ความยั่งยืนแห่งคุณสมบัติของคนดี
เป้าหมายของการมาเกิดเป็นมนุษย์
จากเรื่องแนวคิดในการปฏิรูปมนุษย์ ในบทที่ 1 นักศึกษาย่อมทราบชัดแล้วว่า การทำกรรมดี
ต่างๆ จะก่อให้เกิดความสุข ทั้งแก่ผู้ทำเองและแก่สังคมโดยรวม ในทางกลับกันกรรมชั่วต่างๆ จะก่อให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน ทั้งแก่ผู้ทำเองและแก่สังคมโดยรวมเช่นกันสัมมาทิฏฐิชนเท่านั้นที่เลือกทำเฉพาะกรรมดีส่วนมิจฉาทิฏฐิชนก็จะคุ้นอยู่กับการทำกรรมชั่วทุกรูปแบบ เพราะฉะนั้นคนมีปัญญาปรารถนาความสุข ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต จึงพยายามปฏิรูปตนเองให้เป็นคนดี มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ให้ครบทั้ง 10 ประการตลอดไป
จากสัมมาทิฏฐิ 10 ประการนี้เอง ทำให้สัมมาทิฏฐิชนมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลออกไป จน
ตระหนักเห็นชัดเจนว่า คนเราแต่ละคนล้วนมาเกิดเพื่อสร้างบุญบารมีเท่านั้น ทั้งต้องไม่ทำกรรมชั่วใดๆ เลยจึงจะมีโอกาสประสบสุขตาม สมควรในโลกนี้ และที่แน่ๆ จะได้ประสบสุขอย่างสุดที่จะพรรณนาในโลกหน้ายิ่งกว่านั้นถ้าทุ่มเททำกรรมดี และสั่ง สมบุญบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ถึงขั้นยอม ละชีวิตเป็นเดิมพัน เพื่อกำจัดกิเลสอาสวะให้สิ้นไป ก็จะบรรลุมรรคผลนิพพาน ได้ประสบสุขอย่างยิ่งชั่วนิรันดร เพราะไม่ต้องกลับมาเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในสังสารวัฏอีกต่อไปด้วยเหตุนี้สัมมาทิฏฐิชนจึงเกิดปัญญาวางแผนชีวิต โดยตั้งเป้าหมายไว้ 3 ระดับ คือ
1. เป้าหมายชีวิตระดับต้น หรือระดับบนดิน คือ การตั้งตนเองเป็นหลักฐานมั่นคงให้ได้ในชีวิตนี้สาระสำคัญของการตั้งตนเองเป็นหลักฐานมั่นคง หมายถึงการมีอาชีพมั่นคง มีรายได้ประจำแน่นอน มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีบ้านเป็นของตนเอง มีเงินทองใช้ อยตามปกติ มีเงินเหลือเก็บตาม สมควร ไม่เป็นคนหลักลอย ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
2. เป้าหมายชีวิตระดับกลาง หรือระดับบนฟ้า คือ การสั่ง สมคุณความดีต่างๆ ให้เพียบพร้อม
เพื่อมุ่งไปสู่สุคติโลก สวรรค์ หลังจากละโลกนี้ไปแล้ว
3. เป้าหมายชีวิตระดับสูง หรือระดับเหนือฟ้า คือ การ สละชีวิตเป็นเดิมพันสร้างบุญบารมีเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือทำพระนิพพานให้แจ้ง หลุดพ้นจากสังสารวัฏไปโดยเด็ดขาด
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก