คหบดีบุตร นายพึงบำรุงทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องล่างโดยหน้าที่ 5 ประการ คือ
1. จัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง
2. ให้อาหารและค่าจ้าง
3. ดูแลรักษายามเจ็บป่วย
4. ให้อาหารมีรสแปลก
5. ให้หยุดงานตามโอกาส
ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องล่างนายบำรุงโดยหน้าที่ 5 ประการนี้แล ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยหน้าที่ 5 ประการ คือ
1. ตื่นขึ้นทำงานก่อนนาย
2. เลิกงานเข้านอนทีหลังนาย
3. ถือเอาแต่ของที่นายให้
4. ทำงานให้ดีขึ้น
5. นำคุณของนายไปสรรเสริญ
คหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องล่าง นายบำรุงโดยหน้าที่ 5 ประการนั้นแล ย่อม
อนุเคราะห์นายด้วยหน้าที่ 5 ประการนี้ ทิศเบื้องล่างนั้นเป็นอันชื่อว่านายได้ปิดป้อง ทำให้เกษมปลอดภัยแล้วด้วยประการฉะนี้
อธิบายความ เพราะเหตุที่นายจ้างปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่ อันพึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องล่าง 5 ประการ ได้สมบูรณ์ จึงเป็นแรงจูงใจให้ลูกจ้างปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่ประจำทิศเบื้องล่าง 5 ประการ ได้ มบูรณ์ด้วยเช่นกัน นั่นคือ
1. ทั้งฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง ต่างได้บำเพ็ญตนเป็นมิตรแท้ต่อกันและกันอย่างสมบูรณ์ ตามอริยวินัย
2. ทั้งสองฝ่ายต่างเพิ่มพูนสัมมาทิฏฐิ และกำจัดมิจฉาทิฏฐิ เคียงบ่าเคียงไหล่กันไปด้วย
3. ความสำนึกรับผิดชอบทั้งต่อตนเองสังคม ศีลธรรมทางเศรษฐกิจ และทิศเบื้องล่างของฝ่ายนายจ้างกำลังเพิ่มพูนมั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภัยใดๆ ย่อมไม่มีโอกาสเกิดจากฝ่ายนายจ้าง ไปกล้ำกรายสู่ทิศเบื้องล่างและภัยใดๆ ย่อมไม่เกิดจากทิศเบื้องล่าง กล้ำกรายมาถึงฝ่ายนายจ้าง คือ ต่างฝ่ายต่างปราศจากกรรมชั่ว 14 ประการ ยิ่งกว่านั้นฝ่ายนายจ้างยังแ ดงออก ซึ่งพรหมวิหารธรรมก่อน ฝ่ายลูกจ้างจึงตอบสนอง ด้วยอิทธิบาทธรรม ทั้งสองฝ่ายจึงมีแต่ความสุขความเจริญเพียงอย่างเดียว ฝ่ายนายจ้างได้ชื่อว่า ปิดป้องทิศเบื้องล่างเรียบร้อยแล้ว
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก