สังคมอินเดียก่อนยุคพุทธกาล

วันที่ 14 เมย. พ.ศ.2560

สังคมอินเดียก่อนยุคพุทธกาล

สังคมอินเดียก่อนยุคพุทธกาล, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, อินเดีย

2.1 ภูมิหลังทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์อินเดีย
    อินเดียเป็นประเทศสำคัญในภูมิภาคเอเชีย ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายพันปี ที่สำคัญอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่เก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมาแต่ครั้งโบราณกาลเมื่อกล่าวถึงอินเดีย มิใช่เฉพาะประเทศในซีกโลกตะวันออกเท่านั้นที่รู้จักโดยทั่วกัน แม้แต่ประเทศในซีกโลกตะวันตก ต่างก็รู้จักดินแดนแห่งนี้เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (356-323 B.C.) แห่งมาซิโดเนีย ครั้งหนึ่งพระองค์ได้เคยยาตราทัพมายังดินแดนแถบนี้ โดยมุ่งหมายจะยึดครองอินเดียให้จงได้ ตามข้อสันนิษฐานของนักโบราณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ภาคเหนือของอินเดียได้เคยมีการติดต่อกับอารยธรรมเมโสโปเตเมียในลุ่มแม่น้ำไทกริส และยูเฟรติสมาก่อนแล้ว


2.1.1 ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของอินเดีย
       อินเดียในยุคโบราณมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล ครอบคลุม 5 ประเทศในปัจจุบันคือ ประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล บังกลาเทศ และอัฟกานิสถาน อินเดียเป็นอนุทวีป (Subcontinent) ที่อยู่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เป็นดินเเดนรูปสามเหลี่ยมหัวกลับขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ใหญ่พอๆ กับทวีปยุโรป และมีพรมแดนที่ถูกปิดทุกด้าน โดยปลายยอดอยู่ทางด้านใต้ยื่นไปในมหาสมุทรอินเดีย แผ่นดินส่วนใหญ่จึงแวดล้อมด้วยทะเลส่วนแผ่นดินที่เหลือทั้งหมดจะแวดล้อมไปด้วยเทือกเขาสูงทั้งสิ้น โดยฝังตะวันออกติดเทือกเขาของพม่า ฝังตะวันตกติดเทือกเขาฮินดูกูชส่วนตอนเหนือซึ่งเป็นเหมือนฐานของสามเหลี่ยม ตลอดอาณาเขตมีเทือกเขาหิมาลัยพาดเป็นแนวยาวสูงตระหง่าน

     อาณาบริเวณของอินเดียโบราณนั้น แบ่งได้เป็น 3 เขต ได้แก่ เขตเทือกเขาหิมาลัยเขตลุ่มแม่น้ำสายใหญ่ และเขตที่ราบสูงทางตอนใต้ ด้านเหนือสุดของดินเเดน ลับ ล้างไปด้วยพืดเขาสูงลิบลิ่วซึ่งปกคลุมขาวโพลนด้วยหิมะตลอดปี เป็นแนวกำแพงภูเขามหึมาที่ทอดตัวโค้งเหมือนกับดาบโง้ง แบ่งอนุทวีปอินเดียออกจากส่วนอื่นของทวีปเอเชีย ยอดเขาหิมาลัยและทิวเขาการาโกรัม (Karakoram) ด้านที่ประชิดกันเป็นส่วนสูงที่สุดในโลกและยาวเรื่อยมาจนถึงปลายด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้านแนวเทือกเขาฮินดูกูช (Hindukush) ยามที่ต้องแสงพระอาทิตย์แลประดุจเอาทองมาทาบทา บางเวลากลับแลดูสลัวด้วยเมฆหมอกที่ ลับซับซ้อนไปจนสุดสายตา

    ถัดมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่ไพศาล มีทุ่งโล่งสาลีเกษตรที่ได้รับความสมบูรณ์จากแม่น้ำทั้งหลาย อันมีแม่น้ำสายสำคัญ 3 สาย เรียงจากตะวันตกไปหาตะวันออก คือแม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา และแม่น้ำพรหมบุตร ซึ่งรับน้ำที่เกิดจากการละลายลงของหิมะที่ปกคลุมยอดเขาหิมาลัยในฤดูร้อน นำความอุดมสมบูรณ์มาให้อินเดีย จนกระทั่งก่อกำเนิดเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญของอินเดียมาแต่สมัยโบราณ

     ต่อจากเทือกเขาวินธัย (Vindhyas) ลงมา เป็นที่ราบสูงทางตอนใต้คือบริเวณที่เป็นคาบสมุทรของอินเดียซึ่งเรียกว่า ที่ราบสูงเดคคาน (Deccan) และทะเลทรายธาร์ (Thar) ที่ทั้งร้อนและแห้งแล้ง บางคราวดินแดนแห่งนี้ก็หนาวเหน็บจนหิมะจับขาวโพลน บางคราวแผ่นดินก็ร้อนระอุดูเวิ้งว้างปราศจากพืชพันธุ์เพราะแทบจะไม่มีฝนตกเลยส่วนที่ราบต่ำสำหรับปลูกพืชผลตามลุ่มน้ำ บางปีก็มีน้ำเอ่อล้นฝังจนเกิดอุทกภัยคร่าชีวิตมนุษย์ไปครั้งละนับร้อยนับพันคนแต่บางปีในหน้าแล้งแม่น้ำสายใหญ่ๆ ก็กลับกลายเป็นดุจทะเลทรายที่แห้งผาก

    ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ถูกแบ่งด้วยภูเขา แม่น้ำ และทะเลทรายออกเป็นเขตๆ จึงกลายเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไปมาติดต่อระหว่างกัน ทำให้อินเดียแบ่งออกเป็นหลากหลายเผ่าพันธุ์ จำนวนภาษาที่ใช้ก็มีมากกว่าร้อยภาษา ยิ่งอินเดียภาคเหนือกับอินเดียภาคใต้ด้วยแล้วจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงราวกับเป็นคนละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสีผิว ภาษา หรือพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ล้วนต่างกัน จนยากที่จะกล่าวว่าเป็นผืนดินเดียวกัน ดังนั้นความมีเอกภาพของดินแดนแห่งนี้จึงเกิดขึ้นได้ยาก จะมีก็แต่ มัยของพระเจ้าอโศกมหาราชเท่านั้น ที่ทรงแผ่พระราชอำนาจเหนืออาณาจักรอันไพศาล กว้างไกลไปจนครอบคลุมอนุทวีปเกือบทั้งหมด


2.1.2 แหล่งกำเนิดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
     แต่เดิมนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าประวัติศาสตร์ของอินเดียเริ่มต้นก่อนยุคพุทธกาลประมาณพันปี แต่เมื่อมีการขุดพบเมืองหลายเมืองบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่งเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมของอินเดียในกาลต่อมา ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอินเดียจึงต้องย้อนไปอีกนับพันปี จนสันนิษฐานว่าชุมชนแห่งแรกที่มีขีดความเจริญของความเป็นอารยธรรม เริ่มต้นขึ้นในราว 2,800 ปีก่อนพุทธกาลในยุคสำริด (Bronze Age) และชุมชนแห่งนี้เองที่เรียกว่า "อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ" (Indus Civilization) ซึ่งคาดว่าเป็นอารยธรรมยุคเดียวกันกับอารยธรรมเมโสโปเตเมียในลุ่มแม่น้ำไทกริ และยูเฟรติสและอารยธรรมอียิปต์ในลุ่มแม่น้ำไนล์

     คำว่า "สินธุ" หรือ "สินธู" ในภาษาสันสกฤตหมายถึงสายน้ำหรือแม่น้ำ ชื่อของแม่น้ำสินธุถ้าเขียนเป็นตัวอักษรโรมันคือ ส่วนชาวเปอร์เซียซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางตะวันตกของอินเดียออกเสียง S ไม่ได้ จึงแทนเสียง S ด้วยเสียง H ชื่อของแม่น้ำนี้จึงกลายเป็นฮินดู (Hindu)ต่อมาชาวอังกฤษเข้ามาปกครองอินเดียจึงเรียกว่า Indus เป็นการเรียกตามชาวกรีกโบราณ ซึ่งยืมรูปภาษาที่มีพื้นฐานการใช้มาจากชาวเปอร์เซีย โดยมีการตัดตัว H ในคำว่าฮินดู (Hindu) ทิ้งแล้วสร้างคำขึ้นมาเป็นคำว่า "อินดุส" (Indus) และ "อินเดีย" (India) โดยคำแรกใช้เรียกชื่อของแม่น้ำส่วนคำหลังใช้เรียกชื่อประเทศ ทั้งที่แต่เดิมประเทศอินเดียมีชื่อที่เรียกกันจนคุ้นเคยว่า "ภารตวรรษ" (Bharatavarsa) ซึ่งเป็นพระนามของปฐมกษัตริย์แห่งอินเดียตามคัมภีร์มหาภารตะ (Mahabharata) ที่ชาวอินเดียนับถือ นอกจากจะเรียกว่าภารตวรรษแล้ว อินเดียยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "ฮินดูสถาน" (Hindustan) มาจากภาษาที่ชาวเปอร์เซียเรียกขานดินแดนแห่งนี้

  อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุหรือที่รู้จักกันในแวดวงของนักโบราณคดีว่า "อารยธรรมารัปปา" (Harappa Civilization) ถูกค้นพบโดยบังเอิญเมื่อปี คศ.1856 ระหว่างการสำรวจเส้นทางเพื่อสร้างทางรถไฟสายละอร์มุลตานในปากีสถาน จากนั้นเซอร์จอห์น มาร์แชลล์ (Sir John Marshall) นักโบราณคดีชาวอังกฤษจึงเข้ามาทำการสำรวจอย่างจริงจัง จนกระทั่งขุดพบซากเมืองโบราณ องแห่งที่ซ่อนตัวอยู่ในเนินดินมหึมาริมแม่น้ำสินธุ คือ เมือฮารัปปา (Harappa) ในรัฐปัญจาบ (Panjap) และเมืองโมเนโจ ดาโร (Mohenjo Daro) ในรัฐสินธ์ (Sind) สันนิษฐานว่าเมืองทั้งสองเป็นเมืองศูนย์กลาง หรือเป็นอู่อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ แม้ว่าต่อมายังมีการค้นพบที่ตั้งของเมืองต่างๆ อีกกว่า 2,500 แห่ง

     จากการขุดสำรวจเมืองที่ทำกันซ้ำแล้วซ้ำอีกลึกถึงสิบเมตร เป็นที่น่าแปลกใจว่าบริเวณเมืองดังกล่าวเป็นนครโบราณอันรุ่งเรือง เป็นอารยธรรมเมืองที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือมีการวางผังเมืองเหมือนกัน การตัดถนนที่เป็นรูปแบบเดียวกัน บ้านเรือนก่ออิฐที่มีขนาดและรูปร่างของก้อนอิฐเหมือนกัน กำแพงเมืองและป้อมปราการที่แข็งแรง มียุ้งฉาง อ่างน้ำ ระบบท่อระบายน้ำถนนน้อยใหญ่ล้วนปูอิฐเชื่อมต่อกันอย่างดีประดุจตาข่าย

     นักโบราณคดีจึงลงความเห็นว่า เมืองแรกสุดในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว และเชื่อว่าเมืองเหล่านั้น คงมีรัฐบาลกลางที่รวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลางและมีศิลปวิทยาการที่เจริญก้าวหน้าในระดับหนึ่งแล้ว แต่ไม่พบหลักฐานที่เป็นตัวเขียนหรือตัวอักษรจารึกใดๆ ทำให้การกำหนดอายุของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุทำได้ยากยิ่ง แต่ก็พอจะอนุมานเทียบเคียงได้จากซากสิ่งก่อสร้างและวัตถุที่ขุดค้นพบตามวิธีการของนักโบราณคดีเท่านั้น

      อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุจะสิ้นสุดลงเมื่อไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด นักโบราณคดีจึงอนุมานว่า อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุแห่งนี้คงเจริญรุ่งเรืองอยู่นานประมาณ 1,000 ปี ก่อนที่จะเสื่อมสลายลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ บ้างก็สันนิษฐานว่าอาจมีสาเหตุมาจากแม่น้ำ รัสวดีทางตอนเหนือที่แห้งเหือดไปจนกลายสภาพเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง ทำให้ผู้คนจำต้องละทิ้งถิ่นฐานเดิมแล้วอพยพไปหาแหล่งทำกินแห่งใหม่


