กำเนิดและพัฒนาการทางความเชื่อของศาสนาพราหมณ์

วันที่ 14 เมย. พ.ศ.2560

กำเนิดและพัฒนาการทางความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
 

กำเนิดและพัฒนาการทางความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ , DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, อินเดีย

   ในประวัติศาสตร์ของอินเดีย ถือว่าศาสนาพราหมณ์เป็นแหล่งกำเนิดลัทธิประเพณีของตน วัฒนธรรมพราหมณ์รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีและปรัชญาพราหมณ์นั้น เชื่อว่าเกิดจากการผสมผสานวันธรรมอารยันเข้ากับวัฒนธรรมทราวิฑที่สูงกว่า การผสมผสานนี้เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ตามการบุกรุกของพวกอารยัน ดังจะกล่าวต่อไปนี้

2.2.1 ยุคพระเวท (Vedic Period) ประมาณ 800  300 ปี ก่อนพุทธศักราช

ที่มาของการแบ่งวรรณะในระบบสังคมดั้งเดิม

     เมื่อชาวอารยันเข้ามาสู่อินเดียแล้ว ก็ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือบริเวณเหนือแม่น้ำสินธุขึ้นไป ชาวอารยันนั้นไม่ใช่พวกป่าเถื่อน แต่จัดว่ามีวันธรรมในระดับหนึ่งแล้ว แม้ความเจริญยังไม่ถึงขนาดสามารถสร้างบ้านสร้างเมือง และยังไม่มีการรวมตัวกันภายใต้ระบอบกษัตริย์เป็นใหญ่เหมือนอย่างพวกทราวิฑที่เป็นเจ้าของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุแต่ถึงกระนั้นก็มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มและปกครองกันในระดับเผ่า (tribe) โดยมีหัวหน้าควบคุมดูแลเรียกว่าราชา (raja) และมักสืบต่อกันตามตระกูล แต่ราชาของเผ่าอารยันมิใช่กษัตริย์ที่มีอำนาจสิทธิ์ขาด เพราะอำนาจการปกครองส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาของเผ่า

    ก่อนที่พวกอารยันจะเข้ามาในอินเดีย พวกอารยันคงมีการแบ่งระดับชั้นของคนในเผ่าด้วยกันเองอยู่แล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ระหว่างคนชั้นสูงที่เป็นผู้ปกครองกับคนธรรมดาสามัญซึ่งอยู่ภายใต้การปกครอง และที่ขาดมิได้คือกลุ่มนักบวชที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมบูชา เพราะชาวอารยันนับถือธรรมชาติบูชาเทพเจ้าลมฟ้าอากาศมากมาย

    ครั้นพวกอารยันมาถึงอินเดียแล้ว พบว่าคนพื้นเมืองมีสีผิวคล้ำกว่าพวกตนมาก จึงหวั่นเกรงว่าจะมีการผสมปนเปกันจนแยกสายเลือดไม่ออก จึงเกิดการเหยียดสีผิวขึ้น โดยเฉพาะการที่ชาวอารยันไปสมสู่กับคนต่างเผ่า เท่ากับเป็นการลดเกียรติภูมิของชาวอารยันอย่างยิ่ง

     จากปัญหาทางเชื้อชาติและการปฏิบัติต่อกันระหว่างชนทั้งสองกลุ่มดังกล่าว การแบ่งวรรณะจึงเริ่มปรากฏขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดระบบระเบียบของคนในสังคมเสียใหม่ตามฐานะและหน้าที่ของบุคคล คือ

1) พราหมณ์ (Brahmana) เป็นผู้นำประกอบพิธีบูชาเทพเจ้า
2) กษัตริย์ (Kshatriya) เป็นนักรบ นักปกครอง และเป็นเจ้าของที่ดิน
3) แพศย์ (Vaishya) เป็นชาวบ้านชาวเมืองที่ทำไร่ไถนา ค้าขาย และช่างฝีมือ
4) ศูทร (Sudra) เป็นทาสหรือกรรมกร

    จะเห็นว่า พวกศูทรเป็นชนกลุ่มใหม่ที่ถูกแบ่งแยกออกไปอย่างชัดเจน และพวกศูทรก็มิใช่ใครอื่น คือพวกทราวิฑและนิษาทที่เป็นเจ้าถิ่นนั่นเอง แต่หลังจากพ่ายแพ้ต่อพวกอารยันแล้วก็ถูกชาวอารยันลดทอนฐานะให้เป็นเพียงทา รับใช้ และยังเรียกอย่างดูหมิ่นว่าพวกทาส ทัสยุหรือคนชั้นต่ำ

     การจัดระบบทางสังคมในขั้นแรก ถือว่ายังไม่รุนแรงเท่าใด และหากมองในแง่ของการปกครองก็ยังนับว่าเป็นประโยชน์มาก แต่ต่อมาเมื่อระบบวรรณะถูกแปรความหมายไปในทางอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อผลประโยชน์ของพราหมณ์ซึ่งถือเป็นวรรณะสูงสุด การแบ่งชั้นวรรณะจึงทวีความรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นความเหยียดหยามและลิดรอนสิทธิของผู้มีวรรณะต่ำกว่า ซึ่งรายละเอียดนั้นจะได้ศึกษากันต่อไปในหัวข้อยุคพราหมณะ


คัมภีร์พระเวท
   ก่อนที่ชาวอารยันจะเข้ามาครอบครองอินเดีย ชาวอารยันมีความเชื่อดั้งเดิมในทางศาสนาเกี่ยวโยงกับเทพเจ้าแห่งดินฟ้าอากาศอยู่ก่อนแล้ว เช่น เทพเจ้าผู้สร้างโลกคือ พระอินทร์ (Indra) ซึ่งชาวอารยันนับถือว่าเป็นเทพที่มีอำนาจสูงสุด เพราะเชื่อว่าพระอินทร์เป็นเทพเจ้าแห่งสงครามซึ่งนำทัพของอารยันเข้าห้ำหั่นที่มั่นของพวกทาส นอกจากพระอินทร์แล้ว ยังมีเทพเจ้าองค์สำคัญอีกมากมาย ได้แก่ เทพแห่งไฟคืออัคนี (Agni) เทพแห่งดวงอาทิตย์คือสุริยะ (Surya) เทพแห่งพระจันทร์คือโสมา (Soma) เทพแห่งน้ำและฝนคือวรุณ (Varuna) และเทพแห่งความตายและการทำลายคือยม (Yama) เหล่านี้เป็นต้น

     เหตุที่ชาวอารยันยกเอาธรรมชาติขึ้นเป็นเทพเจ้า หรือเทวะ (Devas) เพราะมีความเชื่อว่าธรรมชาติเหล่านี้ทรงไว้ซึ่งมหิทธานุภาพ ที่สามารถจะบันดาลให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งนำความฉิบหายและคุณประโยชน์มาให้แก่มนุษย์ได้ ฉะนั้นจึงพากันยึดถือธรรมชาติเหล่านั้นเป็นที่พึ่ง และยังเชื่อต่อไปอีกว่า เทวะและวิญญาณของบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วนั้น มีภพอยู่เบื้องบน การที่จะส่งเครื่องบูชาให้ไปถึงวิญญาณเหล่านั้นได้ ก็ด้วยการเผาไฟเพื่อบวงสรวงบูชา โดยเชื่อว่าควันไฟจะลอยขึ้นไปและนำคำขอพรต่างๆ ไปถึงเทพเจ้าให้ได้รับทราบในที่สุดจึงทำให้เกิดพิธีกรรมที่จะสื่อสารกับเทพเจ้าคือการบูชาเทพเจ้าด้วยไฟ หรือที่เรียกว่าการบูชายัญเพื่อให้เทพเจ้าพอใจ จะได้ประทานความสุขความสำเร็จให้ตามความปรารถนา

