ความเป็นมาของจตุธาตุววัตถาน

วันที่ 10 สค. พ.ศ.2558

 

ความเป็นมาของจตุธาตุววัตถาน

            กัมมัฏฐานนี้เป็นกัมมัฏฐานข้อสุดท้ายในอารมณ์กัมมัฏฐาน 40 ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ในมหาสติปัฏฐานสูตรได้อธิบายไว้ว่า กัมมัฏฐานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาร่างกาย ดังต่อไปนี้

 

“    ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นกายนี้แหละ ตามที่ตั้งอยู่ โดยความเป็นธาตุว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มีอยู่ในกายนี้ คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาดฆ่าแม่โคแล้วนั่งแบ่งออกเป็นส่วนๆ อยู่ที่หนทางใหญ่ 4 แพร่งฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ตามที่ตั้งอยู่โดยความเป็นธาตุว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มีอยู่ในกายนี้”1)

 

            จุดมุ่งหมายสำคัญของการเจริญกัมมัฏฐานนี้ก็คือ การทำจิตให้เป็นอิสระจากความสำคัญว่ามีตัวตนในแต่ละบุคคล และเพื่อเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งซึ่งธรรมชาติอันเป็นพื้นฐานของร่างกาย โดยไม่คิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล กัมมัฏฐานนี้เป็นกัมมัฏฐานที่ต้องใช้ปัญญาในการพิจารณามาก จึงเหมาะสมสำหรับคนที่เป็นพุทธิจริต ชอบคิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุผล

 

----------------------------------------------------------------------------

1) มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 ข้อ 137 หน้า 610.

MD 407 สมาธิ 7: สมถกัมมัฏฐาน 40 วิธี


 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.10891675154368 Mins