ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

ชาดก 500 ชาติ
กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        ในพุทธกาลสมัยหนึ่ง ณ พระเชตวันมหาวิหารอารามอันเป็นที่ประทับแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหล่าภิกษุสาวกมากมายล้วนตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างสงบสุขเรื่อยมา “ เช้านี้อากาศสดชื่นเหมือนเช่นเคย เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมยิ่งนัก ” “ นั่นนะสิ เอาไว้กวาดลานตรงนี้เสร็จเราเข้าไปศึกษาธรรมกันต่อ ยังมีอีกหลายข้อเลยที่เราสงสัยใคร่รู้นะท่าน ” “ อืม ดีเหมือนกัน งั้นเรารีบเร่งมือกันเถอะ ” “ อ้าวๆ จะมัวคุยกันไปถึงไหนละเนี่ย รีบ ๆ เก็บกวาดได้ไหม ข้าเบื่อทำงานสกปรกอย่างนี้จริง ๆ เชิญพวกท่านคุยไปทำไปก็แล้วกันนะ ” “ อ้าว ”

        ภิกษุทั้งหลายเมื่อปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเรียบร้อยก็ได้เวลาที่จะศึกษาพระธรรมคำสอนตามความสนใจใคร่รู้ของแต่ละรูป และคอยช่วยเหลืออธิบายขยายธรรมให้แก่กันเป็นอันดี “ ท่านพอจะเข้าใจถ่องแท้ในจุดนี้บ้างไหม ” “ อ่อ ได้สิ เดี๋ยวเราจะอธิบายให้ท่านทราบนะ ” “ ปัดโธ่เอ๋ย ง่าย ๆ แค่นี้พวกท่านยังไม่เข้าใจกันอีกหรือนี่ เชอะ เหมาะแล้วที่ต้องมากวาดลานอย่างนี้ ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ ” “ อ้าว ”

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        ภิกษุขี้โอ่รูปนี้มักพูดจายกตนข่มท่าน คอยถากถางภิกษุรูปอื่น ๆ อย่างไม่ให้ความเคารพเกรงใจ ซ้ำร้ายยังปฏิบัติตนไม่สนใจว่าใครจะเดือดร้อน คิดอยู่เพียงอย่างเดียวว่า ตนไม่คู่ควรที่จะมาอยู่รวมกับภิกษุเหล่านี้ (...เชอะ ระดับเราไม่น่ามาเกลือกลั้วรวมกับภิกษุรูปอื่น ๆ อย่างนี้เลยมันคนละชั้นกันเห็น เดี๋ยวหนีไปตั้งสำนักใหม่แล้วจะหนาว อีโธ่)

        แม้ในยามฉันเพลภิกษุทั้งหลายก็พร้อมใจกันมาที่โรงครัวเพื่อรับภัตตาหาร โดยอาหารที่นำมานั้นก็มาจากที่มีชาวบ้านนำมาถวายบ้าง หรือเป็นพืชผักที่ภิกษุปลูกเองบ้าง และเหมือนเช่นทุกครั้งภิกษุขี้โอ่ก็ยังคงแสดงกิริยาโอ้อวดพูดจาไม่เกรงใจใครเหมือนเช่นเคย “ เอาล่ะ ฉันเสร็จแล้วเราว่าจะไปถามพระอาจารย์ถึงข้อธรรมะที่เราสงสัย ท่านจะไปด้วยกันไหม ” “ ได้สิ เออนิท่าน ดูนี่สิผักที่พวกเราปลูกกันเองพอปรุงอาหารแล้วสีสันสดใสดีจริง ๆ ”

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        “ นั่นนะสิท่าน ผักงามอย่างนี้แบ่งให้ชาวบ้านพวกเขาคงจะดีใจกันน่าดู ” “ ดี ดี ดี ” “ อะไรนี่ เอาอาหารอะไรมาให้เราฉันนี่ขออาหารดี ๆ อร่อย ๆ กว่านี้ได้ไหม ระดับเราจะให้มาฉันอาหารกระจอก ๆ แบบนี้ได้ยังไงใช้ไม่ได้จริง ๆ ไม่กงไม่กินมันแล้ว เบื่อ ”

        “ อ้าว เป็นงั้นไป ” “ เหตุไฉนภิกษุท่านนี่ ถึงได้มีกิริยาเยี่ยงนี้นะนี่ ” “ นั่นนะสิท่าน ทั้งที่ภิกษุท่านนี้เพิ่งจะมาอยู่ที่สำนักเราได้ไม่นานพื้นเพดั้งเดิมก็มาจากแดนไกล แต่ไฉนกลับประพฤติตนดูถูกผู้อื่นอยู่ได้ ” เรื่องราวการพูดจาโอ้อวดดูถูกผู้อื่นของภิกษุขี้โอ่ ที่นับวันก็ยิ่งบานปลายกลายเป็นหัวข้อโจทย์จันกันไปทั่วธรรมสภา “ ควรจะมีใครสักคนพูดเตือนภิกษุท่านนั้นเรื่องการพูดจาบ้างแล้วหล่ะ ” " งั้นก็เชิญท่านเข้าไปพูดกับเขาแล้วกัน พวกเราจะเป็นกำลังใจให้อยู่ห่าง ๆ นะ " “ อ้าว อย่าเกี่ยงกันเลย ของอย่างนี้ไม่มีใครอยากไปพูดหรอกคงต้องให้เจ้าตัวรู้ตัวด้วยตนเองละกระมัง ” “ เฮ้อ เหนื่อยใจ ”

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        เหตุการณ์นี้ได้ล่วงรู้ไปถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ทรงตรัสเรียกภิกษุขี้โอ่นั้นก่อนจะเรียกภิกษุขี้โอ่รูปนั้นเข้าพบ และตรัสสอนให้ภิกษุรูปนี้เปลี่ยนแปลงความประพฤติของตนเองซะ “ ดูก่อนภิกษุ เหตุไฉนเล่าท่านจึงได้มักพูดจาโอ้อวด ถากถางผู้อื่นอยู่เยี่ยงนี้เล่า ” “ เอ่อ ข้าพระองค์ก็เพียงแต่เห็นว่า ข้าน่าจะได้อยู่ ได้ฉันในสิ่งที่ดีกว่านี้เท่านั้น มิได้มีเจตนาจะว่าร้ายใครเยี่ยงไรเลยขอรับ ”

        “ ภิกษุเอ๋ยการกระทำเยี่ยงนี้นับว่าไม่สมควรต่อการครองเพศสมณะยิ่งนัก มิเพียงแต่ในชาตินี้เท่านั้นหรอกนะที่ท่านประพฤติตนเยี่ยงนี้ แม้ในชาติปางก่อนท่านเองก็เคยประพฤติตนเยี่ยงนี้จนได้รับความเดือนร้อนมาแล้วเหมือนกัน ” จากนั้นพระพุทธองค์จึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณย้อนไปในอดีตชาติ ตรัสเล่ากาลัณฑุกชาดกเป็นแง่คิดให้กับภิกษุขี้โอ่รูปนี้ และเหล่าภิกษุทั้งหลายได้ฟัง เพื่อระลึกถึงโทษแห่งการยกตนข่มท่านคอยถากถางคนอื่นไว้ดังนี้

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        ย้อนไปเมื่อครั้งอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่พระนครพาราณสี ปกครองแผ่นดินพาราณสีอย่าสงบสุขร่มเย็น “ แหม วันนี้ปลาช่างสดจริง ๆ เลยนะ วันนี้ซื้อปลาไปทำกับข้าวกินกันดีกว่า ” “ โอ้ย จะซื้อไปทำไม ไปที่บ้านท่านเศรษฐีสิ วันนี้ท่านนำอาหารมาแจกชาวบ้านอีกแล้วนะ ”

        “ อ้าวเล่นมาพูดกันต่อหน้าแผงข้าแบบนี้ ขายไม่ออกกันพอดี โอ้ย ” ท่านเศรษฐีผู้ใจบุญนั้นแท้จริงคือพระโพธิสัตว์ที่เสวยพระชาติมาบำเพ็ญคุณงามความดี สะสมบารมีนั่นเอง และในภพชาตินี้มหาเศรษฐีโพธิสัตว์ผู้มั่งมีอุดมไปด้วยข้าทาสบริวาร และทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมากมักนำอาหารมาแจกจ่ายเป็นทานให้แก่ชาวบ้าน จนเป็นที่เลื่องลือกันทั่วเมือง “ ไปกันเถอะพวกเราไปรับทานจากท่านเศรษฐีกันดีกว่า ” “ นี่ไม่ต้องรีบขนาดนั้นก็ได้ นี่ชื่นชมท่านเศรษฐีหรือว่าอยากได้ของแจกกันแน่ หา ” “ รู้ทันข้าอีกแล้ว ”

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        ในเวลานั้นภรรยาของพาราณสีเศรษฐีได้ให้กำเนิดบุตรชายมาหนึ่งคน ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกันกับที่ทาสของท่านเศรษฐีก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายขึ้นมาพร้อมกัน โดยเด็กทั้งสองคลอดวันเดียวกัน “ ฮ่ะ ฮ่า ฮ่า ลูกพ่อน่ารักน่าชังอ้วนท้วนสมบูรณ์ดีจริง ๆ เลย น่ารักมาก ” “ ท่านพี่ดูลูกเรายิ้มสิค่ะ ” “ ลูกกระผมก็เกิดวันเดียวกับนายน้อยเลยขอรับนายท่าน ” “ งั้นเหรอ เออดี ดี ต่อไปลูกเจ้ากับลูกเราจะได้เป็นเพื่อนเล่นกัน ดีมาก ๆ ดีมากอย่างนี้หละดีแล้ว ” เด็กทั้งสองนั้นเติบโตมาด้วยกันเมื่อถึงวัยได้เวลาศึกษาเล่าเรียนบุตรของพาราณสีเศรษฐีได้เรียนหนังสือ ส่วนลูกทาสนั้นก็จะถือเอากระดานชนวนตามไปเรียนด้วยทุกครั้งไป เพื่อศึกษาหนังสือกับบุตรพาราณสีเศรษฐีด้วย

         “ เจ้านี่ช่างขยันจริง ๆ เลยนะ ถือกระดานชนวนตามเรามาเรียนทุกวันเลย ดีเหมือนกัน เราจะได้ไม่เหงา ” “ ขอรับกระผมจะได้อยู่เป็นเพื่อนเรียน เพื่อนเล่นให้นายน้อยด้วยไงขอรับ ” เมื่อเขียนอ่านได้เพียงไม่กี่ครั้งลูกทาสก็เริ่มจดจำและฉลาดในถ้อยคำ และฉลาดในโวหารมากขึ้นตามลำดับ จนเวลาล่วงเลยไปลูกทาสผู้นี้ก็เติบโตเป็นหนุ่มรูปงามมีนามว่า กฏาหกะ “ เฮ้อร่ำเรียนมาสะสูง แต่ไม่แคล้วยังไงสะเราก็คงได้แค่ลูกทาสนั้นแหละ ” 

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        ด้วยความที่ท่านพาราณสีเศรษฐีเห็นว่ากฏาหกะมีความชาญฉลาดจึงได้มอบหมายงานให้ทำในเรือนของท่านเอง ด้วยกฏหกะได้รับหน้าที่เป็นเสมียนประจำอยู่ในคลังพัสดุเรือนของท่านพาราณสีเศรษฐีนั่นเอง (อืม ท่านเศรษฐีอุตส่าห์มอบความไว้วางใจให้กับเรา เราต้องตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด ให้สมกับที่ท่านมอบโอกาสให้) ต่อมากฏาหกะก็เริ่มคิดขึ้นมาได้ว่าเขาคงจะไม่อยู่ทำงานเป็นเสมียนที่นี่ตลอดไป เนื่องจากรู้ตัวว่าตนเองเป็นเพียงแค่ลูกทาส อย่างไรเสียก็คงถูกใช้เยี่ยงทาสอยู่ดี (คิด ๆ ไปคนที่นี่เขาคงไม่เอาเราเป็นเสมียนไปตลอดเหมือนกันนั่นแหละ อีกหน่อยพอมีอะไรผิดพลาดไปก็คงไม่แคล้วมาเฆี่ยนตีเรา แล้วก็ใช้เราไม่ต่างกับทาสอยู่ดีแล้วเราจะทนอยู่ทำไม อืม จะว่าไปเห็นเขาว่ากันว่าที่ชายแดนมีปัจจันตเศรษฐีที่เป็นสหายกับท่านเศรษฐีของเราอยู่ด้วย หรือว่าเราจะสวมรอยไปอยู่ที่นั้นดีนะ )

        เมื่อตัดสินใจได้ดังนั้นกฏาหกะจึงลงมือปลอมแปลงหนังสือขึ้นมาหนึ่งฉบับ โดยอ้างเอาว่าตนเป็นลูกชายของท่านพาราณสีเศรษฐี หวังจะให้ปัจจันตเศรษฐีหลงเชื่อและรับตนเข้าไปทำงานด้วย “ ฮ่ะ ฮ่า เอาล่ะที่นี้ก็เรียบร้อย แหมเรานี่ช่างฉลาดจริง ๆ แค่นี้ก็สบายไปทั้งชาติ ดีกว่าต้องอยู่เป็นทาสที่นี่ไปจนวันตาย ”จากนั้นก็นำหนังสือเล่มนั้นไปด้วยแล้วก็ออกเดินทางไปหาปัจจันตเศรษฐีหวังจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่นั้น

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        “ ต่อไปก็แค่มอบหนังสือนี้ให้กับท่านปัจจันตเศรษฐีดู แค่นี้ก็เป็นไปตามแผน หนังสือเราก็ปลอมซะเหมือนขนาดนี้ไม่มีทางดูออกแน่ ๆ ” เมื่อได้พบกับปัจจันตเศรษฐี กฏาหกะก็จัดแจงมอบหนังสือที่นำติดตัวมาด้วยให้ท่านเศรษฐีได้พิจารณา “ อืม ที่แท้ท่านก็เป็นลูกของพาราณีเศรษฐีเองหรอกหรือ ถ้างั้นก็เชิญอยู่ที่นี่ได้ไม่ต้องเกรงอกเกรงใจหรอกนะ ตามสบายเลย ตามสบาย ” “ ขอบพระคุณท่านมาก ” (สำเร็จเป็นไปตามแผนเลย เฮอะๆๆ)

        กฏาหกะอาศัยอยู่ที่นี่อย่างเปี่ยมสุข ไม่นานนักปัจจันตเศรษฐีก็มอบบุตรธิดาของตนให้แต่งงานด้วย และอาศัยอยู่ท่ามกลางบริวารที่มีมากมาย แต่ยิ่งนานไปกิริยาของกฏาหกะก็ยิ่งโอ้อวดจองหองกระทำตนใหญ่โตไม่เกรงใจใคร “ อะไรกันนี่พวกบ้านนอกอย่างเจ้าทำของอย่างนี้ให้ข้ากินหรือนี่ ไม่รู้หรือยังไง ข้านะเป็นบุตรเศรษฐีในเมืองนะ ไปทำของดี ๆ มาให้ข้ากินสิ แล้วเครื่องอบเครื่องหอมก็กลิ่นเหม็นเหลือเกิน อยากจะอ้วก เฮ้อ พวกบ้านนอกนี่จริง ๆ เล้ย ”

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        ย้อนกลับมาที่ทางฝั่งพาราณสีเศรษฐีหลังจากที่กฏาหกะหายตัวไปก็เที่ยวส่งคนออกตามหาตัวกฏาหกทั่วแคว้นพาราณสี  แต่ก็ไม่มีผู้ใดพานพบกฏาหกะเลยแม้แต่คนเดียว “ ข้าน้อยออกค้นหาทั่วพารารณสีแล้ว แต่ก็หาพบกฏาหกะไม่ขอรับนายท่าน ” “ ข้าเองก็เหมือนกันนายท่าน เที่ยวถามคนรู้จักก็ไม่มีใครรู้เลย ” “ เอ้ เจ้ากฏาหกะหายไปไหนนะ อยู่ดี ๆ ก็หายไปแบบนี้มันต้องมีอะไรไม่ชอบมาพากลแน่ ๆ เลย ”

        เมื่อไม่สามารถหาตัวกฏาหกะเจอ ท่านเศรษฐีจึงได้สั่งให้นกแขกเต้าของตนเป็นผู้ตามหาตัวกฏาหกะ “ ไปเถอะเจ้านกแขกเต้าไปช่วยเราตามหาทีสิ ว่าเจ้ากฏาหกอยู่แห่งหนใดกัน ” “ ได้เลยท่านเศรษฐีไว้เป็นหน้าที่ของข้าเอง ”

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        นกแขกเต้านั้นมีปีกบิน จึงสามารถบินและมองหาจากที่สูงได้และสามารถบินได้ไกล ไม่นานนักก็บินมาจนถึงชายแดนที่ซึ่งปัจจันตเศรษฐีอาศัยอยู่ ฝั่งกฏาหกเองก็กำลังนั่งเรื่อเล่นกับภรรยาโดยให้คนถือดอกไม้เครื่องหอมมากมายไว้ในเรือด้วยพร้อมด้วยโภชนียอีกมากมายไปบนเรือ เนื่องจากธรรมเนียมของที่นี่เวลาเหล่าเศรษฐีจะนั่งเรือเล่น ก็จะดื่มนมสดแกล้มด้วยเภสัชที่มีรสเข้มเพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่นเวลานั่งเรือเล่นน้ำก็จะไม่รู้สึกหนาว “ เฮ้อ ธรรมเนียมของที่นี่ช่างแปลกนักกับอีแค่เราจะนั่งเรือเล่นทำไมต้องมีอะไรมากมายขนาดนี้เนี่ย ”

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        กฏหกนั้นหาได้นำนมนั้นมาดื่มเพื่อทำความอบอุ่นให้ร่างกายไม่ แต่กลับนำนมนั้นมาป้วนปาก มิหน่ำซ้ำยังถ่มนมในปากใส่ศีรษะของภรรยาอีกต่างหาก “ บ้วนปากด้วยนมแปลกใหม่อย่าบอกใคร ฮ่ะฮ่า ฟันขาวสะอาดแข็งแรง ” “ อุ๊ย ท่านพี่ทำไมท่านมาบ้วนใส่น้องอย่างนี้เล่า แล้วนมนั่น เขาเอาไว้ให้กินแกล้มกับเภสัชเพื่อกันหนาวนะไม่ใช่ให้ท่านมาบ้วนเล่นแบบนี้ ” “ เออน่า เจ้าอย่าพูดมากน่า ธรรมเนียมคนบ้านนอกอย่างพวกเจ้าน่ะคนในเมืองอย่างข้าไม่สนหรอก ”

        ฝ่ายนกแขกเต้าเมื่อบินมาถึงฝั่งแม่น้ำก็เหลือบเห็นกฏาหกะเข้าพอดี จึงบินลงมาเกาะที่กิ่งมะเดื่อเพื่อสังเกตท่าที เมื่อเห็นกฏาหกะบ้วนนมใส่ศีรษะธิดาเศรษฐีจึงเข้าไปต่อว่ากฎหกอย่างเหลืออด “ หนอย ๆๆๆ ท่านกาลัณฑุกะชั่วเอ๋ย ไม่ได้สำนึกพึงสังวรเลยว่าตนเป็นอะไรมาก่อน เที่ยวเอานมสดมาบ้วนปากอย่างนี้ได้อย่างไร แล้วที่สำคัญเจ้ากล้าดีเยี่ยงไรถึงได้ไปถ่มรดศีรษะธิดาเศรษฐีอย่างนั้น นี่เจ้าช่างไม่รู้จักประมาณตนเลยหรือนี่ สกุลของเจ้ามิใช่สกุลสูง นี่ถ้านายท่านรู้ว่าเจ้ามาทำตัวเยี่ยงนี้คงไม่แคล้วต้องเดินทางมาจับตัวเจ้าไปแน่ ๆ เจ้าจงดื่มน้ำนมนั้นเสียอย่าเที่ยวเอามาทำเสียของอย่างนี้นะ ”

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        ฝ่ายกฏาหกะนั้นก็จำได้ว่านี่คือนกแขกเต้าของพาราณสีเศรษฐี จึงเกิดความกลัวว่านกแขกเต้าจะนำเรื่องไปบอกให้กับพาราณสีได้ทราบ “ ใจเย็น ๆ สิ พ่อนกแขกเต้ามานี่มา มานั่งข้าง ๆ เราก่อนนี่คุยกันดี ๆ ก่อนก็ได้นะจ๊ะ ” นกแขกเต้ารู้ดีว่ากฏาหกะแสร้งทำอุบายเรียกเข้าไปใกล้เพื่อหวังจะฆ่าตนปิดปากเป็นแน่ จึงตัดสินใจบินหนีออกมามุ่งหน้ากลับไปรายงานให้พาราณสีทราบโดยทันที “ เชอะ อยู่ให้โง่เหรอ ขืนอยู่เจ้าก็บีบคอเราตายเราตายนะสิ เราไปดีกว่า ” “ เดี๋ยว ๆ เดี๋ยวนะ เจ้านกบ้ากลับมาเดี๋ยวนี้ โธ่โว้ย มันน่านัก อืม ”

        เมื่อนกแขกเต้าบินมาถึงเมืองพาราณสี ก็รีบนำเรื่องที่ตนไปพบกับกฏาหกะมาเล่าให้ท่านพาราณสีเศรษฐีทราบโดยทันที “ อืม ที่แท้ก็เป็นเช่นนี้นี่เอง เฮ้อ เห็นทีเราจะปล่อยให้เจ้ากฏาหกะสร้างความเดือดร้อนให้ที่นั่นต่อไปไม่ได้สะแล้ว เราคงต้องไปนำตัวเขากลับมาเป็นทาสที่นี่เสียแล้ว ” “ ดีเหมือนกันนายท่าน คนลืมตนแบบนี้ต้องจับกลับมาเป็นทาสดัดนิสัยซะให้เข็ด ”

ชาดก 500 ชาติ กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

        หลังจากนั้นไม่นานพาราณสีเศรษฐีก็เดินทางไปพบกับปัจจันตเศรษฐี เพื่อขอนำตัวกฏาหกะกลับเมืองพาราณสี เพื่อใช้งานเยี่ยงทาสต่อไป “ กลับพาราณสีซะเถอะเจ้ากฏาหกะเอ๋ย เจ้าอย่าได้สร้างความเดือดร้อนให้เขาอีกเลย ” “ โธ่ เราไม่น่าเลย เป็นเพราะความโอ้อวด อวดดีของเราแท้ ๆ ” หลังจากองค์พระศาสดาทรงนำชาดกเรื่องนี้มาตรัสเล่าแล้ว ก็ทรงประชุมชาดกว่า 

 

กาลัณฑุกะผู้โออวดผู้นั้นในชาติที่แล้ว ก็คือภิกษุผู้นี้แล
ส่วนพาราณสีเศรษฐีในครานั้น ก็คือเราตถาคตในชาตินี้เอง 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล