หน้าที่รับผิดชอบของภรรยา
1) จัดการงานดี หมายถึง การบริหารจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมประจำวันต่างๆ ภายในครอบครัว
ทุกประเภท เช่น การดูแลหรือจัดเตรียมอาหาร การเลี้ยงบุตร เป็นต้น นอกจากนี้การจัดการงานดีของ
บางครอบครัว ยังรวมถึงการบริหารจัดการ เกี่ยวกับธุรกิจของครอบครัวด้วย ภรรยาที่ดีมีสัมมาทิฏฐิ
มีความรู้ความสามารถ ย่อมทำหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิผล
2) สงเคราะห์คนข้างเคียงสามี ภรรยาที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจเท่านั้น จึงจะสามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ข้อนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง
3) ไม่ประพฤตินอกใจ ภรรยาที่มีความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม ละกรรมกิเลส 4 ได้ ย่อม
ไม่ประพฤตินอกใจสามี
4) รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ คุณสมบัติสำคัญของภรรยาที่จะปฏิบัติหน้าที่ข้อนี้ได้ มบูรณ์ ก็
เพราะไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข และมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องอริยวินัยในการใช้ทรัพย์1
5) ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง ภรรยาที่มีคุณสมบัติข้อนี้ได้ ก็เพราะไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขทั้งปวง และมีความเข้าใจเป้าหมายของการได้มาเกิดเป็นมนุษย์เป็นอย่างดีภรรยาที่มีความรับผิดชอบสามารถปฏิบัติหน้าที่ทั้ง 5 ประการได้ สมบูรณ์ ก็เพราะได้รับการปลูกฝังอบรมเกี่ยวกับความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมจากทิศเบื้องหน้า และเบื้องขวา ของตนมาเป็นอย่างดีตั้งแต่ก่อนแต่งงานสำหรับทิศเบื้องหลังนี้มีสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษก็คือการเลือกคู่ครอง ในการเลือกคู่ครองของคนเราไม่ว่าชายหรือหญิง จำเป็นจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งนี้เพราะการมีคู่ครองเป็นเรื่องของการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวของฆราวา ถ้าการเลือกคู่ครองขาดการพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ ย่อมจะเกิดปัญหาหย่าร้างและปัญหาทุกข์ร้อนอย่างอื่นตามมาอีกมากมาย ซึ่งนอกจากจะเป็นปัญหาส่วนตัวแล้วยังอาจจะเป็นปัญหาสังคมด้วย เช่น ปัญหาเยาวชนจากครอบครัวบ้านแตกสาแหรกขาด ด้วยเหตุนี้ปู่ย่าตา
ยายของเราจึงมีสำนวนเตือนใจลูกหลานว่า "ปลูกเรือนผิด คิดจนเรือนทลาย"พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาเกี่ยวกับเรื่องคู่ครองไว้หลายแห่ง เช่นใน ภริยาสูตร2 มีเนื้อหาโดยย่อดังนี้
เช้าวันหนึ่ง เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ทรง ดับเสียงอื้ออึงในนิเวศน์จึงตรัสถามถึงสาเหตุ ท่านเศรษฐีได้กราบทูลว่า ผู้ก่อเหตุแห่งความอื้ออึงนั้นคือ
นางสุชาดา ลูกสะใภ้ของท่านเศรษฐี ซึ่งไม่เคารพยำเกรงใครๆ ในนิเวศน์ทั้งสิ้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเรียกนางสุชาดาให้เข้ามาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า เธอเป็นภรรยาประเภทใด ใน 7 ประเภทต่อไปนี้
1) ภรรยาเสมอด้วยเพชฌฆาต (วธกาภริยา) คือ ภรรยาซึ่งดูหมิ่นสามีของตน ยินดีในชาย
อื่น และพยายามฆ่าสามีของตน
2) ภรรยาเสมอด้วยโจร (โจรีภริยา) คือ ภรรยาที่คิดยักยอกทรัพย์ที่สามีหามาได้เสมอ
1 แบ่งทรัพย์ที่หามาได้ออกเป็น 4ส่วนส่วนที่ 1สำหรับใช้เลึ้ยงชีวิตและครอบครัว อีกสองส่วนสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพส่่วนที่ 4 เก็บออมไว้สำหรับใช้คุ้มครองป้องกันตนยามมีอันตราย ซึ่งรวมทั้งการทำทานกุศลด้วย
3) ภรรยาเสมอด้วยนาย (อัยยาภริยา) คือ ภรรยาที่เกียจคร้านในการทำงาน คอยแต่จะ
กล่าวคำหยาบ ข่มขี่สามีผู้ขยันทำมาหากิน
4) ภรรยาเสมอด้วยแม่ (มาตาภริยา) คือ ภรรยาที่ปฏิบัติต่อสามีเสมือนดูแลบุตรและรักษา
ทรัพย์ที่สามีหามาได้เป็นอย่างดี
5) ภรรยาเสมอด้วยพี่สาวน้องสาว (ภคินีภริยา) คือ ภรรยาที่มีความเคารพนับถือสามีของ
ตน และอนุโลมตามความคิดเห็นของสามีเสมอ
6) ภรรยาเสมอด้วยเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา ( ขีภริยา) คือภรรยาที่ปฏิบัติต่อสามีด้วยความชื่นชมยินดีเสมอ ไม่มีการแสดงกิริยาวาจากระแทกกระทั้น กระทบกระเทียบให้สามีรู้สึกระคายเคือง
7) ภรรยาเสมอด้วยทา (ทาสีภริยา) คือ ภรรยาที่มีความอดทนสูง เมื่อถูกสามีขู่ตะคอก หรือ
ทุบตีก็ไม่โกรธตอบเมื่อตรัสเรื่องภรรยา 7 ประเภทจบลงแล้ว พระพุทธองค์ทรง รุปว่า ภรรยา 3 ประเภทแรกจัดอยู่ในประเภทคนทุศีล ขาดความเอื้อเฟอ ดังนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรกส่วนภรรยา 4 ประเภทที่เหลือเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล ถนอมรักไว้ยั่งยืน เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว นางสุชาดาจึงกราบทูลพระพุทธองค์ว่า "ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นภรรยาเสมอด้วยทาสี"
จากเรื่องภรรยา 7 ประเภท ย่อมเห็นได้ว่าสาระสำคัญของเรื่องนี้มีอยู่ 5 ประเด็น คือ ภรรยา
ทุศีล กับภรรยาผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลดังนั้น ถ้าจะมองกลับไปในฝ่ายสามีบ้าง ก็คงจะมีอยู่ 2 ประเภทเหมือนกัน คือสามีทุศีล กับสามีผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีล เพราะฉะนั้น ในการเลือกคู่ครอง ต่างฝ่ายต่างต้องใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องศีลของกันและกันให้ละเอียดรอบคอบ และควรจะฟังเสียงทักท้วงของผู้ใหญ่ที่หวังดีด้วย มิใช่ปล่อยจิตใจให้ตกเป็นทา ของกามารมณ์ คิดแต่เพียงว่า "รักกันหนา พากันหนี" บุคคลที่มีศีล ย่อมหวังได้ว่าเขาจะเป็นคนดีมีธรรมะด้วยแม้เขาจะมีสัมมาทิฏฐิยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์นัก แต่ถ้าได้ใกล้ชิดกับกัลยาณมิตร เขาก็จะสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงถาวรได้
ผู้ที่มีหลักในการเลือกคู่ครองเช่นนี้ ย่อมประสบความสุขความเจริญในชีวิตครอบครัว ขณะเดียวกันบุตรธิดาก็จะ สืบทอดมรดกแห่งคุณธรรมนี้ต่อไปอีกด้วย ซึ่งจะทำให้ทุกคนมีโอกาสบรรลุเป้าหมายชีวิตทั้งระดับต้น และระดับกลางอย่างแน่นอนยิ่งกว่านั้น ภาวะของภรรยาเสมอด้วยทา ย่อมไม่เกิดขึ้นในครอบครัว เพราะต่างฝ่ายต่างมีสัมมาทิฏฐิมั่นคงอยู่ในใจ ย่อมไม่แสดงพฤติกรรมทุศีลให้ปรากฏออกมา
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก