เป็นการพัฒนาสัมมาทิฏฐิให้แก่รอบยิ่งขึ้น ผู้คนในเครือข่ายกัลยาณมิตรย่อมเกี่ยวข้องอยู่กับกรรมดีห่างไกลจากกรรมชั่ว กล่าวคือ ในการทำมาหากินก็สามารถประกอบอาชีพได้ด้วยความสุจริต
พ้นจากการทำมาหากินแล้วก็มุ่งสั่ง สมบุญบารมี ด้วยมีความเชื่อมั่นว่าการพันาเศรษฐกิจกับจิตใจต้องไปคู่กันเมื่อคิดเช่นนี้และปฏิบัติเช่นนี้สัมมาทิฏฐิของเขาย่อมแก่รอบขึ้นเรื่อยๆการรู้จักเลือกคบแต่คนดี (กัลยาณมิตตตา) หรือ "ทั้งคบคนดีและสร้างเครือข่ายคนดีเป็น" นี้อาจกล่าวโดย
สรุปได้ว่า ในเบื้องต้นตัวเราเองต้องศึกษาและปฏิบัติธรรม เพื่ออบรมตนเองให้เป็นคนดีมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามคบหา สมาคมกับคนดีมีสัมมาทิฏฐิ เพื่อ
ซึมซับคุณธรรมความดีของบุคคลเหล่านั้นมาไว้ในตัวเราให้มากยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นก็พยายามสร้างเครือข่ายคนดีให้กว้างขวางขึ้น ด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างชักชวนกันมาทำกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมความดี เช่นการศึกษา และการปฏิบัติตามหลักธรรมมีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ร่วมกันทำกิจกรรมส่งเสริม และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เช่น การทำกิจกรรมพันาวัด การชักชวนคนไปบวชเป็นภิกษุสามเณร ตลอดจนการอุปถัมภ์ผู้บวช เหล่านั้น นอกจากนี้ก็มีการร่วมกันทำกิจกรรมสังคม สงเคราะห์ ในหมู่บ้านชุมชนของตนตามความเหมาะสม
สิ่งที่ต้องระลึกไว้เสมอก็คือ การสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรขึ้นในหมู่บ้าน หรือชุมชนเป็นสิ่งที่
มีคุณค่ายิ่ง เพราะเป็นการสร้างขุมทรัพย์ใหญ่ขึ้นไว้เป็นที่พึ่งที่อาศัยของทุกๆ คนในชุมชน และถ้าเครือข่ายกัลยาณมิตรแข็งแรงมั่นคงแล้ว เหล่าอันธพาลสันดานหยาบ เหล่ามิจฉาทิฏฐิชน และแหล่อบายมุข ต่างๆก็จะสูญพันธ์ุไป ดุจเดียวกับโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่กลับมา กล้ำกลายบุคคลที่มีสุขภาพ สมบูรณ์แข็งแรงเต็มที่ ฉะนั้นอีกนัยหนึ่ง การสร้างเครือข่ายคนดี คือ การสร้างมิตรแท้ และกำจัดมิตรเทียมในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างยิ่งนั่นเอง
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก