มงคลหมู่ที่ 4 บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว
1. มงคลหมู่ที่ 4 บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว
มงคลที่ 11 บำรุงบิดามารดา
มงคลที่ 12 เลี้ยงดูบุตร
มงคลที่ 13 สงเคราะห์ภรรยา(สามี)
มงคลที่ 14 ทำงานไม่คั่งค้าง
ผู้ที่ผ่านการฝึกตนให้เป็นคนดี มีปัจจัยแวดล้อมพร้อม และมีคุณสมบัติความสามารถเป็นที่พึ่งให้ตนเองได้แล้ว การพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะต้องเป็นผู้ที่รู้จักบำเพ็ญประโยชน์ต่อคนใกล้ตัวต้องเป็นผู้ที่มีครอบครัวดี มีฐานะมั่นคง มีความสุข ต้องฝึกตัวดังนี้
1. บำรุงบิดามารดา เป็นผู้มีความกตัญูรู้คุณพ่อแม่ ตอบแทนพระคุณอันยิ่งใหญ่ของท่านเลี้ยงดูปรนนิบัติท่านให้ได้รับความสุขความสบายขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ และบำเพ็ญกุศลให้เมื่อท่านละโลกไปแล้ว เพราะท่านเป็นต้นแบบของเราทั้งทางกาย ด้วยการให้กำเนิดมาเป็นมนุษย์ และทางใจด้วยการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน ปลูกฝังกิริยามารยาท ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม และการบำรุงบิดามารดา ยังเป็นการประพฤติตนให้เป็นต้นแบบแก่อนุชนที่ตามมาภายหลัง
2. เลี้ยงดูบุตร เป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องจัดให้สมบูรณ์พร้อมทั้งทางโลก และทางธรรม เพื่อให้บุตรเป็นคนเก่ง และคนดีมีคุณธรรม เราต้องเป็นต้นแบบที่ดีของลูก ต้องรู้จักวิธีเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี เป็นลูกแก้วนำชื่อเสียงเกียรติภูมิมาสู่พ่อแม่ วงศ์ตระกูล
3. สงเคราะห์ภรรยา (สามี) เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้อบอุ่นแน่นแฟ้นครอบครัวจะมีแต่ความร่มเย็นสามีภรรยาจะต้องรู้จักวิธีปฏิบัติตัวต่อกันมีความเกรงอกเกรงใจ เคารพให้เกียรติกัน ไม่นอกใจกัน รู้จักแบ่งปันกัน เป็นผู้มีความเสมอกันด้วยศีลธรรม นำพาสันติสุขสู่ครอบครัวครองคู่กันไปตราบสิ้นอายุขัย
4. ทำงานไม่คั่งค้าง ครอบครัวก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ต้องเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ เลี้ยงลูก เลี้ยงภรรยาล้วนต้องใช้ปัจจัย เราจึงมีหน้าที่ก่อร่างสร้างตัวด้วยการทำงานไม่คั่งค้าง รู้จักบริหารงาน ต้องทำให้เสร็จทำให้สำเร็จ จะได้สร้างฐานะความเป็นปึกแผ่นแก่ตนเองและครอบครัว
2. มงคลที่ 11 บำรุงบิดามารดา
ต้นไม้ที่ได้รับการดูแลให้น้ำให้ปุ๋ย ไปบำรุงลำต้นจนสมบูรณ์
เมื่อถึงเวลาแล้ว ย่อมออกดอกออกผลให้แก่เจ้าของฉันใด
คนที่ได้รับการเลี้ยงดูจนเติบใหญ่
เมื่อมีโอกาสย่อมตอบแทนคุณพ่อแม่ และผู้มีอุปการคุณ ฉันนั้น
ทองคำแท้หรือไม่ โดนไฟก็รู้
คนดีแท้หรือไม่ ให้ดูตรงที่เลี้ยงพ่อแม่
ถ้าดีจริงต้องเลี้ยงพ่อแม่ ถ้าไม่เลี้ยงแสดงว่าไม่ดีจริง เป็นพวกทองชุบทองเก
2.1 พระคุณของพ่อแม่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมาว่า ถ้าบุตรจะพึงวางบิดามารดาไว้บนบ่าทั้ง สองของตนประคับประคองท่านอยู่บนบ่านั้น ป้อนข้าวป้อนน้ำและให้ท่านถ่ายอุจจาระปัสาวะบนบ่านั้น แม้บุตรจะมีอายุถึง 100 ปี และปรนนิบัติท่านไปจนตลอดชีวิต ก็ยังนับว่าตอบแทนพระคุณท่านไม่หมด
ยังมีผู้อุปมาไว้ว่า หากเราใช้ท้องฟ้าแทนกระดาษ ยอดเขาพระสุเมรุ แทนปากกา น้ำในมหาสมุทรแทนหมึก เขียนบรรยายคุณของพ่อแม่ จนท้องฟ้าเต็มไปด้วยอักษร ภูเขาสึกกร่อนจนหมด น้ำในมหาสมุทรเหือดแห้ง ก็ยังบรรยายคุณของพ่อแม่ไม่หมด
บิดามารดาเป็นผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบุตร โดยสรุปคือ
1. เป็นต้นแบบทางกาย แบบเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำให้ของทั้งหลาย ในโลกมีค่าสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ก้อนดินเหนียวธรรมดา ถ้าหากนำมาใส่แบบพิมพ์แล้วพิมพ์เป็นตุ๊กตา ก็ทำให้ดินก้อนนั้นมีค่าขึ้นมาเป็นเครื่องประดับบ้านเรือนได้ ดินเหนียวก้อนเดียวกันนี้ หากเป็นแบบที่ดีกว่าขึ้นมาอีก เช่นแบบเป็นพระพุทธรูปก็จะเห็นได้ว่าคุณค่าของดินเหนียวก้อนนี้ ทรงคุณค่ามากยิ่งขึ้น ผู้คนได้กราบไหว้บูชา จะเห็นได้ว่า คุณค่าของดินเหนียวก้อนนี้ขึ้นอยู่กับแบบที่พิมพ์นั่นเอง
ในทำนองเดียวกัน การเกิดของสัตว์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ฯลฯ แม้จะมีปัญญาติดตัวมามากสักปานใดก็ไม่สามารถทำความดีได้เต็มที่ โชคดีที่เราได้แบบเป็นคน ซึ่งเป็นโครงร่างที่ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลายเหมาะในการ ทำความดีทุกประการ เราจึงสามารถใช้ความรู้ความสามารถประกอบคุณความดีได้เต็มที่พระคุณของพ่อแม่ในการเป็นต้นแบบทางกายให้เรา ก็นับว่ามีมากเหลือหลายแล้ว ยิ่งท่านอบรมเลี้ยงดูเรามาเป็นต้นแบบทางใจให้ด้วย ก็ยิ่งมีพระคุณมากเป็นอเนกอนันต์
2. เป็นต้นแบบทางใจ ให้ความอุปการะเลี้ยงดู ฟูมฟัก ทะนุถนอม อบรมสั่งสอน ปลูกฝังกิริยามารยาท ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแก่ลูก
2.2 สมญานามของพ่อแม่
สมญานามของพ่อแม่นั้น กล่าวกันว่าท่านเป็นทั้งพรหมของลูก เทวดาคนแรกของลูก ครูคนแรกของลูก และเป็นพระอรหันต์ของลูก ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
พ่อแม่เป็นพรหมของลูก เพราะเหตุที่มีพรหมวิหารธรรม 4 ประการ ได้แก่
1. มีเมตตา คือ มีความปรารถนาดีต่อลูกไม่มีที่สิ้นสุด
2. มีกรุณา คือ หวั่นใจในความทุกข์ของลูก และคอยช่วยเหลือเสมอ ไม่ทอดทิ้ง
3. มีมุทิตา คือ เมื่อลูกมีความสุข บาย ก็มีความปลาบปลื้มยินดีด้วยความจริงใจ
4. มีอุเบกขา คือ เมื่อลูกมีครอบครัวสามารถเลี้ยงตนเองได้แล้ว ก็ไม่วุ่นวายกับชีวิตครอบครัวลูกจนเกินงาม และหากลูกผิดพลาดก็ไม่ซ้ำเติม แต่กลับคอยเป็นที่ปรึกษาให้เมื่อลูกต้องการ
พ่อแม่เป็นเทวดาของลูก เพราะคอยปกป้องคุ้มกันภัยเลี้ยงดูลูกมาก่อนผู้มีความปรารถนาดีคนอื่นๆ
พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก เพราะสั่งสอนอบรมทั้งคำพูดและกิริยามารยาทให้ลูกก่อนคนอื่นๆ
พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก เพราะมีคุณธรรม 4 ประการ ได้แก่
1. เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ลูก ท่านได้ทำภารกิจอันทำได้แสนยาก ได้แก่ การอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งยากที่จะหาคนอื่น ทำแก่เราได้อย่างท่าน
2. มีพระเดชพระคุณมาก ปกป้องอันตราย ให้ความอบอุ่นแก่ลูกมาก่อน
3. เป็นเนื้อนาบุญของลูก มีความบริสุทธิ์ใจต่อลูกอย่างแท้จริง เป็นผู้ที่ลูกควรทำบุญต่อตัวท่าน
4. เป็นอาหุไนยบุคคล เป็นผู้ควรแก่การรับของคำนับ และการนมัสการของลูก
2.3 คุณธรรมของลูก
เมื่อพ่อแม่มีพระคุณมากมายปานนี้ ลูกจึงควรมีคุณธรรมต่อท่าน คุณธรรมของลูกเริ่มที่รู้จักคุณพ่อแม่คือรู้ว่าท่านดีต่อเราอย่างไรสูงขึ้นไปอีก คือตอบแทนคุณท่าน ในทางพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสบรรยาย คุณธรรมของลูกไว้อย่างสั้นๆ แต่จับความไว้ได้อย่างครบถ้วน คือคำว่า กตัญู กตเวที คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นลูกรวมอยู่ใน 2 คำนี้
กตัญญู หมายถึง เห็นคุณค่าของท่าน คือเห็นด้วยใจด้วยปัญญา ว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณต่อเราอย่างแท้จริง ไม่ใช่สักแต่ว่าปากท่องพระคุณพ่อแม่ปาวๆ ไปเท่านั้น
คุณของพ่อแม่ดูได้จากอุปการะ คือประโยชน์ที่ท่านทำแก่เรามีอะไรบ้าง ที่แตกต่างจากคนอื่นตามธรรมดาของคนทั่วๆ ไป เมื่อจะอุปการะใครเขาต้องเห็นทางได้ เช่น เห็นหลักทรัพย์ หรือดูนิสัยใจคอต่อเมื่อแน่ใจแล้วว่าอุปการคุณ ของเขาจะไม่สูญเปล่า จึงลงมือช่วยเหลือ แต่ที่พ่อแม่อุปการะเรานั้นเป็นการ อุปการะโดยบริสุทธิ์ใจจริงๆ ไม่ได้มองถึงหลักประกันใดๆ เลย เราเองก็เกิดมาตัวเปล่าไม่มีหลักทรัพย์แม้แต่เข็ม เล่มเดียว ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอวัยวะร่างกายจะใช้ได้ครบถ้วนหรือไม่ ยิ่งนิสัยใจคอแล้วยิ่งรู้ไม่ได้เอาทีเดียว โตขึ้น มาจะเป็นอย่างไร จะเป็นคนอกตัญูหรือไม่ไม่รู้ทั้งนั้น หนังสือสัญญาการรับปากสักคำเดียวระหว่างเรากับท่านก็ไม่มี แต่ท่านทั้ง องก็ได้โถมตัวเข้าช่วยเหลือเราจนสุดชีวิต ที่ยากจนก็ถึงกับกู้หนี้ยืมสินคนอื่นมาช่วย เรื่องเหล่านี้ต้องคิดดูด้วยเหตุผล อย่าสักแต่คิดด้วยอารมณ์เท่านั้นการพิจารณาให้เห็นคุณของพ่อแม่ ด้วยใจอย่างนี้เรียกว่า กตัญู เป็นคุณธรรมเบื้องต้น ของผู้เป็นลูกยิ่งพิจารณาเห็นคุณท่านมากเท่าไร แสดงว่าใจของเราเริ่มใสและสว่างมากขึ้นเท่านั้น
กตเวที หมายถึง การทดแทนพระคุณของท่าน ซึ่งมีงานที่ต้องทำ 2 ประการ คือ
1. ประกาศคุณท่าน
2. ตอบแทนคุณท่าน
การประกาศคุณท่าน หมายถึง การทำให้ผู้อื่นรู้ว่าพ่อแม่มีคุณแก่เราอย่างไรบ้าง มากน้อยเพียงใดเรื่องนี้มีคนคิดทำอยู่มากเหมือนกัน แต่ส่วนมากไปทำตอนงานศพ คือเขียนประวัติสรรเสริญคุณพ่อแม่ในหนังสือแจก การกระทำเช่นนี้ก็ถูก แต่ถูกเพียงเปลือกนอกผิวเผินนัก ถ้าเป็นการกินผลไม้ก็แค่เคี้ยวเปลือกเท่านั้น ยังมีทำเลที่จะประกาศคุณพ่อแม่ที่สำคัญกว่านี้ คือที่ตัวเรานี่เอง
คนเราทุกคนคือตัวแทนของพ่อแม่ตนทั้งนั้น เลือดก็แบ่งมาจากท่าน เนื้อก็แบ่งมาจากท่าน ตลอดจนนิสัยใจคอก็ได้รับการอบรมถ่ายทอดมาจากท่าน ความประพฤติของตัวเรานี่แหละ จะเป็นเครื่องประกาศคุณพ่อแม่อย่างโจ่งแจ้งที่สุด ไม่ใช่อยู่ที่หนังสือแจก ไม่ใช่อยู่ที่หีบศพบนเชิงตะกอน แต่อยู่ที่ตัวเรานี่เอง หากพิมพ์ข้อความไว้ในหนังสือแจกว่า คุณพ่อคุณแม่เป็นคนตั้งอยู่ในศีลในธรรม แต่ตัวเราเองประพฤติสำมะเลเทเมา โกงเงินหลวงทุกครั้งที่มีโอกาสศีลข้อเดียวก็ไม่ สนใจรักษา ก็ผิดที่ไป ดุดีคุณพ่อแม่ว่าเป็นคนดี สุภาพเรียบร้อย แต่ตัวเรา ผู้เป็นลูกกลับประพฤติตัวเป็นนักเลงอันธพาล อย่างนี้คุณค่าของการ รรเสริญพ่อแม่ก็ลดน้ำหนักลง กลายเป็นว่ามอบหน้าที่ในการกตเวทีประกาศคุณพ่อแม่ให้หนังสือทำแทน ให้กระดาษให้เครื่องพิมพ์ ให้ช่าง เรียงพิมพ์ แสดงกตเวทีแทน แล้วตัวเรากลับประจานพ่อแม่ของตัวเอง อย่างน้อยที่สุดก็ประจานแก่ชาวบ้านว่า พ่อแม่ของเราเลี้ยงลูกไม่เป็นประสา
พ่อแม่ของใครใครก็รัก เมื่อรักท่านก็ควรประกาศคุณความดีของท่าน ประกาศด้วยความดีของตัวเราเองตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ยิ่งท่านยังมีชีวิตอยู่ การประกาศคุณของเราจะทำให้ท่านมีความสุขใจอย่างยิ่งส่วนใครจะประพันธ์ สรรเสริญคุณพ่อแม่พิมพ์แจกเวลาท่านตายแล้ว นั่นเป็นประเด็นเบ็ดเตล็ดจะทำก็ได้ไม่ทำก็ไม่เสียหายอะไร
ไม่ว่าเราจะตั้งใจประกาศคุณท่านหรือไม่ ความประพฤติของเราก็เป็นตัวประกาศคุณท่านหรือประจานท่านอยู่ตลอดเวลา ลองพิจารณาดูว่า เราจะประกาศคุณพ่อแม่ของเราด้วยเกียรติยศชื่อเสียง หรือจะใจดำถึงกับประจานผู้บังเกิดเกล้า ด้วยการทำตัวเป็นพาลเกเรและประพฤติต่ำทราม
การตอบแทนคุณท่าน แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1. เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ช่วยเหลือกิจการงานของท่าน เลี้ยงดูท่านตอบเมื่อยามท่านชรา ดูแลปรนนิบัติการกินอยู่ของท่านให้สะดวก บาย และเอาใจใส่ช่วยเหลือเมื่อท่านเจ็บป่วย
2. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็จัดพิธีศพให้ท่าน และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่านอย่าง ม่ำเสมอ
แม้ว่าเราจะตอบแทนพระคุณท่านถึงเพียงนี้แล้ว ยังนับว่าเล็กน้อยมาก เมื่อเทียบกับพระคุณอันยิ่งใหญ่ที่ท่านมีต่อเรา ผู้ที่มีความกตัญูกตเวทีต้องการจะสนองพระคุณท่านให้ได้ทั้งหมด พึงกระทำดังนี้
1. ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็พยายามชักนำให้ท่านตั้งอยู่ในศรัทธาให้ได้
2. ถ้าท่านยังไม่ถึงพร้อมด้วยการให้ทาน ก็พยายามชักนำให้ท่านยินดีในการบริจาคทานให้ได้
3. ถ้าท่านยังไม่มีศีล ก็พยายามชักนำให้ท่านรักษาศีลให้ได้
4. ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ก็พยายามชักนำให้ท่านทำสมาธิภาวนาให้ได้ เพราะว่าการตั้งอยู่ในศรัทธา การให้ทาน การรักษาศีล การทำสมาธิภาวนาเป็นประโยชน์โดยตรงและเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ผู้เป็นบิดามารดาผู้ปฏิบัติ เองทั้งในภพนี้ภพหน้า และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือ เป็นหนทางไปสู่นิพพาน
2.4 อานิสงส์การบำรุงบิดามารดา
1. ทำให้เป็นคนมีความอดทน
2. ทำให้เป็นคนมีสติรอบคอบ
3. ทำให้เป็นคนมีเหตุผล
4. ทำให้พ้นทุกข์พ้นภัย
5. ทำให้ได้ลาภโดยง่าย
6. ทำให้แคล้วคลาดภัยในยามคับขัน
7. ทำให้เทวดาลงรักษา
8. ทำให้ได้รับการยกย่อง สรรเสริญ
9. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า
10. ถ้ามีลูกก็จะได้ลูกที่ดี
11. ทำให้มีความสุข
12. ทำให้เป็นแบบอย่างอันดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
ฯลฯ
เพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดานั้นแล บัณฑิตทั้งหลายย่อม
สรรเสริญเขาในโลกนี้นี่เอง เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
ขุ. ชา. ตฺตติ 28/16/267
3. มงคลที่ 12 เลี้ยงดูบุตร
ต้นไม้ ถ้าลูกมันรสไม่ดี ก็มีแต่คนจะโค่นต้นทิ้ง
ไม่มีใครคิดจะบำรุงรักษาไว้ ตรงข้ามถ้าลูกมันรสดี ทั้งหวานทั้งมัน
เจ้าของก็อยากใส่ปุ๋ยรดน้ำพรวนดิน ทะนุถนอมให้คงต้นอยู่นาน ๆ
ต้นไม้จะอายุยืน ได้รับการบำรุงรักษาดีเพียงไร ขึ้นอยู่กับลูกของมัน
คนเราก็เช่นกัน ถ้าลูกทำดี คนทั้งหลายก็ชมมาถึงพ่อแม่ว่าเลี้ยงลูกดี
ความสุขกายสบายใจก็ติดตามมาเพราะลูก
บุญกุศลความดีก็ไหลมาเพราะลูก แต่ถ้าลูกทำชั่วช้าเลวทราม
คนทั้งหลายก็แช่งด่ามาถึงพ่อแม่ด้วยเหมือนกัน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ว่าสิริมงคลของคนที่เป็นพ่อแม่อยู่ที่ลูกฉันใด
และในทางตรงข้าม ถ้าไม่ป้องกันแก้ไขให้ดีแล้วอัปมงคลก็จะมาจากลูกฉันนั้น
3.1 ทำไมจึงต้องเลี้ยงดูบุตร
วันหนึ่งเราต้องแก่และตายสิ่งที่ทุกคนต้องการ คือความปีติ ความปลื้มใจไว้หล่อเลี้ยงใจให้สดชื่นความปลื้มปีติจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้เห็นผลแห่งความดี หรือผลงานดีๆ ที่เราทำไว้ ยิ่งผลงานดีมากเท่าไรยิ่งชื่นใจมากเท่านั้น แล้วอายุจะยืนยาวสุขภาพแข็งแรงสุดยอดผลงานของนักปฏิบัติธรรม คือ การกำจัดกิเล ภายในตัวให้หมดสุดยอดผลงานของชาวโลก คือ การมีลูกหลานเป็นคนดีไว้สืบสกุลถ้าลูกหลานเป็นคนเลว จะช้ำใจยิ่งกว่าถูกใครจับใส่ครกโขลกเสียอีกเลี้ยงสุนัขแล้วกัดสู้สุนัขคนอื่นไม่ได้ยังเจ็บใจเลี้ยงลูกแล้วดีสู้ลูกคนอื่นไม่ได้จะช้ำใจสักแค่ไหน
3.2 ความหวังของพ่อแม่
1. บุตรของเราเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงตอบแทน
2. บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักทำกิจแทนเรา
3. วงศ์สกุลของเราจักดำรงอยู่ได้นาน
4. บุตรจักปกครองทรัพย์มรดกของเรา
5. เมื่อเราละโลกไปแล้ว บุตรจักบำเพ็ญทักษิณาทานได้
เพราะปรารถนาฐานะ 5 ประการนี้ บิดามารดาจึงอยากได้บุตร
3.3 บุตรแปลว่าอะไร
บุตร มาจากคำว่า ปุตฺต แปลว่า ลูก มีความหมาย 2 ประการ คือ
1. ผู้ทำสกุลให้บริสุทธิ์
2. ผู้ยังหทัยของพ่อแม่ให้เต็มอิ่ม
3.4 ประเภทของบุตร
ประเภทของบุตรแบ่งโดยความดีในตัวได้เป็น 3 ขั้น ดังนี้
1. อภิชาตบุตร คือ บุตรที่ดีมีคุณธรรมสูงกว่าบิดามารดา เป็นบุตรชั้นสูงสร้างความเจริญแก่วงศ์ตระกูล
2. อนุชาตบุตร คือ บุตรที่มีคุณธรรมเสมอบิดามารดา เป็นบุตรชั้นกลาง พอรักษาวงศ์ตระกูลไว้ได้
3. อวชาตบุตร คือ บุตรที่เลว มีคุณธรรมต่ำกว่าพ่อแม่ เป็นบุตรชั้นต่ำนำความเสื่อมเสียมาสู่วงศ์ตระกูล
3.5 องค์ประกอบให้ได้ลูกดี
1. ตนเองต้องเป็นคนดี พ่อแม่ที่ทำบุญมาดีจึงจะได้ลูกดีมาเกิดเหมือนต้นไม้พันธุ์ดี ย่อมมีลูกพันธุ์ดี เด็กที่เกิดในท้องพ่อแม่จะมีคุณธรรมในใจที่ติดตัวมาในระดับใกล้เคียงกับของพ่อแม่ในขณะที่เด็กมาเกิด ดังนั้น พ่อแม่ที่ต้องการได้ลูกดี ก็ต้องขวนขวายสร้างความดีไว้มากๆ ยิ่งพ่อแม่สร้างบุญมากเท่าไร โอกาสที่จะได้ลูกดีก็มากเท่านั้น
2. การเลี้ยงดูอบรมดี ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดต่อไป
วิธีเลี้ยงดูลูก
การเลี้ยงดูมีอยู่ 2 ทาง คือ การเลี้ยงดูลูกทางโลกและการเลี้ยงดูลูกทางธรรม ซึ่งพ่อแม่ควรเลี้ยงดูลูกให้พร้อมบริบูรณ์ทั้ง 2 ทาง
3.6 วิธีเลี้ยงดูลูกทางโลก
1. กันลูกออกจากความชั่ว กัน หมายถึง ป้องกัน กีดกัน คือไม่เพียงแต่ห้าม หากต้องดำเนินการทุกวิถีทางที่จะไม่ให้ลูกตกไปสู่ความชั่ว ซึ่งประเด็นสำคัญคือ จะต้องกันลูกให้ห่างจากคนพาลเกเร อย่าให้ลูกไปคบเพื่อนที่จะชักนำลูกไปในทางเสื่อมเสียได้ โดยพ่อแม่ควรสนับสนุนให้ลูกพาเพื่อนมาเที่ยวบ้านบ้างให้การต้อนรับดูแล ในฐานะที่พ่อแม่เป็นผู้ใหญ่ผ่านโลกมามาก เมื่อตั้งใจสังเกต ก็จะพอดูนิสัยของเพื่อนของลูกแต่ละคนออก หากเห็นว่าเพื่อนของลูกคนใดมีลักษณะส่อนิสัยเป็นคนพาล ก็แนะนำให้ลูกออกห่างเสียแต่เนิ่นๆ อย่าไปคบหาเป็นเพื่อนสนิท เดี๋ยวจะติดเชื้อพาลมาด้วย ซึ่งถ้าพ่อแม่ไม่ใส่ใจให้ความสำคัญเรื่องเพื่อนของลูก ปล่อยให้ลูกไปคบคนเกเรจนสนิทชิดชื้อกันแล้ว พ่อแม่จะมาห้ามคบภายหลังก็จะทำได้ยากและการกันลูกออกจากความชั่วก็ยากจะประสบความสำเร็จ
การกันลูกออกจากความชั่ว จะต้องทำตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ นอกจากเรื่องเพื่อนแล้ว ควรให้ลูกอยู่ห่างจากสื่อทุกชนิดที่สร้างตัวอย่างที่ไม่ดีให้ลูก เช่น โฆษณายาฆ่ายุง ภาพยนตร์หรือการ์ตูนที่มีความรุนแรง เป็นต้น อย่าใช้โทรทัศน์เลี้ยงลูกแทน หากจะดูโทรทัศน์ พ่อแม่ก็ควรเลือกรายการที่ดี มีประโยชน์แล้วชวนลูกดูจนเด็กคุ้นเคยกับสิ่งดีๆ และไม่ชอบข้องเกี่ยวกับสิ่งไม่ดีทั้งหลาย
การกันลูกจากความชั่วนี้ บางครั้งพ่อแม่กับลูกก็พูดกันไม่เข้าใจสาเหตุของความไม่เข้าใจกันนั้นมักจะเกิดจากการขัดกันอยู่ 3 ประการ คือ
1. ความเห็นขัดกัน
2. ความต้องการขัดกัน
3. กิเลส
ความเห็นขัดกัน คือของสิ่งเดียวกันแต่เห็นกันคนละทาง มองกันคนละแง่ เช่น การเที่ยวเตร่เด็กวัยรุ่นมักจะเห็นว่าดี เป็นการเข้าสังคม ทำให้กว้างขวางทันสมัย แต่ผู้เป็นพ่อแม่กลับเห็นว่า การเที่ยวเตร่หามรุ่งหามค่ำนั้นมีผลเสียหายหลายประการ เช่น อาจเสียการเรียน อาจประสบภัย อาจใจแตก เพราะถูกเพื่อนชักจูงไปให้เสีย ครั้นห้ามเข้าลูกก็ไม่พอใจ หาว่าพ่อแม่หัวเก่าล้าสมัย
เรื่องนี้หากพูดด้วยความเป็นธรรมแล้ว ลูกควรจะรับฟังความเห็นของพ่อแม่ด้วยเหตุผลง่ายๆ 2 ประการ คือ พ่อแม่ทุกคนหวังดีต่อลูก 100 เปอร์เซ็นต์ และพ่อแม่ย่อมมีประสบการณ์รู้ทีได้ทีเสียมามากกว่าเราแน่ใจหรือว่าความรักของเพื่อนตั้งร้อยที่ล้อมหน้าล้อมหลังอยู่นั้น รวมกันทั้งหมดแล้วจะมากและบริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ เหมือนความรักในดวงใจของพ่อแม่ คนเราทุกคนเคยเห็นผิดเป็นชอบมาก่อน เมื่อยังเป็นเด็กอมมืออยู่นั้น เราเคยเห็นว่าลูกโป่งอัดลมใบเดียวมีค่ามากกว่าธนบัตรใบละร้อยใช่ไหม จิตใจที่อยู่ในวัยเยาว์ก็ย่อมเยาตามไปด้วย ดังนั้นเชื่อฟังคำกล่าวตักเตือนของพ่อแม่ไว้เถิดไม่เสียหายส่วนพ่อแม่เองเมื่อจะห้ามหรือบอกให้ลูกทำอะไร ก็ควรบอกเหตุผลด้วย อย่าใช้อารมณ์
ความต้องการขัดกัน คือคนต่างวัยก็มีรสนิยมต่างกัน ความสุขของคนแก่คือชอบ งบ หาเวลาพักผ่อนอยู่กับบ้าน แต่ความสุขของเด็กหนุ่มสาวมักอยู่ที่ได้แต่งตัวสวยๆ ไปเที่ยวเตร่นอกบ้าน ข้อนี้ขัดแย้งกันแน่ลูกกับพ่อแม่จึงต้องเอาใจมาพบกันที่ความรัก ตกลงกันที่มุมรักระหว่างพ่อแม่กับลูก รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวตามสมควร การเลี้ยงลูกที่กำลังโตเป็นหนุ่มเป็นสาวนั้น เหมือนการเล่นว่าวโต้ลม ผ่อนไปนิด ดึงกลับมาหน่อยจึงจะเป็นผลดี
กิเลสถ้าทั้ง 2 ฝ่าย มีความโกรธ มีทิฏฐิ ดื้อดึง ดื้อด้าน หลงตัวเอง หรือมีกิเลสอื่นๆ ครอบงำอยู่แล้วก็ยากที่จะพูดกันให้เข้าใจ ต้องทำใจให้สงบและพูดกันด้วยใจที่เป็นธรรม ด้วยเหตุด้วยผล พ่อแม่ต้องฝึกตนให้เป็นคนมีคุณธรรมและสอนลูกให้เป็นคนดีมีเหตุผลตั้งแต่ยังเล็ก ปัญหาข้อนี้ก็จะเบาบางลง
2. ปลูกฝังลูกในทางดี หมายถึง ให้ลูกประพฤติดีมีศีลธรรม พ่อแม่ต้องพยายามเล็งเข้าหาใจของลูกเพราะใจเป็นตัวควบคุมการกระทำของคน ที่ว่าเลี้ยงลูกให้ดี คือทำใจของลูกให้ดีนั่นเอง
สิ่งของนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือของกินกับของใช้สำหรับของกิน ทุกคนต้องกินเหมือนกันหมดเพื่อให้ร่างกายเติบโตคงชีวิตอยู่ได้ส่วนของใช้นั้น ต่างคนต่างมีความจำเป็น เช่น ชาวนาต้องมีจอบมีไถเสมียนก็ต้องมีปากกา
สมบัติทางใจก็มี 2 ประการ ได้แก่
1. ธรรมะ เป็นอาหารใจ
2. วิชาความรู้ เป็นเครื่องมือของใจ
ตามธรรมดาร่างกายคน ถ้าขาดอาหารแล้วก็จะเสียกำลัง ใจคนก็เหมือนกัน ต้องมีธรรมะให้พอเพียงอาหารทางกายกินแทนกันไม่ได้ ไม่เหมือนของใช้ มีดเล่มเดียวใช้กันได้ทั้งบ้าน เรื่องของใจก็เหมือนกันใจทุกดวงต้องกินอาหารเอง คือทุกคนต้องมีธรรมะไว้ในใจตนเอง จะถือว่าใจพ่อแม่มีธรรมะแล้วใจลูกไม่ต้องมีไม่ได้ส่วนวิชาความรู้เปรียบเสมือนของใช้ ใครจะใช้ความรู้ทางไหนก็หาความรู้เฉพาะทางนั้นขาดเหลือไปบ้างยังพออาศัยผู้อื่นได้ ใจที่ขาดธรรมะเหมือนร่างกายที่ขาดอาหาร ใจที่ขาดวิชาความรู้เหมือนคนที่ขาดเครื่องมือทำงาน
พ่อแม่ต้องปลูกใจลูกให้มีทั้ง 2 ประการ จึงจะเป็นการปลูกฝังลูกในทางดี ซึ่งทำได้โดย
2.1 กระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก
2.2 เลือกคนดีให้ลูกคบ
2.3 หาหนังสือดีสื่อดีๆ ให้ลูก
2.4 พาลูกไปหาบัณฑิต เช่น พระภิกษุ ครูอาจารย์ที่ดี
3. ให้ลูกได้รับการศึกษา ภารกิจข้อนี้มีความชัดเจนอยู่แล้ว คือให้ลูกได้เล่าเรียน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถช่วยตัวเองต่อไปได้
พ่อแม่ มัยนี้ควรจะติดตามดูแลลูกอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ควรติดต่อกับทางโรงเรียนอยู่เสมอขอทราบเวลาเรียน ผลการเรียน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เด็กอ้างว่าทางโรงเรียนเรียกร้องด้วยพ่อแม่มีลูกไปเรียนไกลบ้านต่างจังหวัด และขาดผู้ดูแลที่ไว้วางใจได้ ควรจะเป็นห่วงลูกให้มาก หากไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรให้เด็กอยู่หอพัก เว้นแต่เชื่อใจเด็กได้ และต้องหาหอพักที่มีระเบียบข้อบังคับเคร่งครัดด้วย
4. จัดแจงให้ลูกแต่งงานกับคนดี ความหมายในทางปฏิบัติมีอยู่ 2 ขั้นตอน คือ
4.1 พ่อแม่ต้องเป็นธุระในการแต่งงานของลูก ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ
4.2 พ่อแม่ต้องพยายามให้ลูกได้คู่ครองที่ดี
ในข้อ 4.2 อาจมีความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับลูกอยู่ไม่น้อย คล้ายกับการกันลูกออกจากความชั่ว แต่การขัดแย้งกันในเรื่องคู่ครองมักจะแรงกว่า ควรจะทำความเข้าใจกันให้ดี ปัญหาสำคัญมีอยู่ 2 ข้อ คือ
4.2.1 พ่อแม่แทรกแซงความรักของลูก มีผลดีหรือผลเสียอย่างไร
4.2.2 ใครควรเป็นผู้ตัดสินการแต่งงานของลูก
ปัญหาข้อแรก ถ้าคิดดูโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จะเห็นว่าผลดีมีมากกว่าผลเสีย มีผลเสียอยู่เฉพาะในรายที่พ่อแม่ขาดจิตวิทยาและชอบทำอะไรเกินกว่าเหตุเท่านั้น แต่การร่วมมือกันเป็นของดีแน่ ความจำเป็นอยู่ที่ว่า ลูกยังอยู่ในวัยเยาว์ รู้จักโลกน้อย มองโลกในแง่ดีเกินไป อาจตัดสินใจผิดพลาดได้ และความผิดพลาดในเรื่องคู่ครองนั้นมีผลมาก แก้ยาก
ปัญหาข้อที่สอง ใครควรเป็นผู้ที่ตัดสินการแต่งงานของลูก เช่น ควรแต่งงานหรือยัง ควรแต่งกับใคร ทางที่ดีที่สุด คือปรึกษาหารือและตกลงกัน พ่อแม่ควรเป็นเพียงที่ปรึกษา ไม่เจ้ากี้เจ้าการจนเกินงามต้องให้ลูกได้แต่งงานกับคนที่เขารัก เพราะความรักเป็นมูลฐานของการสมรสฝ่ายลูกเลือกใครก็ต้องให้พ่อแม่เห็นชอบด้วย เพราะการทำให้ท่านสุขใจนั้นเป็นความกตัญูกตเวทีของเรา และจะเป็นศรีสวัสดิ์มงคลแก่ครอบครัวสืบไป แต่ถ้าหากเป็นไปเช่นนั้นไม่ได้ พ่อแม่ควรถือหลักว่า
"คนที่เราไม่ชอบแต่ลูกรัก ดีกว่าคนที่เรารักแต่ลูกไม่ชอบ"
คิดเสียว่าเขาเป็นเนื้อคู่กัน เว้นแต่คนที่ลูกปลงใจเป็นคนเลว หลอกลวงจะชักนำลูกเราไปในทางเสียอย่างนี้ต้องห้าม แม้ว่าลูกจะรักก็ตาม
5. มอบทรัพย์สินมรดกให้เมื่อถึงกาลอันสมควร เมื่อถึงเวลาควรให้จึงให้ ถ้ายังไม่ถึงเวลาอันควรให้ก็อย่าเพิ่งให้ เช่น ลูกยังเยาว์ยังไม่รู้คุณค่าของทรัพย์ ก็ควรรอให้เขาเติบโตเสียก่อนจึงให้ ถ้าลูกยังประพฤติชั่ว เช่น หมกมุ่นอยู่ในอบายมุข ก็รอให้เขากลับตัวได้ก่อนแล้วจึงให้ ดังนี้เป็นต้น
การทำธุระเกี่ยวกับทรัพย์มรดกให้เสร็จสิ้นก่อนตาย เป็นการชอบด้วยพุทธประสงค์ วงศ์ตระกูลก็มีความสงบสุขต่อไป รายใดที่พ่อแม่ไม่ทำพินัยกรรมไว้ให้เรียบร้อย ปล่อยให้ลูกๆ จัดการกันเอง ก็มักเกิดเรื่องร้าวฉานขึ้นในวงพี่ๆ น้องๆ จนถึงกับฟ้องร้องขึ้นศาลกันก็มี พี่น้องแตกความสามัคคี ทรัพย์สินก็เสื่อมหายไป เป็นเรื่องที่น่า ลดใจยิ่งนัก
3.7 วิธีเลี้ยงดูลูกในทางธรรม
1. พาลูกเข้าวัดเพื่อศึกษาหาความรู้ทางพระพุทธศาสนา
2. ชักนำลูกให้สวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน
3. ชักนำให้ลูกทำบุญ เช่น ตักบาตร รักษาศีล เป็นต้น
4. ชักนำให้ลูกทำสมาธิภาวนาร่วมกันเป็นประจำทุกวัน
5. ถ้าลูกเป็นชายให้บวชเป็นสามเณร หรือบวชเป็นพระภิกษุ แล้วเข้าปฏิบัติกรรมฐานรวมทั้งศึกษาพระปริยัติธรรม
3.8 ความสำคัญของความอบอุ่นในวัยแรกเกิดถึง 3 ขวบ
(เนื้อความตอนนี้ได้รับคำแนะนำจาก นพ.นิยม เกษจำรัส)
จากผลการวิจัยทางการแพทย์พบว่า การเลี้ยงดูลูกด้วยน้ำนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป และความอบอุ่นช่วงทารกในวัยแรกเกิดถึง 3 ขวบ มีความสำคัญต่อพฤติกรรมของเด็กเมื่อโตขึ้นอย่างมาก จากการศึกษาจิตใจเด็กพบว่า เด็กที่ได้กินนมแม่นาน 6 เดือนขึ้นไป จะมีจิตใจร่าเริงอยู่เสมอ น้อยครั้งจะมีอารมณ์โมโหไม่ฉุนเฉียวและถึงมีก็ไม่นาน ใบหน้าจะงดงาม ยิ้มสวย ยิ้มเก่ง แววตาของเด็กมีประกายของความสุข มองดูแววตาสดใสผิดกับเด็กที่กินนมขวดแบบตรงกันข้าม จิตแพทย์อธิบายว่า ความสุขของเด็กที่พบได้ในเด็กกินนมแม่นั้น เกิดจากการที่แม่ได้อุ้มโอ๋ประคองกอดเด็กไว้แนบอก มีการถ่ายทอดความรู้สึกทางผิวหนัง ทางประสาทหู และประสาทตา หูเด็กได้ยินเสียงเต้นของหัวใจแม่ และได้ยินเสียงหายใจในอกของแม่สิ่งเหล่านี้รวมกันเป็นองค์ประกอบสัมผัส ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นเป็นสุขขึ้นมา แล้วผันแปรกลายเป็นความเมตตาและความไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งจะพบได้ในเด็กที่ได้กินนมแม่นาน 6 เดือนขึ้นไป เด็กจะกินนมอย่างพอใจสุขใจและยิ้ม อารมณ์ดี ไม่มีความรู้สึกขาดแคลนใด ๆ เกิดขึ้นจิตใจมั่นคง รู้จักเหตุผลและรู้จักรอคอย นั่นคือ รู้จักอดทนต่อทุกสถานการณ์ได้ดียิ่งสิ่งเหล่านี้จะมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลยในเด็กที่กินนมขวดนิสัยขาดเมตตาและเห็นแก่ตัวจะพบได้สูงในเด็กกินนมขวด
สมองของคนทุกคนได้รับข้อมูลทั้งชั่วและดี รวมกันอัดไว้แน่นตอนช่วงอายุแรกเกิดถึง 3 ขวบ ข้อมูลก่อน 3 ขวบ ที่สมองเก็บไว้นั้น เปลี่ยนแปลงได้ยาก มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นเช่นนี้จริง เช่น คนกลัวแมว คนกลัวฟ้าร้อง คนกลัวความสูงส่วนใหญ่เกิดจากประสบการณ์ที่เกิดในวัยแรกเกิดถึง 3 ขวบ และจะแก้นิสัยเหล่านี้ได้ยาก ดังนั้น การจะสอนคนให้เป็นคนดีต้อง อนตั้งแต่ก่อน 3 ขวบ นิสัยดี ๆ นั้นจะได้ฝังแน่นติดตัวเด็กไปตลอด เด็กเล็กที่กินนมแม่จะได้ข้อมูลที่ดีฝังใน มองในเรื่องของความเมตตาและความไม่เห็นแก่ตัว เด็กกินนมแม่เหล่านี้ ถ้าไม่ขาดแม่ในช่วงชีวิตแรกเกิดถึง 3 ขวบ จะเป็นเด็กที่มีสุขภาพจิตดีเยี่ยม
ข้อเตือนใจ
1. รักลูกแต่อย่าโอ๋ลูก อย่าตามใจลูกเกินไป เพราะจะทำให้เด็กเสียนิสัย เหตุที่พ่อแม่ตามใจลูกเกินไปมักเป็นเพราะ
ประการแรก รักลูกมากเกินไป รักมากจนไม่กล้าลงโทษสั่งสอน
ประการที่สอง ไม่มีเวลาอบรม รู้สึกเป็นความผิดของตัว ที่ไม่มีเวลาให้ลูกจึงปลอบประโลมตนเองด้วยการตามใจลูก ซึ่งเป็นวิธีแก้ที่ผิด
2. อย่าเคร่งระเบียบจนเกินไป รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว
3. ให้ความอบอุ่นแก่ลูกให้เพียงพอ ไม่ว่างานจะยุ่งมากเพียงไร ก็ต้องหาเวลาให้ลูก มิฉะนั้นจะต้องน้ำตาตกในภายหลัง
4. เมื่อเห็นลูกทำผิด ควรบอกกล่าวสั่งสอนเพื่อจะได้แก้ไขทันท่วงที แต่ต้องใช้เหตุผลอย่าใช้อารมณ์และเมื่อเห็นลูกทำความดีก็ชมเพื่อให้เกิดกำลังใจ
5. ต้องฝึกให้ลูกทำงานตั้งแต่ยังเด็ก การปล่อยให้เด็กอยู่อย่างสบายเกินไปทุกอย่าง มีคนรับใช้มีเวลาว่างมากเกินไป จะกลับเป็นผลเสียต่อเด็กโตขึ้นจะช่วยตัวเองไม่ได้
6. การเลี้ยงลูก ให้แต่ปัจจัย 4 อย่าง ไม่พอ จะต้องให้ธรรมะแก่ลูกด้วย
3.9 อานิสงส์การเลี้ยงดูบุตร
1. พ่อแม่จะได้ความปีติภาคภูมิใจเป็นเครื่องตอบแทน
2. ครอบครัวจะสงบร่มเย็นเป็นสุข
3. ประเทศชาติจะมีคนดีไว้ใช้
4. เป็นต้นแบบที่ดีงามของสังคมสืบต่อไปตลอดกาลนาน
ฯลฯ
"บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาอภิชาตบุตร อนุชาตบุตร
ไม่ปรารถนาอวชาตบุตรผู้ตัด กุล บุตรเหล่านี้แล มีพร้อมอยู่ในโลก
บุตรเหล่าใดเป็นอุบาสก มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ถ้อยคำ
ปราศจากความตระหนี่ บุตรเหล่านั้น ย่อมไพโรจน์ในบริษัททั้งหลาย
เหมือนพระจันทร์พ้นจากก้อนเมฆ ไพโรจน์อยู่"
ขุ. อิติ. 25/252/280
4. มงคลที่ 13 สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
ในการเคี้ยวอาหาร ถ้าลิ้นกับฟันทำงานไม่ประสานกัน
ก็มีหวังขบลิ้นตนเองต้องเจ็บปวดจนน้ำตาร่วง
เช่นกัน ในชีวิตการครองเรือน
ถ้าสามีภรรยาไม่รู้จักสงเคราะห์กันและกัน
ไม่มีความเข้าใจกัน นอกจากจะไม่มีความก้าวหน้าในชีวิตแล้ว
ทั้ง 2 ฝ่าย ก็มีหวังช้ำใจจนน้ำตาร่วงได้เหมือนกัน
4.1 ความหมายของสามีภรรยา
สามี แปลว่า ผู้เลี้ยง หรือ ผัว
ภรรยา แปลว่า ผู้ควรเลี้ยง หรือ เมีย
คำทั้งสองนี้ เป็นคำที่แฝงความหมายอยู่ในตัว และเป็นคำคู่กัน ผู้ชายได้ชื่อว่าสามีก็เพราะเลี้ยงดูภรรยา ผู้หญิงที่จะได้ชื่อว่าภรรยาก็เพราะทำตัวเป็นคนควรเลี้ยง
4.2 ประเภทของภรรยา
ภรรยาทั้งหลายในโลกนี้ แบ่งได้เป็น 7 ประเภท คือ
1. วธกาภริยา ภรรยาเสมอด้วยเพชฌฆาต คือ ภรรยาที่มีใจคิดล้างผลาญชีวิตสามี พยายามฆ่าสามียินดีในชายอื่น ตบตี แช่งด่าสามี
2. โจรีภริยา ภรรยาเสมอด้วยโจร คือ ภรรยาที่ชอบล้างผลาญทรัพย์สามี ใช้ทรัพย์ไม่เป็นบ้างยักยอกทรัพย์เพื่อความสุขส่วนตัวบ้างสร้างหนี้สิน ให้ตามใช้บ้าง
3. อัยยาภริยา ภรรยาเสมอด้วยนาย คือ ภรรยาที่ชอบล้างผลาญศักดิ์ศรีสามี ไม่ สนใจช่วยการงานเกียจคร้าน กินมาก ปากร้าย กล่าวคำหยาบ ชอบข่มขี่สามีซึ่งขยันขันแข็ง เหมือนเจ้านายข่มขี้ข้า ภูมิใจที่ข่มสามีได้
4. มาตาภริยา ภรรยาเสมอด้วยแม่ คือ ภรรยาที่มีความรัก เมตตาสามีไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนมารดารักบุตร เช่นสามีจะตกต่ำหมดบุญวาสนา จะป่วยจะพิการตลอดชีวิตก็ไม่ทอดทิ้ง ไม่พูด ไม่ทำให้สะเทือนใจแม้ตายจากไปตั้งแต่ตนยังสาวก็ไม่ยอมมีสามีใหม่
5. ภคินีภริยา ภรรยาเสมอด้วยน้องสาว คือ ภรรยาที่เคารพสามี มีความรักยั่งยืน แต่มีขัดใจกันบ้าง ทั้งซน ทั้งงอน ทั้งขี้ยั่ว ทั้งขี้แย ต้องทั้งขู่ทั้งปลอบ ประเดี๋ยวจะเที่ยว ประเดี๋ยวจะกิน จะแต่งตัวแต่ก็ซื่อสัตย์ต่อสามี
6. สขีภริยา ภรรยาเสมอด้วยเพื่อน คือ ภรรยาที่มีรสนิยม มีความชอบเหมือนสามี ถูกคอกัน เป็นคนมีศีลธรรม มีความประพฤติดี แต่มีความทะนงตัวโดยถือว่าเสมอกัน หากฝ่ายสามีขาดเหตุผลก็ไม่ยอมกัน
7. ทาสีภริยา ภรรยาเสมอด้วยคนใช้ คือ ภรรยาที่ทำตัวเหมือนคนใช้ ถึงสามีจะเฆี่ยนตี ดุด่าขู่ตะคอก ก็ไม่คิดพิโรธโกรธตอบสามี อดทนได้ อยู่ในอำนาจสามี
ในทำนองเดียวกันก็จัดสามีที่มีความประพฤติเช่นเดียวกันกับภรรยา เข้าอยู่ในประเภทเดียวกัน เช่นสามีที่เสมอด้วยเพชฌฆาตสามีเสมอด้วยโจร เป็นต้น
จะดูว่าใครเป็นสามี ภรรยาชนิดไหน ต้องดูหลังจากแต่งงานแล้วระยะหนึ่งจึงจะชัด การแต่งงานมีอยู่ 2 ระยะ คือ
ระยะแต่ง คือ ก่อนเป็นผัวเมียกัน ต่างคนต่างแต่ง ทั้งแต่งตัว แต่งท่าทางอวดคุณสมบัติให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็น
ระยะงาน คือ หลังจากเป็นผัวเมียกันแล้ว ต่างคนต่างต้องทำงานตามหน้าที่ ใครมีข้อดีข้อเสียความรู้ความสามารถ ความประพฤติอย่างไรก็จะปรากฏชัดออกมา
4.3 คุณสมบัติของคู่สร้างคู่สม
พื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้สามีภรรยาครองชีวิตกันยืนยาว มีความสุข คือ คู่สามีภรรยาต้องมีสมชีวิธรรม ได้แก่
1. สมสัทธา มีศรัทธาเสมอกัน ได้แก่ มีหลักการ มีความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา
มีเป้าหมายชีวิตเหมือนกัน
2. สมสีลา มีศีลเสมอกัน ได้แก่ ความประพฤติศีลธรรมจรรยา กิริย มารยาทอบรมมาดีเสมอกัน
3. สมจาคะ มีจาคะเสมอกัน ได้แก่ มีนิสัยเสีย ละชอบช่วยเหลือ ไม่เห็นแก่ตัว ใจกว้างเสมอกัน
4. สมปัญญา มีปัญญาเสมอกัน ได้แก่ มีเหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ดื้อดึงดันทุรัง เข้าใจกันเห็นอกเห็นใจกัน พูดกันรู้เรื่อง
4.4 วิธีทำให้ความรักยั่งยืน
การเป็นสามีภรรยากัน เป็นเรื่องที่จะว่ายากก็เหมือนง่าย แต่ครั้นจะว่าง่ายก็เหมือนยาก เพราะเพียงแต่เราตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรสามีภรรยาจึงจะมีความรักยั่งยืนอยู่กินกันราบรื่นเพียงประเด็นเดียวแล้วลองหาคำตอบดู ถามสิบคนก็ตอบสิบอย่าง บ้างก็ว่าเกี่ยวกับดวงชะตาคู่ธาตุ ต้องวางฤกษ์ วางลัคน์ให้เหมาะๆ บ้างก็ว่าเป็นเรื่องของพรหมลิขิต ที่หัวสมัยใหม่หน่อยก็ว่าสำคัญที่แหวนหมั้นขันหมากเงินทุนให้มากๆ เข้าไว้ ความสุขในชีวิตสมรสจะมีเอง
แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องมงคลสมรสไว้สั้นๆ เพียงคำเดียวว่าสังคหะ แปลว่า การสงเคราะห์กัน และให้ปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อเป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ดังนี้
1. ทาน การให้ปันแก่กัน คนเราถ้ารักที่จะอยู่ด้วยกันต้องปันกันกิน ปันกันใช้ หามาได้แล้วควรรวมกันไว้เป็นกองกลางแล้วจึงแบ่งกันใช้ หากไม่เอามารวมกัน อาจเกิดการระแวงกันได้ ที่ใดที่ปราศจากการให้ที่นั่นย่อมแห้งแล้งเหมือนทะเลทราย การปันกันนี้รวมไปถึงการปันทุกข์กันในครอบครัวด้วย เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความทุกข์ มีปัญหา ก็ควรนำมาปรึกษากัน
2. ปิยวาจา พูดกันด้วยวาจาไพเราะ แม้การตักเตือนกันก็ต้องระมัดระวังคำพูด ถ้าถือเป็นกันเองมากเกินไป อาจจะเกิดทิฏฐิ ทำให้ครอบครัวไม่สงบสุข โดยถือหลักว่า ก่อนแต่งงานเคยพูดไพเราะอย่างไรหลังแต่งงานก็พูดให้เพราะๆ อย่างนั้น
3. อัตถจริยา ประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อกัน เมื่อรู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี ควรหรือไม่ควรก็นำมาเล่าสู่กันฟัง พยายามศึกษาหาความรู้ทางธรรม เอาใจมาเกาะกับธรรมให้มากสามีภรรยานั้นเมื่อทะเลาะกันมักจะโยนความผิดให้อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งแท้จริงแล้ว ย่อมมีความผิดด้วยกันทั้งคู่ อย่างน้อยก็ผิดที่ไม่หาวิธีที่เหมาะสมแนะนำตักเตือนกัน ปล่อยให้อีกฝ่ายหนึ่งทำความผิด
4. มานัตตตา วางตัวให้เหมาะสมกับที่ตัวเป็นพ่อบ้านก็ทำตัวให้สมกับเป็นพ่อบ้าน เป็นแม่บ้านก็ทำตัวให้สมกับเป็นแม่บ้าน ต่างก็วางตัวให้เหมาะสมกับหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายทั้งในบ้านและนอกบ้าน ซึ่งข้อนี้จะประพฤติ ปฏิบัติให้ดี ต้องฝึกสมาธิให้ใจผ่องใสเป็นปกติ เพราะคนที่ใจผ่องใสจะรู้ว่าในภาวะเช่นนั้น ควรจะวางตนอย่างไร ไม่ระเริงโลกจนวางตนไม่เหมาะสม
โดยสรุป คือ ปฏิบัติตนตามหลักทาน การให้ปันสิ่งของ รักษาศีล เพื่อให้มีคำพูดที่ไพเราะ และเพื่ออุดข้อบกพร่องของตนจะได้เป็นคนมีประโยชน์ เจริญภาวนา คือ การฟังธรรมและทำสมาธิ เพื่อให้ใจผ่องใสเกิดปัญญา จะได้วางตัวได้เหมาะสมกับที่ตัวเป็น
4.5 หน้าที่ของสามีต่อภรรยา
1. ยกย่องให้เกียรติ คือ ยกย่องว่าเป็นภรรยา ไม่ปิดๆ บังๆ หากทำดี ก็ชมเชยด้วยใจจริงหากทำผิดก็เตือน แต่ไม่ตำหนิต่อหน้าสาธารณชนหรือคนในบ้าน เพราะจะเสียอำนาจการปกครองสิ่งใดเป็นเรื่องส่วนตัว เช่น การเลี้ยงเพื่อน พบปะญาติมิตร ควรให้อิสระตามสมควร
2. อย่าดูหมิ่น ไม่เหยียบหยามว่าต่ำกว่าตน ไม่ดูถูกเรื่องตระกูล ทรัพย์ ความรู้ การแ ดงความคิดเห็นไม่กระทำเรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัวโดยไม่ปรึกษา หารือ และห้ามทุบตีด่าทอเด็ดขาด
3. ไม่นอกใจ ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่นในฐานะเป็นภรรยาเหมือนกัน เพราะเป็นการดูหมิ่นความเป็นหญิงของภรรยา ให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา ภรรยาทุกคนจะปลื้มใจที่สุด ถ้าสามีรักและซื่อตรงต่อตนเพียงคนเดียว
4. มอบความเป็นใหญ่ให้ คือ มอบให้เป็นผู้จัดการภาระทางบ้าน ไม่เข้าไปก้าวก่ายในเรื่องการครัว การปกครองภายใน นอกจากเรื่องใหญ่ ๆ ซึ่งภรรยาไม่อาจแก้ปัญหาได้
5. ให้เครื่องแต่งตัว ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงล้วนชอบแต่งตัวสนใจเรื่องสวยๆ งามๆ ถ้าได้เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวสวยๆ งามๆ แล้วชื่นใจ ถึงจะโกรธเท่าใด ถ้าได้เครื่องแต่งตัวถูกใจ ประเดี๋ยวก็หายสามีต้องตามใจบ้าง
4.6 หน้าที่ของภรรยาต่อสามี
1. จัดการงานดี จัดบ้านให้สบายน่าอยู่ จัดอาหารให้ถูกปากและทันตามความต้องการ จัดเสื้อผ้าเครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ
2. สงเคราะห์ญาติข้างสามี ด้วยการเอื้อเฟอ กล่าววาจาไพเราะ ให้ความช่วยเหลือตามฐานะที่จะทำได้
3. ไม่นอกใจ จงรักภักดี ซื่อสัตย์ต่อสามีเพียงผู้เดียว
4. รักษาทรัพย์ให้ดี ไม่ฟุ่มเฟอย แต่ก็ไม่ตระหนี่ รู้จักใช้ทรัพย์ให้เป็น
5. ขยันทำงาน ขยันขันแข็งทำงานบ้าน ไม่เอาแต่กิน นอน เที่ยว หรือเล่นการพนัน ประเพณีการแต่งงานของไทยเรา เวลาเจ้าบ่าวเจ้าสาวรับน้ำพุทธมนต์ มักจะ วมมงคลแฝดไว้บนศีรษะดูคล้ายๆ กับยึดคน องคนไว้ด้วยกัน ความมุ่งหมายนั้นคือ จะยึดคนทั้ง สองไว้ไม่ให้แยกจากกันนั่นเป็นการยึดผูกเพียงภายนอกผิวเผิน ซึ่งช่วยอะไรไม่ได้จริง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้ยึดเหมือนกัน แต่แทนที่จะสอนให้ยึดด้วยด้าย พระองค์ทรงสอนให้ยึดด้วย คุณธรรมที่เรียกว่าสังคหะ การสงเคราะห์ที่ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติต่อกัน จะเป็นเงื่อนใจ 2 วง วงหนึ่งคล้องไว้ในใจสามี อีกวงหนึ่งคล้องไว้ในใจภรรยา ถ้าทำได้ตามหลักธรรมนี้แล้ว ต่อให้มนุษย์หน้าไหนก็มาพรากไปจากกันไม่ได้ แม้แต่ความตายก็พรากได้เพียงร่างกายส่วนดวงใจนั้นยังคงคล้องกันอยู่ชั่วนิรันดร์
ข้อเตือนใจ
มีข้อเตือนใจอยู่ว่า แม้บางคนตั้งใจแล้วว่าจะต้องยึดใจเอาไว้ ครั้นปฏิบัติจริงก็ไม่วายเขว พอสามีทำท่าจะหลงใหลนอกลู่นอกทาง กลับวิ่งไปหาหมอเสน่ห์ยาแฝด เสียเงินเสียทอง เสียเวลา แต่แล้วก็เหลวเพราะทิ้งบ้าน ทิ้งช่องไปเฝ้าหมอเสน่ห์ ข้าวปลาไม่รู้จักหุงหา ปล่อยให้บ้านรกเป็นเล้าไก่รังกา แทนที่จะคอยเอาใจสามี กลับไปกราบเท้าเอาใจหมอเสน่ห์เพื่อจะมาแข็งข้อเอากับสามี ถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลงทุกทีที่ถูกควรปักใจให้มั่นในศีลในทาน ในการทำความดี ปฏิบัติหน้าที่ของเราไม่ยอมให้บกพร่อง แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเอง
4.7 โอวาทวันแต่งงาน
เป็นโอวาทปริศนาที่บิดาของนางวิสาขาให้แก่นางวิสาขาในวันแต่งงาน มีทั้งหมด 10 ข้อ ดังนี้
1. ไฟในอย่านำออก หมายถึง ไม่นำเรื่องราวปัญหา ความร้อนใจต่าง ๆ ในครอบครัวไปเปิดเผยแก่คนทั่วไปภายนอก
2. ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง ไม่นำเรื่องราวปัญหาต่าง ๆ ภายนอกที่ร้อนใจเข้ามาในครอบครัว
3. ให้แก่ผู้ให้ หมายถึง ผู้ใดที่เราให้ความช่วยเหลือ ให้หยิบยืมสิ่งของแล้ว เมื่อถึงกำหนดก็นำมาส่งคืนตามเวลา เมื่อเรามีความจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ หากไม่เกินความสามารถของเขาเขาก็ยินดีช่วยเหลืออย่างเต็มใจ บุคคลเช่นนี้ภายหลังถ้ามาขอความช่วยเหลือเราอีก ก็ให้ช่วย
4. ไม่ให้แก่ผู้ที่ไม่ให้ หมายถึง ผู้ใดที่เราให้ความช่วยเหลือให้หยิบยืมสิ่งของแล้วไม่ส่งคืน ตามกำหนดเวลา เมื่อเรามีเรื่องขอความช่วยเหลือ แม้ไม่เกินความสามารถของเขา และเป็นเรื่องถูกศีลธรรม เขาก็ไม่ยอมช่วย คนอย่างนี้ ภายหลังถ้ามาขอความช่วยเหลือเราอีก อย่าช่วย
5. ให้ไม่ให้ก็ให้ หมายถึง ถ้าญาติพี่น้องเราที่ตกระกำลำบากอยู่มาขอความช่วยเหลือ แม้บางครั้งไม่ส่งของที่หยิบยืมตามเวลา ภายหลังเขามาขอความช่วยเหลืออีกก็ให้ช่วย เพราะถึงอย่างไรก็เป็นญาติพี่น้องกัน
6. กินให้เป็นสุข หมายถึง ให้จัดการเรื่องอาหารการกินในครอบครัวให้ดี ปรนนิบัติพ่อแม่ของสามีในเรื่องอาหารอย่าให้บกพร่อง ถ้าทำได้อย่างนี้ ตัวเราเองเวลากินก็จะกินอย่างมีความสุขไม่ต้องกังวล
7. นั่งให้เป็นสุข หมายถึง รู้จักที่สูงที่ต่ำ เวลานั่งก็ไม่นั่งสูงกว่าพ่อแม่ของสามี จะได้นั่งอย่างมีความสุข ไม่ต้องกังวล ไม่ถูกตำหนิ
8. นอนให้เป็นสุข หมายถึง ดูแลเรื่องที่หลับที่นอนให้ดี และยึดหลักตื่นก่อนนอนทีหลัง ก่อนนอนก็จัดการธุระการงานให้เรียบร้อยเสียก่อน จะได้นอนอย่างมีความสุข
9. บูชาไฟ หมายถึง เวลาที่พ่อแม่ของสามีหรือตัวสามีเองกำลังโกรธ เปรียบเสมือนไฟกำลังลุกถ้าดุด่าอะไรเรา ก็ให้นิ่งเสียอย่าไปต่อล้อต่อเถียงด้วย เพราะในช่วงเวลานั้น ถ้าเราไปเถียงเข้าเรื่องราวก็จะยิ่งลุกลามใหญ่โต ไม่มีประโยชน์ คอยหาโอกาสเมื่อท่านหายโกรธแล้วจึงค่อยชี้แจงเหตุผลให้ฟังอย่างนุ่มนวลจะดีกว่า
10. บูชาเทวดา หมายถึง เวลาที่พ่อแม่ของสามี หรือตัวสามีเองทำความดีก็พยายามส่งเสริมสนับสนุน พูดให้กำลังใจให้ทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
โอวาท 10 ประการนี้ เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อให้ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
4.8 อานิสงส์การสงเคราะห์ภรรยา (สามี)
1. ทำให้ความรักยืนยง
2. ทำให้สมานสามัคคีกัน
3. ทำให้ครอบครัวมีความสงบสุข
4. ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
5. เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
ฯลฯ
ภรรยานั้นอยู่ใกล้ชิด หากไม่ผูกมิตร ชีวิตจะสั้น
ภรรยานั้นอยู่ร่วมกัน หากคิดสร้างสรรค์ บ้านนั้นเจริญ
5.5 มงคลที่ 14 ทำงานไม่คั่งค้าง
ดินที่พอกหางหมู มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น ๆ
และถ่วงหมูให้กินอยู่หลับนอนไม่เป็นสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไปฉันใด
การงานที่ปล่อยทิ้งไว้คั่งค้าง ก็มีแต่จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
และถ่วงความเจริญก้าวหน้าทั้งแก่ตนเอง และหมู่คณะฉันนั้น
ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน
หากปล่อยการงานให้คั่งค้าง
ก็เท่ากับกำลังทำลายค่าของตนเอง
5.1 เหตุที่ทำให้งานคั่งค้าง
1. ทำงานไม่ถูกกาล ยังไม่ถึงเวลาทำก็ร้อนใจด่วนไปทำ แต่พอถึงเวลาควรทำกลับไม่ทำ เช่น ตอนแดดออกมัวไปถูบ้าน พอฝนตกกลับไปซักเสื้อผ้าตากเท่าไร่ก็ไม่แห้ง หรือตอนเด็กไม่ยอมเรียนหนังสือเที่ยวสำมะเลเทเมา พอแก่เฒ่าจะมาเรียนก็เรียนไม่ไหวแล้ว
2. ทำงานไม่ถูกวิธี ทำผิดขั้นตอน ผิดลำดับ เช่น จะทำความสะอาดบ้าน ก็ไปกวาดพื้นก่อนแล้วกวาดเพดานทีหลัง ฝุ่นผงต่างๆ ก็ตกลงมาต้องกวาดพื้นใหม่อีก เป็นต้น
3. ไม่ยอมทำงาน ชอบผัดวันประกันพรุ่ง หรือหาเหตุต่างๆ นานา มาอ้าง เช่น รอฤกษ์รอยามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าเราจะทำความดีเมื่อไร ฤกษ์ก็ดีเมื่อนั้น ไม่ต้องรอ ทำไปได้เลย ประโยชน์ย่อมเป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง
นกฺขตฺต ปฏิมาเนนฺต อตฺโถ พาล อุปจฺจคา
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ ผู้มัวรอฤกษ์ยามอยู่
ขุ. ชา. เอก. 27/49/16
5.2 วิธีทำงานให้เสร็จ
วิธีทำงานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้คือ อิทธิบาท 4 ได้แก่
1. ฉันทะ ความเต็มใจทำ
2. วิริยะ ความแข็งใจทำ
3. จิตตะ ความตั้งใจทำ
4. วิมังสา ความเข้าใจทำ
ฉันทะ คือ ความรักงาน จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเราเล็งเห็นผลของงานว่า ถ้าทำงานนี้แล้วจะได้อะไร เช่น เรียนหนังสือแล้วจะได้วิชาความรู้ไปประกอบอาชีพ
คนสั่งงานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความพอใจให้แก่ผู้ทำงาน ควรจะให้เขารู้ด้วยว่าทำแล้วจะเกิดผลดีอย่างไร หรือถ้าไม่ทำจะเป็นผลเสียทางไหน ผู้สั่งงานบางคนใช้อำนาจบาทใหญ่ บางทีสั่งพลางด่าพลาง ใช้ถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามไปพลาง เป็นการทำลายกำลังใจของผู้ทำ นับว่าทำผิดอย่างยิ่ง
วิริยะ คือ ความพากเพียร ความไม่ท้อถอย เป็นคุณธรรมทางใจ เรียกความรู้สึกนี้ว่า ความกล้าอยากจะรู้ว่ากล้าอย่างไร ต้องดูทางตรงข้ามก่อน คือทางความเกียจคร้าน คนเกียจคร้านทุกคนและทุกครั้งคือ คนขลาด คนกลัว กลัวหนาว กลัวร้อน กลัวแดด กลัวฝน จะทำงานแต่ละครั้งเป็นต้อง อ้างว่าหนาวจะตาย ร้อนจะตาย หิวจะตาย อิ่มจะตาย เหนื่อยจะตาย ง่วงจะตาย คนเกียจคร้านทุกคนตายวันละไม่รู้กี่ร้อยครั้ง
การเอาชนะคำขู่ของความเกียจคร้านเสียได้ ท่านเรียกว่า วิริยะ คือความเพียร หรือความกล้านั่นเอง
ต้องละเว้นจากอบายมุขให้ได้ก่อน จึงจะมีความเพียรได้
มีข้อน่าสังเกตสำหรับคนทำงานร่วมกัน คือ จะต้องขยันด้วยกันทั้งหัวหน้าและลูกน้องจึงจะประสบความสำเร็จ ยิ่งผู้เป็นหัวหน้ายิ่งสำคัญมาก ถ้าเป็นคนเกียจคร้านคิดแต่กินแรงผู้น้อยแต่เอาความดีเข้าตัว ผู้น้อยก็มักจะขยันไปได้ไม่นาน ประเดี๋ยวก็รามือกันหมด แต่ถ้าหัวหน้า เอาการเอางาน ก็ดึงผู้น้อยให้ขยันขันแข็งขึ้นด้วย
ความเกียจคร้านย่อมทำลายคุณธรรมทุกประการ เป็นบรรพชิต ก็ไม่ได้ เป็นคฤหัสถ์ก็ไม่ดี
จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ คนมีจิตตะเป็นคนไม่ปล่อยปละละเลยกับงานของตน คอยตรวจตรางานอยู่เสมอ
ปกติคนที่โตเป็นผู้ใหญ่รู้ผิดชอบแล้ว ที่จะเป็นคนเฉยเมยไม่ใส่ใจกับงานเลยนั้นมีน้อยส่วนใหญ่มักจะใส่ใจกับงานดีอยู่แล้ว เพราะธรรมชาติของใจคนชอบคิด แต่ทำให้หยุดคิดสิยาก และเสียอยู่อย่างเดียว คือชอบคิดเจ้ากี้เจ้าการแต่เรื่องงานของคนอื่น คอยติ คอยสอด คอยแทรก คอยวิพากษ์วิจารณ์ ธุระของตัวกลับไม่คิดเสียนี่ เห็นคนอื่นใส่เสื้อขาดรูเท่าหัวเข็มหมุดก็ตำหนิติเตียนเขาเป็นเรื่องใหญ่ แต่ทีตัวเองมุ้งขาดรูเท่ากำปันมาตั้งเดือนแล้วยังไม่เย็บสักที และที่เที่ยวไป อดแทรกงานเขา แต่งานเราไม่ดูนั้น มันทำให้อะไรของเราดีขึ้นบ้าง เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรง อนให้เราเป็นนักตรวจตรางาน คือ ให้มีจิตตะ แล้วก็ทรงให้โอวาทสำทับไว้ด้วยว่า จงตรวจตรางานของตัวเอง ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
วิมังสาสุดยอดของวิธีทำงานให้สำเร็จ รวมอยู่ในอิทธิบาทข้อสุดท้ายนี้ คือ วิมังสา แปลว่า การพินิจพิเคราะห์ หมายความว่า ทำงานด้วยปัญญา ด้วย มองคิด ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ คนเราแม้จะรักงานแค่ไหนบากบั่นปานใด หรือเอาใจจดจ่ออยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าขาดการใช้ปัญญาพิจารณางานด้วยแล้ว ผลที่สุด งานก็คั่งค้างจนได้ เพราะแม้ว่าขั้นตอนการทำงานจะสำเร็จไปแล้วแต่ผลงานก็ไม่เรียบร้อย ต้องทำกันใหม่ร่ำไป
อีกประการหนึ่ง คนทำงานที่ไม่ใช้ปัญญา ไปทำงานที่ไม่รู้จักเสร็จ จะปล้ำให้มันเสร็จ หนักเข้าตัวเองก็กลายเป็นทา ของงาน เข้าตำรา "เปรตจัดหัวจัดตีน" ตามเรื่องที่เล่าว่า เปรตตัวหนึ่งได้รับคำสั่งจากหัวหน้าเปรตให้ไปเฝ้าศาลาข้างทาง เวลาคนนอนหลับเปรตก็ลงจากขื่อมาตรวจดูความเรียบร้อยทีแรก ก็เดินดูทางหัว จัดแนวศีรษะให้ได้ระดับเดียวกันให้เป็นระเบียบ ครั้นจัดทางศีรษะเสร็จก็วนไปตรวจทางเท้า เห็นเท้าไม่ได้ระดับก็ดึงลงมาให้เท่ากัน แล้วก็วนไปตรวจทางศีรษะอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีวันเสร็จสิ้นได้เลย หาได้นึกไม่ว่า คนเขาตัวสูงก็มี เตี้ยก็มี ไม่เสมอกัน จัดจนตายก็ไม่เสร็จ คนที่ทำงานไม่ใช้ปัญญาจัดเป็นคนประเภท "เปรตจัดหัวจัดตีน" อย่างนี้ก็มี ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาสักนิด ทำให้เสร็จเท่าที่จะ
เสร็จได้ใจก็สบาย
คนที่ทำงานด้วยปัญญานั้นจะต้อง ประกอบด้วย
ทำให้ถูกกาล ไม่ทำก่อนหรือหลังเวลาอันควร
ทำให้ถูกลักษณะของงาน
สรุปวิธีการทำงานให้สำเร็จนั้น มีลักษณะล้วนขึ้นอยู่กับใจทั้งสิ้น คือ เต็มใจทำ แข็งใจทำ ตั้งใจทำและเข้าใจทำ วิธีการฝึกฝนใจที่ดีที่สุด คือ การให้ทาน การรักษาศีล และการทำสมาธิเพื่อให้ใจผ่องใสทำให้เกิดปัญญาพิจารณาเห็นผลของงานได้ รู้และเข้าใจวิธีการทำงาน มีกำลังใจ และมีใจจดจ่ออยู่กับงาน ไม่วอกแวก
5.3 อุปสรรคในการทำงานไม่เสร็จ
อุปสรรคใหญ่ในการทำงานไม่สำเร็จก็คือ อบายมุข 6 ได้แก่
1. ดื่มน้ำเมา
2. เที่ยวกลางคืน
3. ดูการละเล่นเป็นนิจ
4. เล่นการพนัน
5. คบคนชั่วเป็นมิตร
6. เกียจคร้านในการทำงาน
อบาย แปลว่า ความเสื่อม ความฉิบหาย มุข แปลว่า ปาก
อบายมุข จึงแปลว่า ปากทางแห่งความเสื่อม เนื่องจากมันเป็นปากทาง เราจึงมักมองไม่เห็นความเสื่อม เพราะตัวความเสื่อมจริงๆ อยู่ปลายทาง เราจึงมักมองไม่เห็น แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและท่านผู้รู้ทั้งหลายสามารถมองเห็นได้
ถ้าจะดูกันแต่ปากทางแล้ว ก็อาจเห็นเป็นความเจริญด้วยซ้ำ
ปากทางที่จะไปเข้าคุก ก็เป็นถนนราบเรียบ แต่ปลายทางเป็นคุกที่ทรมาน
ปากทางที่จะตกลงบ่อ ก็เป็นพื้นดินสะอาด แต่ก้นบ่อมีน้ำที่จะทำให้ผู้ตกลงไปจมหรือสำลักน้ำตาย
ปากทางที่จะตกลงเหว ก็เป็นป่าหญ้างามดี แต่ก้นเหวลึกมากจนทำให้คนที่ตกลงไปตาย
อบายมุขซึ่งเป็นปากทางแห่งความฉิบหายนี้ ดูเผินๆ ก็ไม่มีพิษสงอะไร เที่ยวกลางคืนก็สนุกดีเล่นการพนันก็เพลิดเพลินดี แต่ก็ทำให้ผู้ประพฤติทำการงานไม่สำเร็จ เสื่อมไปจากความเจริญก้าวหน้าและกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ถึงกับฉิบหายขายตัวไปแล้วก็มากต่อมาก อบายมุขจึงเป็นเสมือนหน้าตาสัญลักษณ์ของความเสื่อม บุคคลใดยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขก็รู้ได้ทันทีว่า ผู้นั้นมีความเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว
เรื่องที่น่ารู้
คุณสมบัติของนายจ้างที่ดี
1. จัดงานให้ลูกจ้างทำตามความเหมาะสม
2. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความสามารถ
3. ให้สวัสดิการที่ดี
4. มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
5. ให้มีวันหยุดพักผ่อนตามสมควร
คุณสมบัติของลูกจ้างที่ดี
1. เริ่มทำงานก่อน
2. เลิกงานทีหลัง
3. เอาแต่ของที่นายให้
4. ทำงานให้ดียิ่งขึ้น
5. นำความดีของนายไปสรรเสริญ
5.4 อานิสงส์การทำงานไม่คั่งค้าง
1. ทำให้ฐานะของตน ครอบครัว ประเทศชาติดีขึ้น
2. ทำให้ได้รับความสุข
3. ทำให้พึ่งตนเองได้
4. ทำให้เป็นที่พึ่งของคนทั้งหลายได้
5. ทำให้สามารถสร้างบุญกุศลอื่นๆ ได้ง่าย
6. ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท
7. ทำให้ป้องกันภัยในอบายภูมิได้
8. ทำให้มีสุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า
9. ทำให้เป็นนิสัยติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ
10. ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากคนทั่วไป
บุคคลใดไม่คำนึงถึงหนาวร้อน อดทนให้เหมือนหญ้า
กระทำกิจที่ควรทำด้วยเรี่ยวแรงของลูกผู้ชาย
บุคคลนั้นย่อมไม่เสื่อมจากสุข
(สิงคาลกสูตร) ที. ปา. 11/185/199
หนังสือ GB 102 สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา