ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

ชาดก 500 ชาติ
กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

 

ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

     ในพุทธกาลสมัยหนึ่ง พุทธศาสนาสถาปนาด้วยการตรัสรู้ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น คำสอนของพระศาสดาเป็นที่แจ้งประจักษ์แด่หมู่สาวกและประชาชนไปทั่วพุทธันดร ถึงหนทางแห่งการหลุดพ้นนำไปสู่หนทางดับทุกข์ คือ พระนิพพานนั่นเอง ในเหล่าภิกษุสาวกมากมายนั้นย่อมมีข้อเสียของแต่ละคนตาม ตามแต่ผลกรรมที่กระทำมาในอดีตชาติ

      ซึ่งในกาลนั้น ยังมีภิกษุรูปหนึ่งถึงพร้อมด้วยความฉลาดเฉลียว แต่กลับมีนิสัยขี้โอ่ เที่ยวอวดตนข่มท่านไปทั่ว จนเป็นที่เอือมระอาต่อเหล่าภิกษุด้วยกัน “ นอกจากพระศาสดาแล้วในพระเชตวันแห่งนี้ ก็จะหาใครที่ฉลาดกว่าข้าไม่มีอีกแล้ว ฮ่าๆๆ ข้าภูมิใจตัวเองจริงๆ ฮ่าๆๆ ” “ ดูสิท่าน ภิกษุขี้โอ่รูปนั้น เดินมาทางนี้แล้ว ” “ กระผมว่าเราไปที่อื่นกันดีกว่านะท่าน ”

 
ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

      “ ดีท่าน เราเองก็ไม่อยากจะเสวนากับคนขี้โอ่เหมือนกัน คนอะไรก็ไม่รู้ โอ่ได้ทุกเรื่อง เชื่อเขาเลย ” “ ใช่ กระผมละเอือมจริง จะโอ่กับเขาบ้างก็ไม่มีอะไรจะโอ่เนี่ย ” “ เหมือนกันเลย ” 

      นิสัยขี้โอ่ของภิกษุผู้นี้ ล่วงรู้ในข่ายพระญาณของพระบรมศาสดา พระพุทธองค์จึงปรารภธรรมชาดกเพื่อโปรดแก่ภิกษุมักโอ่รูปนั้น ดังนี้

 

ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

     ในอดีตกาล ณ พาราณสีนคร พระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติครองบัลลังก์อยู่นั้น ประชาชนต่างอยู่กันอย่างผาสุก ภายใต้การปกครองของพระองค์ ในขณะเดียวกันพระโพธิสัตว์ก็ได้เสวยพระชาติเป็นอัครมหาเศรษฐี ครองสมบัติมากมายเหลือคณานับ วันหนึ่งภรรยาของท่านพร้อมทั้งทาสีทาสในเรือนก็ได้คลอดบุตรวันเดียวกันนั่นเอง

 

 ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

     “ โอ้ย ท่านพี่ น้องปวดท้องเหลือเกิน โอ้ย... โอ้ย ” “ อดทนหน่อยนะน้องหญิง พี่ให้คนไปตามหมอตำแยมาแล้ว อดทนหน่อยนะ ” ในเวลาเดียวกันนั้นนางทาสีทาสก็กำลังร้องโอดโอยคลอดบุตรอย่างเจ็บปวด “ โอ้ย ปวดท้องเหลือเกิน โอ้ย..โอ้ย ปวดท้องเหลือเกิน ” “ อ้าว เบ่งเข้า อึบ อึบ โอ้ คลอดแล้ว ” “ ลูกของเราเป็นยังไงบ้างจ๊ะ ”



ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

     “ ดูสิจ๊ะน้องหญิง หน้าตาน่าเกลียดน่าชัง โตขึ้นจะต้องเป็นหนุ่มรูปงามเหมือนพี่แน่ๆ เลย ฮ่าๆๆ ” “ แหม ท่านพี่นี่ ไม่ค่อยเห่อลูกเท่าไหร่เลยนะจ๊ะ ” เด็กทั้งสองนั้น เติบโตมาด้วยกันเมื่อบุตรท่านเศรษฐีได้ศึกษาร่ำเรียนหนังสือก่อน ลูกทาสของท่านก็ถือกระดานชนวนตามไป พลอยได้เรียนหนังสือกับบุตรเศรษฐีนั้นด้วย

 

ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

     แม้ได้เขียนได้อ่านเพียงสองสามครั้ง ลูกทาสนั้นก็ฉลาดในถ้อยคำฉลาดในโวหารโดยลำดับ “ อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู ก.ไก่ ข.ไข่ 1+1 เป็นสอง 2+2 เป็นสี่ เรานี่ชั่งฉลาดจริงๆ เลยสอบได้ที่ 1 อีกแล้ว ฮ่า ฮ่า ฮ่า ” วันเวลาผ่านไป ลูกทาศของท่านเศรษฐี ก็โตเป็นหนุ่มมีรูปงาม โดยมีนามว่า กฏาหกะ ด้วยความรู้ความสามารถที่ตนมี ท่านเศรษฐีจึงเมตตาให้เขาทำหน้าที่เสมียนคลังวัสดุในเรือนของท่านนั้นเอง
 

ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

     “ กฏาหกะ บัดนี้เจ้าก็โตเป็นหนุ่มรูปงาม มีวิชชาความรู้ติดตัว เราเห็นควรว่าจะให้เจ้ามาดูแลคลังพัสดุของเราหน่อย ” “ ข้าน้อยต้องขอบพระคุณท่านเศรษฐีมากขอรับ เป็นบุญของข้าน้อยเหลือเกินที่ท่านเศรษฐีเมตตา ข้าจะทำงานให้เต็มที่เลยขอรับ ”

     “ คนฉลาดอย่างอย่างเรา ให้เป็นแค่เสมียนคลังต๊อกต๋อย ต่อไปภายภาคหน้า หากเขาเห็นโทษอะไรๆ เข้าหน่อย ก็คงจะเฆี่ยนตีจองจำ ทำตราเครื่องหมาย แล้วก็ใช้สอยเยี่ยงทาสเหมือนเดิมแหละ เฮ้อ อย่างนี้ต้องหาทางหนีทีไล่ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ แล้วล่ะ ปลอดภัยไว้ก่อนนะเรา ” ภายนอกดูเหมือนกฏาหกะจะดีใจกับตำแหน่งที่ได้รับ แต่ลึกๆ ในใจแล้วเขากลับคิดการใหญ่กว่านั้น

 

ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

     “ อ้า นึกออกแล้ว ที่ชายแดนประเทศ มีเศรษฐีผู้เป็นสหายของท่านเศรษฐีอยู่ ถ้ากระไรสะ เราแกล้งถือหนังสือด้วยถ้อยคำของท่านเศรษฐีไปในที่นั้น แล้วทำอุบายบอกว่า เราเป็นลูกเศรษฐีลุงเศรษฐีผู้นั้น แล้วขอธิดาของท่านเศรษฐีไปเป็นคู่ครองดีกว่า รับรองสำเร็จแน่ๆ เลย ต่อไปเราจะได้อยู่อย่างสบาย ไม่ต้องตกเป็นขี้ข้าใคร เรานี่ชั่งหัวแหลมจริงๆ ฮ่าๆๆ ”

      กฏาหกะ ถือหนังสือที่ตนปลอมแปลงขึ้น ใจความว่า ข้าพเจ้าส่งลูกชายของข้าพเจ้าไปสู่สำนักของท่าน เพื่อความสำคัญฐานเกี่ยวดองกัน ระหว่างข้าพเจ้ากับท่าน และระหว่างท่านกับข้าพเจ้า เป็นการสมควรขอให้ท่านได้โปรดยกธิดาของท่านให้แก่บุตรคนนี้เถิด และให้เขาอยู่ในที่นั้น แม้ข้าพเจ้าได้โอกาสแล้ว จึงจะมาในภายหลัง.. จากนั้นกฏาหกะ ก็ใช้ตราของท่านเศรษฐีประทับในจดหมาย ถือเอาเสบียงและของหอมกับผ้าเป็นต้น ไปตามชอบใจ แล้วลักลอบหนีไปสู่ปัจจันตชนบทตามอุบายที่ตนวางไว้แต่แรก

     “ ข้าแต่ท่านเศรษฐีขอรับ มีบุรุษหนุ่มรูปงามมาขอพบขอรับ เขาบอกว่าเป็นบุตรเศรษฐีสหายแห่งท่าน มาจากกรุงพาราณสีขอรับ ” “ เจ้าจงเร่งนำตัวกุมารผู้นั้นมาพบเราเร็วเข้า ” “ มาจากไหนกันเล่าพ่อคุณ ” “ ข้าพเจ้ามาจากนครพาราณสีขอรับ ” “ แล้วพ่อเป็นลูกเต้าเหล่าใครเล่า ” “ ข้าพเจ้าเป็นบุตรของพาราณสีเศรษฐีขอรับ ” “ พ่อเดินทางมาด้วยเรื่องอันใด เหตุไฉนจึงต้องเดินทางมาไกลเช่นนี้ ”



ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

     “ ท่านเศรษฐีดูหนังสือนี้แล้ว จักทราบเองขอรับ ” เมื่อเศรษฐีอ่านหนังสือที่กฏาหกะปลอมแปลงขึ้น ก็หลงเชื่ออย่างสนิทใจ ยังความดีใจมาสู่ตน เพราะหวังในทรัพย์สมบัติอันมากล้นของเศรษฐีแห่งนครพาราณสีนั่นเอง ( “ ฮ่าๆ คราวนี่เราจะอยู่อย่างสบายละ บริวารของท่านเศรษฐีมีเป็นอันมาก ” ) เศรษฐีชนบททำการต้องรับขับสู้กฏาหกะเป็นการใหญ่ น้อมนำข้าวยาคูและของเปรี้ยว รวมถึงผ้าที่อบด้วยของหอมใหม่ๆ มาให้กฏาหกะ

      แต่ด้วยนิสัยขี้โอ่ของกฏาหกะ ก็นึกติเตียนขึ้นในใจ “ โธ่เอ้ย คนบ้านนอกทำของเคี้ยวต้มข้าวยาคูกันแบบนี้เองหรือเนี่ย คนบ้านนอกก็อย่างนี้แหละ ไม่รู้จักใช้ผ้าใหม่ๆ อบของหอมร้อยกรองดอกไม้ก็ไม่เป็น ฮึ ”


ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

     ด้านเศรษฐีแห่งกรุงพาราณสีเมื่อไม่เห็นกฏาหกะ ก็เอ่ยปากถามไถ่ทาสในเรือนด้วยความเป็นห่วง “ เอ้ เราไม่พบหน้ากฏาหกะเลย มันหายไปไหนเนี่ยพวกเจ้าช่วยกันออกตามหาทีเถิด ” “ ขอรับท่านเศรษฐี เฮ้ย มีใครเห็นตัวกฏาหกะ บ้างไหม ” “ พวกข้าออกตามหาจนทั่วเมืองแล้ว ยังไม่เจอตัวเลย ” “ มันหายหัวไปไหนของมันนะเนี่ย เจอตัวเมื่อไหร่ จะเฆี่ยนให้หลังลายเลย ” “ ข้าว่านะ เจ้ากฏาหกะ คงไม่ได้อยู่ในเมืองนี้แล้วล่ะ ” แต่ในทันใดนั่นเอง “ เจอแล้วๆ มีคนเห็นเจ้ากฏาหกะ อยู่แถวชายแดนชนบทโน่น ” “ บ่ะ ไอ้นี่มันไปทำไมที่ชายแดนชนบท เรารีบไปเรียนท่านเศรษฐีกันเถอะ ”

     เหตุอันไม่สมควรที่กฏหกะ ทำนั้น สร้างความไม่พอใจให้กับท่านเศรษฐี จึงรวบรวมข้าทาสบริวารออกไปตามจับตัวกฏาหกะ มาลงโทษ ข่าวท่านเศรษฐีเดินทางไปสู่ปัจจันชนบทแพร่สะพัดไปทั่วกรุง ล่วงรู้ถึงหูกฏาหกะ “ ท่านเศรษฐีจะมาที่นี่ คงไม่มาด้วยเรื่องอื่น ต้องมาด้วยเรื่องของเราแน่ๆ ถ้าเราจักหนีไปสะ ก็คงไม่อาจกลับมาที่นี่ได้อีก จะทำยังไงดีน๊า เฮ้ย คิดออกแล้ว เราต้องไปพบกับท่านผู้เป็นนายแล้วกระทำกิจของทาส ทำให้ท่านโปรดปรานให้จงได้ ”

     กฏาหกะนั้น ถือว่าตนเป็นคนฉลาด จึงคิดวางอุบายกล่าวท่ามกลางบริษัทว่า “ พวกคนพาลอื่นๆ ไม่รู้คุณของบิดามารดา ในเวลาที่ท่านบิโภคก็ไม่กระทำการนอบน้อม บริโภคร่วมกับท่านเสียเลย ส่วนเราในเวลาบิดามารดาบริโภคย่อมคอยยกสำรับยกกระโถนเข้าไป ยกของบรโภคเข้าไปให้ น้ำดื่มก็หาให้มิได้ขาด ซ้ำยังพัดวีให้เย็นสบาย ดังนี้แล้วประกาศกิจที่พวกข้าต้องกระทำแก่นายทุกอย่างตลอดถึงการถือกระออมน้ำไปในที่ลับ ในเวลาที่นายถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ”

       เมื่อกฏาหกะ กำหนดอย่างนี้แล้ว เวลาที่พาราณสีเศรษฐีใกล้ถึงปัจจันชนบท เขาก็บอกกับเศรษฐีพ่อตาว่า “ ท่านพ่อขอรับ ได้ยินมาว่าบิดาของกระผมเดินทางมาเพื่อพบกับท่านพ่อ กระผมจะออกเดินทางไปต้อนรับ พร้อมถือเอาเครื่องบรรณาการสวนทางไป ให้ท่านพ่อเตรียมขาทนียะโภชนียาหารต้อนรับไว้ทางนี้ขอรับ ” “ ดีแล้วละลูกเอ๋ย ” 

 

ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

     กฏาหกะ ถือเอาบรรณาการไปเป็นจำนวนมาก เดินทางไปพร้อมด้วยบริวารกลุ่มใหญ่ เมื่อถึงกองพักของพาราณสีเศรษฐี จึงเข้าไปกราบไหว้อย่างนอบน้อม พร้อมทั้งมอบบรรณาการที่ตนนำมาทั้งหมดให้ ฝ่ายพาราณสีเศรษฐีเมื่อเห็นก็หาเคืองโกรธไม่ ครั้นถึงเวลาบริโภคอาหารเช้า ก็ดูแลพาราณสีเศรษฐีเป็นอย่างดี เมื่อเศรษฐีเข้าไปสู่ที่ลับ เพื่อถ่ายสรีระวารันยชะก็ให้บริวารของตนกลับ

 
ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

      ส่วนตนนั้นก็ถือเอากระออมน้ำเข้าไปให้ เมื่อพาราณสีเศรษฐีเสร็จอุทกกิจแล้ว เขาก็หมอบกราบแทบเท้าของเศรษฐีทั้งสอง แล้วกล่าวว่า “ ข้าแต่ท่านเศรษฐีผู้เป็นนาย กระผมจักให้ทรัพย์แก่ท่าน เท่าที่ท่านปรารถนา โปรดอย่าให้ยศของกระผมเสื่อมไปเลยขอรับ ” “ เจ้าอย่าได้หวาดกลัวไปเลย อันตรายจากสำนักของเรานี้ จะไม่มีแก่เจ้าดอก ”

      กฏาหกะ ก็กระทำกิจที่ทาสต้องทำแก่ท่านตลอดเวลา มิได้ขาดตกบกพร่องจนถึงปัจจันตชนบท ฝ่ายปัจจันตเศรษฐีจึงได้กล่าวกับพาราณสีเศรษฐีว่าผู้เป็นสหายว่า “ ข้าแต่ท่านเศรษฐี พอกระผมเห็นหนังสือของท่านเข้ามาเท่านั้นก็ยกบุตรสาวให้แก่บุตรของท่านทันที ” “ กฏาหกะ ก็เปรียบเสมือนบุตรของเรา กล่าวถ้อยคำเป็นที่รักอันคู่ควรกันขอให้ท่านยินดีเถิด ” ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีใครสามารถมองหน้ากฏาหกะได้เลย

 

ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

      อยู่มาวันหนึ่ง พาราณสีเศรษฐี เรียกธิดาปัจจันตเศรษฐีมาหา กล่าวว่า “ มานี่เถิดแม่คุณ มาช่วยหาเหาบนศีรษะของพ่อหน่อยเถิดแม่คุณ ลูกของเราไม่ประมาทในสุขทุกข์ของเจ้าดอกหรือ เจ้าทั้งสองครองรักสมัครสมานกันดีอยู่หรือไม่ ” “ ข้าแต่คุณพ่อมหาเศรษฐีบุตรของท่านไม่มีข้อตำหนิอย่างอื่นเลยแม้แต่น้อย นอกจากจะคอยจู้จี้เรื่องอาหารเท่านั้นเจ้าค่ะ ” “ กระนั้นดอกรึ แม่คุณเอ๋ยเจ้าลูกคนนี้ ปกติก็เป็นคนกินยากเรื่อยมาทีเดียว เอาเถิด พ่อจะให้มนต์ผูกปากมันไว้แก่เจ้า เจ้าจงเรียนมนต์นั้นไว้ให้ดีนะ เมื่อลูกของเราบ่นในเวลากินข้าวละก็ เจ้าก็จงยืนท่องมนต์ตรงหน้า รับรองว่ากฏาหกะ จะไม่บ่นอีกเลย ” “ มนต์นั้นมีว่าอย่างไรหรือท่านพ่อ ” “ อนฺวาคนฺตฺวาน ทูเสยฺย เจ้าจงจำให้ขึ้นใจนะแม่ ”

       ธิดาเศรษฐีนั้นท่องมนต์จนขึ้นใจ โดยไม่เอะใจเลยสักนิด ว่าแท้ที่จริงแล้วความหมายของมนต์นั้น กล่าวถึง ความลับของกฏาหกซึ่งมีใจความว่า เพราะย้อนทางไปทำกิจของทาสให้แก่นายแล้ว เจ้าจึงพ้นจากการถูกเฆี่ยนด้วยหวาย อันจะถลกหนังสันหลังขึ้นและการตีตราทำเครื่องหมายทาสแต่หากเมื่อใดเจ้าขืนทำไม่ดี นายของเจ้าพึงตามประทุษร้ายถึงเรือนนี้ ด้วยการเฆี่ยนด้วยหวาย ตีตราเครื่องหมายทาส และประกาศกำเนิดของเจ้า เหตุนั้นกฏาหกะเอ๋ยเจ้าจงละความประพฤติไม่ดีนี้เสีย บริโภคโภคะทั้งหลายเถิด อย่าทำให้ความเป็นทาสของตนปรากฏ แล้วเป็นผู้ต้องเดือดร้อนในภายหลังเลย

     สองสามวันต่อมา พาราณสีเศรษฐีก็เดินทางกลับนคร ฝ่ายกฏาหกะก็ขนขาทนียะโภชนียะอันมากมายตามไปส่งพร้อมทรัพย์เป็นอันมาก คล้อยหลังพาราณสีเศรษฐีกลับไปแล้ว ความโอ้อวดเหย่อหยิ่งของกฏาหกะก็กลับมา

 

ชาดก 500 ชาติ กฏาหกชาดก-ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่

     วันหนึ่ง เมื่อธิดาเศรษฐีน้อมนำโภชนะมีรสเลิศต่างๆ เข้าไปให้ถือทัพพีคอยปรนนิบัติอยู่ เขาเริ่มติเตียนอาหารเหมือนเดิม “ น้องหญิงเจ้าเอาอะไรมาให้พี่กินเนี่ย รสชาติไม่ได้เรื่องเลย อยากจะอ้วก ” เศรษฐีธิดาจึงกล่าวคาถานี้ตามทำนองที่เรียนมาจากพาราณสีเศรษฐี กฏาหกะเมื่อได้ฟังก็กลับคิดว่าธิดาเศรษฐีท่องมนต์ที่บอกถึงฐานะที่แท้จริงของกฏหกะ จึงทำให้เขาละมานะได้ไม่ติติงเรื่องหารอีกเลย
          “ เฮ้ย สงสัยท่านเศรษฐีคงบอกเรื่องของเราแก่นางนี้แน่แล้ว นางถึงได้กล่าวมนต์นี้ต่อหน้าเรา ” ตั้งแต่นั้นมา เขาก็ไม่กล้าติเตียนอาหารเหมือนเช่นเคย จนในที่สุดก็สามารถละมานะนี้ได้ บริโภคตามมีตามได้ไปตามยถากรรม
 
 

พุทธกาลสมัยต่อมา กฏาหกะ กำเนิดเป็น ภิกษุผู้มักโอ้อวด
พาราณสีเศรษฐี เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
พหุมฺปิ โส วิกตฺเถยฺย
อญญํ ชนปทฺ คโต
อนฺวาคนฺตฺวาน ทูเสยฺย
ภุญฺช โภเค กฏาหก
 

 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล