งานสร้างเครือข่ายคนดีให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นได้สำเร็จ

วันที่ 19 ธค. พ.ศ.2559

งานสร้างเครือข่ายคนดีให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นได้สำเร็จ

สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , มงคลชีวิต , พุทธวิธี , งานสร้างเครือข่ายคนดีให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นได้สำเร็จ , เครือข่ายคนดี

1. การสร้างเครือข่ายคนดีคืออะไร
    การสร้างเครือข่ายคนดี คือ การเข้าไปหา ชักชวน ผูกมิตร รวบรวม และคบหาคนดีในสังคมไว้เป็นสมัครพรรคพวก เพื่อฝึกฝนอบรมตนเองร่วมกันสร้างฐานะทางเศรษฐกิจร่วมกันและพัฒนาท้องถิ่นให้เหมาะแก่การทำความดี ละเว้นความชั่ว และกลั่นใจให้ผ่องใสร่วมกันตลอดชีวิต

2. จุดมุ่งหมายของการสร้างเครือข่ายคนดีคืออะไร
     จุดมุ่งหมายของการสร้างเครือข่ายคนดี คือ การสร้างระบบปลูกฝังศีลธรรมให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น โดยเป็นการผนึกกำลังกันระหว่างบ้านวัดโรงเรียนให้ผสานใจเป็นหนึ่งเดียวกัน ในการสร้างคนดีและครู อนศีลธรรมให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีครอบครัวอบอุ่นชุมชนมีศีลธรรมเข้มแข็ง เศรษฐกิจก้าวหน้า และปราศจากอบายมุข

3. เหตุใดจึงต้องสร้างเครือข่ายคนดี
     ทุกวันนี้ ปัญหาที่ผู้นำในโลกนี้แก้ไม่ตกก็คือ "ปัญหาศีลธรรม" และเมื่อปัญหาศีลธรรมแก้ไม่ตก ปัญหาเดือดร้อนต่างๆ ในสังคมก็ตามมาสารพัด

   ตั้งแต่เมื่อสำรวจไปตามบ้านสิ่งที่พบก็คือ ปัญหาครอบครัวแตกแยก ปัญหาเด็กกำพร้าปัญหาเด็กขาดความอบอุ่น ปัญหาเด็กใจแตก เป็นต้น

   สำรวจไปตามสถานศึกษาสิ่งที่พบก็คือ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาอาชญากรรมวัยรุ่น เป็นต้น

     สำรวจไปที่ทำงานสิ่งที่พบก็คือ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ ปัญหาการขายบริการทางเพศ ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาการพนัน เป็นต้น

 โลกเจอปัญหาเป็นแบบนี้มาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าโลกจะเจริญก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีไปไกลขนาดไหน ปัญหาศีลธรรมไม่เคยหมดไปจากโลก เพียงแต่ว่าปัญหาจะรุนแรงมากจนเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า หรือว่าเบาบางจนพอจะทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นบ้าง

   นอกจากนี้ การใช้วิธีแก้ปัญหาที่ผ่านๆ มา ดูเหมือนว่าจะทำให้ปัญหาที่มีอยู่แล้วเพิ่มขึ้นมากกว่าลดลง เช่น การเดินขบวนประท้วงเรียกร้อง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นต้น

      สาเหตุที่แก้ปัญหาศีลธรรมไม่ตก ก็เพราะว่า

     1. คนขาดศีลธรรม คือ เมื่อพิจารณาปัญหาสังคมโลกผ่านหลักธรรมแล้ว จะพบว่าปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสงคราม ปัญหาทำแท้ง เป็นต้น เกิดจากการกระทำผิดศีลข้อ 1 เพราะปกติของคนต้องไม่ฆ่า ไม่ทำร้ายกัน

     ปัญหาคอรัปชั่นไม่ว่าจะในระดับท้องถิ่นตลอดจนระดับโลก เป็นต้น เกิดจากการกระทำผิดศีลข้อที่ 2 เพราะปกติของคนต้องไม่ขโมยกันกิน โกงกันกิน

    ปัญหาล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาการค้าประเวณี ปัญหาโรคเอดส์ เป็นต้น เกิดจากการกระทำผิดศีลข้อที่ 3 เพราะปกติของคนย่อมไม่ล่วงประเวณี ไม่ส่ำส่อน

     ปัญหาการต้มตุ๋นหลอกลวง ปัญหาบิดเบือนใส่ร้ายป้ายสี เป็นต้น เกิดจากการกระทำผิดศีลข้อ 4 เพราะปกติของคนต้องพูดความจริง

    ปัญหายาเสพติด ปัญหาการเสพสุรา เป็นต้น เกิดจากการทำผิดศีลข้อที่ 5 เพราะปกติของคนย่อมรักษาสติของตนให้สมบูรณ์

     2. คนดีรวมกันไม่ติด มีสภาพต่างคนต่างอยู่ จึงเป็นเหตุให้ศีลธรรมอ่อนแอ แต่อบายมุขเข้มแข็ง อบายมุขจึงได้ช่องทางแพร่ระบาดในสังคมอย่างหนัก ผลสุดท้ายอบายมุขก็รุกเข้าในทุกครอบครัว กลายเป็นว่าผู้คนส่วนใหญ่ติดอบายมุขกันทั้งบ้านทั้งเมือง เมื่อคนส่วนมากติดอบายมุขเสียแล้ว การประพฤติเสื่อมศีลธรรมก็เกิดขึ้นในสังคมจนชินชา เรื่องที่ผิดปกติจึงกลายเป็นเรื่องถูกปกติไป คนดีจึงแทบไม่มีที่ยืนในสังคม แล้วคนดีต่างก็พากันนั่งบ่นว่า "คนดีไม่มีในโลก" แต่ก็ไม่รุกขึ้นมาทำอะไร ถึงจะบ่นไปอีกล้านปี โลกนี้ย่อมไม่มีทางดีขึ้น

    ในความจริงแล้ว คนดียังมีอยู่ในโลกนี้ แต่ติดอยู่ตรงที่คนดียังรวมกันไม่ติดเท่านั้นหากคนดีรวมกลุ่มกันติดเมื่อไหร่ เครือข่ายคนดีย่อมเกิดขึ้นมากเท่านั้น การศึกษาศีลธรรมการเผยแผ่ศีลธรรม การปลูกฝังศีลธรรม ย่อมเกิดขึ้นในโลกเมื่อนั้น และนั่นคือ ระบบการสร้างคนให้เป็นคนดีย่อมเกิดขึ้นในสังคม

    เพราะฉะนั้นสาเหตุที่ต้องสร้างเครือข่ายคนดีให้เกิดขึ้น ก็เพราะต้องการรวบรวมคนดีมาช่วยกันแก้ปัญหาศีลธรรมและสร้างคนดีมีศีลธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมนั่นเอง

4. ศีลธรรมคืออะไร
     ศีลธรรม คือ ความเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตว่าอะไรถูกผิด ดี ชั่ว บุญบาป ควรไม่ควรทำ ไม่ปล่อยใจไปตามอำนาจกิเลส่งผลให้เกิดความประพฤติที่ดีเริ่มตั้งแต่การคิดดี พูดดี ทำดี ประกอบสัมมาอาชีพ มีความขยันหมั่นเพียร มี ติกำกับใจ และมีสมาธิในการดำเนินชีวิตที่ดี จนกระทั่งกลายเป็นบุคคลที่มีนิสัยที่ดี

     คนเราประกอบด้วย "กาย" กับ "ใจ" โดย "ใจทำหน้าที่เป็นนาย กายทำหน้าที่เป็นบ่าว"

   คนที่มีศีลธรรมเป็นภูมิคุ้มกันอยู่ในจิตใจแล้ว ไม่ว่าเรื่องร้ายๆ จากภายนอก หรือความคิดร้ายๆ จากภายใน ย่อมไม่สามารถรั่วรดเข้าไปในใจของคนนั้นได้เลย ดังพุทธพจน์ว่า

     "ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัวฉะนั้น"

     คนที่ใจมีศีลธรรมประจำมั่นอยู่ภายใน ย่อมมีใจที่มีคุณภาพ มีเหตุผล ไม่เจ้าอารมณ์ ย่อมสามารถใช้ให้กายไปทำความดีได้มหาศาล ตนเองย่อมได้รับแต่ความสุขความเจริญสังคมย่อมได้ประโยชน์คือความ งบสุขตามมา

5. ศีลธรรมในตัวเราได้มาจากไหน
     ศีลธรรมเป็นเรื่องที่ต้องมีการปลูกฝัง การเพาะบ่ม ไม่ได้มาฟรีๆ เหมือนอย่างกับแสงแดดหรือว่าสายฝน ไม่เหมือนกับความหิว ความแก่ ความเจ็บ ความตายและเวลาชีวิตที่มีจำกัด เราได้มาฟรีตั้งแต่แรกเกิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า "ทิศ 6"  จะคอยทำหน้าที่ทั้งเพาะทั้งปลูกทั้งฝังศีลธรรม อีกทั้งพองอกขึ้นมาดีแล้วก็คอยติดตามประคบประหงม ประคับประคอง จนกระทั่งศีลธรรมนั้นเข้าไปอยู่ในใจ

     ถ้าถามว่าเราได้ศีลธรรมมาจากไหน  หากพิจารณาดูแล้ว ก็จะพบว่าเราได้ศีลธรรมมาจากพ่อแม่ซึ่งเป็นทิศเบื้องหน้า ผู้ให้ทั้งชีวิตและร่างกายมนุษย์ที่ประกอบด้วยเลือดด้วยเนื้อแล้วก็สอนความเป็นมนุษย์ให้กับเราเป็นบุคคลแรก จากนั้นก็ส่งต่อไปให้ครูอาจารย์ทิศเบื้องขวาช่วยเพิ่มพูนให้ความรู้ในการอยู่ร่วมกัน ตลอดจนความรู้วิชาการต่างๆ ในโลก ความรู้ในการประกอบอาชีพทำมาหากิน

   พ่อแม่กับครูบาอาจารย์ท่านได้ศีลธรรมมาจากไหน  ท่านก็ได้มาจากพระสงฆ์คือทิศเบื้องบน ผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรม เป็นผู้นำทางจิตใจและแหล่งผลิตศีลธรรม แม้บางครั้งเราเองก็ได้รับการถ่ายทอดศีลธรรมโดยตรงจากพระสงฆ์

     ส่วนเพื่อนทิศเบื้องซ้าย คู่ครองทิศเบื้องหลัง ลูกน้องหรือเจ้านายทิศเบื้องล่าง เราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าศีลธรรมและความรู้ดีๆ หลายๆ อย่างก็ได้มาจากบุคคลกลุ่มนี้ แล้วเขาได้ศีลธรรมมาจากไหน  ก็ได้มาจากพ่อแม่ ครูอาจารย์ และพระสงฆ์ของเขาแต่ละคนนั่นเอง

     พระสงฆ์ท่านได้ศีลธรรมมาจากไหน  ก็ได้มาจาก พ่อแม่ ครูอาจารย์ พระสงฆ์ขอท่านก่อนบวชและเมื่อบวชแล้วก็ศึกษาปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสงฆ์รุ่นก่อน ซึ่งเป็นหลวงพ่อหลวงปู่ หลวงทวดของท่าน

   หลวงพ่อ หลวงปู่ หลวงทวดในรุ่นก่อนๆ ท่านได้ศีลธรรมมาจากไหน  ท่านก็สืบทอดกันมาไกลจากพระอรหันต์ในรุ่นก่อนๆ ย้อนไปถึงพระอรหันต์รุ่นแรกๆ ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ สองพันห้าร้อยกว่าปีที่แล้ว

     พระอรหันต์ในรุ่นแรกๆ ท่านได้ศีลธรรมมาจากไหน  ท่านก็ได้มาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาของชาวพุทธ

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเอาศีลธรรมมาจากไหน  พระองค์ทรงนำศีลธรรมมาจากการตรัสรู้ คือทรงสามารถปราบกิเลสที่ห่อหุ้มบังคับใจได้อย่างหมดสิ้นเด็ดขาด ด้วยอำนาจของการหมดกิเลสนั้น ทำให้พระองค์สามารถเห็นความจริงต่างๆ ในโลกและชีวิตนี้ได้อย่างถูกต้องทั้งหมดด้วยธรรมจักษุอันเหนือวิสัยการนึกคิดตรึกตรอง จึงไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ที่เป็นความลับสำหรับพระองค์อีกต่อไป พระองค์จึงได้ชื่อว่า "พระพุทธเจ้า" ซึ่งก็แปลว่า ผู้รู้เพราะขจัดความไม่รู้ได้หมดแล้ว ผู้ตื่นเพราะกิเลสไม่สามารถครอบงำพระองค์ให้ไม่รู้ได้อีกต่อไป ผู้เบิกบานเพราะทรงบรรลุพระนิพพานอันปราศจากทุกข์ แล้วพระองค์ก็ทรงนำความจริงอันเป็นความลับของโลกและชีวิตมาเปิดเผยสั่งสอนให้ประชาชนทราบเพื่อให้ดำเนินชีวิตไปบนหนทางของผู้รู้

     ดังนั้น ทิศ 6 จึงเป็นแหล่งที่มาของศีลธรรม ยิ่งไปกว่านั้น 6 ทิศรอบข้างเรา ก็ได้รับการปลูกฝังศีลธรรมจากทิศ 6 ของเขาเช่นกัน เมื่อไล่กันออกมาอย่างนี้แสดงให้เห็นเครือข่ายสายใยความสัมพันธ์ในการปลูกฝังศีลธรรมที่เหนียวแน่น

6. ปัญหาศีลธรรมโลกแก้ไขได้ด้วยการสร้างเครือข่ายคนดี
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ให้กำเนิดศีลธรรมแก่โลก องค์บรมครูที่ตรัสรู้เมื่อก่อนพุทธศักราช 80 ปี เริ่มต้นจากพระองค์เพียงองค์เดียวแล้วก็ขยายพระพุทธศาสนามาครอบคลุมโลก อีกทั้งสืบทอดต่อๆ กันมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

      ณ ตรงนี้ก็อยากจะกล่าวว่า ถ้าหากบรมครูของเราทรงท้อพระทัยว่า พระองค์เพียงลำพังจะไปทำอะไรได้ ถ้าพระองค์ทรงท้ออย่างนี้แต่แรก ศีลธรรมคงมาไม่ถึงตัวเรา แต่เพราะพระองค์ไม่ทรงท้อ ศีลธรรมจึงได้ถูกตอกย้ำอยู่ในจิตใจของชาวโลกมาจนกระทั่งทุกวันนี้

    เริ่มจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 มาเป็นล้านๆๆๆ จนกระทั่งมาถึงพวกเราในปัจจุบัน ถ้าเราเป็นลูกของพระองค์จริง ก็ต้องดำเนินตามเส้นทางเดียวกับพระองค์และต้องห้ามท้อ ท้อไม่ได้ ท้อไม่เป็น

     เมื่อตัวของเราพิจารณาตัวเองแล้วว่าความรู้ ความดี รวมทั้งศีลธรรมที่หล่อหลอมกลายเป็นเราทุกวันนี้มาจากไหน เมื่อไล่ลำดับเรียงไป ท้ายที่สุดก็คือได้มาจากบ้าน วัด โรงเรียนของเราหรือมาจากทิศ 6 ทั้งในระดับปลูกฝังและในระดับสร้างเสริม

     เพราะฉะนั้น ถ้าหากต้องการจะแก้ปัญหาศีลธรรมและสร้างคนดีมีศีลธรรมให้เกิดขึ้นก็หนีไม่พ้นว่าต้องสร้างเครือข่ายคนดีจากทิศ 6 ที่เป็นคนดีขึ้นมาให้ได้ ศีลธรรมถึงจะมีกำลังเข้มแข็ง ในการกำจัดอบายมุขอันเป็นศัตรูของศีลธรรมให้หมดสิ้นไป

7. บ้านวัดโรงเรียน องค์ประกอบสำคัญของการสร้างเครือข่ายคนดี
     องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างเครือข่ายคนดี คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องบนทิศเบื้องขวา หากกล่าวตามสถานที่ นั่นก็คือ บ้าน วัด โรงเรียน เป็น 3 ทิศหลักในการปลูกฝังศีลธรรมส่วนทิศที่รองลงมาอีก 3 ทิศ เป็นทิศที่คอยสร้างเสริมศีลธรรมให้กับพวกเรา

     ปู่ย่าตาทวดของเราท่านเข้าใจหลักธรรมนี้อย่างลึกซึ้งและนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ในการทำงานร่วมกันของ บ้าน วัด โรงเรียน ที่ผสานความสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืนในการปลูกฝังศีลธรรม จึงมีสิ่งที่ทิ้งให้เห็นร่องรอยแห่งความทุ่มเท การเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอน คือ การสถาปนาวัดวาอารามต่างๆ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปลูกฝังศีลธรรม มีอยู่กระจัดกระจายไปทั่วทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน เป็นผลให้คำ สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝังรากลึกลงในจิตใจประชาชนและยังคงดำรงอยู่เป็นมรดก ตกทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานยุคปัจจุบัน แม้แต่พระมหากษัตริย์ไทยทุกๆ พระองค์ ก็ทรงเห็นถึงความสำคัญในการปลูกฝังศีลธรรม จึงทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ให้การสนับสนุนทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง

     แม้การศึกษาในอดีตก็เรียนที่วัด เมื่อมีการสร้างโรงเรียนขึ้นโรงเรียนก็อยู่ในวัดการถ่ายทอดซึมซับศีลธรรม จึงเป็นสายใยที่เชื่อมใจให้เยาวชนของชาติ เป็นคนที่มีจิตใจที่ดีงามคิดดี พูดดี ทำดี เป็นคนดีของสังคม

     อีกทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ล้วนมีรากฐานเกี่ยวโยงให้ศีลธรรมฝังแน่นลึกเข้าไปในใจ ไม่ว่าจะเป็นประเพณีบวชพระภิกษุสามเณรซึ่งถือเป็นข้อปฏิบัติของชายทุกคนรวมทั้งการเข้าวัดฟังธรรมถืออุโบสถศีลเจริญภาวนาทุกวันพระ เป็นต้น

    เห็นได้ชัดเจนเลยว่าบรรพบุรุษของเราต่างให้ความสำคัญของจิตใจมากกว่ากาย ให้น้ำหนักกับความสะดวกทางกายพอสมควรชั่วครั้งชั่วคราว แต่ฉกฉวยเอาเวลาส่วนใหญ่ทุ่มเทไปกับการศึกษความรู้เรื่องจิตใจเรื่องศีลธรรมให้มาก เพราะต่างตระหนักดีว่า

     คนเราตายแต่กายเนื้อ แต่ใจยังไม่สูญยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก บุญบาป ความรู้ความสามารถที่สั่งสมเอาไว้ แม้ตายแล้วเอาติดใจไปได้ เกิดมาเพื่อกำจัดนิสัยที่ไม่ดีทิ้งไป แสวงหาหนทางสร้างบุญบารมีให้มาก จนกว่าจะบรรลุมรรคผลนิพพานไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก

  ผู้ที่หนักแน่นทางศีลธรรมเขามองตรงนี้อย่างชัดเจน จึงทำให้เขาได้มีเวลาในการศึกษาศีลธรรม ฝึกหัดขัดเกลาตัวเอง ปัญหาในสังคมจึงไม่มี มีแต่คนที่หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสจิตใจชื่นบานเพราะท่านมีใจอยู่ในศีลในธรรม ความสะดวกสบายทางด้านวัตถุอาจไม่มาก แต่สังคมก็อยู่เย็นเป็นสุข

8. การเตรียมตัวทำหน้าที่สร้างเครือข่ายคนดี
     การสร้างเครือข่ายคนดี เริ่มต้นที่การสร้างความน่าเลื่อมใสหรือชอบใจให้เกิดขึ้นแก่คนในท้องถิ่นก่อน จากนั้นจึงค่อยรวบรวมเป็นสมัครพรรคพวกในการสร้างความดีกันต่อไป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง อนให้รู้จักเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนทำหน้าที่สร้างเครือข่ายคนดีผ่านเรื่อง "เหตุที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความเลื่อมใส 4 ประการ" คือ

1. เลื่อมใสในบุคลิกลักษณะ
2. เลื่อมใสในน้ำเสียงไพเราะ
3. เลื่อมใสในการแต่งกาย
4. เลื่อมใสในธรรมะที่ได้ฟัง


