สถาบันการศึกษากัลยาณมิตร

วันที่ 20 มิย. พ.ศ.2559

สถาบันการศึกษากัลยาณมิตร , กัลยาณมิตร , เพื่อนดี , มิตรแท้ , พระพุทธศาสนา , กิจกรรม , ชมรมพุทธ ,

สถาบันการศึกษากัลยาณมิตร

     สถาบันการศึกษากัลยาณมิตร นอกจากจะหมายถึงโรงเรียนแล้ว ยังหมายถึง วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ตลอดจนสถานศึกษาต่างๆ ที่นอกจากจะมีการเรียนการสอนทางด้านวิชาการทั่วไปทางโลกแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการปลูกฝังคุณธรรม ศีลธรรม จนทำให้มีกิจกรรมตลอดจนโครงการต่างๆ ปรากฏอย่างชัดเจน เช่น มีการจัดนิทรรศการธรรมะ การจัดทำบุญเนื่องในเทศกาลต่างๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งการจัดให้มีการตั้งกลุ่มหรือชมรมทางพระพุทธศาสนา

     ชมรมพุทธศาสตร์ ในสถาบันการศึกษา จะเป็นศูนย์รวมการทำกิจกรรมทางศีลธรรมของเยาวชน เพื่อฝึกฝนและปลูกฝังให้เป็นผู้ยึดมั่นในการทำความดี ชมรมทางพระพุทธศาสนาจะส่งเสริมให้เยาวชนมีแนวทางและกำลังใจในการสร้างความดี เรียนรู้ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและฝึกฝนอบรมตนเอง ผ่านกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาต่างๆ อาทิ พิธีไหว้ครู ค่ายคุณธรรม จัดตักบาตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมของชมรมทางพระพุทธศาสนาที่กำลังมีผลงานทั้งระดับประเทศแล้ว ยังมีกิจกรรมขยายไปยังนานาชาติอีกด้วย ซึ่งก็คือชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์ของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ โดยชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ และศิษย์เก่าชมรมพุทธฯ นอกจากจะมีกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมศีลธรรมของเยาวชนแล้ว ยังได้ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานกิจกรรมต่างๆ ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐบาลและเอกชน

     ความเป็นมาโดยสังเขปของชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ นั้น เริ่มมาจากการจัดนิทรรศการ ทางก้าวหน้าŽ ของชมรมพุทธฯ 6 สถาบัน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2525 จากนั้น การตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการรวมกลุ่มทำกิจกรรมของชมรมพุทธฯ ในระดับอุดมศึกษาได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จนถึงปี พ.ศ. 2534 ศิษย์เก่าชมรมพุทธศาสตร์จำนวนหนึ่งจากหลายสถาบัน ได้รวมกันเป็นกลุ่มทำงาน อุทิศตนเพื่อรองรับภารกิจในการประสานงาน ต่อจากชมรมพุทธศาสตร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้ได้รับความเมตตาจากเจ้าประคุณสมเด็จ-พระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต ป.ธ.7) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรฯ รับเป็นองค์อุปถัมภ์ จนถึงวันที่ 17 พ.ย. 2540

   ต่อมาได้กราบอาราธนาสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นองค์อุปถัมภ์ และได้ใช้ชื่อ ชมรมพุทธศาสตร์-สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์Ž โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังคุณธรรมตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ให้หยั่งลึกในใจของเยาวชนทุกระดับชั้น เพื่อให้เยาวชนมีความรู้คู่คุณธรรมอย่างแท้จริง


     ชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ จนปรากฏผลงานที่ก่อให้เกิดคนดีในสังคมอย่างมากมาย เช่น

1. การแข่งขันตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ ซึ่งจัดสอบเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่มี พ.ศ. 2525 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนทั่วประเทศ ทุกระดับชั้น ได้หันมาสนใจธรรมะ มงคลสูตร 38 ประการŽ และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยในปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการนับล้านคน และโครงการทางก้าวหน้าŽ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโล่รางวัลชนะเลิศ และได้รับการยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ ให้เป็นหนึ่งใน โครงการทศวรรษแห่งสันติภาพและความไม่รุนแรงŽ นอกจากนี้ยังมีทุนการศึกษาและประกาศนียบัตร เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ


2. กิจกรรมร่วมกับครูบาอาจารย์หลายกิจกรรม ทั้งนี้เพราะครู คือ ต้นแบบแห่งความรู้คู่ คุณธรรมของศิษย์ หากครูมีความรู้ ความสามารถ คุณธรรม อุดมการณ์ และกำลังใจในการสอนศีลธรรมมากเพียงใด นั่นหมายถึงความสำเร็จของการสร้างคนให้เป็นคนดีมากเพียงนั้น ด้วยเหตุนี้ชมรมพุทธศาสตร์- สากลฯ จึงได้จัดให้มีโครงการส่งเสริมศีลธรรมระดับครูอาจารย์ อาทิ การสอบทางก้าวหน้าŽ รอบครูอาจารย์ การสัมมนาครูอาจารย์ การปฏิบัติธรรมครู เป็นต้น


3. กิจกรรมหนึ่งของชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ ที่กำลังขยายไปทั่วประเทศ โดยมีเยาวชนเป็นผู้นำกิจกรรมก็คือ โครงการบ้านแสงสว่างŽ ได้เริ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนนำความรู้จากภาคทฤษฎี มาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น มุ่งเน้นให้เยาวชนของชาติได้เรียนรู้ต้นแบบที่ดีจากคุณพ่อ คุณแม่ และคนรอบข้างด้วยตนเอง แล้วนำมาบันทึกในสมุดบันทึกความดี

   สมุดบันทึกความดี คือ สื่อกลางที่จะเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ในโรงเรียนให้มีความรัก ความเข้าใจ และความอบอุ่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดที่จะช่วยประคับประคองเยาวชนของชาติให้เติบโตอย่างปลอดภัย และเป็นแบบอย่างที่ดีงามให้แก่อนุชนรุ่นหลังสืบ


4. โครงการอบรมศีลธรรมนักเรียน นิสิต นักศึกษา เพื่อความเหมาะสมกับวัย และความต้องการ ของเยาวชน จึงได้จัดโครงการในรูปแบบต่างๆ เน้นธรรมะขั้นพื้นฐานกับการนั่งสมาธิพัฒนาจิตใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำเยาวชนต้นแบบ Moral Youth Training Program สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้รู้จักการทำงานเป็นทีม มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถสร้างกลุ่มเยาวชนต้นแบบในสถานศึกษาของตนได้ หลังการอบรมจะมีการติดตามและให้ คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง


5. โครงการพัฒนาศักยภาพเพื่อความเป็นผู้นำ Leadership Training Program สำหรับนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา จะได้เรียนรู้ศิลปะของการเป็นผู้นำ เช่น เทคนิคการจูงใจคน การพัฒนาบุคลิกภาพ การสร้างมนุษยสัมพันธ์ ฯลฯ และสามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองออกมาใช้ในทางสร้างสรรค์อย่างเต็มที่


6. โครงการเรียนรู้สมาธิกับธรรมชาติ Natural Meditation Camp สำหรับนิสิตนักศึกษา จัดขึ้นตามช่วงเวลาที่เหมาะสมตลอดทั้งปี มีการฝึกปฏิบัติสมาธิอย่างง่ายๆ พร้อมกับกิจกรรมสันทนาการ ท่ามกลางบรรยากาศแห่งธรรมชาติสำหรับการพักผ่อนใจอย่างแท้จริง

 


หนังสือ DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร
กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012580156326294 Mins