อรรถกถา วิสัยหชาดก
ว่าด้วย ความยากจนไม่เป็นเหตุให้ทำชั่ว
ณ พระวิหารเชตวัน สถานที่ที่พระศาสดา ประทับอยู่ อยู่มาวันหนึ่งทรงเอ่ยถึงท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี โดยมีใจความว่า โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราชผู้ประทับยืนในอากาศ ห้ามอยู่ว่า ท่านอย่าให้ทาน ก็ยังได้ให้ทานอยู่เหมือนเดิม อันท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นเศรษฐีนามว่าวิสัยหะ มีทรัพย์สมบัติมากถึง ๘๐ โกฏิ เป็นผู้ถือศีล ๕ ยินดีในการทำทาน พระโพธิสัตว์ให้สร้างโรงทานในที่ ๖ แห่ง ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ประตู ท่ามกลางพระนครและที่ประตูนิเวศน์ของตน บริจาคทรัพย์วันละหกแสนเป็นประจำทุกวัน
ด้วยทานนี้ส่งผลให้ภพของของท้าวสักกะหวั่นไหวด้วยอานุภาพของการให้ทาน ปราสาทท้าวเทวราชร้อนรุ่ม ขณะนั้นท้าวสักกะทรงดำริว่า "ใครหนอประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากที่ จึงทรงพิจารณาใคร่ครวญอยู่ ทรงเห็นท่านมหาเศรษฐี จึงเอ่ยว่าท่านเศรษฐีนี้กว้างขวางยิ่งนัก ให้ทานไปทั่วชมพูทวีป ส่งผลให้ผู้คนไม่ต้องทำไร่ไถนา ดูท่าจะทำให้เราหลุดออกจากท้าวสักกะด้วยทานนี้ ถ้าอย่างนั้นเราจะอยู่รอดได้จำเป็นต้องทำลายทรัพย์ของเศรษฐีผู้นี้ซ้ะ
ในเวลาต่อมา คนดูแลโรงทานได้มาแจ้งกับ เศรษฐีนายนี้ว่า "บรรดาวัตถุดิบต่างๆนั้นหายไปหมด เลยไม่สามารถทำอาหารแจกได้ ถ้าอย่างนั้น พวกท่านนำทรัพย์ที่เก็บเอาไว้ใช้จ่ายได้เลย พยายามอย่าให้คนที่เดือดร้อน " "น้องหญิงๆ มาหาพี่หน่อยได้ไหม" พระโพธิสัตว์สัตว์เรียกภรรยามาอีกกล่าวว่า "น้องหญิงพี่นั้นไม่อาจตัดขาดการให้ทาน เธอช่วยค้นหาให้ทั่วเรือน หาสิ่งที่สามารถไปขายเพื่อไปทำทานได้
ในขณะเดียวกันมีคนหาบหญ้าคนหนึ่ง ได้ทิ้งเคียวและเชือกมัดหญ้าไว้ระหว่างประตูก่อนจะหนีไป ภรรยาของเศรษฐีเห็นดังนั้น จึงนำเรื่องบอกสามี "ท่านพี่ นอกจากเคียวกับเชือกมัดหญ้า นอกนั้นน้องไม่เห็นอะไรเลย"
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า "ปกตินั้นเราไม่เคยเกี่ยวหญ้ามาหลายปีแล้ว แต่วันนี้ เรามาเกี่ยวหญ้าแล้วขาย จากนั้นให้ทานพอสมควรเถิด เพราะกลัวการให้ทานจะขาด จึงถือเอาเคียวและเชือกออกจากพระนครไปยังที่มีหญ้าแล้วเกี่ยวหญ้าคิดว่า หญ้าฟ่อนหนึ่งจะเป็นของพวกเรา และจะให้ทานด้วยหญ้าฟ่อนหนึ่ง จากนั้นจึงมัดหญ้าเป็น ๒ ฟ่อน คล้องที่คานถือเอาไปขายที่ประตูเมืองเมื่อได้เงินมาแล้ว แบ่งส่วนหนึ่งแก่พวกยาจก แต่พวกยาจกมีมาก เมื่อพวกเขาร้องขอว่า "ให้ข้าพเจ้าบ้าง" จึงได้ให้อีกส่วนไป วันนั้นจึงไม่มีอาหารประทังชีวิตจนกระทั่งเวลาล่วงไป ๖ วัน
ในวันที่ ๗ เมื่อเศรษฐีนั้นกำลังนำหญ้ามา มัดด้วยเชือก ขณะนั้นเมื่อแสงอาทิตย์กระทบหน้าผาก นัยน์ตาทั้งสองข้างก็พร่าพราย ท่านเศรษฐีไม่อาจดำรงสติไว้ได้ จึงล้มทับหญ้า ในขณะนั้นท้าวสักกะลอยอยู่เหนืออากาศยืนมอง ท่านเศรษฐีที่ตอนนี้กำลังนอนอยู่บนกองหญ้า "ท่านตอนนี้ไม่ได้มีเงินเหมือนแต่ก่อนแล้ว ความเสื่อมได้ปรากฏขึ้นแล้วต่อแต่นี้ไป ถ้าท่านไม่ให้ทาน ประหยัด ทรัพย์สินทั้งหมดจะกลับมาเหมือนเดิม"
"ท่านวิสัยหะ เมื่อก่อนแต่กาลนี้ เมื่อทรัพย์ในเรือนของท่านยังมีอยู่ ท่านได้ให้ทานทั่วชมพูทวีป และเมื่อท่านนั้นให้ทานอยู่อย่างนี้ ธรรมคือความเสื่อมได้แก่ สภาวะคือความเสื่อมโภคะ คือทรัพย์ทั้งมวลหมดสิ้นไป เมื่อท่านไม่ทำทาน ทรัพย์ทั้งหมดจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม"
พระมหาสัตว์ได้ฟังคำของท้าวสักกะนั้นแล้วจึงถามว่า "ท่านเป็นใคร" "ท้าวสักกะ" "ธรรมดาท้าวสักกะ พระองค์เองให้ทาน สมาทานศีล รักษาศีล บำเพ็ญวัตรบท ๗ ประการ จึงถึงความเป็นท้าวสักกะ แต่พระองค์ทรงห้ามการให้ทานอันเป็นเหตุแห่งความเป็นใหญ่ของพระองค์ ทรงทำวัตรจรรยาอันมิใช่ของอารยชน"
"แม้จะเป็นคนหาบหญ้าอย่างนี้ ก็จักให้ทานตราบเท่าที่มีชีวิตอยู่" "เพราะเหตุไร?" "เพราะเราจะไม่ละลืมการให้ทาน" "เพราะผู้ไม่ให้ย่อมชื่อว่าละ ลืมคือไม่ระลึกถึง ไม่กำหนดถึงการให้ทาน ส่วนเราเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ย่อมไม่ปรารถนาจะลืมการให้ทาน เพราะฉะนั้น เราจักให้ทานเหมือนอย่างเดิม"
ท้าวสักกะ เมื่อไม่อาจห้ามได้ จึงถามว่า "ท่านให้ทานเพื่อประโยชน์อะไร?" ท่านเศรษฐีกล่าว "ข้าพเจ้าไม่มีความปรารถนาเป็นท้าวสักกะ เป็นพระพรหม แต่ปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ จึงให้ทาน"
ท้าวสักกะได้ทรงสดับคำของวิสัยหะนั้นแล้วก็โล่งใจ จึงเอามือลูบหลัง ในขณะนั้น สรีระรูปลักษณ์สังขาร กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม และทรัพย์สมบัติของพระโพธิสัตว์นั้นก็กลับมาเป็นเช่นเดิม
ท้าวสักกะพูดกับท่านมหาเศรษฐีว่า "ท่านจงสละทรัพย์ ๑๒ แสน ให้ทานทุกวันเถิด" แล้วประทานทรัพย์หาประมาณมิได้ไว้ในเรือนของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงส่งพระโพธิสัตว์แล้ว เสด็จไปเทวสถานของพระองค์
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
ภรรยาของเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็น มารดาพระราหุล
ส่วนวิสัยหเศรษฐีได้เป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.