คำนำ ปฏิรูปมนุษย์ภาควัดอบอุ่น

วันที่ 05 พค. พ.ศ.2560

คำนำ ปฏิรูปมนุษย์ภาควัดอบอุ่น,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

คำนำ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ภาควัดอบอุ่น

           นับตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว การพัฒนา "เศรษฐกิจ" กับ"จิตใจ" ต้องก้าวไปพร้อมกัน เพราะสองเรื่องนี้เปรียบเสมือนขาทั้งสองข้างของคนเราที่จะต้องมีความสมดุลกัน หากขาดหายไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือพิกลพิการไปข้างใดข้างหนึ่ง ย่อมเกิดความเสียสมดุล ทำให้หกคะมํ่าควํ่าคะเมนได้โดยง่าย ด้วยเหตุนี้การพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจไปด้วยกัน จึงเท่ากับเป็นการกำหนดชะตากรรมแห่งความอยู่รอดของประเทศ โดยมีความเจริญรุ่งเรืองหรีอตกตํ่าเป็นเดิมพัน

           สำหรับในทางปฏิบัตินั้น แท้ที่จริงแล้ว การพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจ ก็คือ การสร้างพลเมืองให้มีทั้งครามเก่งและศวามดีอยู่ในคนๆเดียวกัน เพราะบ้านเมืองที่มีแต่คนเก่งแต่ไม่มีคนดี ย่อมมีแต่การเอารัดเอาเปรียบชิงดีชิงเด่นเดีอดร้อนวุ่นวาย บ้านเมืองที่มีแต่คนดีแต่ไม่มีคนเก่งย่อมล้าหลังถูกเบียดเบียนรังแกได้โดยง่าย ดังนั้นหัวใจสำคัญของบ้านเมืองจึงอยู่ที่ทุกครอบครัวต้องมีศักยภาพไนการสร้างคนเก่งและคนดีไหัเกิดขึ้นในวงศ์ตระกูล

        แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำใหัการสร้างคนเก่งและคนดีล้มเหลวนั้น ก็คือ อบายมุขโดยเฉพาะข้อที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ การคบคนพาล เพราะคนพาลนั้นไม่ว่าไปที่ได ย่อมมีแต่ชักชวนโน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นดีเห็นงามกับการดื่มสุรา เที่ยวสถานเริงรมย์ทำผิดประเวณีเล่นการพนัน ประพฤติตนเป็นมิจฉาชีพด้วยการทำมาหากินอยู่บนความทุกข์ความเดือดร้อนของผู้อื่นไปตลอดทาง คนพาลอยู่ที่ไหนจึงมีแต่ความวิบัติล่มจมอยู่ที่นั่น แม้มีทรัพย์สินเงินทองนับหมื่นล้านแสนล้านก็ล้างผลาญไห้หมดไปได้ไนเวลาไม่นานนัก

     ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาส้มพุทธเจ้าจึงตรัสว่า อบายมุข คือต้นเหตุแห่งครามฉิบหายทั้งปวงใครก็ตามที่ไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขแม้เพียงทดลองเล่นๆ เพราะความอยากลอง หรีอทำไปด้วยความคึกคะนองก็ตาม เมื่อไปติดใจกับความสนุกที่ฉุดลงสู่ความหายนะอย่างลืมตัวเสิยแล้ว ถึงแม้คนๆนั้นจะเคยเป็นคนดีแสนดีเพียงใดก็ตาม แต่สุดท้าย ความดีก็จะหมดลง กลายเป็นคนชั่วอย่างสมบูรณ์แบบ โดยพร้อมจะใช้ความเก่งกาจของตนเป็นกำลังในการแพร่ระบาดความชั่วให้กระจายไปทั่วทั้งสังคมทันที

     สาเหตุที่ทำให้คนติดอบายมุขกลายเป็นคนชั่วอย่างสมบูรณ์แบบได้นั้น ก็เพราะเมื่อคนเรามีวินิจฉัยชั่ว มองเห็นความวิบัติเสียหายว่าเป็นสิงที่ดีเสียแล้ว คนๆนั้นไม่ว่าคิด พูด ทำ สิ่งใด ย่อมไม่คำนึงถึงศีลธรรมของด้วเอง ศีลธรรมของสังคม ศีลธรรมของเศรษฐกิจ และศีลธรรมของบุดรหลานที่กำลังมองดูตัวเองเป็นแบบอย่างแม้แต่นิดเดียว นับจากนั้นเป็นต้นไป ย่อมสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ โดยปราศจากความรับผิดชอบต่อความเดือดร้อนเสียหายที่จะติดตามมาในภายหลังทั้งของผู้อื่นและของส่วนรวม

      คนที่มีพฤติกรรมไร้ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเช่นนี้ ย่อมไม่หลงเหลือความเป็นมิตรแท้ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอีกต่อไปมิหนัาชํ้า ยังมีแต่จ้องหาทางปอกลอก พูดจาหลอกลวง ประจบประแจงเอาใจ เพื่อชักชวนในทางวิบัติเสียหาย หากมีความผิดพลาดใดเกิดขึ้น ก็พร้อมหนีเอาตัวรอด พร้อมจะทรยศหักหลังพร้อมจะเหยีบยํ่าซ้ำเติมให้จมดิน

       บ้านเมืองที่มีพลเมืองจมอยู่ในอบายมุขนั้น ย่อมไม่มีทางทำ ให้การพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจไปด้วยกันได้อย่างแน่นอน ส่วนคนที่ประกอบอาชีพอบายมุขนั้น ก็คือคนที่ทำมาหากินอยู่บนความทุกข์ความเดือดร้อนของผู้อื่น โดยไม่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

       อบายมุขจึงเป็นตัวการทำลายชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริงเพราะทำให้คนดีกลายเป็นคนเลว คนเก่งกลายเป็นคนชั่ว ตราบใดที่ปล่อยให้อบายมุขครองเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจย่อมไม่มีวันทำได้สำเร็จอย่างแน่นอน

         ด้วยเหตุนี้เอง นับตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว การสร้างวัดเพื่อเป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมให้เต็มแผ่นดิน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ตัองสร้างขึ้นมา โดยให้กระจายอยู่ประจำทั่วทุกหมุ่บ้าน เพราะบรรพชนชาวพุทธในยุคก่อน ต่างตระหนักดีว่า

        "ความเก่งที่เกิดขึ้นกับคนพาล ชั่งเป็นอบายมุขข้อที่ร้ายแรงที่สุด ย่อมมืแด่นำความวิบ้ติย่อมมีแต่นำความวิบัติเสียหายมาให้แก่บ้านเมือง"

    ท่านจึงรีบเร่งขวนขวายตะเกียกตะกายช่วยกันสร้างวัดบำรุงรักษาวัด สืบทอดประเพณีทำบุญของชาวพุทธเรื่อยมาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย แม้แต่ชีวิตก็ยอมอุทิศพลีให้ได้ เพื่อสร้างวัดให้ลูกหลานได้มีโรงเรียนสอนศีลธรรมประจำหมู่บ้านของตัวเอง

     เพราะฉะนั้น การสร้างวัดเพื่อเป็นโรงเรียนสอนศีลธรรม จึงเท่ากับเป็นการป้องกันปัญหาอบายมุข ไม่ให้เกิดขึ้นกับบุตรหลานแบบตัดไฟแต่ต้นลม ขณะเดียวกันก็เป็นการแก้ปัญหาที่มีอยู่แล้ว ด้วยการใช้วัดเป็นสถานที่ดกศักดิ์สิทธสร้างกำลังใจ เพื่อเลิกอบายมุขให้ได้อย่างเด็ดขาด ขณะเดียวกัน ก็สามารถพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจไปพร้อมๆกันโดยอาศัยวัดเป็นกำลังในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อสร้างพลเมืองให้เป็นคนเก่งและคนดี

          ดังนั้น การสร้างวัดให้กระจายอยู่ทั่วประเทศมากเท่าใด ยิ่งเป็นการเพิ่มการผลิตคนเก่งและคนดีให้แก่บ้านเมืองมากเท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจกบจิตใจไปดัวยกันทันที โดยสามารถยึดเอาแนวทางการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปประยุกต์ให้กับการพัฒนาบ้านเมืองไดัโดยปริยาย

        การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สามารถสรุปโดยย่อได้ ๔ขั้นตอน

       ขั้นตอนที่ ทรงสร้างพระภิกษุผู้ทำหน้าที่เป็นครูสอนศีลธรรมประจำท้องถิ่นให้เต็มแผ่นดิน

      ขั้นตอนที่ ทรงส่งเสริมชาวพุทธให้สร้างวัดเพิ่อเป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมประจำท้องถิ่นให้เต็มแผ่นดิน

     ขั้นตอนที่ทรงสร้างความสามัคคีของชาวพุทธดัวยอปริหานิยธรรม. ให้เกิดขั้นทั้งแผ่นดิน โดยมีพุทธบัญญัติให้หมั่นประชุมพร้อมเพรียงกันที่วัดประจำท้องถิ่นของแต่ละหมู่บ้านเพื่อถือศีลฟังธรรมสร้างบุญกุศลในทุกวันพระ (วัน ๘ คํ่า, ๑๕ คํ่า)พร้อมกันทั้งประเทศ

    ขั้นตอนที่ ทรงบ้ญญัดิ "อริยวินัย" คือคุณสมบ้ดิมาตรฐานของคนดีและหน้าที่ประจำทิศ เพื่อสร้างวัฒนธรรมชาวพุทธให้เกิดขั้นทั้งแผ่นดิน โดยผลลัพธ์ที่ไดัก็คือ การสร้างสังคมปลอดอบายมุขที่เป็นแหล่งผลิตพลเมืองที่มีทั้งดวามเก่งและความดีให้กับประเทศชาติบ้านเมือง

     สำหร้บรายละเอียดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งสี่ขั้นตอนนั้น พระพุทธองค์ทรงย่อลงสู่ภาคปฏิบัติด้วยวิธีการง่ายๆเหลือเพียงคำเดียว นั่นคือคำว่า "ปฏิรูปเทส "ได้แก่ อาวาสเป็นที่สบาย อาหารเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย ธรรมะเป็นที่สบาย โดยขอเพียงชาวพุทธแต่ละท้องถิ่นศึกษาและปฏิบัติให้ครบถ้วนทั้งสี่ประการนี้ วัดเพื่อการสอนศีลธรรมประจำท้องถิ่น หรือโรงเรียนเพื่อการสอนศีลธรรมประจำท้องถิ่น ย่อมกลายเป็นบุญสถานอันสักดิ้สิทธ์ที่ทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ตามพุทธประสงค์ ณ ที่แห่งนั้นท้นทีและนั่นก็จะกลายเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและจิตใจด้วยการเผยแผ่พุทธธรรมควบคู่กันไปโดยปริยาย

     สำหร้บรายละเอียดของปฏิรูปเทส ๔ในแต่ละข้อนั้นหนังสือชุด "วัดอบอุ่น"นี้จะนำเสนอรายละเอียดไปตามลำดับๆ ต่อไปโดยแบ่งออกเป็น ๖ ตอน ได้แก่

ตอนที่ พุทธวิธีแกัป็ญหาวัดร้าง

ตอนที่ ปฏิรูปเทส สูตรสำเร็จการบริหารวัด

ตอนที่ อาวาสเป็นที่สบาย

ตอนที่ อาหารเป็นที่สบาย

ตอนที่ บุคคลเป็นที่สบาย

ตอนที่ ธรรมะเป็นที่สบาย

        สำหรับเนื้อหาของหนังสือชุดวัดอบอุ่นทั้ง ๖ ตอนนื้ คณะผู้จัดทำได้ทยอยรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นจากพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว) รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ซึ่งเป็นการให้ "โอวาทหลังฉัน" แก่พระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร ตลอดจนญาติโยมที่เดินทางมาฟ้งพระธรรมเทศนา ณ วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวงจ.ปทุมธานีตั้งแต่ปีพุทธด้กราช๒๕๓๓เป็นต้นมา จวบจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๓) ซึ่งนับเป็นการแสดงพระธรรมเทศนาด้วยความวิริยอุตสาหะในการสร้างวัดให้เป็นวัดสร้างพระให้เป็นพระ สร้างคนให้เป็นคนดี อย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน ทั้งนื้ก็เพื่อความเจริญรุ่งเรีองของพระพุทธศาสนาโดยส่วนรวมเป็นเป้าหมายสำคัญ

       สำหรับหนังสือ วัดอบอุ่น เล่มแรกนื้ ขอนำเสนอเฉพาะตอนที่๑พุทธวิธีแก้ปัญหาวัดร้าง เป็นปฐมเริ่มก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับ โครงการบวชพระ ๑,๐๐๐๐,๐๐๐ รูป และ โครงการบวชอุบาสิกาแก้ว ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน ตามดำริของพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ(หลวงพ่อธมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เพื่อเพิ่มจำนวนพระภิกษุและจำนวนชาวพุทธมาช่วยกันแก้ปัญหาวัดร้างให้หมดสินไปจากผืนแผ่นดินไทยในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของการคณะสงฆ์ทั่วทุกจังหวัดทั้งสังฆมณฑล นับเป็นการรวมพลังของการคณะสงฆ์ทั้งประเทศที่น่าอนุโมทนาสาธุการของมนุษย์และเทวดาเป็นอย่างยิ่ง

      ท้ายที่สุดนี้ คณะผู้จัดทำต้องขอกราบขอบพระคุณในความกรุณาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อทั้งสองเป็นอย่างยิ่ง และขออัญเชิญบารมีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บารมีธรรมของพระเดชพระคุณหลวงปูวัดปากนํ้า ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)บารมีธรรมของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ได้โปรดคุ้มครองพระเดชพระคุณหลวงพ่อทั้งสอง ให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เป็นเสาหลักในการถ่ายทอดพระธรรมคำสั่งสอนทั้งมวลในพระพุทธศาสนาให้แก่ศิษยานุศิษย์ตลอดกาลนาน

     อนึ่ง หากมีข้อผิดพลาดประการใดในหนังสือเล่มนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านหลักธรรม หรือด้านหลักภาษาก็ตาม คณะผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ณ ที่นี้ด้วย และพร้อมที่จะน้อมร้บคำแนะนำจากผู้อ่านทุกท่านด้วยความขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017257690429687 Mins