อรรถกถา รถลัฏฐิชาดก
ว่าด้วย ใคร่ครวญก่อนแล้วทำ
วันหนึ่ง ณบริเวณใกล้ๆกับโรงธรรมสภา มีกลุ่มภิกษุรูปหนึ่งกำลังจับกลุ่มสนทนากันอยู่"เรานั้นไม่เข้าใจว่าท่านปุโรหิตเลยทำไม่ต้องโกหกด้วย ทั้งที่รู้ว่าเหตุการณ์นี้เจ้าตัวนั้นผิดเต็มประตู ยังจะกล้ามาเข้าเฝ้าพระศาสดาอีก" ขณะนั้นพระศาสดาได้เสด็จมาพอดีพระองค์ทรงเห็นกลุ่มภิกษุกำลังจับกลุ่มสนทนาจึงเกิดความสงสัยว่ากำลังทำอะไรกิน จึงเดินเข้าไปเอ่ยถาม "ภิกษุทั้งหลายบัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนาเรื่องอะไรกัน" เมื่อภิกษุกราบทูลเรื่องทั้งหมด จึงตรัสว่า "ดูก่อน มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ปุโรหิตนี้ก็กระทำกรรมเห็นแบบนี้เหมือนกัน" แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาเล่าให้ฟัง
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี มีปุโรหิตอยู่คนหนึ่งกำลังเดินทางด้วยเกวียนไปยังบ้านส่วย ขณะที่กำลังวิ่งไปตามเส้นทางแคบ ก็พบเข้ากับคณะเกวียนกลุ่มหนึ่งที่กำลังจอดนิ่งอยู่กลางถนน ส่งผลให้ท่านปุโรหิตถึงกับหัวเสีย สถบด่าเกวียนด้านหน้า จากนั้นก็เดินตรงปรี่ไปยังคนขับเกวียน
"พวกท่านเป็นคนขับเกวียนประสาอะไร ทำไมปล่อยให้ติดอยู่แบบนี้ ทำไม่เป็นหรืออย่างไรกัน" "ขอโทษครับเดี๋ยวผมรีบขยับ รอสักครู่เถิด" จากนั้นคนขับเกวียนได้ใช้ไม้สำหรับบังคับม้าให้ขยับออกไป แต่ดูเหมือนจะไม่ทันใจของท่านปุโรหิตผู้นี้ "มานี่ข้าทำเองทำอะไรชักช้าอยู่นั้นเเหละ" จากนั้นได้ปรี่เข้าไปยังคนขับเกวียนจากนั้นใช้มือจับเข้าไปที่ด้าม ต่างฝ่ายต่างพยายามยื้อแย่ง จนด้ามนั้นกระเด็น ไปโดน เกวียนแล้วกระเด้งไปโดน หน้าผากของท่านปุโรหิตท่านนั้นจนหัวปูโน
ด้วยความโกรธ ปุโรหิตจึงกลับไปกราบทูลแก่พระราชาทันที "ท่านปุโรหิตทำไมถึงหัวบูดเช่นนั้นไปโดนอะไรมา" "คือว่ากระหม่อนโดนเจ้าพวกคนขับเกวียน ทำร้ายพะย่ะข้า เจ้าพวกนะใช้ด้ามไม้บังคับม้ากระหน่ำตีจนหม่อนฉันหน้าผากปูดเป็นลูกมะนาวเช่นนี้"ท่านปุโรหิตพยายามเรียกคะแนนความสงสารจากองค์กษัตริย์ " ถ้าอย่างนั้น ข้าจะเรียกเจ้าพวกนั้นมาไตร่ถาม" "ขอบพระทัยพะย่ะข้า" จากนั้นท่านปุโรหิตไปเดินออกไป
ณ โรงวินิจฉัย พระราชาทรงเป็นคนรับหน้าที่ตัดสินเอง ได้เรียกคนขับเกวียนมาเข้าเฝ้า แต่แทนที่พระราชาจะเอ่ยถามความจริงทั้งหมด กลับต่อว่าด่าทอคนนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียว "จากความผิดของเจ้าที่ข้าฟังจากท่านปุโรหิตนั้น จะขอปรับคนละหนึ่งพัน"
ด้านท่านอำมาตย์นั่งอยู่ด้วย เห็นท่าไม่ดีจึงยกมือขึ้นกล่าวคัดค้านว่า "ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ยังไม่ได้ทรงถามคนเหล่านี้เลย ว่าเหตุที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ถ้าตัดสินไม่ถูก จะถูกประชาชนติฉินนินทาเอานะพะย่ะข้า
แล้วบุคคลทำร้ายตนเอง กลับกล่าวหาว่า คนอื่นทำร้าย คนแบบนี้ก็มี โกงเขาแล้วกลับกล่าวหาเขาคนเหล่านี้ก็มีเช่นกัน ไม่ควรเชื่อคำของโจทก์ฝ่ายเดียว เพราะฉะนั้นควรฟังคำของฝ่ายจำเลยด้วย เมื่อฟังคำของโจทก์และจำเลย จากนั้นทรงพิจารณาเสียก่อน"
พระราชาได้สดับคำของพระโพธิสัตว์แล้ว ทรงวินิจฉัยตัดสินโดยธรรม เมื่อทรงวินิจฉัยโดยธรรม โทษผิดจึงมีแก่พราหมณ์เท่านั้นแล
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า
พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้เป็น พราหมณ์นี่แหละในบัดนี้
ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิต ได้เป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.