พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออก
ประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น (Japan) มีเมืองหลวงชื่อ โตเกียว และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ประชากรญี่ปุ่นมีประมาณ 128,085,000 คน (พ.ศ.2548) พุทธศาสนิกชนมีประมาณ 89,650,000 คน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 6 ยุค คือ ยุคแรก ยุคนารา ยุคโชกุนตระกูลแรก ยุคสงครามกลางเมือง ยุคปิดประเทศ และยุคเมจิถึงปัจจุบัน
ยุคแรก พระพุทธศาสนาจากจีนเผยแผ่เข้าสู่ญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลีในปี พ.ศ.1095 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้ากิมเมจิ ในครั้งนั้นพระเจ้าเซมาโวกษัตริย์แคว้นกทุระแห่งเกาหลีทรงส่งพระพุทธรูปทองเหลืองหุ้มทองคำ และพระคัมภีร์ไปถวายพระเจ้ากิมเมเจิพร้อมทั้งพระราชสาส์นมีใจความว่า นี่เป็นศา สนาที่ดีที่สุดที่หม่อมฉันเห็น หม่อมฉันไม่ต้องการให้ศาสนานี้จำกัดแพร่หลาย เฉพาะเพียงเกาหลีแห่งเดียว ขอให้พระองค์โปรดรับศาสนานี้ไว้พระจักรพรรดิญี่ปุ่นทรงพอพระทัยเพราะไม่เคยได้สดับคำสอนอันวิเศษเช่นนี้มาก่อน ตั้งแต่นั้นชาวญี่ปุ่นจึงเริ่มนับถือพระพุทธศาสนา แต่ยังไม่แพร่หลาย เพราะศาสนาเดิมคือชินโต ยังมีอิทธิพลอยู่มาก
จนกระทั่งถึงสมัยที่จักรพรรดินีซูอิโกะ (Suiko) ครองราชย์ ประมาณปี พ.ศ.1135-1171 พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก พระนางทรงสละราชสมบัติออกผนวชเป็นภิกษุณีโดยมอบภาระให้พระราชนัดดาพระนามว่า อุมายาโดะ (Umayado) ทำหน้าที่สำเร็จราชการแทนเจ้าชายอุมายาโดะนี้ ต่อมาได้รับการขนานพระนามว่า โชโตกุ ไทชิ
เจ้าชายโชโตกุทรงยกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ทรงสร้างวัดประมาณ 400 วัด ทรงรอบรู้พระไตรปิฎก ทรงนิพนธ์อรรกถาพระสูตรสำคัญของมหายาน 3 สูตร คือ สัทธรรมปุณฑริกสูตร วิมลเกียรตินิเทศสูตร ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร ต้นฉบับลายพระหัตถ์ยังคงรักษาอยู่จนถึงปัจจุบัน ทรงบัญญัติกฎหมายแห่งรัฐโดยยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพราะผลงานทางพระพุทธศา สนาที่ทรงทำไว้มากมาย เจ้าชายโชโตกุจึงได้รับฉายาว่า เป็นพระเจ้าอโศกแห่งญี่ปุ่น
พระพุทธศาสนาที่เจ้าชายโชโตกุทรงศรัทธาชื่อว่า เอกยาน มีธรรมกายเป็นจุดหมายมีคำสอนประสานกันระหว่างมหายานและเถรวาท ไม่แบ่งแยกกันระหว่างพระสงฆ์กับคฤหัสถ์ทุกคนสามารถปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันได้โดยไม่ต้องออกบวชหรือปลีกวิเวก เมื่อเจ้าชายโชโตกุสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.1165 พ กนิกรต่างเศร้าโศกเสียใจอย่างสุดซึ้ง เหล่าพุทธบริษัทจึงสร้างพระพุทธรูปขนาดเท่าพรวรกายพระองค์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณความดีของพระองค์
ยุคนารา ตั้งแต่ยุคเจ้าชายโชโตกุเป็นต้นมา พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับกลายเป็นส่วนหนึ่งของวันธรรมญี่ปุ่นสืบมา เมื่อถึงสมัยนารา (Nara) ประมาณปี พ.ศ.1253-1327 พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น นารา อันเป็นราชธานีของญี่ปุ่นยุคนั้นถึงกับได้ชื่อว่า นครแห่งอารามหนึ่งพัน เพราะถนนทุกสายในเมืองนี้มีวัดพระพุทธศาสนา ยุคนั้นมีนักปราชญ์ญี่ปุ่นไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น และได้นำนิกายต่างๆ มาเผยแผ่ในญี่ปุ่น ซึ่งสมัยนั้นมี 6 นิกายด้วยกัน
ในปี พ.ศ.1284 พระเจ้าจักรพรรดิโชมุทรงประกาศจักรพรรดิราชโองการให้สร้างวัดของราชการประจำจังหวัดทั่วประเทศ ยุคนี้ลาภสักการะเกิดขึ้นกับคณะสงฆ์มาก เพราะกษัตริย์และพสกนิกรให้การอุปถัมภ์ จึงทำให้มีผู้เข้ามาบวชเพื่อหวังลาภสักการะจำนวนมาก อีกทั้งคณะสงฆ์เข้าครอบงำราชการแผ่นดิน ทำให้ห่างเหินการปฏิบัติธรรม ศาสนาจึงเสื่อมลง พระจักรพรรดิต้องการจะลิดรอนอำนาจทางการเมืองของพระสงฆ์ จึงย้ายเมืองหลวงจากนาราไปเกียวโต (เฮอัน) พระพุทธศาสนา 6 นิกายนี้จึงไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักอีก เป็นเหตุให้เสื่อมลงในที่สุด
ในยุคเกียวโตหรือเอัน (พ.ศ.13371728) พระไซโจ และพระคูไค ซึ่งเดินทางไปศึกษายังประเทศจีนได้กลับมาเผยแผ่ที่ญี่ปุ่น ท่านไซโจตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นที่ภูเขาฮิเออิในปี พ.ศ.1328 เพื่อเผยแผ่นิกายเทนได หรือเทียนไท้ หรือนิกายสัทธรรมปุณฑริก พระสงฆ์สำนักนี้มีอาวุธไว้ป้องกันตัวในยามศึกสงครามด้วยส่วนท่านคูไคได้กลับมาเผยแผ่นิกายชินงอน หรือตันตระ ยุคนี้ราชการให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนาอย่างมากเช่นกัน พระจักรพรรดิเกือบทุกพระองค์เสด็จออกผนวช แต่ช่วงปลายยุคมีสงครามเกิดขึ้น โดยขุนพลชื่อ โยริโมโต แห่งตระกูลมินาโมโต บุกโจมตีกรุงเกียวโตและนารา ยึดอำนาจการปกครองจากพระจักรพรรดิ และได้เผาวัดวาอารามไปจำนวนมาก ยุคนั้นพระสงฆ์บางวัดจึงมีกองทัพไว้ป้องกันวัด และมีพระบางพวกออกรบเพื่อช่วงชิงอำนาจทางการเมืองด้วย แต่โยริโมโตก็สามารถปราบปรามได้อย่างราบคาบ
ยุคโชกุนตระกูลแรก โชกุน หมายถึง ผู้บัญชาการกองกำลังทหารของประเทศ หากเปรียบกับตำแหน่งทางทหารในปัจจุบันแล้ว อาจเทียบได้กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดผู้ที่ได้รับตำแหน่งโชกุนคนแรกคือ โยริโมโต หลังจากที่โยริโมโตตีเมืองเฮอันและนาราได้แล้วในปี พ.ศ.1728 เขาสถาปนาเมืองกามากุระขึ้นเพื่อเป็นศูนย์การปกครองระบบโชกุนหรือรัฐบาลทหาร และได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระจักรพรรดิในปี พ.ศ. 1735 ให้ดำรงตำแหน่งเซอิไทโชกุน ยุคนี้พระพุทธศาสนาจึงเสื่อมโทรมเพราะไฟสงคราม แต่พุทธศาสนิกชนก็พยายามฟนฟูขึ้นใหม่จนกลับรุ่งเรืองอีก โดยครั้งนั้นมีนิกายที่สำคัญอยู่ 3 นิกายคือ นิกายโจโดนิกายเซน และนิกายนิจิเร็น
1. นิกายโจโด หรือสุขาวดี ท่านโเน็นได้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นในยุคกามากุระ วันหนึ่งท่านได้อ่านอรรถกถาอมิตายุรธยานสูตรพบข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า หากบุคคลนึกถึงและออกพระนามพระอามิตาภพุทธเจ้า โดยมิต้องคำนึงถึงอากัปกิริยาและกาลเวลาแล้ว ถ้าปฏิบัติได้ ม่ำเสมอก็ย่อมเรียกได้ว่า เป็นสัมมากัมมันตะ เพราะต้องด้วยปฏิญญาแห่งพระอมิตาภพุทธเจ้าท่านรู้สึกประทับใจข้อความนี้มากและได้เลิกข้อปฏิบัติอย่างอื่นหมด เปล่งแต่คำว่า นัมบู อมิดา บุตสึ อย่างเดียว โดยเชื่อว่าเพียงแค่นี้ก็สามารถไปเกิดยังแดนสุขาวดีซึ่งเป็นที่อยู่พระอมิตาภพุทธเจ้าได้ จากนั้นท่านจึงออกเผยแผ่คำสอนและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วทั้งนี้เพราะหลักปฏิบัติไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2. นิกายเซน ท่านโยไซ และท่านโดเกน ได้เดินทางไปศึกษาที่ภูเขาฮิเออิ จากนั้นก็เดินทางไปยังประเทศจีน ศึกษาพระพุทธศาสนานิกายเซนแล้วนำกลับมาเผยแผ่ที่ญี่ปุ่น ท่านโยไซสร้างวัดชื่อ โชฟูกูจิ ขึ้นในปี พ.ศ.1734 ที่เกาะกิวชิว เมืองกามากุระ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่นิกายรินไซเซนส่วนท่านโดเกนสร้างวัดเออิเอิจิขึ้นเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่โซโตะเซน
จากที่กล่าวแล้วว่า นิกายเซนเน้นการปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนาเพื่อให้เข้าถึงฌานที่เรียกว่า ซาเซน โดยไม่อาศัยตัวหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆ จึงมีคำขวัญประจำนิกายว่า ปุกลิบ บุ้นยี่ ติกจี้นั้งซิม เกียงแส่ เซ่งุด แปลว่า ไม่ต้องอาศัยหนังสือแต่ชี้ตรงไปยังจิตของมนุษย์ ให้เห็นแจ้งในภาวะที่แท้จริงแล้วบรรลุเป็นพุทธะ ความแตกต่างกันระหว่างรินไซเซน กับโซโตะเซน คือ รินไซเซน อาจารย์ผู้สอนจะใช้วิธีรุนแรงต่างๆ ปลุกลูกศิษย์ให้ตื่นเพื่อความรู้แจ้ง เช่น ถ่ายทอดธรรมด้วยการตะโกนใส่ลูกศิษย์บ้าง ใช้ไม้เท้าตีขณะนั่งวิปัสสนาบ้างส่วนโซโตะเซนอาจารย์จะฝึกให้ลูกศิษย์มองความจริงจากแง่มุมต่างๆ ให้เห็นว่าแต่ละมุมล้วนมีเอกภาพเดียวกันไม่อาจแยกขาดจากกัน
3. นิกายนิชิเร็น เป็นนิกายที่ยึดพระสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นแม่บทโดยพระนิชิเร็น เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น ท่านเกิดวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.1765 และอุปสมบทเมื่ออายุได้ 16 ปีหลังจากศึกษาพระธรรมมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ท่านได้ข้อสรุปว่า คำสอนของพระสัทธรรมปุณฑริกสูตรนี้เท่านั้นถูกต้องแท้จริง
จากนั้นจึงเริ่มเผยแผ่คำสอน หลักปฏิบัติของนิกายนี้ไม่ซับซ้อน เพียงแต่มีศรัทธามั่นคงแล้วกล่าวนมัสการว่า นะมุ เมียวโ เรงเง เคียว ซึ่งแปลว่า ขอนอบน้อมแด่สัทธรรมปุณฑริกสูตร โดยขณะกล่าวต้องตระหนักว่าตนเองมีพุทธภาวะอยู่ในตัว แล้วจะสามารถกำจัดสักกายทิฏฐิและบรรลุธรรมได้
นิชิเร็นเป็นคนหัวรุนแรง เผยแผ่คำสอนโดยวิธีโจมตีต่างนิกาย เขาด่าโฮเน็นผู้ก่อตั้งนิกายสุขาวดีว่าเป็นสัตว์นรก การกล่าว นัมบู อมิดา บุตสึ ของนิกายสุขาวดีก็เป็นทางไปสู่นรกอีกทั้งชอบวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล เขาเขียนเสนอโครงการปกครองประเทศให้รัฐบาล และพยากรณ์ว่า ถ้ารัฐบาลไม่ทำตามเขาจะมีมหันตภัยมาสู่ประเทศ นิชิเร็นจึงมีคนเกลียดชังมากเขาถูกเนรเทศ 2 ครั้ง ถูกทำร้ายถึง 2 ครั้ง แต่ก็รอดตายมาได้ทุกคราว
ยุคสงครามกลางเมือง หลังจากที่โชกุนตระกูลแรกคือมินาโมโตปกครองประเทศมาได้ 28 ปี อำนาจจึงเริ่มเปลี่ยนมือ คือในปี พ.ศ.1756 อำนาจที่แท้จริงเปลี่ยนไปยังตระกูลโฮโจซึ่งเป็นตระกูลทางภรรยาของโยริโมโต
การฟื้นฟูอำนาจการปกครองโดยจักรพรรดิมีขึ้นในช่วงสั้นๆ คือตั้งแต่ปี พ.ศ.1876 - 1881 หลังจากนั้นรัฐบาลโชกุนหรือรัฐบาลทหารชุดใหม่ก็ได้สถาปนาขึ้นอีก โดยตระกูลอาชิคางะที่มุโรมาจิ ในกรุงเกียวโต หลังจากปกครองประเทศมาได้ 200 กว่าปี ก็เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นระหว่างผู้นำทหารแต่ละตระกูล ในครั้งนั้นมีนักรบผู้หนึ่งชื่อ โอดะ โนบุนากะ (Oda Nobunaga) ฝึกให้ทหารของเขาใช้อาวุธปนที่พ่อค้าโปรตุเกส นำมาขายในปลายพุทธศตวรรษที่ 21 จึงทำให้กองทัพแข็งแกร่งและสามารถปราบหัวเมืองต่างๆ ลงได้
ช่วงสงครามกลางเมืองนี้ส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาส นาอย่างร้ายแรงมาก พระภิกษุถึงกับต้องจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับเหล่าทหาร โดยมีสำนักสงฆ์นิกายเทนไดแห่งภูเขาฮิเออิเป็นศูนย์กลางของกองทัพ โอดะ โนบุนากะสั่งการให้กองทหารกว่า 30,000 นาย เข้าโอบล้อมเทือกเขาฮิเออิแล้วตีโอบตะลุยขึ้นไปยังวัดซากาโมโตะสั่งให้ฆ่าพระทุกรูปและชาวบ้านทุกคนบนเทือกเขาไม่เว้นแม้แต่ผู้หญิงและเด็กทารก ให้เผาวัดและบ้านเรือนทุกหลังจนวอดวาย จากนั้นให้ทหารบุกเผาวัดอื่นๆ อีกประมาณ 3,000 วัดที่มีทีท่าว่าจะก่อการกบฏต่อเขา
หลังจากปราบกองทัพพระสงฆ์ลงได้ราบคาบแล้ว โอดะ โนบุนากะสนับสนุนให้มิชชันนารีชาวโปรตุเกสนำศาสนาคริ สต์นิกายเยซูอิทมาเผยแผ่ จนได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว แม้ตัวเขาเองก็เปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนาด้วย โนบุนากะครองอำนาจอยู่ได้กว่า 48 ปี ก็ถูกอะเคจิมิตสึฮิเดะ แม่ทัพคนสนิทสังหารในปี พ.ศ.2125 เนื่องจากแค้นใจที่ถูกโนบุนากะทำให้เขาได้รับความอับอายต่อหน้านายทหาร แต่อะเคจิ มิตสึฮิเดะก็ถูกลอบสังหารเช่นเดียวกันจากโทโยโทมิฮิเดโยชิ นายทหารคนสนิทอีกคนหนึ่งของโอดะ โนบุนากะ
จากนั้น โทโยโทมิสิเดโยชิ ก็ได้สืบทอดอำนาจต่อจากโนบุนากะ รวมญี่ปุ่นให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จในปี พ.ศ.2133 ช่วงแรกเขาสนับสนุนนักสอนศาสนาชาวตะวันตกเป็นอย่างดีจนกระทั่งวันหนึ่งกะลาสีฝรั่งพูดในร้านเหล้าว่า รัฐบาลของเขาอาศัยพวกบาทหลวงเป็นแนวหน้าในการล่าอาณานิคม ที่ใดชาวพื้นเมืองนับถือคริสต์ศาสนามาก ก็ชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นทางจิตใจถ้าเกิดสงครามขึ้นแล้ว พวกเหล่านี้จะเป็นสายลับช่วยกองทัพให้เข้ามาโจมตีบ้านเมืองของตนเมื่อฮิเดโยชิทราบเรื่องนี้ จึงออกคำสั่งกวาดล้างคริสต์ศาสนาให้สิ้นซาก
ยุคปิดประเทศ หลังจากิเดโยชิเสียชีวิตแล้ว โทะคุงะวะ อิเอะยะสุ ได้ครองอำนาจต่อโดยย้ายศูนย์กลางการบริหารแผ่นดินไปที่เมืองเอะโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) และได้ตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นในปี พ.ศ.2146 รัฐบาลโทะคุงะวะปกครองญี่ปุ่นอยู่ 260 ปี ยุคนี้ยังมีการติดต่อกับตะวันตกทางด้านการค้า แต่ได้กำจัดนักบวชและคริสต์ศาสนิกชนอย่างรุนแรง เช่น ประหารชีวิตกำหนดโทษเผาทั้งเป็นและริบทรัพย์ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ต่อมาได้ขับไล่ชาวตะวันตกออกจากประเทศสั่งห้ามชาวต่างชาติทุกคนเข้าประเทศ ยกเว้นกลุ่มที่ได้รับอนุญาตบางกลุ่ม ตั้งแต่นั้นญี่ปุ่นจึงเข้าสู่ยุคปิดประเทศสถานการณ์พระพุทธศา สนายุคนี้ก็ซบเซา เพราะถูกรัฐบาลแทรกแซง และให้การสนับสนุนศาสนาขงจื้อแทน
ยุคเมจิถึงปัจจุบัน ญี่ปุ่นปิดประเทศอยู่ประมาณ 250 ปี เปิดประเทศอีกครั้งหลังจากการมาเยือนของ หรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2396 ยุคนี้ระบบโชกุนอ่อนแอลงมากและสิ้นอำนาจลงในสมัยพระจักรพรรดิเมจิ (พ.ศ.2411-2455) สมัยนี้ญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้ามาก ด้วยระยะเวลาเพียง 30 ปีแห่งการพันาประเทศตามตะวันตก ญี่ปุ่นได้กลายเป็นยุโรปแห่งตะวันออกมีกำลังทางเศรษฐกิจและทางทหารพรั่งพร้อม จนสามารถจมกองทัพเรือรัสเซียในทะเลญี่ปุ่นได้ทั้งกองทัพ
ยุคนี้ลัทธิชินโตได้รับความนิยม เพราะคำสอนยกย่องพระจักรพรรดิให้เป็นอวตารของเทพเจ้าส่วนพระพุทธศาสนากลับเสื่อมโทรม มีการห้ามตั้งนิกายใหม่ ห้ามสร้างวัดเพิ่ม พิธีกรรม ความเชื่อและวัตถุที่เคารพในพระพุทธศาสนาถูกยกเลิกจากพระราชสำนักทั้งหมด ประกาศให้ยึดวัดมาสร้างเป็นโรงเรียน โรงงาน บังคับให้ชีไปมีสามี ด้วยแรงกดดันนี้ทำให้พุทธบริษัทมีความตื่นตัวและปฏิรูปพระพุทธศาสนาเพื่อความอยู่รอดดังนี้
1.สร้างโรงเรียนขึ้นในวัดใหญ่ๆ บางวัด และสร้างวิทยาลัยอาชีวะชั้นสูงด้วย
2.สร้างมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาขึ้น โดยรวบรวมทุนจากวัดใหญ่ๆ หลายวัด หรือรวบรวมทุนระหว่างนิกาย เช่น นิกายเท็นได กับนิกายชิน มหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นที่สร้างโดยทุนของพระพุทธศาสนายุคนั้นมี 13 แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยโอตานิ
3. บำเพ็ญงานด้านสาธารณกุศล ด้วยการสร้างโรงพยาบาลสถานสงเคราะห์คนทุพพลภาพสถานสงเคราะห์เยาวชน องค์กรจัดหางานให้แก่คนตกงาน วัดใหญ่ๆ หลายวัดรวมทุนกันสร้างบริษัทการค้า โรงงานอุตสาหกรรม เมื่อได้กำไรมาแล้วก็นำมาใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของพระพุทธศาสนา
4.ส่งเสริมการค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก คือ ฉบับไทโช ตีพิมพ์หนังสือพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ปีละหลายล้านเล่ม ความรู้ทางพระพุทธศาสนาของญี่ปุ่นจึงก้าวหน้ามาก
เมื่อมีการปฏิรูปเช่นนี้ ทำให้ฐานะพระพุทธศาสนาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว จนรัฐบาลไม่กล้าแตะต้องกิจการภายใน ในที่สุดการคุกคามพระพุทธศาสนาจึงยุติไปโดยปริยาย และหลังจากญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 นายพลแมคอาเธอร์สั่งยุบศาสนาชินโต เพราะถือเป็นศาสนาเพาะวิญญาณสงคราม จึงทำให้พระพุทธศาสนาหมดคู่แข่งอย่างเป็นทางการไปหนึ่งศาสนา ซึ่งได้ต่อสู้ทางอุดมการณ์กันมายาวนานนับพันปี ถึงแม้จะไม่อาจลบเลือนไปจากจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นได้เสียทีเดียว
ทุกวันนี้คู่แข่งใหม่ที่น่ากลัวกว่าชินโตมากคือ วันธรรมตะวันตก ที่นับวันจะหลั่งไหลเข้าไปยังญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ วันธรรมเหล่านี้ส่งเสริมให้คนติดในวัตถุ ความสะดวกสบายและสนุกสนานเพลิดเพลินจนละทิ้งศาสนา เยาวชนทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะญี่ปุ่นให้เวลากับการคุยโทรศัพท์มือถือ เล่นอินเทอร์เน็ต เล่มเกมคอมพิวเตอร์ เดินเที่ยวห้าง สรรพสินค้า มากกว่าเวลาอ่านหนังสือ หลายต่อหลายคนเล่นเกมจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน จนมีข่าวเด็กช็อกตายหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ได้ยินอยู่บ่อยๆ แล้วเยาวชนยุคนี้จะเอาเวลาที่ไหนมาสนใจพระพุทธศาสนา เพราะแม้แต่เวลานอนยังไม่มี
ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นยังนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่กับศาสนาชินโต โดยพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นหลายนิกาย นิกายที่สำคัญมี 5 นิกาย คือ
1. นิกายเทนได หรือเทียนไท้ หรือสัทธรรมปุณฑริก พระไซโจเป็นผู้ตั้ง โดยตั้งชื่อนิกายตามชื่อภูเขาเทียนไท้ในประเทศจีน ซึ่งเป็นสำนักที่ท่านไปศึกษา
2. นิกายชินงอน หรือตันตระ พระคูไคเป็นผู้ตั้งในเวลาใกล้เคียงกับนิกายเทนไดนิกายนี้ยึดคัมภีร์มหาไวโรจนสูตรเป็นหลัก ถือว่าพระไวโรจนพุทธเจ้าเป็นที่เคารพสูงสุด นอกจากนี้ นิกายนี้ยังประสานคำสอนเข้ากับลัทธิชินโตสามารถยุบวัดชินโตเป็นวัดชินงอนได้หลายวัด
3. นิกายโจโด หรือสุขาวดี โเน็นเป็นผู้ตั้ง นิกายนี้ อนว่าสุขาวดีเป็นแดนอมตสุขจะไปถึงได้ด้วยการออกพระนามพระอมิตาภพุทธะ โจโดยังมีนิกายย่อยอีกมาก เช่น โจโดชินหมายถึงสุขาวดีแท้ ตั้งโดยชินแรน มีคติว่า "ฮิโชฮิโชกุ ไม่มีพระไม่มีฆราวา " ทำให้พระในนิกายนี้มีภรรยาได้ ฉันเนื้อได้ มีความเป็นอยู่คล้ายฆราวา
4. นิกายเซน หรือฌาน นิกายเซนเน้นการปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนาเพื่อให้เข้าถึงฌานที่เรียกว่า ซาเซน นิกายนี้คนชั้นสูงและพวกนักรบนิยมมาก เซนมีนักวิชาการคนสำคัญคือ ดร.ดี ที ซูสุกิ (พ.ศ.24332509) เป็นผู้บุกเบิกเผยแผ่เซนให้เป็นที่รู้จักในตะวันตก ด้วยการแต่งตำราและแปลคัมภีร์เป็นภาษาอังกฤษ
5. นิกายนิชิเร็น พระนิชิเร็นเป็นผู้ตั้ง นิกายนี้นับถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรอย่างเดียว โดยภาวนาว่า นะมุ เมียวโฮ เรงเง เคียว (นโม สทฺธมฺมปุณฺฑริก สุตฺตสฺส แปลว่า ขอนอบน้อมแด่สัทธรรมปุณฑริกสูตร) เมื่อเปล่งคำนี้ออกมาด้วยความรู้สึกว่ามีธาตุพุทธะอยู่ในใจ ก็บรรลุโพธิญาณได้
โซกะ กัคไค (Soka Gakkai) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในสายนิชิเร็นปัจจุบันมี มาชิกกว่า 12 ล้านคนใน 190 ประเทศทั่วโลก โดยมี ไดซาขุ อิเคดะ เป็นผู้นำองค์กรโซกะ กัคไค แปลว่า สมาคมสร้างสรรค์คุณค่า
การเผยแผ่ของนิกายนี้ใช้ยุทธวิธี ชากุบุกุ แปลว่า ทำลายแล้วครอบครอง หมายความว่าทำให้มองเห็นข้อผิดพลาดในหลักคำสอนเก่าจนไม่เชื่อถือแล้วให้เปลี่ยนมานับถือนิกายนิชิเร็นวิธีเข้านิกายนี้คือ ทำลายรูปเคารพในศาสนาหรือนิกายเดิมของตนแล้วไปเข้าวัดที่อยู่ใกล้ เพื่อทำพิธีประมาณ 25 นาที พร้อมรับมอบโงฮอนวอน มาตั้งบูชาที่บ้านตน และสวด นะมุ เมียวโฮ เรงเง เคียว ทุกวัน ตอนเช้า 5 ครั้ง ตอนค่ำ 3 ครั้ง
การบริหารของสมาคมเน้นความเป็นทีมสมาชิกต้องเป็นหนึ่งเดียวไม่มีการโต้แย้งหมู่คณะจะเข้มแข็งมั่นคงได้ด้วยศรัทธาเป็นฐานและเป็นจุดศูนย์รวม บุคคลเป็นเพียงส่วนประกอบและมีความหมายเพียงช่วยให้เกิดการกระทำของส่วนรวม
นิกายนี้จะสร้างรัฐซ้อนขึ้นในรัฐ โดยสมาชิกประมาณ 20-30 ครอบครัว รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Squad ถ้ารวมได้ 6 Squad เรียกว่า Company ถ้ารวมได้ 10 Company เรียกว่า District ถ้ารวมหลายๆ District เรียกว่า Religion Chapter หรือภาค แต่ละหน่วยเหล่านี้มีการประชุมกันเป็นประจำเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางศาสนาซึ่งกันและกัน
ในด้านเยาวชนมีการสอนธรรมภาคฤดูร้อน แจกตำราเกี่ยวกับหลักธรรมของนิกายและจัด อบประจำปี เมื่อสอบได้ก็รับคุณวุฒิตามลำดับชั้น
ปัจจุบัน โซกะ กัคไค มีบทบาทสำคัญในการเมืองญี่ปุ่น เพราะมีบุคคลชั้นนำของนิกายนี้เป็นเลขาธิการพรรคการเมืองชื่อ พรรคโกเมอิโต โดยมีนโยบายที่เป็นประชาธิปไตยแบบพระพุทธศาสนา พรรคนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนมีอิทธิพลเป็นอันดับสามของประเทศ
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา