นิสัยคืออะไร
นิสัย คือ พฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ ที่คนเราทำซ้ำๆอยู่เสมอ มีทั้งคิดซ้ำๆ พูดซ้ำๆ ทำซ้ำๆ จนเกิดเป็นความเคยชินต้องทำเป็นประจำ ถ้าไม่ได้ทำเช่นนั้นอีก จะรู้สึกว่าตัวเองขาดอะไรไป เช่น ผู้ที่เคยสวดมนต์ก่อนนอนเป็นประจำ ถ้าวันไหนไม่ได้สวดมนต์ก็จะหลับยาก หรือบางคนที่เคยสูบบุหรี่เป็นประจำ ถ้าวันไหนไม่ได้สูบบุหรี่ ก็จะรู้สึกหงุดหงิดจนไม่มีสมาธิที่จะทำงาน เป็นต้น
ประเภทของนิสัย
นิสัยของคนโดยทั่วไป อาจแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ นิสัยดีกับนิสัยไม่ดีหรือนิสัยเสีย
ผู้ที่มีนิสัยดีก็เพราะคิดดี พูดดี ทำดี เป็นปกติ หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิย่อมคิดดี จึงพูดดีเป็นปกติ (อันเป็นกระบวนการของการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 )ผู้ที่เป็นเช่นนี้ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีนิสัยดี นิสัยดีนี้จะเป็นโปรแกรมบุญสำหรับสร้างสรรค์คุณความดีต่างๆ ของบุคคล อันเป็นทางนำความสุข ความสำเร็จและบุญกุศลมาสู่ชีวิตของผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตนี้ อีกทั้งจะส่งผลดีไปถึงโลกหน้าอีกด้วยนี่คื่อคุณของนืสัยดี
ในทางกลับกัน ผูที่มีนิสัยไม่ดีหรือนิสัยเสีย คือผู้ที่มีความเห็นผิดทำนองคลองธรรมหรือที่เรียกว่ามิจฉาทิฏฐิจึงคิดไม่ดี พูดไม่ดี และทำไม่ดีเป็นปกติ นิสัยไม่ดีนี้จะเป็นโปรแกรมบาป หรือโปรแกรมก่อกรรมทำชชั่วประจำชีวิตของบุคคลนั้น อันป็นทางนำความยุ่งยาก เดือดร้อน ความทุกข์ ความล้มเหลว บาปอกุศล และศัตรูคู่อาฆาต มาสู่ชีวิตของบุคคลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตนี้ และเมื่อละโลกไปแล้วก็จะต้องไปสู่ทุคติอย่างแน่นอน นี่คือโทษของนิสัยไม่ดี
หน้าที่ของนิสัย
ตามธรรมดาคนเราทุกคนต่างมีใจเป็นน่ย ใจนี้ยังควบคุมพฤติกรรมทุกอย่างของคนเราอีกด้วย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ว่า
“มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า”
ถ้าถามต่อไปว่าใครหรืออะไรเป็นหัวหน้าควบคุมใจของเราคำตอบก็คือนิสัยนั้นเอง ที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายคอยควบคุมบงการคนเราให้ประพฤติดีหรือชั่วต่างๆ นานา
นิสัยพื้นฐานที่จำเป็นต้องรีบฝึก
นิสัยพื้นฐานที่จำเป็นต้องรีบฝึกให้กับทุกคนตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อจะได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีที่โลกต้องการ มีอยู่ 3 ชนิด คือ
1. ความเคารพ
2. ความมีวินัย
3. ความอดทน