ปัญหาวัดร้าง (ตอนที่ ๔ )
๗.วัดย่อมไม่มีวันร้าง เมื่อยังมีพระภิกษุผู้บำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน
วัดในโลกนี้ เมื่อถือกำเนิดก็เกิดขึ้นเพราะสถานที่แห่งนั้น มีพระภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันเข้าไปอยู่อาศัยที่นั่น จากแต่เดิมที่เคยเป็นโคนไม้ ลอมฟาง วิหารร้าง เรือนว่าง ป่าช้า ปาชัฏ ภูเขา ซอกเขา ถํ้า ทุ่งร้าง ก็ถูกสร้างเป็นสังฆารามถวายให้แก่พระภิกษุสงฆ์ที่เดินทางมาปฏิบัติธรรมจากทั้งสี่ทิศจากนํ้าพักนํ้าแรงของซาวบ้านบ้าง จากสมบัติพัสถานของเศรษฐีบ้างจากพระราชทรัพย์ของพระราชาบ้าง สถานที่รกร้างในโลกนี้แปรเปลี่ยนเป็นวัดก็ด้วยอาศัยความศรัทธาที่มีต่อการป่าเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้น
ในทำนองตรงกันข้าม วัดที่สร้างขึ้นแล้วในโลกนี้ จะกลับไปเป็นโคนไม้ ลอมฟาง วิหารร้าง เรือนว่าง ป่าช้า ป่าชัฏ ภูเขา ซอกเขาถํ้า ทุ่งร้าง ก็เพราะสถานที่แห่งนั้นไม่หลงเหลือพระภิกษุผู้บำาเพ็ญเพียรภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันอยู่ที่นั่นเช่นกัน
ป่างามด้วยพระภิกษุผู้ปรารภความเพียร
สมัยหนึ่งในครั้งพุทธกาล พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน ซึ่งเป็นป่าต้นสาละที่กำลังออกดอกบานสะพรั่ง ส่งกลี่นหอมจรุงดุจกลี่นทิพย์ พร้อมด้วยพระเถระผู้เป็นพระสาวกที่ มีชื่อเสียงหลายรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระเถระผู้เป็นพระสาวกที่มีชื่อเสียงรูปอื่นๆ
ในราตรีแจ่มกระจ่างด้วยแสงจันทร์คืนนั้นพระเถระทั้ง ๕รูปคือ ท่านพระอานนท์ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้พากันเข้าไปหาพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรมถึงที่หลีกเร้น
การสนทนาธรรมในวันนั้นท่านพระสารีบุตรตั้งคำถามขึ้นว่า
"ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยพระภิกษุเช่นไร?"
พระเถระทั้งห้ารูปตอบเรียงตามลำดับความเป็นผู้มีพรรษาน้อยที่สุดไปหาผู้มีพรรษามากที่สุดโดยท่านพระอานนท์เป็นผู้เลิศด้วยความเป็นพหูสูต กล่าวตอบเป็นรูปแรกว่า
"ป่าจะพึงงามด้วยพระภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้แสดงธรรมแก่พุทธบริษัท ๔ ด้วยถ้อยคำที่เข้าใจง่ายต่อเนื่องไม่ขาดสาย จนกระทั่งสามารถถอนกิเลสที่นอนเนื่องในใจให้หมดสิ้นไป"
ท่านพระเรวตะเป็นผู้เลิศด้วยความยินดีในฌาน กล่าวตอบเป็นรูปที่สองว่า
"ป่าจะพึงงามด้วยพระภิกษุผู้ยินดีในฌาน หลีกออกเว้นบำ เพ็ญวิปัสสนาอยู่ในฌานอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย"
ท่านพระอนุรุทธะเป็นผู้เลิศด้วยตำทิพย์ กล่าวตอบเป็นรูปที่สามว่า
"ป่าจะพึงงามด้วยพระภิกษุผู้มีตาทิพย์ ผู้ตรวจดู ๑,๐๐๐โลกธาตุ (๑ โลกธาตุ = ๑,๐๐๐ จักรวาล ในที่นี้หมายถึง ๑ ล้านจักรวาลด้วยตาทิพย์อันบริสุทธเหนือมนุษย์อย่างทั่วถึงไม่ขาดสาย"
ท่านพระมหากัสสปะเป็นผู้เลิศด้วยการอยู่ธุดงค์ กล่าวตอบเป็นรูปที่สีว่า
"ป่าจะพึงงามด้วยพระภิกษุผู้อยู่ธุดงค์เป็นวัตร และกล่าวสรรเล่วัญคุณของการอยู่ธุดงค์ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบตั้งแต่(๑) การอยู่ปาเป็นวัตร (๒) ถือบิณฑบาตเป็นวัตร (๓) ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร (๔) ถือไตรจีวรเป็นวัตร (๕) การเป็นผู้มักน้อย(๖) การเป็นผู้สันโดษ (๗) การเป็นผู้สงัด (๘) การเป็นผู้ไม่คลุกคลี(๙) การเป็นผู้ปรารภความเพึยร (๑๐) การเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยค์ล(๑๑) การเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ (๑๒) การเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา (๑๓) การเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ (๑๔) การเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ"
ท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นผู้เลิศด้วยฤทธื้ กล่าวตอบเป็นรูปที่ห้าว่า
"ป่าจะพึงงามด้วยพระภิกษุธรรมกถึก ๒ รูป ผู้ผลัดกันถามดอบพระอภิธรรมกถาไปมาอย่างไม่มีหยุดพัก"
ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา กล่าวตอบเป็นรูปสุดท้ายว่า
"ป่าจะพึงงามด้วยพระภิกษุผู้อยู่ในวิหารสมาบัติได้ตามใจปรารถนา ทั้งในเวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น ด้วยการท่าให้จิตอยู่ในอำนาจของตนไม่ยอมให้ตนอยู่ในอำนาจของจิต"
เมื่อพระเถระทั้งห้ารูปต่างตอบคำถามตามอัธยาด้ยของตนแล้ว ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อกราบทูลถามปัญหานั้นกับพระพุทธองค์ ซึ่งพระองค์ก็ตรัสร้บรองว่า "ทุกคำตอบของพระเถระทั้งห้ารูป เป็นคำตอบที่ถูกต้อง" ส่วนคำตอบในทรรศนะของพระองค์นั้นก็คือ "ป่าจะพึงงามด้วยพระภิกษุผู้ปรารภความเพึยรอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน"โดยตรัสตอบว่า
"สารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าว่า
'จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น (และ) ไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น'
สารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเช่นนี้"
ดังนั้น จากพระบรมพุทโธวาทบทนี้ ก็เป็นคำตอบว่า ตราบใดที่วัดๆ นั้นยังมีพระภิกษุผู้ปรารภความเพียรอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน ตราบนั้นวัดจะไม่ร้างอย่างแน่นอน และวัดๆนั้น ก็จะเป็นวัดที่มีพระเถระ พระมัซฌิมะ พระนวกะที่สามารถแจกจ่ายโลกุตรธรรมให้สังคมได้จริง ความเจริญรุ่งเรืองในวัดนั้น ก็จะกลายเป็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาให้ชาวโลกในยุคนั้นได้เลื่อมใสศรัทธาและทุ่มชีวาบำเพ็ญภาวนาตามหมู่สงฆ์ในวัดนั้นไป
วัดงามด้วยหมู่สงฆ์ผู้รู้ชัดโลกุตรธรรม
สมัยหนึ่งในครั้งพุทธกาล พระบรมศาสดาประทับจำพรรษาอยู่ที่ปราสาทของมิคารมาตาในวัดบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถีพร้อมด้วยพระสาวกผู้เป็นเถระ มีชื่อเถียงหลายรูปด้วยกัน คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปีนะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์และพระสาวกผู้เป็นเถระที่มีชื่อเถียงรูปอื่นๆ
ในพรรษานั้น พระเถระทั้งหลายให้การพรํ่าสอนพระภิกษุใหม่ทั้งหลาย โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆไปตามอัธยาศัยการบำเพ็ญภาวนา บางพวกก็สอนภิกษุใหม่ ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง พระภิกษุใหม่เหล่านั้นที่น้อมรับคำสังสอนในภาคปริยัติด้วยความเคารพแล้ว ก็นำ ไปปฏิบัติจนกระทั่งเข้าถึงธรรม ได้เป็นผู้รู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างยิ่งกว่าที่ตนเคยรู้มาก่อนอย่างมาก
พระบรมศาสดาทรงทอดพระเนตรเห็นความอนุเคราะห์ของพระเถระทั้งหลายที่มีต่อการทำให้แจ้งซึ่งโลกุตรธรรมแก่พระบวชใหม่ตลอดทั้งพรรษานั้นแล้ว ก็ทรงยินดีเป็นอย่างยิ่ง
ครั้นเมื่อครบกำหนดออกพรรษา ในวันปวารณา ซึ่งตรงกับวันอุโบสถขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ นั้นเอง ก็ทรงเรียกประชุมสงฆ์ที่กลางแจ้ง ท่ามกลางคืนจ้นทร์กระจ่างเต็มดวง ทรงทอดพระเนตรดูหมู่สงฆ์ที่มาประชุมกันด้วยความนิ่งสงบนั้น เพี่ออนุเคราะห์ต่อการเล่าเรียนธรรม ปฏิบัติธรรม บรรลุธรรมของพระภิกษุใหม่ จึงทรงประกาศจำพรรษาเพี่มขึ้นอีก ๑ เดีอน และกำหนดให้วันอุโบสถขึ้น ๑๕ คํ่า เดีอน ๑๒ ซึ่งเป็นเดือนที่มีดอกโกมุทบาน เป็นวันปวารณาออกพรรษา โดยพระบรมศาสดาทรงมีรับทั่งว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เรายินดีปฏิปทานี้ เรามีใจยินดีปฏิปทานี้เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายในธรรมวินัยนี้จงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรสุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ตนยังไม่ทำให้แจ้งให้ยิ่งๆขึ้นไปเถิด เราจักรออยูในกรุงสาวัตถีนี้แหละ จนถึงวันครบ ๔
เดีอนแห่งฤดูฝน อันเป็นเดีอนที่มีดอกโกมุท"
ฝ่ายพระภิกษุอื่นที่จำพรรษาอยู่ในชนบทอื่นๆ เมื่อได้ทราบข่าวว่า พระบรมศาสดาจะประทับจำพรรษาอยู่ที่กรุงสาวัตถีอีก ๑ เดือน ก็พากันเดินทางออกจากวัดนั้น ตรงไปสมทบยังวัดบุพพารามทันที
เมื่อไปถึงที่หมายแล้ว พระภิกษุจากชนบทก็พากันแยกย้ายขอเข้าไปเล่าเรียนธรรมะจากพระเถระทั้งหลายไนวันนั้น เพื่อให้สมกับความตั้งไจที่รอนแรมมาหลายราตรีทันที พระเถระทั้งหลายก็อนุเคราะห์พรํ่าสอนโดยไม่ปิดบัง ล่งผลไห้ในพรรษานั้นวัดบุพพารามมียอดพระภิกษุไหม่ที่บรรลุธรรม เพื่มขึ้นมาจากพระภิกษุที่มาสมทบจากทั่วสารทิศอีกหลายเท่าตัว
เมื่อถึงกำหนดวันเพ็ญขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๒ อันเป็นวันครบกำหนดเดือนที่ ๔ ของการจำพรรษาแล้ว หมู่สงฆ์ก็พากันแวดล้อมพระสัมมาล้มพุทธเจ้าเพื่อประกอบพิธีปวารณาพรรษา
ท่ามกลางคืนจันทร์เพ็ญกระจ่าง ส่องแสงนวลตาทั่วลานกว้างนั้นเอง พระบรมศาสดาทรงตรวจดูการบรรลุโลกุตรธรรมของพระภิกษุทั้งหมดไนวัดนั้นแล้ว ก็ทรงปลาบปลื้มยินดีในหมู่สงฆ์ที่งามสง่าด้วยโลกุตรธรรมยิ่งนัก ตรัสชื่นชมหมู่สงฆ์ที่อยู่ในอาการนิ่งสงบด้วยความเคารพในธรรมว่า
"ภิกษุทั้งหลาย บริษ้ทนี้ไม่สนทนากัน บริษัทนื้เงียบเกัยงสนทนากัน ดำรงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์
ภิกษุสงฆ์บริษัทนี้ เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่ชองที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนพั ควรแก่ทักษิณาทานควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนี้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุสงฆ์นี้ เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อยแต่มีผลมาก และถวายของมากก็ยิ่งมีผลมากขึ้น
ภิกษุสงฆ์นี้ เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ชาวโลกยากจะได้พบเห็น
ภิกษุสงฆ์นี้ เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าควรเดินทางไปเป็นโยชน์ๆ เพี่อพบเห็น"
เมื่อพระบรมศาสดาตรัสชื่นชมหมู่สงฆ์ด้วยพระภาษิตอันงดงามแล้ว ก็ทรงแจกแจงความสง่างามของพระภิกษุที่ประชุมกันในหมู่สงฆ์วันนั้นไปตาม "ระด้บของความชัดในโลกุตรธรรม" ซึ่งแบ่งออกเป็น ๑๘ ประเภท' ดังต่อไปนี้
(๑) มีพระอรหันต์อยู่ในหมู่สงฆ์
"ภิกษุทั้งทลาย ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้วปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว ร้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรูโดยชอบ ในหมู่สงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่"
(๒) มีพระอนาคามีอยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นอนาคามี เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ จะเกิดเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในโลกนั้นๆไม่กสับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดาในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่"
(๓)มีพระสกิทาคามีอยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นสกทาคามี เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะ ใหัเบาบาง จะกสับมายังโลกนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นเล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในหมู่สงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่"
(๔) มีพระโสดาบันอยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นโสดาบัน เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ ไม่มีทางตกตํ่า มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า ในหมู่สงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่"
(๕) มีพระภิกษุผู้เจริญสติ!]ฎฐาน ๔ อยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริญสติปีฏฐาน๔อยู่..."
(๖) มีพระภิกษุผู้เจริญสัมมปปธไน ๔ อยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริญสัมมัปปธาน๔อยู่..."
(๗) มีพระภิกษุผู้เจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริญอิทธิบาท๔อยู่..."
(๘) มีพระภิกษุผู้เจริญอินทรีย์ ๔ อยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริญอินทรีย์๕อยู่..."
(๙) มีพระภิกษุผู้เ.จริญพละ ๔ อยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจรญพละ ๕ อยู่
(๑๐) มีพระภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริญโพชฌงค์๗อยู่...."
(๑๑) มีพระภิกษุผู้เจริญมรรคมีองค์ ๘ อยู่ในหมู่สงฆ์"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริญมรรคมีองค์๘อยู่...."
(๑๒) มีพระภิกษุผู้เจริญเมตตาอยู่ในหมู่สงฆ์"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริญเมตตาอยู่...."
(๑๓) มีพระภิกษุผู้เจริญกรุณาอยู่ในหมู่สงฆ์"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการมีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริญกรุณาอยู่...."
(๑๔) มีพระภิกษุผู้เจริญมุทิตาอยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริญมุทิตาอยู่..."
(๑๕) มีพระภิกษุผู้เจริญอุเบกขาอยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริญอุเบกขาอยู่
(๑๖) มีพระภิกษุผู้เจริญอสุภสัญญาอยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริฌอสุภสัพฌาอยู่
(๑๗) มีพระภิกษุผู้เจริญอนิจจสัญญาอยู่ในหมู่สงฆ์
"ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริญอนิจจสัญญาอยู่ ..."
(๑๘) มีพระภิกษุผู้เจริญอานาปานสติอยู่ในหมู่สงฆ์
"ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้ปาเพ็ญความเพียรในการเจริญอานาปานสติอยู่ ...."
พระภิกษุที่มีความรู้ชัดในโลกุตรธรรมที่แบ่งออกได้ ๑๘ ประเภทนี้ คือ ความงามสง่าของวัดอย่างแท้จริง เพราะท้ายที่สุดแห่งหนทางสายนี้แล้ว เมื่อบ่ฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยการบ่าเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันแล้วย่อมบรรลุถึงความเป็น"พระอรหนตขีณาสพ" ผู้เป็น "สักขิสาวก" คือ พระอรหันต์ผู้ได้ทันเห็นพระบรมศาสดาในขณะยังทรงพระชนม์ขีพอยู่ ดุจเดียวกันหมด
จากพระพุทธดำรัสด้งกล่าวนี้ ย่อมเป็นคำตอบจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงส่งต่อมาถึงพระภิกษุในยุคปัจจุบันให้ได้ทราบความจริงว่า
"ตราบใดที่วัดแห่งนั้นยังเต็มไปด้วยพระภิกษุผู้ปรารภความเพียรอย่างอุทิศชีวิตเดิมพันอยู่ วัดแห่งนั้นย่อมไม่กลายเป็นวัดร้างอย่างแน่นอน หรือแม้ว่า วัดแห่งนั้นจะร้างไปแล้ว ก็สามารถกล้บเป็นวัดรุ่งขึ้นได้ ด้วยอำนาจแห่งการบำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศขีวิตเป็นเดิมพันเช่นกัน"
เพราะวัดที่เต็มไบ่ด้วยพระภิกษุผู้บ่าเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันนั้น พระบรมศาสดาตรัสว่า
"ภิกษุสงฆ์บริษัทนั้ เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุสงฆ์นี้ เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อยแต่มีผลมาก และถวายของมากก็ยี่งมีผลมากขึ้น
ภิกษุสงฆ์นี้ เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ชาวโลกยากจะได้พบเห็น" (เพราะเป็นทัสสนานุตริยะ คือการเห็นอันประเสริฐ)
นี่คือพระพุทธดำรัสที่แสดงถึงความสักดสิทธิ้แท้จริงของวัดที่แผ่ออกมาจากความรู้แจ้งในโลกุตรธรรมของพระภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันอยู่ในวัดนั้นนั่นเอง