เรื่องที่ 2 วิบากแห่งกรรมปาณาติบาต
ในสมัยพุทธกาล มีอุบาสกผู้บรรลุโสดาปัตติผลคนหนึ่ง ชื่อมหากาล อุบาสกมหากาลนี้รักษาอุโบสถศีลเดือนละ 8 วัน ในวันที่รักษาอุโบสถศีล เขาจะฟังธรรมตลอดทั้งคืน ณ เชตวัน มหาวิหารคืนหนึ่ง พวกโจรเข้าไปขโมยทรัพย์ในบ้านหลังหนึ่ง ครั้นเมื่อเจ้าของบ้านตื่นขึ้น พวกโจรก็หนีกระเจิดกระเจิงกันไปคนละทิศละทาง เมื่อเห็นเจ้าของบ้านออกติดตามใกล้ชิด โจรบางคนก็ทิ้งห่อทรัพย์สินสิ่งของไว้ แล้วหนีไปแต่ตัว โจรคนหนึ่งหนีมาทาง ระโบกขรณีหน้าเชตวันมหาวิหาร ทิ้งห่อของไว้แล้วรีบหนีไปครั้นรุ่งเช้า อุบาสกมหากาลออกมาจากวิหาร จึงแวะล้างหน้าที่ริม สระโบกขรณีกลุ่มคนที่ติดตามโจรมา พบห่อของใกล้ๆ กับที่มหากาลกำลังล้างหน้าอยู่ เข้าใจว่ามหากาลเป็นโจร
จึงทุบตีจนตายบรรดาภิกษุหนุ่มและสามเณรที่ออกมาตักน้ำในตอนเช้า เห็นมหากาลนอนตายอยู่ จึงกลับไปกราบทูลพระบรมศา ดาว่า "มหากาลตายโดยไม่ สมควรเลย"
พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า "จริงอยู่ มหากาลตายไม่สมควรแก่กรรมในชาตินี้ แต่สมควรแก่กรรมในชาติก่อน"ครั้นเมื่อเหล่าภิกษุสามเณรทูลอาราธนา ขอให้พระบรมศาสดาตรัสแสดงบุพกรรมของมหากาลพระองค์จึงตรัสเล่าเรื่องดังนี้
ในอดีตกาล มีพวกโจรซุ่มอยู่ที่ปากดงแห่งชนบทชายแดนแห่งหนึ่ง ในแคว้นของพระเจ้าพาราณสีพระราชาจึงตั้งราชภัฏ (ข้าราชการ) คนหนึ่งไว้ที่ปากดงนั้น เพื่อคอยให้ความปลอดภัยแก่ราษฎรที่เดินทางจากฟากนี้ไปยังฟากโน้น หรือจากฟากโน้นมายังฟากนี้วันหนึ่ง มีชายคนหนึ่งขับยานน้อยมากับภรรยารูปงาม ไปถึงที่นั่นแล้ว ขอร้องให้ราชภัฏพาเขาทั้งสองข้ามดงไปเนื่องจากราชภัฏนั้นเกิดความเสน่หาภรรยาของชายคนนั้น จึงคิดจะฆ่าสามีของเธอเพื่อเอาเธอมาเป็นภรรยา เขาจึงแสร้งปฏิเสธ และแนะนำว่าให้คอยถึงเช้าตรู่ โดยแนะนำให้คู่สามีภรรยาพักค้างคืนที่ซุ้มประตูบ้านของเขา แม้ สองสามีภรรยา จะอ้อนวอนว่ายังไม่มืดค่ำ ราชภัฏก็ไม่ยอมฟังสามีภรรยาคู่นั้น จึงต้องจำใจค้างคืนอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของราชภัฏตอนกลางคืน ราชภัฏนั้นได้ให้คนใช้ของเขาแอบเอาแก้วมณีดวงหนึ่งไปซ่อนไว้ในซอกแห่งสยานน้อยนั้น ครั้นพอรุ่งเช้า ก็โวยวายว่าแก้วมณีหายไป และให้บริวารช่วยกันค้นได้ที่ยานของสามีภรรยาคู่นั้น ราชภัฏกับบริวารจึงช่วยกันทุบตีบุรุษเจ้าของยานน้อยนั้นจนตาย แล้วให้เอาศพไปทิ้งเสีย นี่คือบุพกรรมของมหากาลผู้เคยเป็นราชภัฏนั้น เพราะกรรมนั้น เขาจึงได้บังเกิดในอเวจีมหานรก หมกไหม้อยู่ในอเวจีนั้นสุดแสนนาน เมื่อพ้นจากมหานรกมาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว เพราะเศษแห่งวิบากกรรมนั้น เขาก็ถูกทุบตายมาแล้วถึง 100 ชาติจากเรื่องทั้ง 2 ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ นักศึกษาคงจะได้เห็นแล้วว่า การทำกรรมกิเลส ไม่ว่าจะเพียงเล็กน้อย หรือร้ายแรงเพียงใด ในที่สุดผู้ก่อกรรมจะต้องเสวยวิบากกรรมร้ายแรงยิ่งกว่ากรรมที่ตนก่อขึ้นอย่างเทียบกันไม่ได้เลย เพราะเหตุนี้ผู้มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง มีความเข้าใจและเชื่อกฎแห่งกรรมอย่างจริงใจ จึงพยายามหลีกเลี่ยงกรรมกิเลส อยู่เสมอ จะมีก็แต่มิจฉาทิฏฐิชนเท่านั้น ที่ชอบแสดงพฤติกรรมท้าทายกฎแห่งกรรมอยู่เนืองๆ
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก