ความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ
บุคคลที่มีความสำนึกรับผิดชอบประการที่ 3 มีพฤติกรรมอย่างไร
พฤติกรรม หรือการประพฤติปฏิบัติที่แสดงว่า คนเรามีความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทาง
เศรษฐกิจ ก็คือ การเว้นขาดจากอบายมุขทั้งปวง
อบายมุข คืออะไร
ได้อธิบายคำว่า "อบายมุข" ไว้ครั้งหนึ่งแล้วในเรื่องเกี่ยวกับวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วว่าหมายถึง "ปากทางแห่งความฉิบหาย"
ในพระพุทธศาสนาแบ่งอบายมุขออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ คือ
1) การติดสุราเมรัย รวมทั้งสิ่งเสพติดประเภทต่างๆ
2) การชอบเที่ยวกลางคืน
3) การติดการดูการละเล่น
4) การติดการพนัน
5) การคบคนชั่วเป็นมิตร
6) การเกียจคร้านในการทำงาน
ทำไมอบายมุขจึงเป็นทางแห่งความฉิบหาย
แท้ที่จริงนั้นอบายมุขแต่ละอย่างหาคุณไม่ได้เลย มีแต่จะก่อให้เกิดโทษภัยมากมายแก่คนเรา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโทษของอบายมุขที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลที่เสพคุ้นหรือเกี่ยวข้องไว้อย่างน้อยประเภทละ 6 ประการ พอเป็นตัวอย่าง ดังนี้ 1
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก