วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ การยอมรับความเปลี่ยนแปลง

ทันโลก ทันธรรม

เรื่อง : พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D., Ph.D.) จากรายการทันโลก ทันธรรม อกอากาศทางช่อง DMC

 



 

          วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับเรื่องการยอมรับ การเปลี่ยนแปลง ในโลกยุคปัจจุบันการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นเร็วมาก เราต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา บางเรื่องเป็นเรื่องเฉพาะตัวเรา บางเรื่อง เป็นเรื่องของหมู่คณะ บ้างก็เป็นเรื่องระดับประเทศ ระดับโลก แล้วเราก็ต้องมีบทบาทอยู่ ๒ ลักษณะ คือ

           ๑. ตัวเราเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

           ๒. ตัวเราเป็นผู้รับการเปลี่ยนแปลง

เราจะรับบทบาท ๒ บทบาทนี้อย่างไร

           ประเด็นแรก ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีข้อที่ควรคำนึงถึง ๒ ข้อ คือ

           ๑) การเปลี่ยนแปลงที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้น เป็นสี่งที่ถูกต้องหรือเปล่า วิสัยทัศน์ในการนำการเปลี่ยนแปลง ถูกต้องและชัดเจนไหม ถ้าผู้นำนำไปถูกทาง ก็ดีไป แต่ถ้านำไปผิดทาง ก็ลงเหวกันทั้งคณะ เหมือนอย่างกอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีสหภาพ โซเวียต คิดว่าโซเวียตถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว อยู่อย่างเก่าไม่ได้ ไปไม่รอด เศรษฐกิจแย่แล้ว ก็เลย ให้นโยบายกลาสนอสต์และเปเรสทรอยก้า ซึ่งโด่งดัง มาก ไทม์แมกกาซีนขึ้นหน้าปก เลือกให้กอร์บาชอฟ เป็น The Man of the Year เป็นบุรุษแห่งปีของโลก

        แต่ปรากฏว่า ผ่านไปแค่ ๕ ปีเท่านั้น สหภาพ โซเวียตแตกสลายกลายเป็น ๑๕ ประเทศ จนถึงปัจจุบัน เพียงแค่นำการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น ประเทศยักษ์ใหญ่ ๑ ใน ๒ อภิมหาอำนาจของโลกแตกสลายโดยข้าศึกไม่ต้องทำอะไรเลย มีคนเคยถามกอร์บาชอฟว่า คุณกำลังจะนำการเปลี่ยนแปลงไปทางไหน ภาพของสหภาพ โซเวียตเมื่อสำเร็จรูปแล้วจะเป็นอย่างไร กอร์บาชอฟ ตอบว่าผมก็ไม่รู้เหมือนกัน รู้แต่ว่ามันต้องเปลี่ยน ต้องเปิดกว้างทั้งเศรษฐกิจและการเมืองไปพร้อมกัน ตอนเปลี่ยนใหม่ ๆ ใคร ๆ ก็ชม ปรากฏว่าสุดท้าย ลงเหวไปเลย

           เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ว่าจะนำ ไปสู่สี่งที่ดีขึ้นเสมอไป ถ้านำไปถูกทิศก็ดี แต่ถ้าผิด ทีศจะทำให้เกิดอันตรายได้ 
แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงนี้ จะดีจริง ๆ เรื่องนี้จะสัมพันธ์กับข้อที่ ๒ คือ

            ๒) ถ้าเรื่องไหนที่เรายังไม่มั่นใจ ๑๐๐ 37 ก็ควรทำ Pilot Project คือ โครงการนำร่อง ทดลอง ในกลุ่มที่ไม่ใหญ่เกินไปก่อน แล้วดูผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร ดีจริงไหม ถ้ามีรายละเอียดบางอย่างต้องปรับแก้ ก็ปรับแก้ให้เรียบร้อย แล้วค่อยขยายผล ไปสู่ระดับที่กว้างขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ก็จะมาโยงถึงประเด็น ต่อไป คือ
            กระบวนการในการนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กรที่เรารับผิดชอบ ต้องทำอย่างไร ประเด็นนี้ ฝากไว้ ๓ ข้อ คือ

          ๑. เราในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างเครดิตให้ตัวเองเสียก่อน ถ้าเครดิตดีจะเปลี่ยน อะไรก็ง่าย เพราะผู้ที่อยู่ในบังคับบัญชายอมรับเรา พูดคำเดียวเขาก็ทำตาม แรงต้านก็ไม่มี แต่ถ้าเครดิต ไม่พอ เรื่องง่ายก็กลายเป็นเรื่องยาก เรื่องยากก็ยี่งยาก เพราะว่าแต่ละเรื่องก็จะมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทำให้เกิดความวุ่นวาย ถ้าเครดิตเราดีมากขึ้นเท่าไร แรงต้านก็จะยี่งน้อยลง แล้วการเปลี่ยนแปลงก็จะราบรื่น
ถามว่าเครดิตจะเกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบมีอยู่ ๒ อย่างคือ

           ๑.๑ เราต้องสั่งสมบารมี คือ ทำผลงานที่ดีออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งผู้คนที่เกี่ยวข้องเกิด ความเชื่อมั่นในตัวเราว่า วิสัยทัศน์ของเราใช้ได้จริงๆ เวลาจะทำอะไรก็สำเร็จหมด

         ๑.๒ เราจะต้องทำแบบไม่มีนอก ไม่มีใน ไม่มี ผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่มีผลประโยชน์ตัวเองเข้าไป แอบแฝง อย่างนี้คนก็จะไม่ระแวง ถ้าเครดิตและผลงานเสริมกันอย่างนี้แล้วละก็ น้ำหนักในการชี้นำของตัวเองจะเพี่มขึ้นมาอย่างมหาศาล

         ๒. กระบวนการในการนำการเปลี่ยนแปลง ให้ ทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่าบุ่มบ่าม ให้ชั่งน้ำหนัก เสมอว่า เครดิตของเราในใจของผู้รับผลกระทบทั้งหมดมีขนาดไหน แล้วก็ทำการเปลี่ยนแปลงไปเท่า ที่น้ำหนักเรามี แต่ถ้าเราเดินเร็วเกินไปจนกระทั่งเครดิตที่เรามีอยู่ไม่พอจะรองรับ ผลกระทบจะเกิดขึ้น อย่างมหาศาล

          อย่างกรณีการเลิกทาสของไทยกับสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทย รัชกาลที่ ๕ ทรงดำเนินงานอย่างเป็น ขั้นเป็นตอน พอที่คนอื่นจะรับได้ ทรงประกาศก่อนว่าจะไม่แตะต้องทาสเก่าที่มีอยู่แล้ว แต่ทาสในเรือนเบี้ย คือลูกทาสที่เกิดมานับตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ขอให้เป็นไทแก่ตัวทุกคน คนที่มีทาส ทั้งหลายก็พอรับได้ แล้วพระองค์ก็ทรงค่อย ๆ ทำทีละขั้น ใช้เวลา ๓๐ กว่าปี จึงประกาศเลิกทาสทั้งแผ่นดิน ซึ่งตอนนั้นกระทบผลประโยชน์ของแต่ละคน ไม่มาก เพราะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้น เป็นตอนมาแล้ว จึงไม่มีการเสียเลือดเนื้อ ไม่เกิดความ ปั่นป่วนทางการเมือง

           แต่ที่อเมริกา พอประธานาธิบดีอับราฮัม ลีนคอล์น ประกาศเลิกทาส ผลคือ รัฐทางฝ่ายใต้ซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรมต้องมีทาสมาก ๆ ไม่อยาก เลิกทาส เพราะจะเสียผลประโยชน์มาก ไม่เหมือนรัฐทางฝ่ายเหนือที่เป็นสังคมอุตสาหกรรม ต้องการให้แต่ละคนมีอิสระ ซึ่งจะทำให้หาแรงงานมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่าย พอลีนคอล์นประกาศเลิกทาส เปรี้ยง! ฝ่ายใต้ประกาศแยกตัวทันที เกิดสงครามกลางเมืองอเมริกา คนตายมหาศาล ความ เสียหายเกิดขึ้นมากมาย เป็นบาดแผลใหญ่ของคนอเมริกาจนถึงปัจจุบันนี้

            อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ประเทศจีน เดิมเป็นคอมมิวนิสต์ เหมาเจ๋อตุงนำระบอบคอมมิวนิสต์ เข้ามาใช้ประมาณ ๓๐ ปี พอเหมาเจ๋อตุงเสียชีวิต ไปแล้ว เตี้งเสี่ยวผิงขึ้นมามีอำนาจ ก็ประกาศนโยบาย ว่าต้องการนำเศรษฐกิจการตลาดเข้ามา แต่พวกคอมมิวนิสต์เขาคิดว่าเศรษฐกิจการตลาดเป็นของทุนนียม เป็นฝ่ายตรงข้ามกัน พอเตี้งเสี่ยวผิงจะเอา นโยบายนี้เข้ามาใช้ แรงต้านในพรรคคอมมิวนิสต์จึงมีมหาศาล

      เตี้งเสี่ยวผิงใช้วีธิการเดินงานเป็นขั้นเป็นตอน ขอจุดเล็ก ๆ อย่างเสี่นเจี้น ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวประมง แต่ทำเลดีเพราะอยู่ฝั่งตรงข้ามฮ่องกง ขอใช้ระบบการตลาด แล้วก็ให้สิทธิพิเศษกับคนที่มาลงทุน ยกเว้นภาษีให้ อำนวยความสะดวกให้หลายอย่าง คนอื่น ๆ ในพรรครู้สึกว่าเป็นของเล่นของผู้มีอำนาจ พื้นที่เล็ก ๆ ไม่กี่ตารางกีโลเมตร ประชากรแค่ ๓๐,๐๐๐ คน เทียบกับทั้งประเทศหลายพันล้านคนถือว่าน้อยมาก เมื่อผู้นำขอก็อนุมัติ จากจุดเล็ก ๆ พอทำไป ๓ ปี ๕ ปี เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก คราวนี้ เตี้งเสี่ยวผิงจะพูดอะไรน้ำหนักก็ดีขึ้น เพราะไม่ใช่แนวคิดแล้ว แต่กลายเป็นสี่งที่ทำได้จริง และมีผลประจักษ์ให้เห็น

            จากจุดเดียวก็เรี่มขยายเป็นหลาย ๆ จุด สุดท้ายขยายทั้งประเทศ เสียงต้านก็พอมีอยู่บ้าง แต่น้ำหนักอ่อนลงไปเรื่อย ๆ เพราะเห็นผลกับตาว่า ตรงไหนใช้เศรษฐกิจพิเศษ ใช้ระบบการตลาดเข้ามา เจริญหมด ผลก็คือ เศรษฐกิจของประเทศจีนเติบโต ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ ๓๐ ปีแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาถึงปัจจุบัน ๓๐ ปีมานี้ เศรษฐกิจจีนเติบโตต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละเกือบ ๑๐ 37 ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก

        แต่ต้องรอดูต่อไปว่าจากนี้จะเป็นอย่างไรเพราะทุก ๆ อย่าง เป็นเรื่องของการลองผิดลองถูก ทิศทางใหญ่ถูกแล้ว แต่ถ้าทิศทางย่อยเดินผิด ก็ล้ม อีกเหมือนกัน แต่ละอย่างต้องเดินด้วยความสุขุม รอบคอบ ระมัดระวังตลอดเวลา จะนำคนเป็นพัน ๆ ล้านคนไม่ใช่ของง่าย วิสัยทัศน์ที่ถูกต้องของคนเพียงคนเดียว ถ้าทำดี ๆ ให้ถูกวิธีการ ก็ส่งผลกระทบ ต่อวิถีชีวิตของคนเป็นพัน ๆ ล้านคนทีเดียว แต่ในขณะเดียวกัน ถ้านำไปผิด ก็จะทำให้คนเป็นพันล้าน คนเดือดร้อนไปหมดได้ เช่น ระบอบคอมมิวนิสต์ เรี่มต้นทำเหมือนดี คือ ให้ทุกคนเสมอภาคเท่าเทียม กัน ผลิตอะไรได้มาก็แบ่งปันเท่าเทียมกัน เหมือนสังคมในฝัน แต่ลืมมองความจริงว่า คนแต่ละคนขยันไม่เท่ากัน ความพากเพียรพยายามไม่เท่ากัน ความประหยัดไม่เหมือนกัน นิสัยไม่เหมือนกัน สติปัญญาไม่เท่ากัน พอทุกคนได้เท่ากันหมด คนก็เลยไม่ทุ่มเท ไม่รู้จะทุ่มไปทำไม ทุ่มเท่าไรก็ได้เท่ากัน ผลคือประสิทธิภาพการผลิตลดฮวบฮาบ แล้วระบอบ คอมมิวนิสต์เองก็ไปไม่รอด เพราะขัดแย้งกับพื้นฐาน ความเป็นจริงของมนุษย์หลาย ๆ อย่าง ส่งผลกระทบ กับคนเป็นร้อยเป็นพันล้านคนมาเกือบ ๑๐๐ ปีเพราะว่านำไปผิด ๆ

           ๓. แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่เราทำนั้นถูกหรือผิด คำตอบคือ ถ้าไม่มั่นใจ ๑๐๐ % ให้ทดลอง ทำดูก่อน การทดลองจะเป็นตัวบอกเราได้ ลองผิดลองถูกไปแล้ว ได้ข้อมูลแล้ว ในขณะเดียวกันก็ได้เครดิตมาด้วย ค่อย ๆ ขยายผลเป็นขั้นเป็นตอนไป ตัวเราเองที่นำการเปลี่ยนแปลงก็ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น อะไรที่ไม่ถูกเราก็แก้ แล้วทุกคนที่ได้รับ ผลกระทบก็ได้รับผลกระทบอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีโอกาสในการปรับตัว

         วิีธีิการนี้ในปัจจุบันก็มีคนนำมาใช้กันมาก แม้แต่บริษัทที่จะผลิตสินค้าตัวใหม่ออกมาขาย ก็ต้อง มีการทดลองตลาด คือ เอาสินค้าไปวางในเขตพื้นที่ จำกัด แล้วดูว่ากระแสตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง มีข้อเสียอะไรที่ต้องปรับปรุง พอปรับปรุงสี่งเหล่านี้ เสร็จ คราวนี้ก็ขยายตลาดทั้งประเทศ

           ในการเปลี่ยนแปลงนั้น จะมีผู้ได้รับผลกระทบ มีคนเสียประโยชน์ มีคนได้ประโยชน์ เราต้องดู ตรงนี้ให้ดีว่าเราทำทุกอย่างด้วยความเที่ยงธรรมและเป็นธรรม ไม่ลำเอียงเข้าข้างใคร และให้เขาได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ถ้าอย่างนี้คนพอจะรับกันได้ ส่วนผลกระทบในแง่ของความคุ้นเคยเดิม ๆ ความคิดที่ไม่เหมือนกัน ต้องค่อย ๆ ปรับให้ตรงกัน โดยชื่นชม ยกย่อง ให้เกียรติเขา โอกาสได้รับความ ร่วมมือก็จะสูงขึ้น ตรงนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมาก การเปลี่ยนแปลงเป็นสี่งจำเป็น ถ้าเปลี่ยนไม่ดี ก็จะ พากันเสียหาย แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงได้ดี ถูกต้อง ทั้งทิศทางและกระบวนการ ผลดีก็จะเกิดขึ้นกับตัวของเรา หมู่คณะของเรา ประเทศชาติ หรือโลกอย่างมหาศาลทีเดียว
       ประเด็นที่ ๒ ในฐานะผู้รับการเปลี่ยนแปลง เราต้องเตรียมตัวเตรียมใจ หรือว่าดำเนินการอย่างไร ให้เป็นประโยชน์กับตัวเรามากที่สุด
 

         การทัดทานอะไรต่าง ๆ นั้น ไม่ค่อยได้ประโยชน์เท่าไร ขอให้วางใจเรากลาง ๆ นี่ง ๆ อารมณ์ขัดเคืองไม่พอใจผู้อื่นพยายามเอาออกไป ให้หมดจากใจของเรา นั่งสมาธิใจนี่ง ๆ สบาย ๆ แล้วก็ใคร่ครวญดูสถานการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นว่า จริง ๆ แล้ว การเปลี่ยนแปลงนี้ดีหรือไม่ดี มีบางส่วนดี บางส่วนไม่ดี ควรจะปรับอย่างไร แล้วเข้า ไปร่วมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงนั้นเองด้วย ในส่วน ที่เราสามารถทำได้ ทำอย่างนี้เป็นประโยชน์ที่สุด ถ้าเรามัวแต่ค้าน ก็ไม่เกิดประโยชน์ แต่ว่าถ้าเรา เข้าร่วมในกระบวนการการเปลี่ยนแปลงนั้นเอง อย่างน้อยทำให้ส่วนที่เรารับผิดชอบปรับไปสู่ทิศทาง ที่ถูกต้อง อย่างนี้เป็นประโยชน์มากกว่า ขณะเดียวกัน เราก็ควรจะฝึกอัธยาศัยเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ ตัวเอง เพราะว่าสี่งแวดล้อมรอบตัวเราเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา ให้ดูว่ามีอะไรใหม่เกิดขึ้น เทคโนโลยีใหม่ สี่งแวดล้อมรอบตัวเราก็ใหม่ กติกาของสังคมกฎหมาย กฎระเบียบใหม่ ๆ เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เราควรจะใช้สี่งนั้นให้เป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง แล้วนำมาเปลี่ยนแปลงตัวเราเองเลย คนที่ทำ อย่างนี้ได้จะสามารถใช้ประโยชน์จากสี่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากที่สุด

          ดังตัวอย่าง ยูทูบ (YouTube) เขาเห็นว่าเทคโนโลยีมันเปลี่ยนไป อินเทอร์เน็ตมิบอร์ดแบนด์ เข้ามาแล้ว ความเร็วสูงมาก สามารถดูวิดีโอทาง อินเทอร์เน็ตได้ เขาก็ไปรวมวิดีโอมาได้ ๕๐ เรื่อง แล้วตั้งเว็บไซต์ยูทูบขึ้นมา ตั้งตัวเองเป็นเวทีกลาง ใครสนใจก็มาดูกัน ปรากฏว่าวิสัยทัศน์ของเขาถูก ใครมีอะไรน่าดู ก็อยากให้คนอื่นเห็นสี่งที่ตัวเองถ่ายไว้ รูปตัวเองบ้าง ธรรมชาติ ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ไฟไหม้ แผ่นดินไหว หรือเรื่องอะไรที่น่าสนใจ ก็มาแบ่งให้คนอื่นดู เห็นคนมาดูเยอะ ๆ ตัวเองก็ปลื้มใจ ผ่านไปปีเศษ ผลคือในเว็บไซต์ยูทูบมีวิดีโอ ๑๐๐ ล้านเรื่อง เจ้าของเว็บไซต์ทำหน้าที่จัดระเบียบ จัดหมวดหมู่ ให้คนดูหาเนื้อหาได้ง่าย ผ่านไปปีกว่า ๆ Google มาขอซื้อ ได้ผลตอบแทนมา ๕-๖ หมื่นล้านบาท ปีเศษ เท่านั้น เพราะวิสัยทัศน์ถูกต้อง สามารถนำการเปลี่ยนแปลงไปได้
 

         ดังนั้น เราจะเป็นคนที่ยึดติดกับสี่งเก่า ๆ โดยไม่ยอมลืมตาดูรอบตัวหรือ ลองเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แล้วดูสิว่าจะมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร บางเรื่องอาจจะไม่ถูกใจเรานัก ต้องเรียนรู้ใหม่ อะไรเปลี่ยนแปลงก็ต้องเสียเวลาปรับตัว แต่ผลลัพธ์ที่ดีย่อมเกิดกับตัวเราเองเสมอ

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล