การกล่าวเช่นนี้ เป็นการแสดงความเคารพอย่างแน่นแฟ้น และเป็นการทำจิตใจให้เลื่อมใสมั่นคงในพระรัตนตรัยยิ่งๆ ขึ้น อันจะเป็นบาทเบื้องต้นที่จะส่งผลให้เราเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในได้โดยง่าย

 

(จบทำวัตรเช้า)


** อ้างอิงจากหนังสือ มนต์วิธานและศาสนพิธี **
เหมาะสําหรับภิกษุผู้นวกะพระเถระและพุทธศาสนิกชนผู้สนใจทั่วไป

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.030389968554179 Mins