มารดา

วันที่ 21 มิย. พ.ศ.2557


           

 

 

            สาระสำคัญเกี่ยวกับคุณของมารดาก็คือ ความเห็นที่ว่า "มารดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง" เป็นเรื่อง สภาพใจของผู้เป็นบุตรที่กอปรด้วย "ความกตัญูกตเวที" มารดาบางคนอาจจะมีพระคุณต่อบุตรไม่ครบทั้ง 4 ประการ ดังได้กล่าวแล้ว แต่ถึงอย่างไร มารดาทุกคนก็มีพระคุณต่อบุตรของตนอย่างแน่นอน อย่างน้อยที่สุดก็ 2 ประการ คือ

 

          1. ให้ชีวิต

 

          2. ให้ต้นแบบร่างกายที่เป็นมนุษย์สำหรับพระคุณอีก 2 ประการ คือ

 

          2.1 การให้ต้นแบบจิตใจที่เป็นมนุษย์ 

 

          2.2 การเป็นบุพการีถ้าหากมารดาของเราจะมีข้อบกพร่องใน 2 ประการหลังนี้บ้าง ก็ไม่อาจจะลบล้างพระคุณ 2 ข้อแรกลงได้เลยการที่มารดาของเรามีข้อบกพร่อง ก็เพราะท่านยังมีกิเล อยู่ จึงมีเชื้อมิจฉาทิฏฐิอยู่ในใจ 

 

           ดังนั้นตัวเราในฐานะบุตร จึงไม่ควรถือเอาข้อบกพร่องของท่านมาเป็นเรื่องน้อยอกน้อยใจ โกรธเคืองท่าน หรือตำหนิติเตียนท่าน แต่ควรถือเอาความบกพร่องของท่านมา สอนใจตัวเรา เมื่อถึงคราวที่เราอยู่ในฐานะมารดา(หรือบิดา) บ้างว่า เราจะไม่ยอมให้ความบกพร่องเช่นนั้นเกิดขึ้นเลย ยิ่งกว่านั้น ต้องถือเป็นหน้าที่ของบุตรที่จะต้องตอบแทนพระคุณมารดาของตน อย่างดีที่สุด เท่าที่จะทำได้ และการช่วยขจัดมิจฉาทิฏฐิให้สิ้นไปจากใจของท่าน ก็ถือว่าเป็นการทดแทนพระคุณมารดาที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง บุตรที่ทำได้เช่นนี้แสดงว่าจิตใจได้พันาความรับผิดชอบขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง บุคคลที่มี สภาพใจกอปรด้วยความกตัญูกตเวทีต่อมารดาของตนเช่นนี้ ชื่อว่ามีความเห็นถูกเป็น "สัมมาทิฏฐิ"ในทางกลับกัน บุคคลที่ถือโทษโกรธเคืองมารดา คอยจับผิดมารดาของตนด้วยเรื่องต่างๆ ไม่แสดงความกตัญูกตเวที ต่อมารดาของตน ก็เพราะจิตใจของเขามืดมัวด้วยอำนาจกิเลส บุคคลประเภทนี้ชื่อว่ามีความเห็นผิดเป็น "มิจฉาทิฏฐิ"

 

 
 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก


  

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0013904333114624 Mins