อานุภาพพระมหาสิริราชธาตุ

พระมหาสิริราชธาตุ รุ่นดูดทรัพย์ สำหรับ ผู้สร้างพระธรรมกายประจำตัวภายในมหาธรรมกายเจดีย์นั้น จะได้รับของที่ระลึกเป็นพระธรรมกายของขวัญ

อานุภาพพระมหาสิริราชธาตุ คนสร้างวัด วัดสร้างคน เรื่องวัดสร้างเยาวชนที่ดีให้สังคม (อาจารย์พิศมัย แสงหิรัญ)

คนสร้างวัด วัดสร้างคน   
เรื่องวัดสร้างเยาวชนที่ดีให้สังคม
(อาจารย์พิศมัย แสงหิรัญ)


วัด เป็นสถานที่อยู่ของนักบวช ซึ่งเป็นที่ผู้สามารถอบรมตนเองได้และสั่งสอนอบรมศาสนิกชนให้ปฎิบัติตามหลักธรรมของศาสนาได้ด้วย วัดที่ไม่มีนักบวชอยู่มักเรียกว่าวัดร้าง มีคุณค่าเพียงแค่โบราณวัตถุหรือปูชนียสถาน ส่วนวัดที่มีนักบวชอยู่ก็จริง แต่ทำประโยชน์ตนเองคือปฏิบัติตามคำสอนในศาสนาไม่ได้ และยังสั่งสอนอบรมศาสนิกชนไม่ได้ เรียกได้อย่างดีที่สุด เพียงแค่คนเฝ้าวัด


กลุ่มคนผู้ร่วมกันสร้างวัดพระธรรมกายขึ้นมา มีอุดมการณ์สร้างวัดที่เป็วัด และให้วัดช่วยสร้างคนให้เป็นคน คือให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ ไม่ใช่เป็นเพียงคนที่ร่างกายรูปร่างหน้าตาเป็นคนเท่านั้น แต่ต้องให้มีจิตใจที่มีคุณธรรมสูงกว่าสัตว์ในอบายภูมิทุกชนิด สมกับคำว่ามนุษย์ ซึ่งแปลว่าผู้มีใจสูง (มนะ แปลว่า ใจ อุษยะ หรืออุตตมะ แปลว่า สูง)


ด้วยเหตุนี้การเจริญเติบโตของวัดพระธรรมกายจึงต้องดำเนินพร้อมกันมาด้วยการสร้างคนก่อนเป็นอันดับแรก คนเมื่อได้รับการพัฒนาด้วยหลักธรรมของศาสนา ย่อมเห็นคุณค่าของการสร้างวัดเพื่อขยายการพัฒนาไปสู่จิตใจของคนอื่นๆ ในสังคมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น


หากต้องการพัฒนาจิตใจคนให้ได้จำนวนมากๆ วัดก็ต้องขยายการทำงาน ให้กว้างขวางตามส่วนไปด้วย ทั้งจำนวนบุคลากรในแง่ของนักบวชและการก่อสร้างศาสนสถานเพื่อรองรับจำนวนผู้คนที่เข้ามารับการพัฒนาจิตใจ


งานของวัดพระธรรมกาย จึงวนเวียนอยู่ตรงที่ว่า เมื่อวัดสร้างคนจำนวนหนึ่งขึ้นมา คนจำนวนนั้นเห็นประโยชน์ของงานพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นกำลังในการทำงานสร้างวัดทั้งส่วนที่เป็นบุคลากร และส่วนที่เป็นวัตถุเพื่อขยายงาน มีคนที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากเพียงใด การขยายงานทั้งสองด้านดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ด้วยเหตุนี้งานของวัดพระธรรมกายจึงมีแต่ความก้าวหน้ารวดเร็วไม่หยุดยั้ง ทั้งที่มีอุปสรรคกีดขวางจากผู้ที่ไม่เข้าใจมากมายก็ตาม


คนที่เข้าใจการทำงาน การขยายงานของวัดอย่างแท้จริง จะไม่รั้งรอที่จะให้ความร่วมมือทั้งในด้านพัฒนาจิตใจผู้คนด้วยหลักศาสนา และให้การสนับสนุนในการขยายงานทุกรูปแบบ ดังตัวอย่างบุคคลที่จะนำมาเล่าไว้เป็นรายๆ ไป เช่นรายแรกคือ อาจารย์พิศมัย แสงหิรัญ เจ้าของและผู้อำนวยการโรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ และโรงเรียนกรุงเทพธุรกิจ เล่าเรื่องของท่านเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายไว้ว่า


"ดิฉันเริ่มเข้าวัดพระธรรมกาย มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๔ ด้วยการชักชวนของลูกชายชื่อ ฉัตรชัย แสงหิรัญ เรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แล้วมาบวชธรรมทายาทที่วัดพระธรรมกาย


หลังจากที่ลูกชายพาเข้าวัดแล้ว ดิฉันได้มาวัดทุกวันอาทิตย์ เพื่อฟังธรรมปฏิบัติธรรมจากหลวงพ่อธัมมชโย และหลวงพ่อทัตตชีโวเป็นประจำ รู้สึกประทับใจในความมีระเบียบ มีวินัย ความสะอาดของสถานที่ และความอ่อนน้อมถ่อมตนของเจ้าหน้าที่ อุบาสก อุบาสิกา และพระภิกษุสามเณร ซึ่งล้วนมีศีลาจารวัตรงดงาม ดูบริสุทธิ์ผ่องใส รวมทั้งชื่นใจที่เห็นประชาชน นิสิต นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก ต่างกับวัดอื่นๆ ซึ่งมีแต่ผู้สูงอายุ


เห็นแล้วรู้สึกชื่นชมว่า วัดพระธรรมกายนี้ต้องการพัฒนาจิตใจเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีความรู้ควบคู่จริยธรรม มีคุณธรรม ให้เป็นคนดีที่โลกต้องการแท้จริง ให้เกิดขึ้นในสังคมอนาคตอันใกล้


ดิฉันในฐานะมีกิจการให้การศึกษาแก่เยาวชนบางส่วน ตระหนักถึงหน้าที่การผลิตและพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สังคมยอมรับและต้องการ จึงเห็นประโยชน์ของวัดเป็นอย่างยิ่ง


ดิฉันได้นำนักศึกษามาอบรมทุกวันอาทิตย์ที่วัดพระธรรมกายนับแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นต้นมา รวมทั้งนำนักเรียนมารับการปฐมนิเทศ อบรมธรรมะ คุณธรรม และจริยธรรม รวมทั้งปฏิบัติธรรม จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ รวม ๑๗ รุ่น รุ่นละกว่าพันคน เป็นนักเรียนนักศึกษากว่า ๒ หมื่นคน แม้การฝึกอบรมจะต้องสมาทานศีล ๘ อยู่ธุดงควัตร ฟังเทศน์ และฝึกสมาธิ เยาวชนเหล่านั้นก็พยายามปฏิบัติเต็มกำลัง ทำให้เมื่อรับการอบรมไปแล้ว ประพฤติปฏิบัติตนดีขึ้น ทั้งด้านระเบียบวินัย รู้จักเสียสละให้สังคม มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ เช่น บิดามารดา ครูบาอาจารย์ เด็กๆ เหล่านี้สร้างปัญหาให้สถาบันการศึกษาน้อยมาก ทำให้ดิฉันบริหารงานด้วยความสบายใจตลอดมา ผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้เองทำให้ดิฉันประทับใจผลงานของวัดพระธรรมกาย


เมื่อทางวัดสร้างคุณประโยชน์ให้สังคม และชาติบ้านเมืองมากมายขนาดนี้ ดิฉันจึงยินดีมีศรัทธาให้การสนับสนุนการทำงานของวัดเต็มกำลังเสมอ ไม่ว่าทางวัดจะจัดกิจกรรมกุศลใดๆ ขึ้นก็ตาม ดิฉันไม่เคยพลาดโอกาสเข้าร่วมด้วยทุกเรื่อง ทุกครั้ง


มาบัดนี้เวลาผ่านไป ๑๗ ปี เมื่อมองไปในกิจการทุกอย่างของวัด ดิฉันจะรู้สึกภูมิใจเสมอที่ได้ร่วมเป็นเจ้าของบุญด้วยตลอด นึกครั้งใดก็ปลื้มใจทุกครั้ง ช่างเป็นบุญวาสนาของตนเองจริงๆ ที่ได้เกิดเป็นคนไทย ได้พบพระพุทธศาสนา ได้พบวัดพระธรรมกาย ได้พบพระราขภาวนาวิสุทธิ์ ผู้ชี้ทางสว่างให้ในการดำเนินชีวิตว่า เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี


ดิฉันมาวัดนี้ตั้งแต่มีสาธุชนมาเข้าวัดเป็นเรือนร้อย ต่อมาเป็นพัน ต่อมาเป็นหมื่น มาบัดนี้งานบุญใหญ่ๆ คนมากกว่าแสน ในเวลาไม่ช้านี้จะต้องมากันเป็นล้าน สิ่งที่ดิฉันได้ร่วมบุญไว้กับทางวัด ไม่ว่าเรื่องใดๆ ก็ตาม ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนนับล้านๆ ดิฉันย่อมมีส่วนในบุญนั้นตลอดไป คิดแล้วปีติเสมอ บุญกุศลเหล่านี้ย่อมติดตัวดิฉันไปในภพเบื้องหน้า เป็นมหากุศลที่คำนวณไม่ได้ แม้แต่การดำเนินชีวิตในปัจจุบันหลังจากพบวัดพระธรรมกายแล้ว ก็ราบรื่นร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา


จึงอยากให้สาะชนทุกท่านลองมาสัมผัสการทำงานของวัดพระธรรมกาย การฟังแต่คำพูดของผู้อื่นที่แพร่กระจายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นคำพูดของผู้ที่ไม่รู้จริง กับผู้ต้องการทำลายด้วยอคติบางประการ ย่อมไม่ได้พบความจริงอย่างแน่นอน


สิ่งใดก็ตาม การจะรู้ว่าดีหรือไม่ดี จริงหรือเท็จ ไม่ใข่ฟังแค่คำพูด ไม่ใช่ดูแต่พยานหลักฐานเท่าที่เห็น เพราะเป็นสิ่งเสแสร้งแกล้งปลอมกันขึ้นมาได้ แต่กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ที่ดีที่สุด ดิฉันได้ใช้เวลาพิสูจน์การทำงานของวัดพระธรรมกายมานานถึง ๑๗ ปี ยังไม่พบสิ่งที่ทำให้ดิฉันเสื่อมศรัทธาแต่ประการใด มีแต่เลื่อมใสเพิ่มมากยิ่งขึ้น


กลุ่มคนส่วนใหญ่ของวัดพระธรรมกายตั้งใจทำงานให้พระพุทธศาสนาให้สังคมส่วนรวมทุ่มกันด้วยชีวิต สิ่งที่ได้รับจากสื่อปัจจุบันนี้ มีแต่การตัดทอนกำลังใจทุกรูปแบบ ถ้าดิฉันเป็นคนไม่เข้มแข็ง ไม่เข้าใจชีวิตในโลกมนุษย์ และหลักสัจธรรมอย่างแท้จริง จะต้องเสียกำลังใจในการทำบุญกับวัดพระธรรมกายอย่างแน่นอน


สำหรับดิฉันแล้ว วัดพระธรรมกายให้ประโยชน์กับครอบครัวของดิฉันและเยาวชนของชาติมากมาย


 

อาจารย์พิศมัย แสงหิรัญ
เจ้าของและผู้อำนวยการ โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ
และโรงเรียนกรุงเทพธุรกิจ 
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล