ทำไมต้องเข้าใจเรื่อง "โลกนี้"
ความเข้าใจเรื่องโลกนี้ทั้ง 4 ประการดังกล่าว จะสามารถช่วยทำให้คนเราเกิดปัญญาคิดสำรวจและปรับปรุงตนเอง เมื่อพบนิสัยสันดานไม่ดีในตน พวกเขาก็จะคิดขจัดให้หมดไป เพราะเกิดความสำนึกรับผิดชอบในศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนขึ้นมาเป็นอันดับแรก จึงคิดปฏิรูปตนนั่นเอง ครั้นแล้วก็จะพยายามพันานิสัยดีๆ ขึ้นมาแทน ด้วยการสร้างแต่กรรมดีตามหลักกุศลกรรมบถ 10 ขณะเดียวกันก็งดเว้น หรือหลีกห่างจากอบายมุขทั้งปวงเมื่อปฏิบัติแต่กรรมดีจนเป็นนิสัยเข้าไปอยู่ในใจสันดานไม่ดีอันเนื่องมาจากกิเลส ในใจก็จะหมดโอกาสแสดงฤทธิ์ ยิ่งถ้าอยู่ในแวดล้อมของคนดี บัณฑิต กัลยาณมิตร ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรอย่างต่อเนื่องข้ามภพข้ามชาติ ก็จะสามารถสั่ง สมบุญกุศลได้มากขึ้นๆ ถึงขั้นเป็นบารมี ดุจเดียวกับการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งในที่สุดกิเลส ที่แอบแฝงอยู่ในกมลสันดาน ก็จะฝ่อไปโดยปริยาย เฉกเช่นเมล็ดพืชที่ถูกเก็บไว้ในที่แห้งนานปีจนหมดยางเหนียว ย่อมไม่สามารถงอก ืบพืชพันธุ์อีกต่อไปได้ ข้อนี้ฉันใดก็ฉันนั้น นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมต้องเข้าใจเรื่อง "โลกนี้"
ในทางตรงข้าม ถ้าคนเราไม่เข้าใจเรื่อง "โลกนี้" ก็จะประพฤติตนไปตามอำนาจกิเลส ครั้น
นานไปก็จะมีนิสัยสันดานชอบก่อกรรมทำชั่วเป็นอาจิณ ซึ่งบางคนก็อาจจะต้องประสบความทุกข์ความ เดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ตั้งแต่ในชาตินี้แล้ว แต่บางคนที่ยังมีบุญเก่า คือวิบากแห่งกรรมดีในอดีตชาติยังตามให้ผลสนับสนุนอยู่ ก็อาจจะประสบความมั่งคั่งร่ำรวยด้วยการงานทุจริต กลายเป็นเจ้าพ่อผู้มอิทธิพลระดับชุมชน ระดับประเทศ หรือแม้ระดับโลก ขาดความรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ทั้งของตนเองและผู้ร่วมสังคม คนประเภทนี้แหละที่จะก่อปัญหาวิกฤต ทำให้ชาวโลกต้องเดือดร้อนกันไปทั่ว โดยที่เขาไม่รู้สึกผิด อีกทั้งไม่มีปัญญารู้ล่วงหน้าว่า เขาจะต้องเสวยกรรมหนักในปรโลก นานนับด้วยหมื่นล้านแสนล้านปีในที่สุดเกี่ยวกับเรื่องโลกที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ นักศึกษาย่อมเห็นแล้วว่าไม่ว่าจะเป็นสังขารโลกสัตวโลกและโอกาสโลก ซึ่งรวมเรียกว่า "โลกนี้" มีคุณอย่างยิ่งใหญ่ต่อทุกๆ ชีวิตสุดจะนับจะประมาณ ที่สำคัญคือเป็น "สุคติ"สำหรับสร้างกรรมดี เพื่อสั่ง มบุญบารมีของคนเราให้ยิ่งๆขึ้นไป จนกระทั่งสามารถบรรลุมรรคผลนิพพาน ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันต์พุทธสาวกทั้งปวงในคัมภีร์พระพุทธศา นากล่าวว่า มีผู้คนบางกลุ่มบางพวกที่ปัญญามืดบอดด้วยอำนาจกิเลในกมลสันดาน เห็นว่า "โลกนี้ไม่มี" คือไม่มีคุณ รวมทั้งไม่มีที่มาดังได้พรรณนามาแล้ว ความเห็นผิดของพวกเขาจัดเป็น "มิจฉาทิฏฐิ" ในทางกลับกันกลุ่มบัณฑิตมีจิตใจผ่องใสเห็นด้วยปัญญาของตนว่า "โลกนี้มี"คือมีคุณค่าอเนกอนันต์ต่อสัตวโลกทั้งปวง ความเห็นถูกของเขาจัดเป็น "สัมมาทิฏฐิ"
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก