พระธรรมกาย

วันที่ 22 กค. พ.ศ.2557

 

พระธรรมกาย

 


       ในการปฏิบัติกรรมฐานของพระมงคลเทพมุนี ท่านได้เข้าถึง พระธรรมกาย ซึ่งเป็นกายตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ณ ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ด้วยการดำเนินจิตตามทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา เข้าถึงพระธรรมกาย แม้พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ก็เข้าถึงพระธรรมกายที่มีอยู่ในตัว พระมงคลเทพมุนีจึงได้กล่าวไว้ว่า "กายนี้เป็นกายที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ผู้ใดทำกายนี้ให้เป็นขึ้นได้ ผู้นั้นก็ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า ชื่อว่าอนุพุทธเจ้า" 2 ซึ่งหลังจากที่ปฏิบัติเข้าถึงแล้ว ท่านได้ตรวจหาหลักฐานในสิ่งที่ท่านค้นพบว่าตรงกับหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาหรือไม่ท่านก็พบหลักฐานเกี่ยวกับคำว่า "ธรรมกาย" ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎก จึงทำให้มั่นใจในสิ่งที่ปฏิบัติว่าถูกต้อง ซึ่งหลักฐานเกี่ยวกับธรรมกายที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก คือ

 

         "ดูก่อนวาเสฏฐะ และภารทวาชะ อันคำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของตถาคต"

 

         2. "อหสุคต เต มาตา ตุว ธีร ปิตา มม ทฺธมฺมสุขโท นาถ ตยา ชาตมฺหิ โคตม ฯ วทฺธิโตยสุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม วทฺธิโต ตยาฯ มุหุตฺต ตณฺหา มน ขีร ตฺว ปายิโต มยาตยาห นฺตมจฺจนฺต ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา" แปลว่า


        "ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์ แต่ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ทรงเป็นบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดมโลกนาถเจ้าผู้ทรงให้สุขแห่งพระสัทธรรมฯ ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันให้เติบโตแล้ว แต่พระธรรมกายอันน่ายินดีของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้วพระองค์อันหม่อมฉันให้ทรงดื่มขีรธารา อันยังตัณหาให้เข้าไป สงบชั่วครู่ส่วนหม่อมฉัน อันพระองค์ ให้ดื่มน้ำนมคือธรรมธารา อัน งบอย่างที่สุด"


       3. "ธมฺมกายญจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตุํ น สกฺโกนฺติ โก ทิสฺวา นปฺปสีทติฯ" แปลว่า
         "ชนทั้งหลายไม่อาจให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งทรงแสดงพระธรรมกาย และความเป็นหน่อเนื้อแห่งรัตนะทั้งสิ้นให้กำเริบได้ ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า"3


       4. "ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภู มหนฺตํ ธมฺมา พหุธมฺมกายา จิตฺติสฺสรา สพฺพทุกฺโขฆติณฺณา อุทคฺคจิตฺตา ปรมตฺถทสฺสี สีโหปมา ขคฺควิสาณกปฺปา" แปลว่า"นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระ ยัมภูปัจเจกชินเจ้า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ทั้งปวงได้ มีใจเบิกบาน มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง อุปมาดังราชสีห์ อุปมาดังนอแรดฉะนั้น"


      นอกจากนี้ คำว่า "ธรรมกาย" ยังที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในกลุ่มนักวิชาการที่ศึกษาทางด้านนี้ เพราะปรากฏอยู่ในงานที่เกิดจากการค้นคว้าดัดแปลงมาจากพระสูตรต่างๆ ในภาษาสันสกฤต เป็นภาษาจีนญี่ปุ่น และ ธิเบต ซึ่งนักวิชาการต่างก็พยายามที่จะให้คำจำกัดความถึงสภาวะและนิยามแห่งคำว่า ธรรมกายให้ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้คำว่า ธรรมกาย ยังปรากฏอยู่ในอรรถกถา ฎีกา ตลอดจนศิลาจารึกคัมภีร์โบราณ และหนังสือที่รจนาโดยพระเถระอีกมากมายหลายแห่ง

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา MD102 หลักการเจริญสมาธิภาวนา

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011201977729797 Mins