ลักษณะนิสัยของมิตรเทียมและมิตรแท้

วันที่ 28 มิย. พ.ศ.2557

 

ลักษณะนิสัยของมิตรเทียมและมิตรแท้


           พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างมิตรแท้ 4 กลุ่ม และมิตรเทียม
4 กลุ่ม ดังนี้


        จากลักษณะนิสัยที่ตรงข้ามกันระหว่างมิตรเทียมกับมิตรแท้เหล่านี้ ย่อมมีส่วนเป็นเหตุให้มิตรแท้
หรือคนดีมองมิตรเทียมไม่ออก หรือแม้มองออกก็ยอมเสียสละ เช่น มิตรมีอุปการะ ย่อมมีนิสัยรักการให้
การแบ่งปัน การสงเคราะห์ด้วยความมีเมตตา กรุณาอย่างจริงใจ เมื่อถูกเพื่อนปอกลอก ก็คิดไปว่าเพื่อนคงจะขาดแคลน จึงยอมอดทนเสีย สละให้ กว่าจะรู้ว่าตนถูกปอกลอก ก็แทบจะสิ้นเนื้อประดาตัวเสียแล้ว เป็นต้น


        อนึ่ง เพราะเหตุที่มิตรเทียมมีความเห็นเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเป็นศัตรูอยู่ในกมลสันดาน พร้อมที่จะทำร้าย และทำลายเพื่อนอยู่ทุกลมหายใจ ดังนั้น จึงไม่ต้อง งสัยเลยว่ามิตรเทียมแต่ละประเภทจะมี
ลักษณะนิสัยเลวทั้ง 4 ประการดังกล่าว พร้อมบริบูรณ์อยู่ในใจทุกคน พฤติกรรมอย่างหนึ่งที่มิตรเทียมจะทำร้ายเพื่อนก็คือ การชักชวนเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับอบายมุข ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาเกลือกกลั้วอยู่เป็นประจำ แม้ในเบื้องต้น ซึ่งคนดียังมี สติ มีหิริโอตตัปปะ และความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเองอยู่อย่าง สมบูรณ์ ครั้นเมื่อทนรบเร้าด้วยถ้อยคำชักชวนหว่านล้อมต่างๆ นานาไม่ไหว ในที่สุดก็จะพลาดท่าเสียทีมิตรเทียมเข้าจนได้ ไม่ต้องมาก แม้เพียงได้ดื่มเหล้าด้วยกันสักครั้งเดียว สติของคนเราก็หย่อน สมรรถภาพ หรืออาจถึงขาดสะบั้นก็ได้ หรือชวนไปเล่นการพนัน โดยวางแผนให้เป็นผู้ชนะเพียงครั้งเดียว คนที่เคยดีก็จะรู้สึกติดอกติดใจ อยากไปร่วมกิจกรรมซ้ำอีกแม้จะมี สติและสัมมาทิฏฐิสามารถเตือนตน หรือห้ามปรามไม่ให้ไปสร้างกรรมชั่วอีกอยู่ในระดับหนึ่งก็จะไม่สำเร็จ เพราะกิเลส ที่เคยนอนนิ่งอยู่ในใจของคนดี ได้ถูกปลุกขึ้นมาสู้รบ ปรบมือกับสัมมาทิฏฐิแล้ว ทำให้เกิดความรู้สึกร้อนรนกระวนกระวายจนหาความ สงบมิได้ มิตรเทียมรู้จุดอ่อนข้อนี้ดี จึงต้อง
ความแตกต่างระหว่างลักษณะนิสัยของมิตรเทียมกับมิตรแท้กลุ่มที่ ลักษณะนิสัยของมิตรเทียม ลักษณะนิสัยของมิตรแท้คนปอกลอก มิตรมีอุปการะคนดีแต่พูด มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุขคนหัวประจบ มิตรแนะนำประโยชน์คนชวนฉิบหาย มิตรมีความรักใคร่ชักชวนซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อเติมพลังกระตุ้นกิเลส ในใจของคนดีให้โหมกระพือขึ้นอีก จนสัมมาทิฏฐิในใจของเขาต้านทานไม่ไหว ด้วยวิธีการนี้เองคุณสมบัติของคนดีที่เคยมีอยู่อย่างมั่นคงในจิตใจของคนเรา ก็จะแปรเปลี่ยนไปเป็นมิจฉาทิฏฐิทีละน้อยๆ หากไม่ได้กัลยาณมิตรท่านอื่นเข้ามาช่วยไว้ คนที่เคยดีก็อาจหมดดีเอาง่ายๆเพราะเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงเห็นว่า การตรัสอนแต่เพียงลักษณะนิสัยของมิตรเทียม และมิตรแท้เท่านั้น ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับปุถุชนผู้มีอวิชชาอยู่ในจิตใจ ย่อมจะยังไมสามารถแยกแยะมิตรเทียม และมิตรแท้ได้อย่างเด็ดขาด น่าจะต้องมีรายละเอียดที่เป็นกฎเกณฑ์เพิ่มขึ้นอีก

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.00096609989802043 Mins