1. ความเลื่อมใสในบุคลิกลักษณะ แบ่งเป็น 2 ระดับ

      1) ระดับภายนอก คือสิ่งที่เห็นได้จากลักษณะภายนอก

       1.1) รูปร่างหน้าตาดี คือ ความ วย ความหล่อที่ได้จากการทำบุญไว้ในอดีต เช่น ผิวงาม ผมงาม ฟันงาม ใบหน้างาม รูปร่างงาม เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ผู้พบเห็นเกิดความสบายใจแต่ก็เป็นความงามที่ไม่จีรังยั่งยืน และต้องหมั่นรักษาความสะอาด ไม่ให้มีกลิ่นปาก กลิ่นตัวอยู่เสมอด้วย

      1.2) บุคลิกภาพดี คือ อากัปกิริยาในการยืน เดิน นั่ง นอน มีความองอาจสง่างามน่าเลื่อมใสมีใบหน้ายิ้มแย้ม ไม่ทำหน้าบูดบึ้งขมึงตึง

        1.3) มารยาทดี คือ มีวิธีการวางตัวได้เหมาะสมกับฐานะระหว่างตนเองกับบุคคลที่สมาคมด้วย

       1.4)สุขภาพดี คือ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ ไม่เสพของมึนเมา ไม่ติดยาเสพติด ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เป็นต้น

2) ระดับภายใน คือ มีกายสะอาด

        2.1) เว้นจากการฆ่า คือ ไม่ฆ่าสัตว์ นับตั้งแต่ฆ่าคนทั่วไป ฆ่าสัตว์ที่มีคุณค่า และฆ่าสัตว์อื่นๆ

      เจตนารมณ์ของความสะอาดกายในข้อนี้ คือต้องการให้ทุกคนรู้จักแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ไม่ใช่โดยวิธีฆ่าอีกฝ่ายหนึ่งเสีย เพราะการฆ่านั้น ผู้ฆ่าย่อมเกิดความทารุณโหดร้ายในใจทำให้ใจเศร้าหมองและตนก็ต้องรับผลกรรมต่อไป เป็นการแก้ปัญหาซึ่งจะสร้างปัญหาอื่นๆต่อมา โดยไม่จบสิ้น ต้องคอยหวาดระแวงว่าญาติพี่น้องเขาจะมาทำร้ายตอบ

       2.2) เว้นจากการลักขโมย คือ ไม่แสวงหาทรัพย์มาโดยทุจริต เช่น

ลัก        =       ขโมยเอาลับหลัง
ฉก        =       ชิงเอาซึ่งหน้า
กรรโชก  =       ขู่เอา
ปล้น      =        รวมหัวกันแย่งเอา
ตู่          =        เถียงเอา
ฉ้อ        =       โกงเอา
หลอก    =       ทำให้เขาหลงเชื่อแล้วให้ทรัพย์
ลวง       =        เบี่ยงบ่ายลวงเขา
ปลอม    =        ทำของที่ไม่จริง
ตระบัด   =        ปฏิเสธ
เบียดบัง  =        ซุกซ่อนเอาบางส่วน
สับเปลี่ยน   =     แอบเปลี่ยนของ
ลักลอบ      =     แอบนำเข้าหรือออก
ยักยอก      =     เบียดบังเอาของในหน้าที่ตน

    เจตนารมณ์ของความสะอาดกายในข้อนี้ คือต้องการให้ทุกคนทำมาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ซึ่งจะทำให้ใช้ทรัพย์ได้เต็มอิ่มไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงคืน

     2.3) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม คือไม่กระทำผิดในทางเพศ ไม่ลุอำนาจแก่ความกำหนัด เช่น การเป็นชู้กับสามีภรรยาคนอื่น การข่มขืน การฉุดคร่าอนาจารเจตนารมณ์ของความสะอาดกายในข้อนี้ คือต้องการให้ทุกคนมีจิตใจสูง เคารพในสิทธิของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม

      2. ความเลื่อมใสในน้ำเสียง แบ่งเป็น 2 ระดับ

1) ระดับภายนอก คือ น้ำเสียงไพเราะ
1.1) แจ่มใสไม่แหบเครือ
1.2) ชัดเจน ชัดถ้อยชัดคำ ไม่ติดขัด
1.3) ไพเราะ อ่อนหวาน
1.4) เสนาะโสต
1.5) กลมกล่อม หยดย้อย
1.6) ไม่แตก ไม่พร่า
1.7) ซึ้ง
1.8) มีกังวาน

      2) ระดับภายใน คือ มีวาจาสะอาด
    2.1) เว้นจากการพูดเท็จ คือ พูดความจริง โดยต้องไม่เจตนาพูดให้ผู้ฟังเข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งรวมถึงการทำให้คนอื่นหลงเชื่อรวม 7 วิธีด้วยกัน

พูดปด            =    โกหกซึ่งๆ หน้า
ทนสาบาน       =    ทำผิดแล้วไม่ยอมรับผิด
ทำเล่ห์กระเท่ห์  =    ทำทีอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์ของตนจนเกินเหตุ
มารยา            =    เจ็บน้อยทำเป็นเจ็บมาก
ทำเลศ            =    ทำทีให้ผู้อื่นตีความคลาดเคลื่อนเอาเอง
เสริมความ      =     เรื่องนิดเดียวทำให้เป็นเรื่องใหญ่
อำความ         =     เรื่องใหญ่ปิดบังไว้ให้เป็นเรื่องเล็กน้อย

       การเว้นจากพูดเท็จต่างๆ เหล่านี้หมายถึง

- ไม่ยอมพูดเท็จเพราะเหตุแห่งตน คือกลัวภัยจะมาถึงตนจึงโกหก
- ไม่ยอมพูดเท็จเพราะเหตุแห่งคนอื่น คือรักเขาอยากให้เขาได้ประโยชน์จึงโกหกหรือเพราะเกลียดเขา อยากให้เขาเสียประโยชน์จึงโกหก
- ไม่ยอมพูดเท็จเพราะเห็นแก่อามิสินบน เช่น อยากได้ทรัพย์สินเงินทองสิ่งของจึงโกหก

     เจตนารมณ์ของความสะอาดวาจาในข้อนี้ คือต้องการให้ทุกคนมีความสัตย์จริง กล้าเผชิญหน้ากับความจริงเยี่ยงสุภาพชน ไม่หนีปัญหา หรือหาประโยชน์ใส่ตัวด้วยการพูดเท็จ

     2.2) เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ พูด มานไมตรีกัน ไม่เก็บความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น หรือเก็บความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ ด้วยเจตนาจะยุแหย่ให้เขาแตกกัน ควรกล่าวแต่ถ้อยคำอันแสดงคุณค่าของความสามัคคี

     เจตนารมณ์ของความสะอาดวาจาข้อนี้ คือต้องการไม่ให้คนเราหาความชอบด้วยการประจบสอพลอ ไม่เป็นบ่างช่างยุ ต้องการให้หมู่คณะสงบสุขสามัคคี

      2.3) เว้นจากการพูดคำหยาบ คือ พูดคำสุภาพ ไม่พูดคำซึ่งทำให้คนฟังเกิดความระคายใจ ครูดหู และส่อว่าผู้พูดเองเป็นคนมีสกุลต่ำ ได้แก่

คำด่า            =   พูดเผ็ดร้อน แทงหัวใจ พูดกดใจต่ำ
คำประชด       =   พูดกระแทกแดกดัน
คำกระทบ       =   พูดเปรียบเปรยให้เจ็บใจเมื่อได้คิด
คำแดกดัน      =   พูดกระแทกกระทั้น
คำสบถ          =   พูดแช่งชักหักกระดูก
คำหยาบโลน   =   พูดคำที่สังคมรังเกียจ
คำอาฆาต      =  พูดให้หวาดกลัวจะถูกทำร้าย

     เจตนารมณ์ของวาจาสะอาดข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนพูดให้สุภาพ รู้จักสำรวมวาจาของตน ไม่ก่อความระคายใจแก่ผู้อื่นด้วยคำพูด

     2.4) ไม่พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดแต่ถ้อยคำที่มีประโยชน์ ไม่พูดเหลวไหล ไม่พูดพล่อยๆสักแต่ว่ามีปากอยากพูดก็พูดไปหาสาระมิได้ พูดแต่ถ้อยคำที่ควรฝังไว้ในใจ มีหลักฐานอ้างอิงถูกกาลเวลา มีประโยชน์

       เจตนารมณ์ของวาจาสะอาดข้อนี้ คือต้องการให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อถ้อยคำของตน

3. ความเลื่อมใสในการแต่งกาย

      1) มีความสะอาด คือ เสื้อผ้าไม่ กปรกเลอะเทอะ ไม่มีกลิ่นเหม็นอับสีไม่หม่นหมองไม่มีคราบไคลฝังแน่น

      2) มีความสุภาพเรียบร้อย คือ ทำให้เกิดความ งบใจต่อผู้พบเห็น ไม่นุ่งชั่วห่มชั่วยั่วยวน

     3) ไม่ฟุ่มเฟอยสุรุ่ยสุร่าย คือ ไม่ วมใส่เสื้อผ้าที่ใช้จ่ายเกินฐานะความเป็นอยู่ ไม่แต่งกายเพื่ออวดความร่ำรวย อวดแก้วแหวนเงินทองราคาแพง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ผู้ สวมใส่เป็นอันตรายจากโจรผู้ร้ายได้

     4) ถูกกาลเทสะ คือ ต้องดูความเหมาะสมของเวลาและสถานที่ด้วย เช่น ถ้าเป็นงานศพ ก็ต้องสวมใส่ชุดขาว ไม่ใช่ใส่เสื้อผ้าสีฉูดฉาด จะทำให้ผู้อื่นตำหนิได้ว่าไม่ให้เกียรติเจ้าของงาน เป็นต้น

4. ความเลื่อมใสในธรรมะที่ได้ฟัง
      ผู้ที่จะถ่ายทอดธรรมะได้น่าเลื่อมใสนั้น ต้องฝึกฝนการเล่าธรรมะของตนเองมาตามขั้นตอนดังนี้

      1) มีใจสะอาด

     1.1) ไม่คิดโลภอยากได้ของใคร คือ ไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์ของคนอื่นในทางทุจริต แต่ให้คิดเอื้อเฟอเผื่อแผ่เจตนารมณ์ของความมีใจสะอาดข้อนี้ คือต้องการให้คนเราเคารพในสิทธิข้าวของผู้อื่นมีจิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่านไหวกระเพื่อมไปเพราะความอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้มีใจผ่องแผ้ว มีความเอื้อเฟอเผื่อแผ่ พร้อมที่จะสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวม

     1.2) ไม่คิดผูกพยาบาทใคร คือ ไม่ผูกใจเจ็บ ไม่คิดอาฆาตล้างแค้น ไม่จองเวรมีใจเบิกบาน แจ่มใสไม่ขุ่นมัว ไม่เกลือกกลั้วด้วยโทสะจริต แต่ให้คิดให้อภัยเจตนารมณ์ของความมีใจสะอาดข้อนี้ คือต้องการให้คนเรารู้จักให้อภัยทาน ไม่คิดทำลาย ทำให้จิตใจ งบผ่องแผ้วเกิดความคิดสร้างสรรค์

  1.3) ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม คือไม่คิดแย้งกับหลักธรรม เช่น มีความเห็นที่เป็นสัมมาทิฏฐิพื้นฐาน 10 ประการ คือ

1. เห็นว่าการให้ทานดีจริง ควรทำ
2. เห็นว่ายัญที่บูชาแล้วมีผล คือเห็นว่าการสงเคราะห์ช่วยเหลือบุคคลอื่นเป็นสิ่งดี ควรทำ
3. เห็นว่าการบูชาบุคคลที่ควรบูชาดีจริง ควรทำ
4. เห็นว่าผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริง
5. เห็นว่าโลกนี้มีจริง
6. เห็นว่าโลกหน้ามีจริง
7. เห็นว่ามารดามีพระคุณต่อเราจริง
8. เห็นว่าบิดามีพระคุณต่อเราจริง
9. เห็นว่าสัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีจริง (นรกสวรรค์มีจริง)
10. เห็นว่าสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ หมดกิเลสแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามมีจริง

     เจตนารมณ์ของความมีใจสะอาดข้อนี้ ต้องการให้คนเรามีพื้นใจดี มีมาตรฐานความคิดที่ถูกต้อง ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง มีวินิจฉัยถูก มีหลักการ มีแนวคิดที่ถูกต้องส่งผลให้ความคิดในเรื่องอื่นถูกต้องตามไปด้วย

      2) เตรียมอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ
คนที่จะอารมณ์ดีได้ คือคนที่มีใจผ่องใสตั้งแต่เช้าจรดเย็น ปู่ย่าตาทวดมีวิธีง่ายๆ คือให้ปฏิบัติตามนี้ตลอดทั้งวัน

     1. เช้าใดยังไม่ทำทาน อย่าเพิ่งทานข้าว ทั้งนี้เพื่อสร้างนิสัยแบ่งปัน และป้องกันความคิดโลภอยากได้ของใคร

    2. วันใดยังไม่รักษาศีล อย่าเพิ่งออกจากบ้าน ทั้งนี้เพื่อสร้างนิสัยไม่เบียดเบียนผู้อื่น และป้องกันความคิดโกรธเคืองแค้นใจผู้อื่นด้วยการให้อภัย

   3. คืนใดยังไม่ทำภาวนา อย่าเพิ่งเข้านอน ทั้งนี้เพื่อสร้างนิสัยรักความสงบ และป้องกันความเป็นคนเจ้าอารมณ์ขาดเหตุผล

     คนที่ทำอย่างนี้เป็นประจำทุกวัน ย่อมเป็นคนมีใจสะอาด ไม่ขุ่นมัวง่าย มีอารมณ์ผ่องใสจะคิด พูด ทำสิ่งใด ก็ทำด้วยความมีสติ ไตร่ตรองด้วยเหตุผล คำนึงถึงความถูกต้องดีงามเหมาะสมไม่มีโทษแล้วจึงทำ เมื่อถึงคราวที่ต้องแนะนำธรรมะให้แก่ใคร ก็มีใจที่ละเอียดสามารถถ่ายทอดธรรมะด้วยอารมณ์ที่ผ่องใส่งผลให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสในธรรมะ และอยากปฏิบัติตาม เพราะชอบในอัธยาศัยที่พาเย็นใจ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในธรรมะที่ฟังว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องจริง ดีจริง และเป็นประโยชน์จริงสมควรที่จะประพฤติปฏิบัติตาม

      3) เข้าใจปัญหาชีวิตของคน
      ปัญหาพื้นฐานของชีวิตคนนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่า มี 4 ปัญหาใหญ่ คือ

      1. ปัญหาความขาดแคลน คือ ปัญหาความไม่มีทรัพย์ เช่น ปัจจัย 4 ไม่พอกิน เงินทองไม่พอใช้ ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการแบ่งปันกันอยู่ แบ่งปันกันกิน แบ่งปันกันใช้

      2. ปัญหาขาดกำลังใจ คือ ปัญหาเหน็ดเหนื่อยท้อแท้ใจ เช่น ทำงานเหนื่อยยากแต่ถูกโกง ตั้งใจทำความดีแต่ถูกใส่ร้าย จริงใจกับผู้อื่นแต่กลับโดนหลอกใช้ ซึ่งแก้ไขด้วยการให้คำพูดที่ไพเราะประกอบด้วยข้อคิดที่ทำให้ผู้ฟังหายเหนื่อย ยกใจผู้ฟังข้ามพ้นความท้อแท้ได้

      3. ปัญหาขาดความช่วยเหลือ คือ ปัญหาขาดกำลังความรู้ กำลังความสามารถ กำลังคน ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งมีอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่ ความรู้ในการทำงาน ความรู้ในการดูแลสุขภาพ ความรู้ในการพัฒนาจิตใจ ในกรณีนี้ ไม่ใช่การขาดแคลนทรัพย์และขาดแคลนกำลังใจแต่ขาดแคลนความรู้ที่จะเอาชนะอุปสรรคนั้นๆ จึงต้องการผู้ที่สามารถแนะนำความรู้และการกระทำที่ช่วยให้เอาชนะอุป รรคความขัดข้องนั้นได้

      4. ปัญหาขาดความปลอดภัย คือ ปัญหาขาดความไว้วางใจจากมิตร หายสาเหตุเกิดจากความไม่จริงใจและการวางตนไม่เหมาะสมกับฐานะที่ตัวเป็น เช่น เป็นพ่อแม่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับฐานะพ่อแม่ เป็นครูอาจารย์ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับฐานะครูอาจารย์ เป็นต้น ซึ่งจะแก้ไขได้ต่อเมื่อมีกัลยาณมิตร ผู้มีความจริงใจ ไม่ทอดทิ้งคอยให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อการประพฤติอยู่ในศีลธรรมและการวางตนที่ถูกต้องเหมาะสมกับฐานะที่เขาเป็น

       4) เตรียมธรรมะที่เหมาะสมกับผู้ฟัง

       4.1) การเตรียมเนื้อหา
      การเตรียมเนื้อหาธรรมะสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ผู้ฟังเป็นใคร เวลานั้นเขาขาดธรรมะเรื่องอะไร เราจึงจะรู้ว่าเราต้องเตรียมธรรมะเรื่องใดไปเล่าให้เขาฟังถึงเป็นการเหมาะสม เพื่อให้เขาเกิดแสงสว่างทางปัญญาในการดำเนินชีวิต และเพิ่มพูนในศรัทธาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยผู้เตรียมเนื้อหาจะต้องเรียบเรียงเนื้อหาที่ตนจะใช้พูดให้มีองค์ประกอบของวาจาสุภาษิต 5 ประการ คือ

     1) ต้องเป็นคำจริง คือคำพูดที่ใช้นั้นต้องเป็นคำพูดที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ใช่คำพูดที่ปันแต่งขึ้น ไม่บิดเบือนความจริง ไม่เสริมความ ไม่อำความ ทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิด

     2) ต้องเป็นคำสุภาพ คือคำพูดที่ใช้นั้นต้องเป็นคำพูดไพเราะที่กลั่นออกมาจากน้ำใจที่บริสุทธิ์ ไม่เป็นคำหยาบ คำด่า คำประชดประชัน คำเสียดสี คำหยาบนั้นฟังก็ระคายหู แค่คิดถึงก็ระคายใจ ทำให้ผู้ฟังไม่สบายใจที่จะฟัง

      3) พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ คือ คำพูดที่ใช้ต้องก่อให้เกิดผลดีทั้งแก่คนพูดและคนฟัง ถึงแม้คำพูดนั้นจะจริงและเป็นคำสุภาพ แต่ถ้าพูดแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไร กลับจะทำให้เกิดโทษ ก็ไม่ควรพูด ก่อนจะพูดอะไรออกไป จึงต้องคำนึงถึงผลได้ผลเสียที่ตามมาเสมอมิฉะนั้น หากมาตามแก้ทีหลัง จะกลายเป็นเสียกับเสีย

     4) พูดด้วยจิตเมตตา คือ คำพูดที่ใช้ต้องออกมาจากใจที่มีความปรารถนาดี อยากให้คนฟังมีความสุข มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ในข้อนี้หมายถึงว่า แม้จะพูดจริง เป็นคำสุภาพ พูดแล้วเกิดประโยชน์ แต่ถ้าจิตยังคิดโกรธมีความริษยาก็ยังไม่สมควรพูด เพราะผู้ฟังอาจจะรับไม่ได้แล้วจะกลายเป็นเสียไมตรีกัน

      5) พูดถูกกาลเทศะ คือ แม้คำพูดที่ใช้ จะเป็นคำพูดที่ดี เป็นคำจริง เป็นคำสุภาพเป็นคำพูดที่มีประโยชน์ และพูดด้วยจิตที่เมตตา แต่ถ้าผิดจังหวะ ไม่ถูกกาลเทศะ ผู้ฟังยังไม่พร้อมที่จะรับแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียหายได้ เช่น จะกลายเป็นประจานกันหรือจับผิดไป

     - พูดถูกเวลา (กาล) คือรู้เวลาไหนควรพูด เวลาไหนยังไม่ควรพูด ควรพูดนานเท่าไหร่ ต้องคาดผลที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย

     - พูดถูกสถานที่ (เทศะ) คือรู้ว่าใน ถานที่เช่นไร เหตุการณ์แวดล้อมเช่นไรจึงสมควรที่จะพูด หากพูดออกไปแล้วจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร เช่น มีความหวังดีอยากเตือนเพื่อนไม่ให้ดื่มเหล้า แต่ไปเตือนขณะที่เพื่อนกำลังเมาอยู่ในหมู่เพื่อนฝูง ทำเขาเสียหน้าอย่างนี้นอกจากเขาจะไม่ฟังแล้ว เราเองอาจเจ็บตัวได้

    การฝึกฝนให้คำพูดของตนเองมีเนื้อหาครบองค์ประกอบวาจาสุภาษิตได้ จำเป็นต้องฝึกฝนการใช้ภาษาให้ดี เริ่มจากการเลือกหนังสือที่ดีมีประโยชน์มาอ่าน การฝึกย่อความให้กระชับ ฝึกการเรียบเรียงความรู้ให้เข้าใจง่าย เมื่อทำแบบนี้บ่อยๆสำนวนภาษาของเราก็จะกลายเป็นคำพูดที่มีความสุภาพไปในตัว ครั้นเมื่อถึงคราวจะต้องพูดธรรมะให้ใครฟัง ก็จะรู้ว่ามีแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อคนฟังอยู่ที่ไหนบ้าง การรวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจง่ายด้วยคำพูดของเราเอง ก็จะเกิดขึ้นมา ทำให้เราสามารถเขียนเนื้อหาคำบรรยายของตนเองออกมาได้ล่วงหน้า และทำให้เรามีเวลาขัดเกลาและกลั่นกรองจนกระทั่งเหลือแต่คำพูดเป็นวาจาสุภาษิตที่เหมาะสมกับบุคคล เวลา และสถานที่ อีกทั้งยังสร้างประโยชน์ที่จะตามมาให้แก่ทั้งสองฝ่ายได้อีกด้วย

       4.2) การเล่าธรรมะ
    การเล่าธรรมะให้น่าฟัง จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวมาอย่างดี โดยผู้เล่าต้องปฏิบัติตามคุณสมบัติของผู้เล่าธรรมะที่ดี 5 ประการดังนี้ คือ

     1) ต้องแสดงธรรมไปตามลำดับของเรื่อง ไม่วกวน ไม่กระโดดข้ามขั้นข้ามตอนแสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับ ซึ่งผู้ที่แสดงเช่นนี้ได้จะต้อง

        1.1) มีความรู้จริง คือรู้เรื่องที่จะเทศน์จะ อนดีพอจะทราบว่าอะไรควรพูดก่อน อะไรควรพูดทีหลัง

      1.2) มีวาทศิลป์ คือมีความสามารถในการพูด มีจิตวิทยาในการถ่ายทอดรู้สภาพจิตใจของผู้ฟังว่าควรรู้อะไรก่อน อะไรหลัง

      1.3) ต้องมีการเตรียมการ วางเค้าโครงเรื่องที่จะแสดงล่วงหน้า ทำอะไรมีแผน ไม่ดูเบา ไม่ใช่เล่าธรรมะตามอำเภอใจการเล่าธรรมะต้องเริ่มต้นด้วยการมีองค์ประกอบ 3 อย่างนี้ จึงจะแสดงธรรมไปลุ่มลึกตามลำดับ

     2) ต้องแสดงธรรมอ้างเหตุอ้างผลให้ผู้ฟังเข้าใจ ผู้เล่าธรรมะจะต้องเข้าใจเรื่องที่จะแสดงอย่างปรุโปร่ง ไม่ใช่ท่องจำเขามาพูด เวลาแสดงธรรมก็ให้เหตุให้ผล ยกตัวอย่างประกอบแยกแยะให้เห็นภาพอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งได้ เมื่อผู้ฟังสงสัยซักถามจุดไหนประเด็นไหนก็ชี้แจงให้ฟังได้

      3) ต้องแสดงธรรมด้วยความหวังดีต่อผู้ฟังอย่างจริงใจ มีความเมตตากรุณาอยู่เต็มเปียมใจ พูดไปแล้วผู้ฟังยังไม่เข้าใจ ยังตามไม่ทันสติปัญญายังไม่พอ ก็ไม่เบื่อหน่าย ไม่ละทิ้งกลางคัน แม้จะพูดซ้ำหลายครั้งก็ยอม มีความหวังดีต้องการให้ผู้ฟังรู้ธรรมะจริงๆ มุ่งทำประโยชน์ให้ผู้ฟังเต็มที่ ไม่ใช่พูดแบบขอไปที

     4) ต้องไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ คือไม่เห็นแก่ชื่อเสียง คำสรรเสริญเยินยอลาภสักการะ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าการเล่าธรรมะนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ จะมีคนฟังมากน้อยเท่าไหร่ก็ไม่ถือเป็นอารมณ์ เล่าธรรมะอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ว่าบ้านของคนใหญ่โตก็เล่าอย่างเต็มที่แต่บ้านของคนกระจอกงอกง่อยก็เล่าธรรมะกะล่อมกะแล่มไม่เป็นเรื่องเป็นราว ต้องไม่ใช่อย่างนั้นถ้าผู้ใดเล่าธรรมะเพราะเห็นแก่ลาภ ผู้นั้นก็เป็นเพียงลูกจ้างของคนฟัง ที่พูดด้วยน้ำเสียงประจบประแจงเจ้าของบ้านซึ่งเป็นนายจ้าง ธรรมะข้อนั้นก็จะถูกปรุงแต่งบิดเบือนจนเสียหาย ไม่ตรงตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อผู้พูด ผู้ฟัง และพระพุทธศาสนา

     5) ต้องไม่แสดงธรรมกระทบตนเองหรือผู้อื่น คือไม่ฉวยโอกาสยกตัวอย่างความดีของตนเองเพื่อโอ้อวด หรือยกความผิดพลาดของคนอื่นเป็นตัวอย่างเพื่อประจานความผิดของเขา ไม่ใช่ถือว่ามีไมโครโฟนอยู่ในมือ ก็คุยอวดตัวทับถมคนอื่นเรื่อยไป ผู้พูดต้องมุ่งอธิบายธรรมะจริงๆ หากจะยกตัวอย่างเรื่องใดประกอบ เพื่อเป็นข้อสนับสนุนให้ผู้ฟังเข้าใจข้อธรรมะที่แสดง ก็ต้องระวังไม่ให้ผู้อื่นเสียหาย การฉวยโอกาสเวลาแสดงธรรมใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นการกระทำผิดหลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ

      เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางวิธีการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ไว้อย่างรอบคอบ แทนที่จะมุ่งแต่แผ่อิทธิพลศาสนาของพระองค์และทับถมโจมตีศาสนาอื่น กลับทรงวางคุณสมบัติควบคุมผู้ทำการสอนพระพุทธศาสนาไว้อย่างรัดกุม ซึ่งหาได้ยากในศาสนาอื่นๆ

      4.3) การจูงใจผู้ฟัง
    นอกจากการเล่าธรรมะด้วยความบริสุทธิ์ใจให้ถูกต้องทั้งเนื้อหา การนำเสนอ เวลาและอารมณ์ผู้ฟังแล้ว ยังต้องมีวิธีพูดจูงใจให้อยากทำตามด้วย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักจูงใจคนฟังด้วยลีลาที่น่าฟังไว้ 4 ประการดังนี้ คือ

     1)สันทัสสนาคือ การพูดให้แจ่มแจ้งชัดเจน ไม่ใช่การพูดมาก หรือพูดยาวๆ แต่หมายความว่า หาวิธีพูดจาให้คนฟังเข้าใจเรื่องที่พูดนั้นชัดๆ ให้เห็นจริงตามที่ผู้พูดเสนอ การที่จะทำได้อย่างนี้ ผู้พูดต้องใช้ความคิด มีการเตรียมการอย่างดีว่าพูดวิธีใด หรือใช้มาตรการใดใน 4 อย่างต่อไปนี้ คือ

1. ขยายความ
2. อุปมาอุปไมย
3. ยกอุทาหรณ์
4. ใช้อุปกรณ์ เช่น รูปภาพ, แผนภาพ เป็นต้น

    เมื่อตกลงจะใช้วิธีใดเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนแล้ว ก็ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าให้พร้อม การพูดไม่เตรียมนั้น อย่าได้ทำเลย

   วิธีใช้มาตรการทั้งสี่เป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะเรื่องบางอย่างลำพังแค่พูดอย่างเดียวไม่อาจทำให้คนฟังเข้าใจได้ เพียงแต่จะบอกให้คนที่ไม่เคยเห็นเสือเลย รู้ว่าม้ากับเสือต่างกันอย่างไรก็ยากเต็มทีแล้ว จะบอกว่าม้ามีสี่ขา เสือก็มีสี่ขา จะบอกว่าม้ามี 1 ปาก 2 หู 1 หาง ฯลฯ เสือมันก็มีเท่ากัน พูดอยู่ทั้งวันก็ไม่ได้เรื่อง ในกรณีนี้ถ้าเราเอารูปม้ากับรูปเสือไปแ ดงให้ดูด้วยสักห้านาทีก็เสร็จเรื่อง คือใช้มาตรการที่ 4 นั่นเอง

     2) สมาทปนา คือ การพูดชวนใจผู้ฟังให้อยากรับไปปฏิบัติ เป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟังอยากทำตาม คืออะไรที่เราบอกว่าไม่ดี ก็ให้ผู้ฟังอยากเลิกทำสิ่งนั้น อะไรที่เราบอกว่าดี ก็ให้ผู้ฟังคิดอยากทำสิ่งนั้น

  แม่ครัวทำกับข้าว นอกจากทำให้รสอร่อยแล้วยังทำรูปทำกลิ่นให้ดูน่ารับประทานด้วย พ่อค้าผลิตสินค้า นอกจากทำให้คุณภาพสินค้าดีแล้ว ยังทำให้รูปร่างน่าใช้สอยด้วย นักเล่าธรรมะก็เหมือนกัน นอกจากพูดถูกแล้วยังต้องพูดให้น่าทำตามด้วย

     การพูดให้น่าทำตาม เราต้องใช้จิตวิทยาดักใจคนให้ได้เสียก่อน ปกติของคนเรานั้นมักสนใจเรื่องของตนเองก่อนเป็นอันดับแรก เวลาเล่าธรรมะก็ต้องเริ่มจากเรื่องใกล้ๆ ตัวก่อนคือต้องเกี่ยวข้องกับเขา คนได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ก็คือตัวเขาก่อนเป็นคนแรก แล้วค่อยโยงไปสู่การปฏิบัติในวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งจะได้ผลดีกว่า ไปเริ่มจากเรื่องที่ไกลตัว เช่น ถ้าพูดว่าความโกรธทำให้เพื่อนบ้านเดือดร้อน กับพูดว่าความโกรธทำให้ระบบหัวใจว้าวุ่นใช้ความคิดไม่ได้ผล และอาจทำเส้นเลือดใน มองโป่งได้ เขาก็ต้องห่วงใยตนเองกว่าเพื่อนบ้าน เป็นต้น

    3) มุตเตชนา คือ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า เป็นการพูดให้คนฟังกล้าหาญ เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ว่าคนอย่างเราก็พอจะปฏิบัติได้ วิธีพูดที่จะให้ได้ผลตามข้อนี้ ก็คือ ต้องเชียร์ให้เห็นว่าทำได้ง่าย และต้องชมให้เห็นว่าเขามีศักยภาพที่จะทำได้นั่นเอง

    4)สัมปหังสนา คือ ปลอบชโลมให้สดชื่นร่าเริง เป็นการพูดให้ผู้ฟังมีความร่าเริงหมายถึงช่วยทำจิตใจของผู้ฟังให้แจ่มใสปลอดโปร่ง ไม่หดหู่ซบเซา แต่ไม่ได้หมายความไปถึงว่าจะต้องทำให้เขาหัวเราเาเหมือนดูจำอวด เรื่องนี้มีบางท่านเข้าใจผิดอยู่เหมือนกัน คือไปทำตัวเป็นนักตลกโปกา จนเสียภูมิรู้ภูมิธรรมของนักเล่าธรรมะ แท้ที่จริงแล้ว วัตถุประสงค์ที่พระพุทธองค์ทรงหมายถึงคือความร่าเริงแจ่มใสของจิตใจเท่านั้นเองส่วนคนฟังจะเบิกบานใจจนกลั้นหัวเราะไม่อยู่นั่นเป็นเรื่องของเขา

    โดยสรุป ผู้ที่เตรียมตนเองให้มีความพร้อมทั้ง 4 เรื่องนี้ คือ บุคลิกลักษณะที่น่าเลื่อมใสคำพูดที่สะอาด การแต่งกายที่สะอาดเหมาะสม และธรรมะที่ออกมาจากใจสะอาด ย่อมทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือและเลื่อมใสในการคบหาเป็นมิตรสหาย หากจะชักชวนไปทำความดีประการใด เขาย่อมมีความยินดีเต็มใจให้ความช่วยเหลือได้อย่างง่ายๆ เพราะใครๆ ก็ชอบคนที่พูดคุยแล้วสบายใจที่จะคุยด้วย นอกจากจะรู้สึกไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใครแล้ว ยังได้ปัญญาในการดำเนินชีวิตอีกด้วย เพียงเท่านี้ เครือข่ายคนดีก็จะเกิดขึ้นอย่างง่ายๆ และกลายมาเป็นรากฐานของการพันาท้องถิ่นให้เป็นปฏิรูปเทส 4 ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนมีศีลธรรมเข้มแข็งเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า ปราศจากอบายมุขกันต่อไป

 


GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0069996476173401 Mins