2.1.3 การเข้ามาของชนเผ่าอารยัน
     นักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่า ชนพื้นเมืองเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ ณ ดินแดนลุ่มแม่น้ำสินธุ และที่กระจายอยู่ทั่วอินเดียตั้งแต่ก่อนยุคอารยธรรม คือพวกเงาะเชื้อสายนีกรอยด์ (Nigroid) หรือนิโกร มีลักษณะผิวดำ ผมหยิก ล่าสัตว์เลี้ยงชีวิต มีลูกดอกชุบยางน่องเป็นอาวุธต่อมาพวกเงาะซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเหล่านี้ได้ผ มกลมกลืนกับชนเชื้อสายมองโกลอยด์(Mongoloid) ที่อพยพมาจากตะวันออกเฉียงเหนือ จนในที่สุดกลายเป็นชนเผ่าพันธุ์ผสมเรียกว่า พวกนิษาท (Proto-Australoid)

     ในเวลาต่อมา มีอีกเผ่าพันธุ์หนึ่ง มีผิวสีคล้ำ ผมหยิก นัยน์ตาพอง ร่างกายไม่สูงนัก พากันอพยพมาจากแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เข้ามาอยู่แถบเปอร์เซีย จากนั้นจึงเข้ามาตั้งรกรากและเริ่มสร้างอารยธรรมขึ้นตรงบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ชนเหล่านี้รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "ดราวิเดียน" (Dravidian) หรือที่ในภาษาสัน กฤตเรียกว่า "ทราวิฑ"

  ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์ทั่วโลกยอมรับกันว่า ชนชาติดราวิเดียนถือว่าเป็นเจ้าของอารยธรรมโบราณ เป็นชนชาติแรกที่ตั้งรกรากสร้างรัฐและบ้านเมืองอยู่ตามลุ่มแม่น้ำสำคัญของโลก เช่น ลุ่มแม่น้ำไนล์ ลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส ลุ่มแม่น้ำสินธุ และรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ อารยธรรมอียิปต์ก็ดี อารยธรรมเมโสโปเตเมียก็ดี อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุก็ดี ล้วนเป็นอารยธรรมของชนผิวดำที่เรียกว่าดราวิเดียนทั้งสิ้น

   เมื่อชาวดราวิเดียนหรือทราวิฑทวีจำนวนมากขึ้น จึงเข้าไปปะปนอยู่กับพวกนิษาทซึ่งอาศัยอยู่ก่อนหน้านั้น และเพราะเหตุที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ผิวดำคล้ำ ผมหยิก จมูกกว้างริมฝีปากหนา จึงผสมปนเปกันจนกลายเป็นพวกเดียวกัน และเรียกกันเองในหมู่ชนพื้นเมืองว่า "มิลักขะ"

      ต่อมาราว 1,0001,500 ปีก่อนพุทธศักราช การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ก็ได้เกิดขึ้น เมื่อชาวทราวิฑหรือมิลักขะพ่ายแพ้แก่ชาว "อารยัน" (Aryans) ที่รุกมาจากตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีป ข้ามเขาฮินดูกูช ผ่านช่องแคบไคเบอร์ (Khyber) เข้าสู่อินเดียทางแคว้นอัฟกานิสถาน แล้วเข้าแย่งชิงดินแดนของพวกทราวิฑ จนสามารถครอบครองอินเดียตอนเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ และตอนกลางไว้ได้ทั้งหมด ขณะเดียวกันก็ผลักดันชาวทราวิฑซึ่งไม่ช่ำชองในการสู้รบ ให้ถอยร่นหนีไปหลายทิศทาง คือ ทางตะวันออกไปสู่ลุ่มแม่น้ำคงคาและถูกขับเลยไปทางดินแดนอัสัม ทราวิฑอีกพวกหนึ่งหนีลงมาทางตอนใต้ของอินเดียปัจจุบัน กระทั่งข้ามไปสู่ลังกา หลังจากมีชัยชนะเหนือชาวทราวิฑหรือมิลักขะแล้วชาวอารยันจึงเรียกผู้พ่ายแพ้อย่างเหยียดหยามว่า "ทาสะ" หรือ "ทัสยุ" (Dasyas) ซึ่งเป็นภาษาสัน กฤต มีความหมายว่า ทาส คนใช้ หรือคนชั้นต่ำ

      พวกอารยันเป็นชนสายพันธุ์คอเคซอยด์ (Caucasoid) มีถิ่นเดิมอยู่บริเวณทุ่งหญ้าทางตอนใต้ของรัสเซีย มีลักษณะผิวขาว ร่างกายสูงโปร่ง มีรูปหน้ายาวและจมูกโด่ง ชนเผ่าอารยันเรียกชื่อเผ่าของตนว่า อารยัน มีความหมายว่า ผู้เจริญ เพราะถือว่าเป็นชนชาติที่มีอารยธรรมแล้ว ความเจริญที่สำคัญของชาวอารยันคือสามารถจับม้าป่าที่มีอยู่มากมายในทุ่งหญ้ามาฝึกหัดจนเชื่องเพื่อเทียมรถสองล้อ และนอกจากจะมีม้าที่ช่วยให้เคลื่อนที่เร็วแล้ว ยังสามารถประดิษฐ์รถรบเทียมด้วยม้าสองตัวที่มีน้ำหนักเบาเคลื่อนไหวได้คล่องตัว ล้อรถทั้งสองทำจากไม้ดัดเป็นวงกลม ติดกับเพลา มีดุมตรงกลางและมีซี่ล้อโดยรอบ ซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าอารยธรรมสุเมเรียนที่ยังใช้ขอนไม้ตันทำเป็นล้อและลากด้วยลา

     ชาวอารยันเป็นพวกโนแมด (Nomads) ที่ชอบเคลื่อนย้ายที่ ไม่ถึงกับจะเรียกว่าเป็นพวกเร่ร่อน แต่ก็อยู่ไม่ติดที่ โดยจะท่องเที่ยวตามฝูงสัตว์ที่ตนเลี้ยงไว้ไปบนที่ราบอันกว้างใหญ่ไม่ชำนาญในการเพาะปลูก การทำกสิกรรมจึงมีเพียงเล็กน้อยและค่อนข้างจำกัด แต่มีหัวในการต่อสู้รุกรบอยู่เสมอ และยกย่องชายผู้เป็นนักรบ

     การอพยพเคลื่อนย้ายของชาวอารยัน แบ่งออกเป็นสองสาย คือสายหนึ่งมุ่งไปทางตะวันตกตอนใต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นบรรพบุรุษของชาวยุโรป และอีกสายหนึ่งอพยพไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นจึงเข้าสู่เปอร์เซียและอินเดียตามที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งนี้พวกอารยันที่เข้ามาใหม่นั้นค่อยๆ ทยอยเข้ามาในอินเดียเป็นระลอกๆ อยู่นานเป็นร้อยปี จนกระทั่งหยุดการอพยพเมื่อราว 800 ปีก่อนพุทธกาล

     หลังจากที่ชาวอารยันตั้งหลักแหล่งในอินเดียแล้ว ก็มิได้สร้างอารยธรรมเมืองซ้อนทับอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุที่ถูกทำลายลงไปแต่อย่างใด กลับยึดป่า แม่น้ำและทะเลเป็นของตัวเองเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์โดยไม่จำเป็นต้องย้ายถิ่นอีกต่อไป จากนั้นก็เริ่มต้นตั้งหลักปักฐานสร้างสังคมที่ผ มผสานความเป็นอารยันของพวกตนและสังคมเกษตรกรรมของชาวพื้นถิ่นเดิมคือพวกทราวิฑ รวมทั้งผสมกลมกลืนเอาวันธรรมดั้งเดิมของพวกทราวิฑไว้ และสร้างอารยธรรมใหม่ของตนขึ้นอย่างแข็งแกร่งสืบต่อมา ในที่สุดจึงเกิดเป็นอารยธรรม 3 สาย คือ

1) อารยธรรมดราวิเดียนแท้
2) อารยธรรมอารยัน
3) อารยธรรมผสมระหว่างดราวิเดียนกับอารยัน

      นักประวัติศาสตร์ศาสนาชี้ว่า อารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองและคงอยู่ต่อมาก็คือ อารยธรรมสายที่ 3 ที่มีการผสมผสานกันระหว่างอารยธรรมดราวิเวียนแท้กับอารยธรรมใหม่ในอัตราส่วนที่เหมาะสม

 


GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0019454638163249 Mins