กรรมดีทางใจ
3) กรรมดีทางใจ ได้แก่ความคิดที่สุจริตอันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการพูด และการกระทำที่สุจริต แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ
3.1) ความไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น (อนภิชฌา) คือไม่มักได้ ไม่คิดโลภด้วยการ
แย่งชิงผลประโยชน์จากผู้อื่นอย่างไร้ความเป็นธรรม ขณะเดียวกันก็ถือสันโดษ คือ พอใจในสิ่งที่ตนพึงมีพึงได้
3.2) ความไม่คิดพยาบาทจองเวรผู้ใด (อพยาบาท) แต่มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น และคิดให้
อภัยอยู่เสมอ
3.3) มีความเห็น หรือความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องโลกและความเป็นไปของชีวิตตามที่เป็นจริง(สัมมาทิฏฐิ) ด้วยการศึกษาและปฏิบัติธรรม
"กุศลกรรมบถ 10" นี้ ถือได้ว่าเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน "กรรมดี" ที่มีรายละเอียดอย่างชัดเจนทำอย่างไรคนเราจึงจะสามารถตั้งมั่นอยู่ในเกณฑ์แห่งกรรมดี 10 ประการนี้อย่าง สม่ำเสมอเหตุปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้คนเราตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ 10 อยู่เสมอ นอกจากการได้รับการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิจนเกิดเป็นนิสัย ตั้งแต่เยาว์วัยจากครอบครัว จาก สถาบันการศึกษาแล้วเมื่อโตขึ้นก็จะต้องใส่ใจศึกษา และปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันมิให้ขาด ทั้งต้องไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุขอย่างเด็ดขาดอีกด้วย
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก