ชาดก 500 ชาติ
สุขวิหารีชาดก-ชาดกว่าด้วยสุขอันเกิดจากการบรรพชา
ในสมัยพุทธกาล หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชแล้วนั้น พระภัททิยะซึ่งเป็นพระอนุชาได้เสด็จเสวยราชสมบัติกรุงกบิลพัสดุ์ สืบต่อสันตติวงศ์ แวดล้อมอยู่ด้วยราชองค์รักผู้ถวายการอารักขาอย่างแน่นหนาและใกล้ชิด แต่พระองค์ก็ยังพระปริวิตกต่อภยันอันตราย อันจะพึงเกิดจากการประทุษร้ายอย่างเนืองนิตย์มิเคยมีความสงบและเป็นสุขเลย “ เฮ้อ เราจะทำเช่นไรดี มีแต่คนมุ่งจะปองร้าย แย่งชิงราชสมบัติ มองไปทางไหนก็มีแต่ทหารรายล้อม ไหนจะต้องคอยระวังตัว ไหนจะต้องแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเหล่าราษฎร โอ้ย นี่ชีวิตเราจะหาความสงบไม่ได้เลยหรือ ”
สมเด็จพระภัททิยะจึงตัดสินพระทัยออกผนวชในพระพุทธศาสนา ได้บำเพ็ญเพียรจนหมดกิเลสเป็นพะรอรหันต์ เดินทางภิกขาจารไปทุกหนทุกแห่งโดยลำพัง พระองค์ได้พบกับความสุขอย่างแท้จริง ด้วยไม่ข้องอยู่กับอิสริยยศและอันตราย จึงเปล่งอุทานขึ้นว่า
“ เฮ้อ สุขจริงหนอ สุขจริง ” “ พวกท่านดูพระภัททิยะสิพร่ำบ่นว่า สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ เฮ้อ ช่างไม่สำรวมจริง ๆ ” “ อืม อย่างนี้ เราต้องนำความไปบอกพระแด่องค์พระศาสดาให้รู้สะแล้วจะได้ไม่เสื่อมเสียสมณเพศอย่างเรา ” “ ใช่ ๆ งั้นจะรออยู่ทำไม ไปกันเลยดีกว่า ”
พระภิกษุทั้งหลายผ่านมาได้ยินเข้า จึงติเตียน แล้วไปกราบทูลให้พระพุทธองค์ให้ทรงทราบ “ ข้าแต่องค์พระศาสดา ท่านภัททิยะกระทำตัวไม่เหมาะสม เป็นสมณะแท้ ๆ แต่กลับอุทานออกมาว่า สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ ” “ จริงด้วย สงสัยยังอาลัยกับราชสมบัติเป็นแน่ ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านภัททิยะมิได้เปล่งวาจาออกมาเพราะอาลัยในราชสมบัติกรุงกบิลพัสดุ์ และก็มิใช่ต้องการอวดอ้างความเป็นพระอรหันต์ ดังที่พวกท่านทั้งหลายหลงเข้าใจหรอกนะ นี่คือปกตินิสัยที่ท่านมีมาแต่ชาติปางก่อน ” เมื่อได้ฟังดังนั้นพระภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลอาราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าเรื่องราวในอดีตชาติของพระภัททิยะให้ฟัง พระพุทธองค์จึงทรงระลึกชาติแต่หนหลังด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลายดังนี้
พุทธกาลสมัยหนึ่ง ในรัชสมัยที่พระเจ้าพรหมทัตครองกรุงพาราณสีอย่างสงบร่มเย็นอยู่นั้น ยังมีฤาษีผู้มีความฉลาดปราดเปรื่องผู้หนึ่งมีนามว่า อุทิศจะอุทิศจะฤาษีได้พิจารณาเห็นโทษของการครองเรือนและเห็นอานิสงส์ของการออกบวช “ เฮ้อ เหตุไฉนชีวิตของเรานี่ จึงมีแต่ความวุ่นวาย มีความสุขแต่เพียงกายภายนอก หาความสุขที่แท้จริงได้ยากยิ่งนัก เห็นทีเราต้องมุ่งหน้าเข้าหาธรรมสะแล้ว ”
เมื่อคิดได้ดังนั้น อุทิศจะนำทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่มี ออกแจกจ่ายเป็นทานให้แก่คนยาก คนจน คนยากไร้ “ โอ้ย ท่านอุทิศจะ เอาของมาแจกแน่ะ พวกเรามารับกันเร็วๆ ” “ จำเริญ ๆ เถอะพ่อคุณ ” “ ขอให้ท่านทั้งหลายมีความสุขในทานที่เรามอบให้ อ้าว แบ่ง ๆ รับไปนะ ไม่ต้องแย่งกันนะ ได้ทุกคน ” “ ช่างใจบุญสุนทานจริง ๆ ” จากนั้นก็ตัดสินใจออกบวชเป็นฤาษี มุ่งมั่นปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิ(Meditation)จนได้ฌาณโลยีบรรลุสมาบัติ ๘ มีลูกศิษย์ลูกหามากถึง ๕๐๐ คน เป็นบริวาร จนเป็นที่เคารพนับถือยกย่องของพระเจ้าพรหมทัตและชาวเมืองทั่วไปเป็นอันมาก ล่วงเข้าสู่ฤดูฝน มีฝนตกหนักไม่เหมาะแก่การเจริญภาวนาในป่า ฤาษีอาจารย์จึงพาศิษย์เข้ามาพำนักในเมือง
พระเจ้ากรุงพาราณสีจึงพระราชทานพระราชอุทยานให้เป็นสถานที่บำเพ็ญภาวนา “ นมัสการท่านอาจารย์ กำลังเข้าหน้าฝนแล้ว ข้าพเจ้าเห็นควรว่าให้ท่านอาจารย์พาคณะศิษย์มาเจริญภาวนาในอุทยานของข้าพเจ้าด้วยเถิด อยู่ในป่าฟ้าฝนตก จะไม่สะดวกต่อการภาวนาธรรม ” “ เจริญพร ๆ มหาบพิตรช่างเป็นผู้มีน้ำใจจริง อาตมาก็ขอขอบใจมหาบพิตรมากนะ ” จวบจนสิ้นฤดูฝนพระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นว่าพระฤาษีอาจารย์นั้นชราภาพมากแล้ว จึงอาราธนาให้ท่านพำนักอยู่ต่อ
ส่วนลูกศิษย์ก็ให้กลับไปบำเพ็ญเพียรในป่าหิมพานต์กันเองตามลำพัง “ มหาบพิตร บัดนี้ก็หมดหน้าฝนแล้ว อาตมาขอลาท่านไปเจริญภาวนาในป่าตามเดิมนะ ” “ ช้าก่อนท่านอาจารย์ บัดนี้ท่านนั้นชราภาพมากแล้ว หากกลับไปอยู่ในป่าตามเดิม คงจะลำบากไม่ใช่น้อยทีเดียว ข้าพเจ้าใคร่ขออาราธนาให้ท่านอาจารย์พำนักในอุทยานแห่งนี้ต่อไปเถิด ส่วนลูกศิษย์ทั้งหลายนั้น ก็ให้ไปบำเพ็ญเพียรภาวนาในป่าหิมพานต์กันต่อไป ” “ เจริญพร เจริญพร อาตมาขอขอบใจมหาบพิตรมากนะ ”
พระฤาษีอาจารย์ตัดสินใจพำนักในอุทยาน และได้เรียกศิษย์คนโตมาบอกกล่าว และให้นำลูกศิษย์คนอื่น ๆ กลับไปเจริญภาวนายังป่าหิมพานต์ตามเดิม “ ต่อจากนี้ไป อาจารย์จะเจริญภาวนาอยู่ในอุทยานแห่งนี้ อาจารย์ต้องฝากเจ้าให้ช่วยดูแลศิษย์น้อยทั้งหลายด้วยนะ ” “ ขอรับท่านอาจารย์ ท่านอย่าได้กังวลไปเลย ข้าจะดูแลศิษย์น้องแทนท่านเอง ” “ ดีมาก ขอให้พวกเจ้าเดินทางกันโดยสวัสดิภาพนะ ” “ งั้นข้าขอกราบลาอาจารย์เลยนะขอรับ ” เมื่อออกเดินทางกลับไปภาวนาธรรมในป่าหิมพานต์ ศิษย์ทั้งหลายก็ตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างสงบ โดยมีศิษย์คนโตเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อย
หลายวันผ่านไป ศิษย์คนโตก็เกิดคิดถึงและเป็นห่วงอาจารย์ฤาษีขึ้น “ เฮ้อ คิดถึงอาจารย์เหลือเกิน ป่านนี้ท่านจะเป็นเช่นไรบ้างนะ นี่ก็นานวันแล้ว เห็นทีเราต้องไปเยี่ยมเยียนท่านในเมืองสักครั้ง ” “ ศิษย์น้องทั้งหลาย เราจะออกเดินทางไปเยี่ยมท่านอาจารย์ ในระหว่างที่เราไม่อยู่ พวกท่านจงหมั่นบำเพ็ญเพียรภาวนากันด้วยความสงบเถิด ” “ ขอรับศิษย์พี่ ท่านไปเถิดทางนี้ข้าดูแลเอง ” “ แหม เอาหน้าเชียวนะเจ้านี่ ศิษย์พี่ฝากความคิดถึง ถึงอาจารย์ด้วยนะ ” “ อย่าลืมบอกนะ ว่าพวกเราเป็นห่วง แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง สบายแฮ ” ศิษย์คนโตเดินทางมาถึง ก็ได้พำนักในสำนักของอาจารย์
ขณะที่ศิษย์คนโตกำลังนอนอยู่นั้น พระเจ้าพรหมทัตก็ได้เสด็จมาเพื่อกราบนมัสการพระฤาษีอาจารย์เช่นกัน “ เอ๊ะ นั่นใครมานอนอยู่น่ะ เป็นถึงนักบวชมานอนเพ้ออยู่ได้ช่างไม่สำรวมจริง ๆ ขนาดเรามาแท้ ๆ ยังไม่ลุกขึ้นมาให้การต้อนรับอีก ” ฤาษีผู้เป็นศิษย์ แม้จะเห็นพระเจ้าพรหมทัตเสด็จมา ก็มิได้ลุกขึ้นถวายการต้อนรับตามมารยาทอันดีแต่ประการใด กลับนอนเฉยเสีย มิหนำซ้ำยังเปล่งอุทานออกมาอีกด้วยว่า “ สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ ” พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรเห็นแล้วก็ยิ่งรู้สึกขัดเคืองพระทัย จึงตรัสถามพระฤาษีอาจารย์ด้วยความกังวลว่า “ ข้าแต่พระฤาษีผู้เจริญดาบสหนุ่มผู้นี้ เห็นทีจะฉันอาหารจนอิ่มหนำสำราญมากไปสะแล้ว ถึงคร้านที่จะลุกขึ้น ได้แต่นอนเปล่งอุทานสบายอารมณ์อันไม่ควรอยู่เช่นนี้ ”
“ หาใช่เช่นนั้นไม่หรอกมหาบพิตรศิษย์ของเราผู้นี้ เดิมก็เป็นกษัตริย์เยี่ยงพระองค์ เหตุที่อุทานออกมาเช่นนั้น หาใช่เพราะความอิ่มจัด แต่เพราะไม่ต้องการกลับไปแสวงหาความสุขจากราชสมบัติต่างหากเมื่อพบว่าการได้ออกบวชเจริญภาวนาธรรมนั้น เป็นความสุขที่แท้จริง สุขยิ่งกว่าการเป็นกษัตริย์ ถือว่าเป็นสุขสองชั้น ก็เลยเปล่งอุทานออกมาเช่นนี้แหละมหาบพิตร ”
ความสุขที่มาจากการออกบวชนั้น กล่าวคือ สุขที่ไม่ต้องหวาดผวาจากการถูกปองร้าย สุขที่ไม่ต้องมีภาระอันใหญ่หลวงในการดูแลทุกข์สุขของประชาราษฎรและสุขที่ไม่ต้องเป็นภาระแก่ใคร ๆ ให้ต้องคอยปกป้องอารักขาความปลอดภัย ซึ่งนับเป็นความสุขชั้นแรก อนึ่งสุขจากการบรรลุธรรมเป็นสุขอันล้ำเลิศที่ไม่ต้องอาศัยบุคคลและวัตถุใด ๆ นับเป็นความสุขชั้นที่สอง ดังที่ฤาษีอาจารย์ได้กล่าวไว้ “ ชนเหล่าอื่นไม่ต้องรักษาผู้ใดด้วย ผู้ใดก็ไม่ต้องรักษาชนเหล่าอื่นด้วยดูก่อนมหาบพิตรผู้นั้นแลไม่เยื่อใยในกามทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมอยู่เป็นสุข ” พระเจ้าพรหมทัต สดับพระธรรมเทศนาด้วยใจที่เบิกบานแฉ่มชื่น เข้าพระทัยแล้ว ก็มิได้ถือโกรธดาบสผู้นั้นอีกต่อไป “ ข้าพเจ้าเข้าใจดีแล้ว ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าขอลากลับก่อนนะท่านฤาษีผู้เจริญ ” “ เจริญพรเถอะมหาบพิตร ”
ดาบสผู้ศิษย์เอกก็กราบลาพระอาจารย์กลับสู่ป่าหิมพานต์บำเพ็ญเพียรต่อไป ส่วนพระอาจารย์ได้พำนักอยู่ ณ พระราชอุทยานจนสิ้นอายุขัย เมื่อละโลกไปแล้ว ได้ไปบังเกิดในพรมโลกด้วยอำนาจฌานสมาบัติ
ในพุทธกาลสมัยต่อมา ลูกศิษย์คนโตกำเนิดเป็นพระภัททิยะ
พระฤาษีอาจารย์ เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า