ทำไมบางคนจึงสงสัย หรือไม่เชื่อกฎแห่งกรรม
เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมักปรากฏให้เห็นอยู่เสมอว่า ผู้คนจำนวนไม่น้อย ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในสังคมว่าพวกเขาทำผิดศีล ผิดกฎหมายอยู่เนืองๆ แต่ก็ไม่ถูกลงโทษทัณฑ์แต่ประการใด ยังคงลอยนวลอยู่ในสังคมมีความสะดวกสบาย มีทรัพย์สินเงินทอง มากมาย บางคนก็มีตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตในวงราชการ หรือการเมืองบางคนก็มีอำนาจอิทธิพลเป็นเจ้าพ่อธุรกิจเถื่อนต่างๆ ในทางกลับกันคนดีบางคน ซึ่งไม่เคยทำผิดศีลผิดกฎหมาย กลับประสบโชคร้ายต่างๆ เช่น บางคนก็ประสบภัยอันตรายทางธรรมชาติ บางคนก็ถูกใส่ร้ายป้ายสี บางคนก็ถูกฆาตกรรม ฯลฯ ภาพการณ์เหล่านี้ทำให้ผู้คนไม่น้อยสงสัย และไม่เชื่อกฎแห่งกรรมทำไมการออกผลของกรรม จึงไม่เป็นไปตามพุทธดำรัสมีความจริงที่ต้องยืนยันไว้ ณ ที่นี้ก็คือ การออกผลของกรรมเป็นไปตามพุทธดำรัสโดยไม่มีข้อยกเว้น คือ ทำดีต้องได้ดีจริง ทำชั่วต้องได้ชั่วจริง แต่การออกผลของกรรมของแต่ละคนมีความสลับซับซ้อนมาก จึงดูเหมือนไม่เป็นไปตามพุทธดำรัส ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละคนเคยทำทั้งกรรมดี และกรรมชั่วปะปนกันไปในแต่ละวัน ประการหนึ่ง กับการทำกรรมทั้งดีและชั่วของคนเรานั้นมิได้ทำกันเพียงแค่ครั้งเดียว แต่ทำกันบ่อยๆ อีกประการหนึ่ง ดังนั้นการออกผลของกรรม จึงขึ้นอยู่กับอิทธิพลของแรงกรรมแต่ละฝ่ายที่ชิงโอกาสให้ผลกันอยู่
กล่าวคือ ถ้าช่วงใดที่กรรมดีมีแรงมาก ก็จะออกผลก่อน ทำให้กรรมชั่วหมดโอกาสออกผล จึงจำเป็นต้องตั้งท่าคอยโอกาสอยู่ จนกระทั่งกรรมดีหมดแรง ต่อจากนั้นก็จะเป็นโอกาสแห่งการออกผลของกรรมชั่วบ้าง เพราะเหตุนี้ชีวิตของคนเราจึงมีทั้งสุขและทุกข์ ลับกันไป อย่างไรก็ตามกาลเวลาแห่งการให้ผลของกรรมแต่ละอย่างที่เราทำ มีอยู่ 3 ระยะ คือ 1
ระยะที่ 1 กรรมที่ให้ผลในชาตินี้
ระยะที่ 2 กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า
ระยะที่ 3 กรรมที่ให้ผลในชาติต่อๆ ไปไม่มีกำหนด จนกว่าจะหมดกิเลส บรรลุพระนิพพาน
ความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมมีประโยชน์อย่างไร
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก