"วัดพระธรรมกายสอนอะไร...ผู้คนจึงแห่เข้าวัด"

วันที่ 06 เมย. พ.ศ.2559

 

"วัดพระธรรมกายสอนอะไร...ผู้คนจึงแห่เข้าวัด"

 

"วัดพระธรรมกายสอนอะไร...ผู้คนจึงแห่เข้าวัด"
 

ในพระไตรปิฎกมีคำสอน ที่แบ่งออกตามกลุ่มผู้ฟังอยู่ 4 กลุ่ม

1) คำสอนสำหรับคฤหัสถ์
2) คำสอนสำหรับบรรพชิต
3) คำสอนสำหรับพระอริยบุคคล
4) คำสอนสำหรับอมนุษย์ เช่น เทวดา พรหม 

             เวลาพระพุทธองค์จะสอนเรื่องลักษณะของนิพพาน โดยมากจะทรงสอนกับผู้ฟังกลุ่มที่ 2 กับ 3 คือผู้ที่เป็นพระอริยบุคคลแล้วและนักบวชผู้มีแววจะเป็นพระอริยบุคคล เพราะกลุ่มนี้ตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จึงต้องการความมั่นใจว่านิพพานมีจริง มีผู้ทำให้แจ้งได้จริง และตนก็มีสิทธิที่จะสามารถบรรลุนิพพานนั้นได้ เวลาสอนผู้ฟังที่เป็นคฤหัสถ์  โดยมากจะสอนเรื่องธรรมะในการประกอบอาชีพ ธรรมะในการครองเรือน ธรรมะในการบริหารงาน เพราะไม่ได้ตั้งเป้าหมายชีวิตว่าจะปราบกิเลส ต้องการเพียงใช้ชีวิตในโลกอย่างมีความสุข ไม่เดือดร้อนเรื่องเงินทอง ไม่ทุกข์ใจเรื่องคู่ครอง ไม่หนักใจเรื่องลูกหลาน ไม่ปวดหัวเรื่องเพื่อนฝูงญาติพี่น้อง มีชื่อเสียง มีหน้ามีตา เป็นที่ยอมรับของสังคมบ้าง แค่นี้ก็รู้สึกชีวิตดี มีความสุข ประสบความสำเร็จแล้ว


            เวลาสอนผู้ฟังที่เป็นอมนุษย์ โดยมากจะเป็นการซักถามประวัติเมื่อตอนเป็นมนุษย์ว่าทำผลบุญอะไรมาจึงมาเกิดเป็นเทวดาทำผลบาปอะไรมาจึงมาเกิดเป็นเปรตอดอยาก พวกเทวดาที่มีบุญเก่ามาดี พอได้ฟังธรรมซ้ำอีกที ก็มักจะบรรลุเป็นพระอริยบุคคล พวกเปรตที่พอรับบุญได้บ้าง ก็ไปบอกญาติให้ทำบุญอุทิศส่งไปให้
ทรงนำชีวประวัติของผู้ฟังที่เป็นอมนุษย์ มาใช้เป็นพยานยืนยันเรื่องกฎแห่งกรรม ชีวิตหลังความตาย และการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร

             วัดพระธรรมกายที่พลิกผืนนาเป็นวัดใหญ่ได้ ก็เพราะอาศัยแนวทางการเผยแผ่ธรรมะตามกลุ่มผู้ฟัง
ของพระพุทธองค์เป็นนโยบายในการเผยแผ่ เพราะก่อนที่ใครจะมาสนใจเรื่องนิพพาน หรือเรื่องการหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้ ยังไงก็ต้องไม่กังวลเรื่องสร้างตัวสร้างฐานะก่อน 

           เมื่อการให้ธรรมะครอบคลุมปัญหาของทุกกลุ่มผู้ฟังเช่นนี้ ประชาชนก็จะรู้สึกว่าการมาวัดไม่เสียเวลาเปล่ามาแล้วก็ได้มาเรียนธรรมะเพื่อนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวัน ธรรมะจึงเข้าไปอยู่ในใจคน ทุกข์ในชีวิตก็น้อยลงประชาชนก็รู้สึกว่าพระพุทธศาสนามีคุณค่า ไม่ใช่ศาสนาที่ทิ้งสังคม ไม่ใช่ศาสนาที่ทอดทิ้งประชาชน

              วัดพระธรรมกายที่มีศูนย์สาขาทั่วโลกเกิดขึ้นมากมาย ก็เพราะให้ความสำคัญกับปัญหาชีวิตของคน 
คนจึงเกิดศรัทธาและสนับสนุนงานก่อสร้างต่างๆ ของวัดพระธรรมกาย เราเดินตามแนวทางคำสอนของพระพุทธองค์ในพระไตรปิฎก ไม่ได้หลอกลวงประชาชน ไม่ได้สอนให้คนงมงายอย่างที่เข้าใจผิดกัน เราก็ใช้พระไตรปิฎกเป็นคู่มือการทำงานเล่มเดียว กับทุกวัดในประเทศไทยนี่แหละ


                                                                                   
ขอขอบคุณที่มาข้อมูล: ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙
                                                                                                                         ๑๐.๑๑ น.

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.030182536443075 Mins