หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๓)

วันที่ 02 กย. พ.ศ.2559

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๓)

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๓) , วัดพระธรรมกาย , โอวาทปาฏิโมกข์ , หลวงพ่อธัมมชโ ย , คำสอนวัดพระธรรมกาย

     เคยมีคนสอบถามว่า ความสำเร็จของวัดพระธรรมกายเกิดจากอะไร คำตอบง่ายที่สุด คือ การที่คุณยายและหลวงพ่อทั้งสอง ได้ยึดหลักพุทธวิธีคือ นำหลักโอวาทปาฏิโมกข์มาเป็นหลักในการทำงาน คือ 
     ๑. มีความอดทน
     ๒. มีพระนิพพานเป็นเป้าหมาย
     ๓.ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทำร้ายใคร

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๓) , วัดพระธรรมกาย , โอวาทปาฏิโมกข์ , หลวงพ่อธัมมชโ ย , คำสอนวัดพระธรรมกาย

     ซึ่งอุดมการณ์ตรงนี้ หลวงพ่อให้มองภาพรวมว่า ในการสร้างบารมีของเรานั้น ขอให้มีความอดทน เพื่อการไปสู่เป้าหมายคือการเข้าสู่พระนิพพาน และในระหว่างทางนั้นเราจะต้องไม่ไปก่อเวรกับใคร ไม่ไปเบียดเบียนหรือทำร้ายใคร

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๓) , วัดพระธรรมกาย , โอวาทปาฏิโมกข์ , หลวงพ่อธัมมชโ ย , คำสอนวัดพระธรรมกาย

     ดังนั้นตลอดเวลาที่อาตมาได้มีโอกาสไปปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อหรือเข้าไปรับภาระแบ่งเบางานจากท่าน จึงได้ยินแต่คำพูดที่ยกใจ อะไรก็ตามที่เรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องยาก แต่เมื่อถวายรายงานหลวงพ่อ ท่านจะให้คำแนะนำจนเรารู้สึกว่าเรื่องที่คิดว่ายาก แท้จริงแล้วเป็นเรื่องง่าย ๆ

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๓) , วัดพระธรรมกาย , โอวาทปาฏิโมกข์ , หลวงพ่อธัมมชโ ย , คำสอนวัดพระธรรมกาย

     มีครั้งหนึ่งในห้องปฏิบัติธรรม ปกติแล้วเมื่อหลวงพ่อเล่าปกิณกธรรม ท่านจะเล่าให้ลูก ๆ ฟังพร้อม ๆ กัน แต่เมื่อถึงเวลาปฏิบัติธรรม บางครั้งก็จะมีการแยกกลุ่มกันบ้าง บางคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องมีแบ่งกลุ่ม ก็เหมือนในโรงเรียนนั่นแหละ ยังมีการแบ่งเป็นห้องนักเรียนทั่วไปกับห้องที่เรียนดี

     ในระหว่างนั้นอาตมาและอีกหลายชีวิต ยังเป็นนักเรียนใหม่ ปฏิบัติธรรมยังตามหลังอีกหลาย ๆ ท่าน ก็ได้แต่ชื่นชมผู้ที่เขานั่งธรรมะได้ดี ซึ่งหลังจากฟังหลวงพ่อเล่าธรรมะเสร็จ พวกนี้จะถูกแยกไปนั่งอีกห้องหนึ่ง และสิ่งที่อาตมาประทับใจทุกครั้งคือ คำพูดของหลวงพ่อ ที่ท่านจะยกใจกลุ่มนักเรียนใหม่ ไม่ให้รู้สึกน้อยอกน้อยใจ ให้มีกำลังใจในการปฏิบัติ 

     หากเป็นครูทั่วไป ก็คงจะใช้คำธรรมดา ๆ ที่เรามักจะได้ยินกัน เช่น เอ้า ! พวกที่นั่งดีแล้วไปนั่งห้องโน้น ส่วนพวกที่นั่งยังไม่ดีให้นั่งอยู่ห้องนี้ แต่สำหรับหลวงพ่อแล้วท่านจะถนอมน้ำใจลูก ๆ ที่สุด ท่านจะบอกทุกครั้งว่า 
     

     “ผู้ที่ละเอียดแล้วไปห้องโน้น ส่วนผู้ที่กำลังจะละเอียด นั่งกันอยู่ตรงนี้ไปก่อนนะจ๊ะ”

    ทั้งที่อาตมาก็รู้อยู่แก่ใจว่าระยะห่างของผลการปฏิบัติธรรมระหว่างเรากับผู้ที่อยู่ห้องโน้นมันห่างไกลกันเหลือเกิน แต่เมื่อได้ยินคำพูดของหลวงพ่อแล้ว จะมีความรู้สึกทุกครั้งว่า เรากับเขาไม่ต่างกันมาก สักวันเราต้องได้เข้าไปห้องนั้นแน่นอน

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๓) , วัดพระธรรมกาย , โอวาทปาฏิโมกข์ , หลวงพ่อธัมมชโ ย , คำสอนวัดพระธรรมกาย

     อีกประการหนึ่งที่อาตมาได้ยินกับหูและได้ยินได้ฟังจากหลายท่านตรงกัน คือ หลวงพ่อจะไม่ชอบให้ใครมาเล่าเรื่องความไม่ดีของคนอื่นให้ท่านฟัง เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่งที่อาตมาได้เข้าไปถวายรายงานการทำงานกับท่าน ก็มีบางท่านได้พูดถึงพระที่ออกไปจากวัดแล้วกล่าวโจมตีหลวงพ่อด้วยคำหยาบคายและเป็นเท็จ เพียงเล่าไปไม่กี่ประโยค หลวงพ่อท่านก็โบกมือห้ามแล้วบอกว่า 

     “ หลวงพ่อไม่อยากรับรู้สิ่งที่กำลังจะพูด หลวงพ่ออยากจดจำแต่เรื่องดี ๆ ตอนที่ท่านเคยอยู่สร้างบารมีมาด้วยกัน และช่วยดูด้วยหากท่านเดือดร้อนเรื่องอะไร ช่วยบอกด้วย หลวงพ่อจะช่วยเพราะนึกถึงความดีของท่านอยู่ ”

     นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเมื่อมีผู้ที่ออกไปจากวัด ไม่ว่าจะด้วยเหตุแห่งความอิจฉาริษยาหรือความอกตัญญูต่อท่านก็ตาม หลวงพ่อไม่เคยคิดจะเอาเรื่องเอาราว ท่านจะพูดอยู่เสมอว่า ท่านไม่อยากผูกเวรกับใคร

หลวงพ่อสอนอะไร (ตอนที่ ๓) , วัดพระธรรมกาย , โอวาทปาฏิโมกข์ , หลวงพ่อธัมมชโ ย , คำสอนวัดพระธรรมกาย

 คงหายสงสัยกันแล้วนะว่า ทำไมลูกศิษย์วัดพระธรรมกายทำไมจึงนิ่งอยู่ได้ในภาวะอย่างนี้

ก็เพราะเขาได้ครูดีไงหล่ะ!!

 


ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก
anacaricamuni.blogspot.ae

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.032641434669495 Mins