บุคคลที่ชื่อว่าเกียจคร้านในการทำงาน มีพฤติกรรม อย่างไร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแสดงนิสัยและพฤติกรรมของคนเกียจคร้านไว้ให้ดู พอเป็นตัวอย่าง 6 ประการด้วยกัน คือ
6.1) มักอ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำงาน
6.2) มักอ้างว่าร้อนนัก แล้วไม่ทำงาน
6.3) มักอ้างว่าเย็นแล้ว แล้วไม่ทำงาน
6.4) มักอ้างว่ายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำงาน
6.5) มักอ้างว่าหัวค่ำนัก แล้วไม่ทำงาน
6.6) มักอ้างว่ากระหายนัก แล้วไม่ทำงาน
ใครก็ตามที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ยกข้ออ้างต่างๆ ในทำนองเดียวกันนี้ แล้วไม่ทำงาน ก็ย่อม
แสดงได้อย่างชัดเจนว่า เป็นคนที่มีนิสัยเกียจคร้าน เป็นคนเอาดีไม่ได้ จึงไม่ใช่คนดีจากเรื่องโทษของอบายมุขทั้ง 6 ประเภทใหญ่ ที่กล่าวมานี้ นักศึกษาคงจะพบคำตอบด้วยตนเองแล้วว่า ทำไมอบายมุขจึงชื่อว่าเป็นทางแห่งความฉิบหาย บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิฝังแน่นอยู่ในใจ ย่อมตระหนักถึงโทษภัยร้ายแรงของอบายมุขเป็น อย่างดี จึงเว้นขาดจากอบายมุขทั้งปวง จะมีก็แต่เหล่ามิจฉาทิฏฐิชนเท่านั้น ที่พอใจเกลือกกลั้วอยู่กับอบายมุข เฉกเช่น แมลงเม่าที่ชอบบินเข้ากองไฟ ฉะนั้นเพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ย่อมมีความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรม ทางเศรษฐกิจ นี่คือความรับผิดชอบประการที่ 3 ของคนดีที่โลกต้องการบุคคลที่ขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทาง เศรษฐกิจ จะประสบโทษภัยอย่างไรบุคคลที่ขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทาง เศรษฐกิจ ก็คือผู้ที่เสพคุ้นหรือติดอบายมุขประเภทใดประเภทหนึ่ง หรืออาจครบทั้ง 6 ประเภท บุคคลประเภทนี้ย่อมจะประสบกับความฉิบหายทั้งในโลกนี้ และโลกหน้าอย่างไม่ต้อง สงสัย ดังมี เรื่องของบุคคลต่างๆ มากมาย ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ซึ่งจะขอยกเรื่องราวของบางท่านมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก