ปัญหาวัดร้าง (ตอนที่ ๒ )
๔. เหตุแห่งความสิ้นสูญของพระพุทธศาสนา
ในทางตรงกันข้าม ถ้าวัดใดก็ตาม ไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเองโดยเฉพาะไม่สามารถแจกจ่ายโลกุตรธรรมให้กับประชาชน วัดๆนั้นก็จะต้องกลายเป็น "วัดร้าง" อย่างแน่นอน
เพราะเมื่อวัดไม่สามารถเป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมได้แล้วประชาชนย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากพระพุทธธรรมอย่างเต็มที่ความศรัทธาในพระรัตนตรัยย่อมไม่เกิดขึ้น ความศักดิ์สิทธิ์ของวัดย่อมไม่ปรากฏขึ้นในสายตาประชาชน ความรู้สืกว่าวัดเป็นดินแดนเพี่อการบรรลุธรรมย่อมไม่มีอีกต่อไปประชาชนย่อมรู้สึกว่าการทำนุบำรุงย่อมกลายเป็นความสินเปลืองโดยใช่เหตุ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ความรู้สึกว่าพระภิกษุเป็นผู้เอารัดเอาเปรียบสังคมก็จะตามมา การดูหมิ่นดูแคลนพระภิกษุด้วยถ้อยคำค่อนขอดต่างๆ นานาก็จะตามมา แล้วก็ปล่อยให้วัดร้างไปต่อหน้าต่อตา โดยไม่เหลียวแลอีกต่อไป
ยิ่งกว่านั้น เมื่อความศรัทธาในพระธรรมคำสอนสิ้นไปประชาชนจะรู้สิกอีกว่า "การศึกษาทางธรรมเป็นเรื่องครํ่าครึล้าหลังกว่าการศึกษาทางโลก" ก็จะเลิกนับถือพระพุทธศาสนาหันไปบูชาเงินเป็นพระเจ้า ไข้เงินเป็นตัวกำหนดความถูก-ผิด ดี-ชั่วใช้เงินฟาดหัวเพี่อให้ได้สิงที่ต้องการ
ผู้คนก็จะเกิดค่านิยมยอมทำทุกอย่างให้ได้เงินมาโดยไม่คำ นึงถึงศีลธรรม แม้แต่การทำมาหากินด้วยอบายมุข ซึ่งเป็นการเลี้ยงชีพอยู่บนความทุกข์ของคนอื่นก็ทำได้โดยไม่รู้สึกขัดเขินละอายแก่ใจ
บรรยากาศของบ้านเมืองย่อมเต็มไปด้วยความฉาวโฉ่ การชุบซิบนินทา ยินดีกับการรับรู้เรึ่องผิดศีลผิดธรรมตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน และนั่นก็จะกลายเป็น "มิจฉาทิฏฐิ" คือ ความเข้าใจผิดใหญ่หลวงของประชาชน ว่า "พระธรรมอันเป็นเครื่องนำ ผองชนหลุดพ้นทุกข์ในวัฏสงสาร" ตํ่าต้อยด้อยค่ากว่า "การทำมาหากินและการใข้ชีวิตที่อังจมอยู่ในอบายมุข" ทั้งบ้านทั้งเมืองจึงไม่หลงเหลือบรรยากาศในการศึกษาธรรมะและปฏิบ้ติธรรมอีกต่อไป
เมื่อบรรยากาศของการศึกษาปฏิบัติธรรมของ "เมืองพุทธ"หมดสิ้นไป ก็เท่ากับ "วัฒนธรรมชาวพุทธ" หมดสิ้นตาม "การทำทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา" ย่อมหมดสิ้นลง "ความเคารพในพระรัตนตวัย" ย่อมหมดสิ้นสมบูรณ์ และนั่นก็คือ ความสิ้นสูญของพระพุทธศาสนาด้งที่เกิดขึ้นกับอดีตเมืองพุทธในหลายๆประเทศที่ผ่านมา
ด้งนั้น การที่ชาวพุทธปล่อยให้วัดร้างไปหนึ่งวัด ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า วัดกำลังลดจำนวนลง พระภิกษุกำลังลดจำ นวนลง และชาวพุทธกำลังลดจำนวนลง เมื่อสถานการณ์ทุกวันนี้เป็นเช่นนี้ สิงใดคือหลักประกันว่า วัดทั้งสามหมื่นกว่าวัดทั่วประเทศจะไม่ร้างจนหมดสินไปจากผืนแผ่นดินไทย
๕. หัวใจแห่งความเจริญร่งเรืองของพระพุทธศาสนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "ความสื่อมและความเจริญของพระพุทธศาสนา" ขึ้นอยู่กับ "ความเคารพในธรรม" เพราะเมื่อขาดความเคารพในธรรมย่อมเท่ากับขาดความเคารพในคุณความดีทั้งปวงของพระพุทธศาสนา การศึกษาย่อมขาดสูญ การบรรลุธรรมย่อมขาดสูญ การปกป้องพระพุทธศาสนาย่อมขาดสูญความเคารพในธรรมจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะแม้แต่พระบรมศาสดาเมื่อตรัสรู้แล้ว ก็ยังต้องเคารพโลกุตรธรรมที่พระองค์ตรัสรู้แล้วต้วยพระองค์เองต่อไปดังนั้น เรื่องของความเคารพในธรรมนี้ จึงเป็นรากฐานทั้งหมดของพระพุทธศาสนาทีเดียว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้โอวาทเรื่องความเคารพในธรรมไว้ ๓ ระดับ สำ หรับพระนวกะ พระมัชฌิมะ และพระเถระซึ่งมีภูมิรู้ภูมิธรรมและพรรษาแก่อ่อนกว่ากัน
๕.๑) โอวาทสำหรับพระนวกะ
พระนวกะ คือพระบวชใหม่ที่มีอายุการบวชยังไม่ครบ๕ พรรษา ยังต้องฝึกถือนิสัยของบรรพชิต''เพื่อละทิ้งนิสัยของฆราวาส ซึ่งติดมาจากบ้านตั้งแต่ก่อนบวช ยังต้องอยู่ในการปกครองดูแลของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ มีหน้าที่หลักคือการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันรักษาตัวเอง มากกว่าเทศน์สอนผู้อื่น เรียกกันเข้าใจง่ายๆ ว่า "พระใหม่" หรีอ "พระนักเรียน"
พระพุทธองค์ทรงให้โอวาทที่เหมาะแก่พระน้กเรียนไว้ว่า"ภิกษุหั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้...
๑. ฟังธรรมโดยเคารพ
๒. เรียนธรรมโดยเคารพ
๓. ทรงจำธรรมโดยเคารพ
๔. ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้วโดยเคารพ
๕. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ...... ย่อมเป็นไปเพี่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม"
ดังนั้น การปฏิบัติตามพระบรมพุทโธวาททั้ง ๕ ประการนี้ แม้พระภิกษุเพิ่งจะบวชใหม่ไดไม่นานนัก ก็ย่อมสามารถช่วยให้วัด ช่วยให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองได้ ญาติโยมเห็นพระใหม่
ตังใจอบรมฝึกฝนตนเอง ก็มีกำ ลังใจที่จะถวายปัจจัย ๔ เพิ่อบำรุงพระ บำ รุงวัด บำ รุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป การศึกษาพระธรรมวินัยของพระบวชใหม่ก็จะทำได้อย่างเต็มที่ ขณะ
เดียวกัน ญาติโยมก็จะรู้สืกว่า ปัจจัย ๔ ที่นำ มาถวายบำรุงนั้น ไม่เป็นสิงที่สูญเปล่าไปจากบุญกุศลที่ตนจะได้ร้บอย่างเต็มกำลังนั่นเอง
นี่คือ ความเคารพในธรรมของพระนวกะที่ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญไม่หายไปแห่งพระสัทธรรม
๕.๒) โอวาทสำหรับพระมัชฌิมะ
พระมัชฌิมะ คือ พระภิกษุที่มีอายุการบวชครบ ๕พรรษาแล้ว แต่ยังไม่ถึง ๑๐ พรรษา หากเป็นผู้ฉลาดก็ให้อยู่ได้โดยไม่ต้องถือนิลัย แต่หากเป็นผู้ไม่ฉลาดก็ยังต้องให้ถือนิสัยอยู่กับอุปัชฌาย์อาจารย์จนตลอดชีวิต
มีหน้าที่หลักคือ การคืกษาพระธรรมวินัย การฝึกเทศน์สอนตัวเอง การฝึกเทศน์สอนผู้อื่น ต้องขวนขวายแบ่งเบาภาระของหยู่คณะและพระอุปัชฌาย์อาจารย์ เรียกกันเข้าใจง่ายๆว่า"พระพี่เลี้ยง"
พระภิกษุมัชฌิมะที่เป็นผู้ฉลาดในพระวินัย จะต้องมีคุณสมบัติครบ ๖ ประการได้แก่
๑) รู้จักอาบัติ
๒) รู้จักอนาบัติ
๓) รู้จักอาบัติเบา
๔) รู้จักอาบัติหนัก
๕) จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำ แนกได้ดีคล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖) มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
การที่พระมัชฌิมะมีคุณสมบัติเช่นนี้ ย่อมเป็นผู้รู้จักข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ตามพระธรรมวินัยของสงฆ์แล้ว ย่อมไม่ทำ ความลำบากให้กับพระอุปัชฌาย์อาจารย์ เพราะรู้จักรักษาตัวเองให้อยู่ในพระธรรมวินัยเป็นแล้ว จึงต้องฝึกค้นคว้า ฝึกเทศน์สอนฝึกเจริญภาวนา เพี่อให้มีความช่านาญในการกำจัดอาสวะกิเลสของตนต่อไป เพี่อจะได้ช่วยแบ่งเบาภาระของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไปอีกด้วย
พระพุทธองค์ทรงให้โอวาทที่เหมาะแก่พระพี่เลี้ยงหรือพระนักเทศน์ไว้ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้...
๑. เรียนธรรม (หมายถึงการเรียนพระไตรปีฏก) คือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
รติๅตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ...
๒. แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
๓. บอกธรรมตามที่ตนได้สด้บมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
๔. ทำการสาธยายธรรมตามที่ตนได้สด้บมา ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร
๕. ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจที่งธรรม ตามที่ตนได้สด้บมา ตามที่ตนได้เรียนมา...
... ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เอื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม"
ดังนั้นการปฏิบัติตามพระบรมพุทโธวาททั้ง ๕ประการนี้ ย่อมทำให้พระมัชฌิมะสามารถช่วยให้วัด ช่วยให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองได้ด้วยการขยันเล่าเรียนพระธรรมวินัยขยันเทศน์สอนตัวเอง สืกเทศน์สอนผู้อื่น และขยันช่วยแบ'งเบาภาระของหมู่คณะตลอดจนพระอุป้ชฌาย์อาจารย์ เช่น การช่วยเป็นพระพี่เลี้ยงให้แก่พระนวกะ เป็นต้น
สาเหตุที่พระมัชฌิมะเป็นพระพี่เลี้ยงให้พระนวกะได้ก็เพราะเป็นผู้ที่สามารถดูแลตัวเองให้อยู่ในพระธรรมวินัย และปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของพระภิกษุสงฆ์ได้อย่างถูกต้องแล้ว เช่น อาจาริยวัตร คือการอุปัฏฐากรับใช้ต่ออาจารย์อย่างถกต้องตามพระธรรมวินัย เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น การนุ่งห่มจีวร "การเดิน-การยืน-การนอน-การนั่ง-การล้างหน้า-การอาบนํ้า-การแปรงฟัน-การชักจีวร-การเก็บจีวร การบิณฑบาต-การขบฉัน-การดื่มนํ้า-การเคี้ยวอาหาร-การพูดคุย-การล้างบาตร-การรักษาบาตร การใช้เสนาสนะ-การปูอาสนะ-การล้างเท้า-การถอดรองเท้า-การวางตั่ง-การกวาดพื้น-การกวาดเพดาน-การกวาดช้างฝา-การปิดและการเปิดหน้าต่างในฤดูหนาว-การปิดและการเปิดหน้าต่างในฤดูร้อน การสำรวมอินทรีย์{ตา-หู-จมูก-ปาก-ลี้น-กาย-ใจ) -การถ่ายอุจจาระ-การปัสสาวะ-การบ้วนนํ้าลาย-การสนทนากับญาติโยม เป็นต้น
แต่เนื่องเพราะพระมัชฌิมะยังมีอายุการบวชไม่ครบ ๑๐พรรษาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้เป็นพระอุปัชฌาย์หรีอเป็นพระอาจารย์ผู้ให้นิสัยของบรรพชิต เพราะยังต้องปมเพาะคุณสมบัติอื่นๆ ของการเตรียมตัวเป็นพระเถระเมื่ออายุพรรษาครบสิบเพี่มขึ้นอีกโดยเฉพาะความฉลาดในการคัดเลือกคนการให้อุปสมบท การอบรมคน การปกครองคน การเผยแผ่ เป็นต้น
ดังนั้น การฝึกอบรมตนของพระมัชฌิมะตามโอวาทของพระพุทธองค์ทั้ง ๕ ข้อดังกล่าวนั้น ก็คือ การเคร่งครัดฝึกดูแลตัวเองให้อยู่ในพระธรรมวินัย สำ หร้บการฝึกค้นคว้าพระไตรปิฎก การฝึกเทศน์สอน การฝึกดูแลหมู่คณะ เพื่อเตรียมตัวเป็นพระเถระที่ดีในอนาคต ล้วนเป็นการเตรียมสร้างบุญอันยิ่งใหญ่ให้แก่ตนเองภายใตัร่มเงาพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
นี่คือ ความเคารพในธรรมของพระฟ้ชฌิมะที่ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่พายไปแห่งพระสัทธรรม
๕.๓) โอวาทสำหรับพระเถระ
พระเถระ คือพระภิกษุผูใหญ่ที่มีอายุการบวชมากกว่า๑๐ พรรษาขึ้นไป ถ้ามีพรรษามากกว่า ๒๐ เรียกว่า พระมหาเถระ
มีหน้าที่หลัก คือ เป็นผู้รักษาพระธรรมวินัย เป็นผู้ให้นิสัย ๔ แก่พระภิกษุบวชใหม่ เป็นผู้เผยแผ่พระธรรมคำสอนให้กว้างไกล เป็นผู้บรรลุธรรม เป็นผู้นำผองชนเจริญภาวนา เป็นผู้สร้างความสามัคคืในหมู่สงฆ์
พระภิกษุผู้เป็นพระเถระที่หน้กแน่นในธรรมวิน้ยนั้นจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติครบ ๑๐ ประการ
๑. เป็นกตัญญ บวชมานาน (หมายถึงรู้เหตุผลต้นปลายของเรื่องราวต่างๆ ในพระธรรมวินัย การคณะสงฆ์การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา นับตั้งแต่วันบวชมาไม่ตํ่ากว่าสิบพรรษา)
๒. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ แม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๓. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุดประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ครบถ้วน ทรงจำไวได้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๔. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี จำ แนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
๕. เป็นผู้ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น
๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม และอภิวินัย
๗. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๘. เป็นผู้น่าเลื่อมใสในการก้าวไปและถอยกลับ เป็นผู้สำรวมดีในการนั่งในละแวกบ้าน
๙. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๑๐. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
พระเถระที่มีคุณสมบัติทั้งสิบประการนี้ ย่อมสามารถเป็นหลักเป็นประธานให้แก่พระภิกษุนวกะและพระภิกษุมัชฌิมะที่อาศัยอยู่ในวัดนั้นได้ เพราะไม่ว่าใครเข้าไปอยู่ใกล้ ก็จะได้รับความเจริญก้าวหน้าในพระธรรมวินัย ได้ความเจริญก้าวหน้าในโลกุตรธรรมอันเป็นเครื่องนำตนพ้นจากทุกข์ และได้รับการฝึกอบรมให้เป็นชุนพลของกองทัพธรรมที่จะนำพระพุทธศาสนาแผ่ขยายออกไป
แต่การจะมีคุณสมบัติทั้ง ๑๐ ประการนั้นได้ พระบรมศาสดาทรงให้โอวาทที่เหมาะสมกับการฝึกอบรมตนของพระเถระที่มีพรรษาสิบขึ้นไปไว้ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้...
๑. ภิกษุเล่าเรียนพระสูตรที่เล่าเรียนมาดี ด้วยบทพยัญชนะที่สีบทอดกันมาดี แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สีบทอดกันมาดี ก็ชึ่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความดี...
๒. ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำ ให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทนรับฟังคำพรํ่าสอนโดยเคารพ
๓. ภิกษุเป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพเมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรไม่ขาดรากฐานมีที่พึ่งอาศัย
๔. ภิกษุเป็นเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม (หมายถึงละนิวรณ์ ๕ และบรรลุธรรมตั้งแต่ระดับปฐมฌานเป็นต้นไป) เป็นผู้นำ ในปวิเวก (หมายถึงนำผองชนเจริญภาวนา)ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรมเป็นผู้นำ ในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอทเทสที่สวดร่วมกันอยู่ผาสุก เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน จึงไม่มีการด่ากัน ไม่มีการบริภาษกันไม่มีการใส่ร้ายกัน ไม่มีการทอดทิ้งกัน หมู่คนที่ยังไม่เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็เลื่อมใสยิ่งขึ้น...
ย่อมเป็นไปเพื่อความด่ารงมั่น ไม่เลื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม"
พระบรมพุทโธวาทนี้ ชี้ให้เห็นว่า พระภิกษุเถระยิ่งพรรษาสูงมากเท่าใดยิ่งต้องเป็นผู้นำในการบำเพ็ญภาวนามากเท่านั้นเพราะพระภิกษุเถระคือผู้แจกจ่ายโลกุตรธรรมให้แก่พระมัชฌิมะพระนวกะและประชาชนที่บำรุงเลี้ยงพระพุทธศาสนาด้วยปัจจัย ๔อย่างไม่ฝืดเคือง
ตามปกติธรรมดาของคนเรานั้น การที่ใครจะแจกจ่ายสิ่งใดให้ผู้อื่นได้ ก็จะต้องเป็นผู้มีสิงนั้นก่อน การที่พระเถระจะเป็นผู้ให้โลกุตรธรรมแก่วัดแก่สังคมได้ พระเถระก็ต้องเป็นผู้มีโลกุตรธรรมนั้นก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทอดทิ้งการกระทำความเพียรภาวนาไม่ได้เลยแม้แต่วันเดียว และพระพุทธองค์ก็ทรงรู้ดีว่า การไดีโลกุตรธรรมนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะอาสวกิเลสเป็นธาตุสกปรกที่ช่อนอยู่ในใจ ไม่สามารถมองเห็นตัวด้วยตาเปล่า แม้แต่พระบรมศาสดาเอง ก็ยังต้องปาเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน จึงจะกำจัดกิเลสได้เด็ดขาด บรรลุโลกุตรธรรม คือมรรคผล
ดังนั้น การปฏิบัติตามพระบรมพุทโธวาททั้ง ๕ ประการชนิดอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันเทำนั้น จึงจะทำให้พระเถระสามารถเป็นผู้แจกจ่ายโลกุตรธรรมแก่สังคมได้ สามารถเป็นผู้นำพระม้ชฌิมะพระนวกะในวัดนั้นบรรลุโลกุตรธรรมได้ และสามารถนำประชาชนเข้าถึงโลกุตรธรรมได้
นี่คือ ความเคารพในธรรมของพระเถระที่ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญไม่หายไปแห่งพระสัทธรรม
๖. ความเคารพในธรรมอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน
นับตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว บุคคลที่จะบำาเพ็ญเพียรจนกระทั่งบรรลุโลกุตรธรรมได้นั้น ล้วนแต่ต้องผ่านการบำเพ็ญภาวนาตามหลักปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยความเคารพในธรรมอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันมาก่อนทั้งสิน เรื่มตั้งแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์สาวก พระสงฆ์สาวก เป็นต้น ดังมีบันทึกอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกปรากฏเป็น"หนทางแห่งการบรรลุโลกุตรธรรม" มาถึงทุกวันนี้
๖.๑) การอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเล่าถึงการปาเพ็ญเพียรก่อนตรัสรู้ธรรมไวัใน "อุปัญญาตสูตร" ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เรารูหั่วถึงธรรม ๒ ประการ ธรรม ๒ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่สันโดษเพียงแค่ฤศลธรรมทั้งหลาย
๒. ความไม่ท้อถอยในการปาเพ็ญเพียรภิกษุทั้งหลาย เราเริ่มตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า
"(แม้) จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสัรีระ (นื้) จงเหือดแห้งไปเถิด (ตราบใดที่เรา) ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร"
หลังจากนั้น พระบรมศาสดาก็ตรัสยืนยันผลแห่งการประกอบความเพียรอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันว่า
"สัมโพธิญาณนั้นเราบรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท''ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม เราก็บรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท"
เมื่อพระบรมศาสดาตรัสยืนยันผลแห่งการบำเพ็ญเพียรของพระองค์จบลงอันเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฟ้งแล้วก็ทรงแนะนำให้พระภิกษุลงมือปฏิบัติตามอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันว่า
"แม้ถ้าเธอทั้งหลาย'พึงตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า'จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร'
แล้วพระองค์ก็ทรงให้กำลังใจในการปฏิบัติด้วยว่า
"ไม่นาน'นักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยช'น์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่ฤลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยี่งเองเข้าถึงอยูในปัจจุบันแน่แท้"
นั่นก็หมายความว่า แม้แต่พระบรมศาสดายังทรงต้องบำ เพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน จึงทรงสามารถตรัสรู้โลกุตรธรรมด้วยต้วของพระองค์เองและนำมาสั่งสอนให้ชาวโลกตรัสรู้ตามพระองค์ไปได้
ดังนั้น พระภิกชุเถระ พระม้ชฌิมะ พระนวกะในยุคปัจจุบัน ก็ด้องบำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเช่นกัน จึงจะสามารถบรรลุโลกุตรธรรมได้เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งพุทธกาล
๖.๒) การอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระปัจเจกพุทธเจ้า
พระบรมศาสดาตรัสเล่าประวัติการบำเพ็ญเพียรอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งใน ขัคควิสาณสูตร ไว้ว่า
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ตั้งความเพียรเพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรียวแรงและกำลังแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมีอนนอแรด
พระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เลิศด้วยปัญญาได้อธิบายพระพุทธพจน์น!ว้ในคัมภีร์จูฬนิเทส ว่า
คำว่า ตั้งความเพียรเพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง หมายถึง การบำเพ็ญภาวนาเพี่อให้ได้ความสิ้นกิเลส บรรลุโลกุตรธรรมคืออมตนิพพาน
คำว่า มีจิตไม่ย่อหย่อนไม่ประพฤติเกียจคร้านหมายถึง พระปัจเจกส้มพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า "ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเรา
จักไม่ลุกจากที่นั่งนี้" (ซึ่งก็คือการปาเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพ้นนั่นเอง)
คำว่า มีความพากเพียรมั่นคง เข้าดึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว หมายถึง เป็นผู้เต็มเปียมด้วยกุศลกรรม คือเป็นผู้มีความบริสุทธกาย ความบริสุทธวาจา และความบริสุทธใจแล้ว
คำว่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด หมายถึง ความสิ้นกิเลสด้วยการปฏิบัติริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางเอกสายเดียว ไม่มีทางอื่นเป็นสอง