    ต่อมาเมื่อชาวอารยันเข้ามาสู่อินเดียแล้ว จึงได้นำเอาความนึกคิดทางด้านศาสนาของพวกตน ซึ่งประกอบด้วยลัทธิพิธีที่เกี่ยวกับการใช้ไฟในการประกอบพิธีพลีกรรม รวมถึงวิหารหรือเทวาลัยสำหรับเป็นที่สิง ถิตของเทพเจ้า เข้าผสมผสานกับความเชื่อทางศาสนาของชาวทราวิฑพื้นเมืองที่นับถือธรรมชาติเช่นเดียวกัน แต่มุ่งเน้นธรรมชาติทั้ง 4 คือดิน น้ำ ลม และไฟที่มอบความอุดมสมบูรณ์ให้กับมนุษย์มากกว่า ในที่สุดลัทธิประเพณีทางศาสนาของอารยันก็ได้ผสมกลมกลืนกับความเชื่อของชนพื้นเมืองเดิมจนแยกกันไม่ออก ก่อตัวเป็นลัทธิศาสนาใหม่ที่พัฒนาจนกลายมาเป็นศาสนาพราหมณ์ (Brahmana) ที่แพร่หลายไปทั่วแผ่นดินอินเดียมาจนถึงปัจจุบัน

   เหตุที่เรียกกันว่า "ศาสนาพราหมณ์" เนื่องจากมีวรรณะพราหมณ์เป็นผู้ศึกษาและสืบทอดความรู้เหล่านั้น ฉะนั้นพราหมณ์จึงเป็นกลุ่มผู้รู้ที่วรรณะอื่นต้องนับถือ ไม่เว้นแม้แต่วรรณะกษัตริย์ที่ต้องเชื่อฟัง เนื่องจากพราหมณ์สามารถติดต่อกับเทพเจ้าได้โดยตรงและยังมีความรู้ความสามารถในการประกอบพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าเหล่านั้นอีกด้วย

    การบูชายัญจึงเป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติกันเรื่อยมาโดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งแต่เดิมนั้น การบูชายัญในยุคแรกๆ จะใช้เนยใสเนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเท่านั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีการฆ่าชีวิตเพื่อบูชายัญแต่อย่างใด แต่ต่อมาเมื่อพิธีกรรมเปลี่ยนแปลงไป มีการนำเอาสัตว์และมนุษย์มาฆ่าเพื่อบูชายัญ เพราะคนอินเดียใน มัยนั้นเชื่อว่าการประกอบพิธีบูชายัญดังกล่าวจะช่วยให้ชีวิตยืนยาว มั่นคงด้วยธนสารสมบัติ เพียบพร้อมด้วยทายาทและเกียรติยศชื่อเสียง

     ศาสนาพราหมณ์ที่พวกอารยันได้พัฒนาขึ้นนั้น เต็มไปด้วยบทโศลก สรรเสริญบูชาเทพเจ้า รวมถึงตำราเกี่ยวกับพิธีกรรมและเรื่องราวทางด้านปรัชญาอื่นๆ ที่เชื่อกันว่าเป็นคำทิพย์ที่ได้ยินมาจากเทพเจ้า โดยมีพราหมณ์เป็นผู้รับมาจากพระโอษฐ์ของพระพรหม (Brahma) ซึ่งเป็นพระผู้สร้างโลกและสรรพสัตว์โดยตรง ต่อมาได้มีการจัดรวบรวมบทสวดเหล่านั้นขึ้นเป็นหมวดหมู่ และบันทึกไว้ด้วยภาษาสัน กฤตโบราณซึ่งเป็นภาษาเก่าแก่ชั้นสูง เรียกว่า คัมภีร์พระเวท (Veda)

      นับแต่นั้นมาศาสนาพราหมณ์ถือว่า พระเวทเป็นตัวคัมภีร์ที่เป็นนิรันดร เกิดจากการดลใจของเทพเจ้า จึงพากันยอมรับนับถือไว้ในฐานะสัจธรรมที่เป็นแก่นแท้ของศา นาพราหมณ์แม้แต่ตัวหนังสือที่จดคัมภีร์พระเวทก็ยังได้รับการนับถืออย่างยิ่งราวกับเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งโดยเฉพาะพยางค์ตอนขึ้นต้นโศลกที่ออกเสียงว่าโอม (Om) ถือว่าเป็นสิ่งที่ประจุพลังอำนาจและความลึกลับของคัมภีร์พระเวทไว้อย่างเหลือเชื่อ

     ที่มาของพระเวทเริ่มต้นด้วย ฤคเวท (Rigvada) ซึ่งเป็นบทสวดสรรเสริญและอ้อนวอนเทพเจ้า จำนวน 1,028 บท และคาดว่ามีอายุอยู่ราว 500 ปีก่อนพุทธศักราช เล่าถึงเรื่องราวของเทพเจ้าของเผ่าอารยัน คือ พระอินทร์ซึ่งช่วยให้พวกอารยันได้รบพุ่งมีชัยต่อพวกทัสยุ และกล่าวเหยียดหยามพวกทัสยุว่าเป็นพวกอสูรที่เป็นอริกับเทพเจ้า คัมภีร์ฤคเวทนี้ถือว่าเป็นคัมภีร์ที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ทำให้ทราบความคิดความเชื่อของชาวอารยันในสมัยนั้น

     ต่อมาในหมู่พวกพราหมณ์ที่ประกอบพิธีทางศาสนา ได้พยายามคัดเลือกเฉพาะบทสวดขับบางบทในคัมภีร์พระเวทมาเรียงใหม่และใช้ขับสาธยายมนตร์บูชาเทวดา (โสมเทพ) ด้วยน้ำโสมที่คั้นมาจากต้นโสมบนเขามูชวัตในเทือกเขาหิมาลัย คัมภีร์ที่ใช้ในการบรรยายการบูชาเทวดาด้วยน้ำโสมนี้เรียกว่าสามเวท (Samveda) เป็นคัมภีร์ที่แตกออกมาจากฤคเวท แต่ภายหลังมีเนื้อหามากขึ้นก็เลยกลายเป็นอีกคัมภีร์หนึ่ง แยกไว้เป็นเพลงขับสาธยายมนตร์โดยเฉพาะ

     ต่อเมื่อพวกอารยันแผ่อำนาจไปทางตะวันออกเฉียงใต้แถบเเคว้นอัมพาล กุรุเกษตรตลอดจนแคว้นปัญจาบในลุ่มน้ำคงคาและยมุนาตอนบน ระหว่างนั้นพราหมณ์ก็ได้คัดเอามนตร์โศลกในคัมภีร์ฤคเวทมาดัดแปลงเรียบเรียงด้วยร้อยแก้วและจัดเข้าคู่ไว้เป็นชุดๆเพื่อสะดวกในการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา จึงเกิดเป็นคัมภีร์ยชุรเวท (Yajurveda) ใช้อธิบายการประกอบพิธีบวงสรวงบูชา

     คัมภีร์พระเวททั้ง 3 คัมภีร์คือ ฤคเวทสามเวท ยชุรเวท รวมเรียกว่า ไตรเวท หรือไตรเพทในยุคที่พราหมณ์เรืองอำนาจอยู่ คัมภีร์ไตรเพทถือเป็นเสมือนอาญาสิทธิ์ของพราหมณ์ที่ทุกคนต้องเคารพ ใครจะได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ก็จะต้องเจนจบไตรเพททั้งสิ้น ดังนั้นไตรเพทจึงเป็นทั้งคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์และเป็นหลักสูตรการศึกษาของเหล่าพราหมณาจารย์ทั้งหลายอีกด้วย

    ครั้นมาถึงสมัยมหาภารตยุทธ์ในปลายยุคพระเวท ศาสนาพราหมณ์ถูกสั่นคลอนด้วยลัทธิความเชื่ออื่นที่เริ่มต้นเกิดขึ้นติดตามมา พวกพราหมณ์จึงได้รวบรวมไสยศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้เพื่อเรียกศรัทธาให้ศาสนาพราหมณ์กลับมาเป็นที่ยึดเหนี่ยวเหมือนเดิม กลายเป็นพระเวทที่ 4 ของพราหมณ์ที่เรียกว่า อาถรรพเวท (Atharveda) ประกอบด้วยมนตร์โศลกของเก่าซึ่งโดยมากเป็นมนตร์เสกเป่าเพื่อทำลายสิ่งอัปมงคลต่างๆ แก้ความเจ็บป่วย อยู่ยงคงกระพัน ไล่ผีสักยันต์ฝังรูปฝังรอย ทำเสน่ห์ยาแฝดสะเดาะเคราะห์ แก้เสนียดจัญไร และภยันตรายต่างๆ นอกจากนี้ยังมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเมถุนศาสตร์อีกด้วย

     คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญสูงสุด ที่เป็นทั้งหลักศาสนาและหลักการดำเนินชีวิตที่เคร่งครัดของชาวอารยัน แม้ว่าในสมัยนั้นจะมีการขีดเขียนตัวหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็ตาม แต่พวกพราหมณ์ก็ยังนิยมการศึกษาและท่องจำด้วยวิธีที่เรียกว่ามุขปาฐะอยู่ดี ทั้งนี้เพื่อให้ความเคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท และในการสวดสาธยายพระเวทนั้น จะต้องสวดให้ถูกต้องอักขระ พยัญชนะ ให้ถูกวรรคตอนและชัดเจนเพราะหากสวดผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป ก็ถือว่าเป็นข้อเสียหายที่จะมีผลต่อผู้ทำพิธีกรรมหรืออาจทำให้ไม่ได้รับผลตามที่ปรารถนา


2.2.2 ยุคพราหมณะ (Brahmana Period) ประมาณ 300100 ปี ก่อนพุทธศักราช

กำเนิดพระพรหมและความเชื่อเรื่องตรีมูรติ

     เมื่อสำรวจวรรณคดีเก่าแก่ของอินเดีย เช่น คัมภีร์ฤคเวท หรือคัมภีร์พระเวทอื่นๆ นักศึกษาจะไม่มีทางได้พบเรื่องราวของเทพเจ้าที่เรียกว่า "พระพรหม" นี้เลย นั่นแสดงว่าในสมัยพระเวทยุคต้น ยังไม่มีการกล่าวถึงพระพรหมแต่อย่างใด

    เท่าที่ทราบคำว่า "พรหมา" หรือ "พระพรหม" ปรากฏในวรรณคดีอินเดียเป็นครั้งแรกเมื่อปลายสมัยพระเวท ในคัมภีร์ศตปถพราหมณะ ซึ่งเป็นคัมภีร์เก่าแก่ในยุคพราหมณะ (ประมาณ 2,600 ถึง 2,800 ปีมาแล้ว) ได้กล่าวถึงพระพรหมว่าเป็นพระผู้สร้างไฟและสรรพสิ่งทั้งหลายเป็นเทวะในอุดมคติที่เป็นนามธรรมที่ไม่มีตัวตนและไม่มีเพศ และที่สำคัญคือยกฐานะให้สูงส่งยิ่งกว่าพระอินทร์ ที่พราหมณ์เคยนับถือกันว่าเป็นเทพสูงสุด แต่ภายหลังพระอินทร์กลับเริ่มเสื่อมความนิยมเพราะเมาน้ำโสมบ้าง เจ้าชู้บ้าง รบแพ้อสูรบ้าง พวกพราหมณ์จึงต้องสร้างพระพรหมที่ไม่มีแม้ตัวตนและอยู่เหนือโลกขึ้นมาทดแทนและเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

    เมื่อสร้างพระพรหมขึ้นเป็นเทพสูงสุดแทนพระอินทร์แล้ว พวกพราหมณ์ก็ยังได้สร้างนิยายเรื่องพระเจ้าสร้างโลกไว้ด้วยว่า ก่อนนั้นโลกยังเป็นสภาวะที่ว่างเปล่า เมื่อกาลผ่านไปก็มีสภาวะอย่างหนึ่งมารวมประชุมกันเข้าเป็นก้อนกลมเหมือนไข่ และพระพรหมก็ถืออุบัติขึ้นในไข่ฟองนั้น บันดาลให้ไข่แตกออกเป็น องซีก ซีกบนเป็นสวรรค์ ซีกล่างเป็นโลกมนุษย์ พระพรหมถิตอยู่ในโลกสวรรค์ จากนั้นพระพรหมจึงได้สร้างพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาว ฝน พายุ ไฟ และสรรพสัตว์ต่างๆ จนเต็มโลก แล้วบันดาลให้สัตว์เหล่านั้นเป็นไปตามอำนาจของพระพรหมเรียกว่า พรหมลิขิต ดังนั้นชะตาชีวิตของคนเราจะเป็นเช่นไรนั้น พระพรหมได้ขีดเส้นชะตาชีวิตไว้เสร็จสรรพแล้วนับแต่เกิดมาทีเดียว กล่าวกันว่าแต่ละคนมีพรหมลิขิตปรากฏอยู่บนหน้าผากตั้งแต่เกิดได้ 6 วัน ซึ่งรอยนั้นพระพรหมเป็นผู้เขียนขึ้นด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ฉะนั้นจึงไม่มีใครอยู่นอกเหนืออำนาจของพระพรหมไปได้ ฐานะของพระพรหมจึงยิ่งใหญ่ คือ เป็นทั้งองค์ธาดา หรือผู้สร้างโลกและสรรพสิ่ง และเป็นเทพบิดรคือบิดาของทวยเทพทั้งหลาย

    ในตอนแรก ผู้คนต่างเห็นด้วยที่พระพรหมไม่มีตัวตน แต่ต่อมาจึงเกิดความไม่แน่ใจว่าเราจะรับรู้ว่ามีพระพรหมจริงๆ ได้อย่างไร ในเมื่อมองก็ไม่เห็น จะกราบไหว้ก็กราบไม่ได้ดังนั้นพราหมณ์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขหลักการเสียใหม่ โดยสร้างให้พระพรหมมีตัวตนแต่ว่าอยู่เหนือโลก มี 4 หน้า นั่งอยู่ตลอดกาล หันหน้าออก 4 ทิศ เพื่อดูแลโลก 4 ด้าน แต่ก็เป็นผู้บริสุทธิ์คือไม่มีเพศ ไม่มีเรื่องกามารมณ์ จึงเป็นผู้สงบและมีความสุขอันเป็นยอด จึงเกิดมีพรหมสี่หน้าขึ้น

      ครั้นต่อมาไม่นานนัก พระพรหมก็ถูกเสริมเติมแต่งให้มีลักษณะใกล้เคียงคนธรรมดามากขึ้นอีก แม้ว่ายังทรงไว้ซึ่งอำนาจแห่งเทวะที่อยู่เหนือมนุษย์ แต่ก็เริ่มมีตัวตน มีรูปร่างลักษณะมีหน้า 7 หน้า เป็นชาย มีความรู้สึก มีความรักและความชอบเหมือนมนุษย์ทั้งหลาย พระพรหมจึงไม่เป็นที่พอใจของบรรดาผู้เคารพอีกเช่นเดียวกับกรณีของพระอินทร์ ดังนั้นพวกพราหมณ์จึงได้สร้างเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาให้เสมอกับพระพรหมอีก 2 องค์ รวมเป็น 3 องค์เรียกว่า "ตรีมูรติ" (Trimurati) ซึ่งถือกันว่าเทพเจ้าทั้งสามเป็นเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นนิรันดร์ พร้อมกันนั้นก็ได้กำหนดหน้าที่ของพระเป็นเจ้าเหล่านั้นไว้ต่างๆ กัน คือ

        1) พระพรหม เป็นผู้สร้าง (Creator) ถิตอยู่ชั้นบนเหนือพื้นพิภพ

        2) พระวิษณุ หรือนารายณ์ เป็นผู้รักษา (Preserver) ถิตอยู่ทางทิศใต้ประจำอยู่ทางทะเล

     3) พระศิวะ หรืออิศวร เป็นผู้ทำลาย (Destroyer) ถิตอยู่ทางเหนือของภูเขาหิมาลัยทั้งพระวิษณุและพระศิวะ ก็ล้วนอวตารมาจากพระเจ้าองค์เดิมคือพระพรหมการที่มีเทพเคารพถึงสามองค์ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "สรรพสิ่งเกิดจากหนึ่งเดียวหรือธาตุเดียวคือพรหมันที่สามารถเจริญเติบโตและขยายตัวได้ แต่ทว่าสิ่งสูงสุดหรือเทพสูงสุดมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น" ความเชื่อนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาการแตกแยกนิกายในยุคต่อๆ มา คือ กลุ่มที่บูชาพระวิษณุก็มุ่งมั่นภักดีในองค์พระวิษณุจนเกิดเป็นไวษณพนิกาย (Vaishnavism)ส่วนกลุ่มที่บูชาพระศิวะก็มุ่งมั่นภักดีต่อพระศิวะเกิดเป็นไศวนิกาย (Saivism)

    การเกิดขึ้นของทั้งสองนิกายนี้ทำให้พระเป็นเจ้าทั้งสองโดดเด่นและมีความหมายในฐานะเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว และในขณะเดียวกันฐานะของพระพรหมก็ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง ในปัจจุบันเทวาลัยในอินเดียที่ประดิษฐานรูปปันพระพรหมนั้นแทบจะหาไม่ได้เลยบางเทวาลัยมีแต่รูปปันของพระศิวะและพระวิษณุประดิษฐานโดดเด่นเป็นสง่า แต่ในคูหาหรือช่องเล็กๆ ของผนังเทวาลัยกลับมีรูปปันพระพรหมองค์เล็กๆ ประดิษฐานรวมอยู่ด้วยเท่านั้นเอง

     เราจะเห็นว่า การสร้างเทพเจ้าขึ้นมาเรื่อยๆ ไม่หยุดหย่อนเช่นนี้ เป็นลักษณะสำคัญของศาสนาพราหมณ์ที่ต่างจากศาสนาอื่นๆ มัยพราหมณะจึงเป็นสมัยที่มนุษย์สร้างพระเจ้า มิใช่พระเจ้าสร้างมนุษย์อย่างที่เคยเชื่อถือมาแต่เดิม ในยุคนี้ทั้งผู้นำทางศาสนาพราหมณ์และผู้เคารพบูชาต่างก็มุ่งเน้นไปที่ความฉาบฉวยของเปลือกนอกแห่งศาสนา จนละเลยคำสอนในคัมภีร์ไตรเพท กลับเน้นหนักไปกับเรื่องราวอิทธิปาฏิหาริย์และเวทมนตร์มายาคุณไสยต่างๆ ที่เก็บไว้ในคัมภีร์ที่ 4 หรืออาถรรพเวทเป็นหลัก

      แม้แต่แนวคิดเรื่องตรีมูรติก็เป็นเช่นนั้น คือเกิดขึ้นด้วยความต้องการให้เกิดการรวมปาฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่แห่งองค์เทพทั้งสามเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเท่ากับองค์เทพองค์เดียวกันนี้มีพลังอำนาจ ทั้งการสร้างโลกโดยพระพรหม บำรุงรักษาโลกโดยพระวิษณุ และทำลายโลกโดยพระศิวะจะเห็นว่าแนวทางนี้ก็ยังมุ่งเน้นไปที่อิทธิปาฏิหาริย์แห่งองค์เทพเป็นหลัก แทนที่จะมุ่งศึกษาคำสอนดั้งเดิมในคัมภีร์พระเวทสิ่งเหล่านี้ก็คือสัญญาณแห่งความเสื่อมของศาสนาพราหมณ์ในช่วงเวลาต่อมา และเป็นเหตุให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนคำสอนเสียใหม่ กระทั่งกลายเป็นศาสนาฮินดูที่พยายามในทุกวิถีทางที่จะเรียกศรัทธากลับคืนมาให้ได้มากที่สุด

     พัฒนาการของระบบวรรณะ 4สู่ระบบชนชั้นในยุคพระเวท แม้จะมีการแบ่งเป็นวรรณะแล้ว แต่ยังไม่เด่นชัดนัก ระบบวรรณะเริ่มก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้นเมื่อสงครามระหว่างอารยันกับดราวิเดียนสิ้นสุดลง การตีความความหมายของวรรณะตามคัมภีร์พระเวทเป็นสิ่งที่เกิดจากความจำเป็นทางสังคมหรือความต้องการของผู้มีอำนาจในสังคมเป็นหลัก เช่นในระยะแรกของการมีระบบวรรณะ วรรณะจะถูกตีความไปตามความต้องการของผู้ชนะ งครามคืออารยัน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีอำนาจในสังคม ที่ต้องการจะแบ่งแยกกลุ่มชนที่มีชาติพันธุ์ต่างกันออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างอารยันกับดราวิเดียน เพื่อความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ของตน กล่าวคือ พราหมณ์ กษัตริย์ ไวศยะ ถือเป็นอารยวรรณะซึ่งมีผิวขาว เป็นนายเหนือชนพื้นเมืองเดิมซึ่งผิวคล้ำกว่า เรียกว่า ทาสวรรณะ หรือศูทร มีหน้าที่รับใช้ผู้เป็นนายคือพวกอารยัน

   สมัยต่อมาวรรณะได้ถูกตีความไปตามความจำเป็นทางสังคม ที่ต้องการแรงงานและความเชี่ยวชาญในวิชาชีพต่างๆ ซึ่งเป็นแต่เพียงการแบ่งหน้าที่และอาชีพให้แก่คนในสังคมเท่านั้นได้แก่ พราหมณ์มีหน้าที่สั่งสอนเยี่ยงครูอาจารย์ กษัตริย์มีหน้าที่เป็นนักรบป้องกันชาติบ้านเมืองแพศย์หรือไวศยะมีอาชีพค้าขายสร้างเศรษฐกิจให้สังคม และศูทรมีหน้าที่ทำไร่ไถนาและใช้แรงงาน

    ต่อมาภายหลัง เมื่อมีความเจริญทางสังคมและเศรษฐกิจอันเป็นมูลเหตุให้สังคมมีความลับซับซ้อน และแสวงหาความเชี่ยวชาญในวิชาชีพแขนงต่างๆ มากขึ้น จึงมีการแบ่งแยกออกเป็นชนชั้นใหม่ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีอาชีพการงานและกฎเกณฑ์ทางวรรณะคล้ายกัน กลายเป็นวรรณะย่อยๆ ไป โดยวรรณะที่สูงกว่าเหยียดหยามและเอาเปรียบวรรณะต่ำ ด้วยเหตุทางผลประโยชน์เป็นสำคัญ กล่าวคือในยุคแรกทาส ซึ่งเป็นวรรณะต่ำที่ยังมีฐานะดีและเป็นที่ยอมรับของสังคมสามารถแต่งงานกับวรรณะอื่นได้ แต่ภายหลังเมื่อระบบวรรณะขมวดเกลียวแน่นขึ้น ฐานะของทา ก็ลดต่ำลงตามลำดับ กลายเป็นพวกเลวทราม (Untouchable) และห้ามพวกทาสทำพิธีต่างๆ เช่น การเผาศพอย่างที่พวกอารยันทำ ห้ามอ่านห้ามจับพระเวท ถ้าฝ่าฝนจะถูกตัดมือตัดหู

    ความรุนแรงของการแบ่งชั้นวรรณะดังกล่าวปรากฏชัดในช่วงปลายยุคพระเวท โดยพวกพราหมณ์ได้อ้างคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์คือบทสวดฤคเวทตอนท้ายที่มีใจความว่า พระพรหมสร้างมนุษย์ให้เกิดขึ้นมาบนโลกด้วยฐานะที่ต่างกัน และมนุษย์ก็ถือกำเนิดมาจากอวัยวะที่ต่างกันของพระพรหมด้วย คนในวรรณะพราหมณ์ถือกำเนิดมาจากพระเศียรของพระพรหม คนวรรณะกษัตริย์ถือกำเนิดมาจากพระอังสา (บ่า) คนในวรรณะแพศย์ถือกำเนิดมาจากพระอุทร (ท้อง)ส่วนคนในวรรณะศูทรถือกำเนิดมาจากพระบาท (เท้า) บางแห่งกล่าวต่างไปจากนี้ว่าวรรณะพราหมณ์มาจากปากของพระพรหม วรรณะกษัตริย์มาจากแขน วรรณะแพศย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของการทำมาหาเลี้ยงชีพหรือเป็นหน่วยเศรษฐกิจของชุมชนมาจากท้อง และวรรณะศูทรซึ่งเป็นพวกใช้แรงงานมาจากเท้าของพระพรหม

     การที่มนุษย์ถือกำเนิดมาจากอวัยวะที่ต่างกันดังนี้ จึงไม่มีความเสมอภาคกันตั้งแต่เกิดแต่เพราะนั่นเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าที่ได้กำหนดไว้แล้ว จึงต้องถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังนั้นผู้ที่เกิดในวรรณะใดก็ต้องดำรงอยู่ในวรรณะนั้นตลอดไป และการประกอบอาชีพก็ต้องให้เป็นไปตามหน้าที่ของตนๆ จะก้าวก่ายกันไม่ได้ และห้ามมิให้คนต่างชั้นวรรณะกันทำการสมรสข้ามวรรณะ ต้องสมรสกับคนภายในวรรณะเดียวกันเท่านั้น หากมีการสมรสข้ามวรรณะกัน บุตรที่เกิดมาก็จะไม่อาจเข้าชั้นวรรณะใดได้อีก และจะถูกเรียกว่าจัณฑาล กลายเป็นบุคคลที่ถูกสังคมเหยียดหยามดูถูก ทั้งนี้ก็เพราะต้องการปกป้องสายเลือดและชนชั้นของเผ่าอารยันเป็นหลัก หากใครฝ่าฝนนอกจากจะถือว่าเป็นการทรยศต่อวรรณะตนเองแล้ว ยังถือว่าเป็นการขัดบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าย่อมจะถูกพระเจ้าลงโทษ เรียกว่า "เทวทัณฑ์" บ้าง หรือ "พรหมทัณฑ์" บ้าง ผู้ที่เกิดในวรรณะต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกศูทรและจัณฑาล ต้องยอมรับปฏิบัติตามคำสั่งของพราหมณ์โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ พวกศูทรจึงเป็นพวกที่ได้รับชะตากรรมมากที่สุดและน่าสงสารมากที่สุด แม้ทุกวันนี้ก็ยังมีความเชื่อเช่นนี้หลงเหลืออยู่ในอินเดียอีกมาก


2.2.3 ยุคอุปนิษัท (Upanishad Period) ประมาณ 150100 ปี ก่อนพุทธศักราช

"พรหมัน" ในคัมภีร์อุปนิษัท

    ศาสนาพราหมณ์ได้วิวันาการจากยุคพราหมณะเข้าสู่ยุคที่ 3 คือยุคอุปนิษัท ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวอินเดียสร้างรากฐานทางสังคมที่มั่นคงแข็งแกร่งแล้ว แต่ในทางศาสนา ผู้คนกลับเริ่มฉุกคิดว่า "ลำพังการบูชายัญอย่างที่เคยประพฤติมานั้น ไม่สู้จะได้ผลอะไรเลย ยังไม่เห็นเลยว่าจะสามารถเอาชนะทุกข์ได้อย่างแท้จริง นอกจากจะเป็นการปลอบใจชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น" ดังนั้นต่อมาจึงเกิดมีนักปรัชญาที่พยายามค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริงของชีวิตว่า "ชีวิตคืออะไร เราเกิดมาทำไม ตายแล้วจะไปไหน"

    ความสงสัยและความขัดแย้งดังกล่าวเริ่มรุนแรงมากขึ้น จนถึงขนาดที่ว่ามีการรวมกลุ่มอภิปรายปัญหาต่างๆ เพื่อคัดค้านพราหมณ์เลยทีเดียว โดยมีวรรณะกษัตริย์เป็นแกนนำสร้างปรัชญาใหม่ๆ วันดีคืนดีก็ตั้งปัญหาถามพวกพราหมณ์ว่า "อะไรคือปฐมเหตุของโลกและชีวิตพรหมคืออะไร เราเกิดมาจากไหน เราอยู่ได้ด้วยอะไร เราถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานแห่งอะไร"

    เมื่อต่างคนต่างพยายามใช้ปัญญาของตนขบคิดหาเหตุผล จึงพบข้อสรุปบางประการที่น่าสนใจ ซึ่งได้รวบรวมขึ้นมาใหม่เป็นอีกคัมภีร์หนึ่ง ให้ชื่อว่า "คัมภีร์อุปนิษัท" (Upanishads) ซึ่งเป็นบทสรุปของคัมภีร์พระเวท ถือเป็นตัวแทนพัฒนาการด้านความคิดตามคัมภีร์พระเวทขั้นสุดท้าย และเป็นลักษณะสุดท้ายของศาสนาพราหมณ์ ดังนั้นคัมภีร์อุปนิษัทจึงเป็นอวสานของพระเวท และสำนักปรัชญาลัทธิฮินดูในสมัยต่อมา ก็ล้วนวางหลักคำสอนของตนไว้กับคัมภีร์อุปนิษัทที่ขยายความออกไปที่เรียกว่า "เวทานตะ" (Vedanta) นั่นเอง

     คัมภีร์อุปนิษัทเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดนั้นยังหาข้อสรุปได้ยา ทั้งนี้เพราะคัมภีร์อุปนิษัทมีอยู่นับร้อยเล่ม และแต่ละเล่มก็ไม่ตรงกันหรือที่ขัดแย้งกันเองก็มี นักปราชญ์ฝ่ายินดูกล่าวว่าอุปนิษัทต้องเกิดก่อนพุทธศาสนาอย่างแน่นอนส่วนบางท่านมีความเห็นแย้งกันว่าคัมภีร์อุปนิษัทอาจเกิดขึ้นหลังพุทธกาล คือเป็นผลงานของพวกินดูซึ่งหาทางจะดำรงไว้ซึ่งศาสนาพราหมณ์ในยุคที่พุทธศาสนาและศาสนาเชนกำลังรุ่งเรือง

     คำสอนในคัมภีร์อุปนิษัทเป็นปรัชญาที่ลึกซึ้งและเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจได้ ที่เห็นได้ชัดคือคำสอนเรื่องความจริงสูงสุดที่เรียกว่า "พรหมัน" (Brahman) ซึ่งเป็นคำสอนใหม่ที่ไม่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท

      คัมภีร์อุปนิษัทกล่าวว่า แม้พระเวทจะถือกันว่าเป็นพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง (ศรุติ) แต่ที่แท้จริงก็เป็นสิ่งที่เกิดมาจากพรหมัน ออกมากับลมหายใจของพรหมันนั่นเอง ดังนั้นพรหมันในคัมภีร์อุปนิษัทจึงมีความสำคัญเหนือกว่าพระเวทมากนัก ดังจะเห็นได้จากประโยคที่ว่า "ผู้ที่รู้จักพระเวทที่ดีที่สุด ก็ยังไม่อาจหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ถ้าเขายังไม่รู้จักพรหมัน ตรงข้ามถ้ารู้จักพรหมันแต่ไม่รู้พระเวทเลย กลับสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้"

      ในคัมภีร์อุปนิษัทกล่าวถึงพรหมันว่า "มีพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดอยู่เพียงหนึ่งเดียวคือพรหมัน (Brahman) ทุกสิ่งแยกตัวมาจากพรหมัน และจะกลับไปรวมกับพรหมันอีก บุคคลคือชีวาตมันหรืออาตมัน (Atman) ซึ่งมีธรรมชาติเหมือนพรหมันแต่แยกมาอยู่ในตัวบุคคล บุคคลจะต้องพยายามด้วยการประกอบพิธีกรรมจนถึงขั้นบรรลุโมกษะ (Moksha) หรือความหลุดพ้น ก็จะกลับไปรวมกับพรหมัน ขณะเมื่อยังรวมกับพรหมันไม่ได้ ก็จะเวียนว่ายตายเกิดไปจนกว่าจะกลับไปรวมกับพรหมันได้ ชีวาตมันที่จะกลับไปสู่พรหมันได้นั้นจึงต้องเลือกกระทำแต่กรรมที่ไม่ผูกพันกับโลก

     คำสอนเรื่อง "พรหมัน" นี้ถือเป็นหลักการสำคัญของคัมภีร์อุปนิษัทที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพรหมัน มนุษย์กับเทพเจ้า และมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน ตลอดจนมนุษย์กับสรรพสิ่งในจักรวาล โดยยืนยันว่า "เป็นไปไม่ได้เลยที่ชีวิตมนุษย์จะอยู่แยกไปอย่างเด็ดขาดจากความเป็นไปของจักรวาล เพราะมนุษย์ก็คือส่วนหนึ่งของจักรวาลนั่นเอง"

    ปรัชญาการดำเนินชีวิตตามหลักอาศรม 4 ย้อนไปในยุคพราหมณะซึ่งพิธีบูชายัญได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ในยุคนั้นพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการประกอบพิธีกรรม จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นที่พึ่งทางจิตใจของประชาชน เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนก็พากันไปหาพราหมณ์เพื่อให้ช่วยเปลื้องทุกข์และไถ่บาปให้ เพราะถือว่าพราหมณ์เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเสมือนตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าหน้าที่ของพราหมณ์จึงอยู่ที่การประพฤติเคร่งครัดอยู่ในพิธีกรรม และกระทำตนให้เป็นที่พึ่งของประชาชนในทางด้านจิตใจเท่านั้น

    คัมภีร์พระเวทในส่วนที่เรียกว่า อรัณยกะ (บทเรียนในป่า) ได้กล่าวถึงหลักการดำเนินชีวิตของพราหมณ์ผู้บำเพ็ญตนเพื่อให้บรรลุประโยชน์หรือจุดมุ่งหมายของชีวิตมนุษย์ ซึ่งเป็นขั้นเป็นตอนไปตามลำดับ เรียกว่าอาศรม 4 (Four Ashrams) ดังนี้

      1) พรหมจารี ( Brahmacharya : Student ) แปลว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นวัยที่ต้องศึกษาเล่าเรียน จะเริ่มทำพิธีเล่าเรียนเรียกว่า "อุปานยัน" แปลว่านำชีวิตเข้าสู่ความรู้ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ เบื้องแรกจะต้องให้พราหมณ์ผู้เป็นครูอาจารย์เป็นผู้สวมคล้องด้ายสายศักดิ์สิทธิ์เรียกว่ายัชโญปวีต เท่ากับเป็นการประกาศและปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีที่จะต้องเชื่อฟังครูบาอาจารย์ ต้องมีความประพฤติเรียบร้อย ต้องเคารพต่ออาจารย์ทุกโอกาสและต้องเรียนอยู่ในสำนักของอาจารย์อย่างน้อย 12 ปี จึงสำเร็จการศึกษา

    2) คฤหัสถ์ (Grihastha : Householder) แปลว่า ผู้ครองเรือน เป็นวัยที่แสวงหาความสุขทางโลกตามฆราวาสวิสัย ต้องแต่งงานและมีบุตรอย่างน้อย 1 คน เพื่อใช้หนี้บรรพบุรุษและเป็นการป้องกันมิให้บิดามารดาตกนรกขุม "ปุตตะ" จะต้องประกอบอาชีพให้มีฐานะมั่นคงในทางฆราวาสปฏิบัติตามกฎของผู้ครองเรือน ตลอดจนเอาใจใส่ในการประกอบยัญพิธี

     3) วนปรัสถ์ ( Vanaprastha : Hermit) แปลว่า ผู้อยู่ป่า หลังจากสร้างฐานะในเพศคฤหัสถ์ได้แล้ว มีบุตรธิดาสืบสกุลแล้ว ก็ยกทรัพย์สมบัติให้บุตรธิดา แล้วออกไปอยู่ในป่าเพื่อแสวงหาความสุขสงบจากวิเวก บำเพ็ญเพียรทางใจและข้อปฏิบัติอื่นๆทางศาสนาอย่างเคร่งครัดยังมีภรรยาเหมือนกับบุคคลทั่วไป แต่มุ่งบำเพ็ญความดีเพื่อสัมปรายภพให้มากยิ่งขึ้น

     4) สันยาสี (Sannyasa : Ascetic) แปลว่า ผู้แสวงหาธรรม พิธีบวชเป็นสันยาสี คุรุ(ครู) จะทำพิธีสวดมนต์บูชาพระเจ้า แล้วสอนให้ผู้บวชว่าตาม เสร็จแล้วคุรุจะอบรมให้ผู้ถือบวชทราบทางปฏิบัติ การถือบวชเป็นสันยาสีนับเป็นช่วงสุดท้ายของชีวิตของผู้ที่หวังประโยชน์สูงสุดฉะนั้นจึงต้องสละโลกและบุตรภรรยา ความวุ่นวายออกบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าตลอดชีวิต เพื่อจุดหมายปลายทางของชีวิตคือโมกษะ

    อาศรม 4 จึงเป็นลำดับขั้นแห่งวิถีชีวิต (Stages of life) เป็นแนวทางปฏิบัติของผู้บำเพ็ญตนไปสู่ธรรมขั้นสูงสุดในศาสนาพราหมณ์คือโมกษะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตสังคมของประชาชนและเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การพันาทางศีลธรรมขั้นสูงต่อไป แต่บุคคลที่จะปฏิบัติตามอาศรม 4 ได้ จะต้องอยู่ในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์เท่านั้น

     ระบบอาศรม 4 ที่พัฒนาขึ้นยุคพราหมณะนี้ นับว่ายังไม่เข้มงวดหรือเคร่งครัดเท่าใดนักเพราะยุคพราหมณะยังคงเน้นในเรื่องการบูชายัญ มีบุตร และบำเพ็ญทานของพราหมณ์ผู้นับถือพระเวท ดังนั้นช่วงคฤหัสถ์จึงเป็นช่วงชีวิตที่พราหมณ์ยกย่องและให้ความสำคัญ ทั้งนี้เพราะพราหมณ์ส่วนใหญ่เป็นคฤหบดีพราหมณ์ ซึ่งยังคงมีบุตรภรรยาและสามารถประกอบอาชีพอยู่เป็นครอบครัวได้ตามปกติ1ส่วนช่วงสันยาสี (ผู้แสวงหาโมกษะ) นั้น เป็นช่วงชีวิตที่ใครจะเลือกจะเลือกหรือไม่เลือกก็ไม่มีผลต่อความพ้นทุกข์เพราะความพ้นทุกข์ขึ้นอยู่กับการบูชายัญเป็นหลัก

     แต่ครั้นมาถึงยุคอุปนิษัท ระบบโครงสร้างทางศาสนาอันได้แก่คำสอนและการปฏิบัติของศาสนาพราหมณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยมุ่งเน้นการเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดจากภายนอกโดยอาศัยการประกอบพิธีบูชายัญเป็นหลัก ก็เปลี่ยนมาเป็นการเข้าถึงพรหมันตามหลักปรัชญาในคัมภีร์อุปนิษัท อาศัยการบำเพ็ญตบะหรือบำเพ็ญโยคะอย่างยิ่งยวดละทิ้งทุกอย่างเพื่อให้เข้าถึงพรหมัน เพราะเห็นว่า การบูชายัญนั้นเพียงช่วยให้ไปสวรรค์ได้ แต่ก็ยังไม่อาจช่วยให้บรรลุโมกษะเข้าถึงพรหมมันได้เลย

     ดังนั้น ในยุคอุปนิษัท ความสำคัญของพราหมณ์ในฐานะผู้ประกอบพิธีกรรมเริ่มลดลงช่วงสันยาสีหรือช่วงชีวิตสุดท้ายที่มุ่งแสวงหาโมกษะกลับได้รับการยกย่องมากเป็นพิเศษ และยังเชื่ออีกว่าการเข้าสู่ช่วงสันยาสีนั้นจะเริ่มต้นเมื่อใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีอายุมากหรือมีลูกหลานก่อนตามแบบเดิม แนวคิดดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดการเติบโตและแผ่ขยายของลัทธิถือพรตอยู่ป่า ปลีกตัวจากโลกภายนอก ไม่มีชนชั้นวรรณะ และมุ่งความสันโดษและแสวงหาความสุขทางจิตวิญญาณ

     แนวคิดและระบบปรัชญาอินเดีย 2สาย สมัยที่ปรัชญาอุปนิษัทเกิดขึ้น เป็นยุคที่ใกล้กับพุทธกาลมากแล้ว เป็นยุคที่นักคิดชาวอินเดียเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ไม่ผูกพันกับระบบประเพณีดั้งเดิมซึ่งถ่ายทอดกันมาแต่สมัยพระเวท เพราะฉะนั้นจึงมีนักคิดอิสระที่มีความคิดแหวกแนวออกไปจากระบบประเพณีดั้งเดิมของพระเวทออกไป

     พวกนักคิดอิสระที่พากันปฏิเสธคัมภีร์พระเวทมีอยู่หลายกลุ่ม ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงชื่อ อาชีวก ปริพาชก นิครนถ์ ลัทธิครูทั้ง 6 ท่านเหล่านี้ล้วนแต่เป็นนักคิดอิ ระที่แยกตัวออกมาจากพราหมณ์ผู้นับถือพระเวททั้งสิ้น

      ดังนั้น ยุคนี้จึงเป็นเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างลัทธิความเชื่อสองสาย คือ ลัทธิศาสนาพราหมณ์ที่ยังคงยึดมั่นอยู่ในคัมภีร์พระเวท กับลัทธิศาสนาใหม่ๆ ที่ปฏิเสธคัมภีร์พระเวท

        ฉะนั้น ลัทธิศาสนาของอินเดียในยุคนี้ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ

    1. พวกอไวทิกวาทะ (Avaidika) หรือนาสติกะ (Nastika) คือพวกที่ปฏิเสธความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวท ปฏิเสธความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า และไม่ยอมรับประเพณีของพราหมณ์ซึ่งหลักๆ ก็ได้แก่ ลัทธิของครูทั้ง 6 ศาสนาเชน และพระพุทธศาสนา ซึ่งหากจะแยกให้ชัดเจนก็แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ

      2) กลุ่มประสบการณ์นิยมหรือปฏิบัตินิยม (Experientialish) ที่ยืนยันว่าความรู้ที่แท้จริง ย่อมเป็นผลที่เกิดมาจากการปฏิบัติ การทดลองพิสูจน์จนได้รู้แจ้งเองด้วยประสบการณ์ของตน นักคิดกลุ่มนี้ประกอบด้วย นักปรัชญาอุปนิษัทยุคปลาย นักปรัชญาเชน เป็นต้น ในแง่มุมการแสวงหาความรู้ นักปฏิบัติกลุ่มนี้มีแนวทางใกล้เคียงกับพระพุทธศาสนา

 

      2. พวกไวทิกวาทะ (Vaidika) หรืออาสติกะ (Astika) คือพวกที่ยังคงนับถือพระเวทเป็นปทัฏฐาน คือยอมรับประเพณีของพราหมณ์และไม่ปฏิเสธความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวทพวกไวทิกวาทะนี้จึงจัดอยู่ในประเภทจารีตนิยม (Traditionalist) เพราะเชื่อว่าความรู้ทุกชนิดเกิดมาจากแหล่งเดียวกัน โดยการเปิดเผยของเทพเจ้า เรียกว่า "พระเวท" (Vedas) ซึ่งพราหมณ์ยึดถือกันว่าเป็นคัมภีร์หลักที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นโองการของสวรรค์ เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาอันยิ่งใหญ่และสูงส่งของมวลมนุษย์ ดังนั้นเมื่อมีการศึกษาและ สืบทอดก็ต้องยึดตามแบบแผนและปฏิบัติตามประเพณีธรรมเนียมเก่า ต้องอนุรักษ์และอนุวัตรตามสิ่งที่กล่าวในคัมภีร์พระเวท โดยไม่มีข้อโต้แย้ง วิจารณ์ หรือแสวงหาเหตุผลใดๆ

    พวกไวทิกวาทะนี้ต่อมาภายหลังก่อเกิดเป็น 6 ลัทธิใหญ่ เรียกว่า หลักทรรศนะ 6 (Six Darshanas) ประกอบด้วยลัทธิเวทานตะ นยายะ ไวเศษิกะสางขยะ โยคะ และมิมางสาทรรศนะเหล่านี้มีรายละเอียดคำสอนต่างกันดังนี้

1) ลัทธิเวทานตะ (Vedanta) ก่อตั้งโดยฤษีพาทรายณะ
     ลัทธินี้สืบทอดมาจากการแตกยอดบทอุปนิษัทบทสุดท้ายของคัมภีร์พระเวทที่กล่าวถึงจุดสูงสุดแห่งการศึกษาหรือที่เรียกว่า เวทานตะ ตั้งปรัชญาความเชื่อว่า ความจริงแท้ (สัจธรรม) หรือความจริงอันสูงสุด หรืออันติมสัจจะ (Ultimate Reality) ของโลกและจักรวาลมีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น คือ พรหมัน หรือปรมาตมัน และชีวาตมัน หรืออาตมัน แต่เพราะเหตุที่เราไม่รู้เท่าทันความจริงที่ว่า จิตของเราแต่ละคนเป็นอาตมัน เป็นอย่างเดียวกับจิตของพรหม คือ ปรมาตมัน คนเราจึงกระทำกรรมและถือกรรมต่างๆ เป็นตัวตนของเขา ดังนั้นจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกนี้ เมื่อใดกำจัดอวิชชาหรือความไม่รู้ได้แล้ว อาตมันก็จะเข้าร่วมสถิตอยู่กับปรมาตมัน คนที่สำเร็จถึงขั้นนั้นก็จะกลายเป็นพรหม

2) ลัทธินยายะ (Nyaya) ก่อตั้งโดยท่านฤษีโคตมะ
     ลัทธินี้เน้นหนักไปในเรื่องการพิจารณาหาความจริงแบบตรรกะ (Logical Realism) ใช้ความคิดวิพากษ์วิจารณ์และวิเคราะห์ความจริงในรูปแบบต่างๆ โดยเชื่อว่าความจริงที่ยอมรับได้จะต้องอธิบายได้ด้วยหลักของเหตุผลสอนให้พิจารณาถึงความทุกข์ ความเกิดความเคลื่อนไหวในระหว่างมีชีวิตอยู่และความสำนึกผิดสอนให้บุคคลเลิกละอกุศล ให้มีเมตตาต่อกัน มีสัจจะบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน ในที่สุดก็จะบรรลุความหลุดพ้นจากความทุกข์และเครื่องผูกพันอันเกิดจากการสมาคมระหว่างชีวาตมันกับสาร เพราะการสมาคมกันของชีวาตมันกับสารทำให้ชีวาตมันหลงลืมภาวะดั้งเดิมของตัวเอง แล้วไปทำกรรมดีกรรมชั่วผลของการทำกรรมดีและชั่ว จึงทำให้ชีวาตมันเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏไม่รู้จบ เมื่อคลี่คลายชีวาตมันออกจากสารได้ ก็จะเป็นอิสระอย่างแท้จริง เป็นอิสรภาพสูงสุด เพราะหลุดพ้นจากการเกิดการตาย และพ้นไปจากความทุกข์และความสุขตลอดกาล

3) ลัทธิไวเศษิกะ (Vaisesika) ก่อตั้งโดยฤษีกณาท
      ลัทธินี้สอนว่า โลกเกิดจากพลังอันมองไม่เห็นที่สืบมาจากกรรมในภพก่อนแต่ก็มีจิตอันยิ่งใหญ่ที่สุดคือปรมาตมันเป็นใหญ่อยู่ในสากลโลก เป็นอมตะ ไม่มีต้นไม่มีปลายไม่มีการทำลายแตกดับ แผ่ซ่านทั่วไปโดยปราศจากรูปร่าง และเป็นผู้สร้างสากลโลกขึ้น จิตอันยิ่งใหญ่นี้ได้แยกส่วนเป็นวิญญาณส่วนบุคคลที่เรียกว่าชีวาตมัน โมกษะหรือความหลุดพ้นจากทุกข์ของชีวาตมัน จึงสามารถเข้าถึงได้ด้วยการขจัดอวิชชา (อวิทยา) ให้หมดไป และทำความรู้แจ้งในสัจธรรมให้เกิดขึ้น เมื่อนั้นชีวาตมันก็จะไม่ยึดมั่นในใจและกาย ทำให้มองเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของตนว่า เป็นวิญญาณบริสุทธิ์หรือจิตสารบริสุทธิ์ที่ดำรงอยู่โดยปราศจากสัมปชัญญะ ไม่มีความรู้ ไม่มีความสุข ไม่มีความทุกข์ เป็นภาวะนิรันดร์

4) ลัทธิสางขยะ (Sankhya) ก่อตั้งโดยกบิลมหามุนี
    ลัทธินี้มุ่งแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสัจภาพโดยการจำแนกวัตถุแห่งการรับรู้ออกเป็น "ตัตตวะ" หรือความจริงแท้ 25 ประการ ซึ่งอาจย่อลงเป็น 2 คือ ปุรุษะ และประกฤติ ปุรุษะ ได้แก่ อาตมันหรือวิญญาณสากลส่วนประกฤติ คือสิ่งที่เป็นต้นเหตุหรือต้นกำเนิดของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ลัทธินี้จึงจัดอยู่ในประเภทสัจนิยมเชิงทวิ (Dualistic Realism) เพราะมีความเห็นว่าปุรุษะและประกฤติทั้ง องส่วนเป็นสัจภาพและเป็นมูลการณะของสรรพสิ่งโดยชี้ให้เห็นว่าปุรุษะถูกขังอยู่ในประกฤติ จึงได้ประกอบกรรมอันนำมาซึ่งความทุกข์ เมื่อทราบดังนี้แล้วจึงต้องพยายามหาทางถอนวิญญาณของตนออกจากวัตถุธาตุทั้งมวล ดังนั้นการหลุดพ้นก็คือการกลับไปสู่ภาวะเดิมของปุรุษะ กล่าวคือกลับคืนสู่วิญญาณบริสุทธิ์เหมือนก่อนที่จะมาสัมพันธ์กับประกฤติ เมื่อหลุดพ้นแล้วก็จะได้เข้าร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิญญาณสากลหรือปรมาตมันต่อไป

5) ลัทธิโยคะ (Yoga) ก่อตั้งโดยปตัญชลีมหาฤษี
    เชื่อว่ามีเทพเจ้าผู้ทรงอำนาจเหนือมนุษย์ คือพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ หรือปรมาตมันอันเป็นปฐมวิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย ในยุคต้นฝึกบำเพ็ญตบะโดยหวังไปทางโลกิยสุข ต่อมาฝึกเน้นหนักไปในทางทำจิตให้สะอาดเพื่อจะได้รวมกับพระพรหม โดยกำหนดให้ตั้งสมาธิ คือการเพ่งจิตให้มีอารมณ์เดียวเป็นเอกัคคตา เพื่อให้วิญญาณเล็กน้อยทั้งหลายเข้าร่วมอยู่ในวิญญาณอันเป็นปฐม (คือ ให้อาตมันเข้าไปอยู่ในปรมาตมัน) วิธีการของโยคะ คือ บังคับการระบายและตั้งลมหายใจเข้าออก เพ่งบางส่วนของร่างกายให้เกิดสมาธิ ต้องมีความข่มการดิ้นรนให้หมดไป โดยตั้งใจเพ่งพระอิศวรเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นบุรุษหรืออาตมัน อันพ้นแล้วจากกรรมหรือความเสื่อมเสียทั้งปวง มีทางเข้าถึงโยคะ 8 สาย การปฏิบัติโยคะนี้ต้องปฏิบัติเป็นขั้นๆ ไป และจะเกิดความสำเร็จเป็นขั้นๆ เช่นกัน บางครั้งอาจเกิดมีอิทธิปาฏิหาริย์ขึ้นมาซึ่งเป็นผลพลอยได้ แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็เพื่อการดับพฤติกรรมของจิต

6) ลัทธิมิมางสา (Mimamsa) ก่อตั้งโดยฤษีไชมินิ
      เชื่อว่าวิญญาณเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เชื่อว่าโลกนี้และวิญญาณต่างๆ ล้วนเป็นอมตะและเชื่อความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท แต่มิได้กล่าวถึงเทพเจ้าว่าเป็นผู้สร้างโลก โดยถือว่าพระเจ้าสูงสุดไม่มี โลกนี้ไม่มีใครสร้าง และจะไม่มีวันสูญสลาย โลกจะดำรงอยู่อย่างนี้ตลอดไปทั้งสากลโลกและจักรวาล ไม่มีกาลไหนๆ ที่สากลจักรวาลจะมีลักษณะผิดแผกแตกต่างไปจากที่มันเป็นอยู่ในเวลานี้ ถึงอย่างไรสากลจักรวาลก็จะยังคงสถานะและสภาวะที่เป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป

     จากรายละเอียดข้างต้น เราจะเห็นว่าชาวอินเดียเป็นนักคิดนักแสวงหาที่มีแนวคิดในเชิงศาสนาและปรัชญาที่ละเอียดซับซ้อน มีหลากหลายระบบ ซึ่งแต่ละระบบก็มีคำสอนที่มีรายละเอียดต่างกันไป ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากความหลากหลาย และเหลื่อมล้ำต่ำสูงแห่งวิถีชีวิตของผู้คน

   อย่างไรก็ตาม คำสอนที่เป็นศาสนาหรือปรัชญาเหล่านั้น แม้จะต่างกันในรายละเอียดแต่ทั้งหมดล้วนมีลักษณะร่วมอย่างเดียวกัน คือการแสวงหาความเป็นจริงสูงสุดที่เป็นฐานรองรับความมีอยู่ของชีวิต โลก และจักรวาล และพยายามอธิบายแนวความคิดเกี่ยวกับความเป็นจริงนั้นๆสะท้อนออกมาเป็นปรัชญาชีวิต เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุโมกษะหรือการหลุดพ้น ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสูงสุดของทุกๆ ชีวิต

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.10509358247121 Mins