พุทธมามกะคนสำคัญในพระพุทธศาสนา
พุทธมามกะคนสำคัญในพระพุทธศาสนามีหลายท่าน ได้แก่ พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอชาติศัตรู พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี เมณฑกเศรษฐี มหาอุบาสิกาวิสาขา เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงพุทธมามกะหลังยุคพุทธกาล 3 ท่าน คือ พระเจ้าอโศกมหาราช ดร.อัมเบดการ์ และคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ทั้ง 3 ท่านนี้ได้สร้างคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาไว้มาก อีกทั้งยังมีปฏิปทาดี ๆ ที่เป็นต้นแบบแก่ชาวพุทธยุคหลังมากมาย
1. พระเจ้าอโศกมหาราช
ประวัติชีวิต
มีคำกล่าวว่า ในบรรดาพระนามของกษัตริย์นับได้เป็นจำนวนพันจำนวนหมื่น ซึ่งมีปรากฏอยู่อย่างดาษดื่นในข้อบันทึกทางประวัติศาสตร์ พระนามของพระเจ้าอโศกมหาราชส่องแสงเจิดจ้าและดูเหมือนจะมีส่องแสงอยู่เพียงพระนามเดียวเท่านั้น ด้วยความรุ่งโรจน์เช่นเดียวกับดวงดาวอันสุก สยิ่ง
พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะ หรือเมารยะ เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งชมพูทวีป ผู้ครองนครปาฏลีบุตร ทรงเป็นพระราชสของพระเจ้าพินทุสารกับพระนางสิริธรรมา เมื่อพระชนมายุได้ 17 พรรษา ทรงเป็นอุปราชของพระเจ้าพินทุสาร เสด็จไปครองแคว้นอวันตี นครอุชเชนี ทรงเสกสมรสกับพระนางเวทิสามหาเทวี มีพระโอรสองค์แรกเมื่อพระชนมายุได้ 20 พรรษา คือ เจ้าชายมหินทกุมาร และมีพระราชธิดาองค์แรก คือ เจ้าหญิงสังฆมิตตา เมื่อพระชนมายุได้ 22 พรรษา พระองค์ทรงมีพระโอร และพระธิดากับพระมเหสีองค์อื่น ๆ รวมกันทั้งหมด 11 พระองค์
เมื่อพระราชบิดาคือพระเจ้าพินทุสาร ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระราชโอรสถึง 101 พระองค์ เสด็จสวรรคต พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จกลับนครปาฏลีบุตร ทำสงครามชิงราชสมบัติโดยทรงสั่งให้สำเร็จโทษพระราชโอรสเหล่านั้นเสียทั้งหมด ยกไว้แต่เจ้าชายติ กุมาร ผู้ร่วมพระมารดาเดียวกันกับพระองค์ ขณะที่สั่งให้สำเร็จโทษนั้น พระองค์ยังมิได้ทรงอภิเษกเป็นพระราชา ทรงครองราชย์อยู่ถึง 4 ปี จึงทรงถึงการอภิเษกเป็นเอกราชในชมพูทวีปทั้งสิ้น
เดิมพระเจ้าอโศกมหาราชถวายทานแก่พวกพราหมณ์ ตาปะขาว ปริพาชก และอาชีวกตามอย่างพระราชบิดา ต่อมาไม่ทรงพอพระทัยปฏิปทาของพวกนักบวชเหล่านั้น เนื่องจากทรงทอดพระเนตรเห็นพวกนักบวชเหล่านั้นผู้กำลังบริโภคอาหารด้วยมารยาทที่เหินห่างจากความสงบเรียบร้อย ไม่มีความสำรวมอินทรีย์ จึงไม่ทรงเลื่อมใสจนกระทั่งทรงพบสามเณรนิโครธ ซึ่งเป็นพระราชภาคิไนยหรือหลานแท้ ๆ ของพระองค์เอง (คือ เป็นโอร ของเจ้าชายสุมนะองค์รัชทายาท พระเชษฐาที่พระองค์ได้ทรงปลิดพระชนมชีพเพื่อแย่งราชสมบัติ) มีกิริยามารยาทอันสง่างดงาม ก็เกิดความเลื่อมใสทรงอาราธนาสามเณรนิโครธให้เข้ามาในพระราชฐานสามเณรนิโครธได้แสดงธรรมโปรดพระเจ้าอโศกมหาราช
หลังจากฟังธรรมแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะ ดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์และเบญจศีล นอกจากนี้ยังทรงโปรดให้นายช่างสร้างมหาวิหาร ชื่อว่า อโศการาม ทรงพระราชทานทรัพย์จำนวนมากเพื่อถวายทานทุกวัน และรับสั่งให้สร้างพระวิหาร 84,000 หลัง ซึ่งประดับด้วยพระเจดีย์ 84,000 องค์ ไว้ในพระนคร 84,000 แห่ง ทั่วชมพูทวีปทั้งสิ้น
เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทราบจากพระโมคคลีบุตรติ เถระว่า ผู้ที่ให้บุตรบวชชื่อว่าได้เป็นทายาทแห่งพระศาสนา พระองค์ปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเป็นทายาทแห่งพระศาสนา จึงทรงรับสั่งให้พระราชโอรสและพระราชธิดา คือ เจ้าชายมหินทกุมาร และเจ้าหญิงสังฆมิตตาออกบวชในบวรพระพุทธศาสนา โดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสะเป็นพระอุปัชฌาย์ของเจ้าชายมหินท์ และพระธัมมปาลิตเถรีเป็นพระอุปัชฌาย์ของเจ้าหญิงสังฆมิตตา
ในสมัยหนึ่ง มีพวกเดียรถีย์ซึ่งเป็นพวกนักบวชนอกศาสนาปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก จนทำให้คณะพระภิกษุสงฆ์ปฏิเสธที่จะทำสังฆกรรมด้วย ดังนั้นเพื่อขจัดอลัชชีและพวกมิจฉาทิฏฐิที่ปลอมแปลงมาบวชในพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชจึงมีรับสั่งให้ประชุมคณะสงฆ์ทั้งหมดพร้อมกันที่วัดอโศการาม ทรงตรวจสอบแล้วรับสั่งให้สึกพวกที่มิใช่พระภิกษุสงฆ์ถึงหกหมื่นรูป
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกผู้อุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่สามตลอด 9 เดือน ที่เรียกว่า ตติยสังคายนา โดยมีพระโมคคัลลีบุตรติ เถระ เป็นประธานการสังคายนา ซึ่งพระโมคคัลลีบุตรติ เถระก็ได้เลือกเอาเฉพาะพระภิกษุจำนวนหนึ่งพันรูป จากพระภิกษุจำนวนทั้งหมดหกสิบแสนรูป ผู้ทรงปริยัติ คือพระไตรปิฎก แตกฉานในปฏิสัมภิทาชำนาญในไตรวิชชา มาร่วมทำสังคายนา จึงเรียกการสังคายนาในครั้งนี้อีกชื่อหนึ่งว่า สหัสสิกสังคีติ แปลว่า ภิกษุพันรูปกระทำ
พระราชกรณียกิจสำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงปฏิบัติเพื่อพระพุทธศาสนา คือ การส่งสมณทูตไปประกาศพระธรรมในดินแดนต่าง ๆ ถึง 9 สาย ดังปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกดังนี้
1. พระมัชฌินติกเถระ ไปกัษมีระ คันธาระ
2. พระโยนกธรรมรักขิตเถระ ไปอปรันตกชนบท
3. พระมัชฌิมเถระ ไปหิมวันตประเทศ (แถบภูเขาหิมาลัย)
4. พระมหารักขิตเถระ ไปแคว้นโยนก
5. พระมหาธรรมรักขิตเถระ ไปมหารัฐชนบท
6. พระรักขิตเถระ ไปแคว้นวนวาสี
7. พระมหานามเถระ ไปมหิ กมณฑล
8. พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ไปสุวรรณภูมิ
9. พระมหินทเถระ พระอิฏฐิยเถระ พระอุตติยเถระ พระสมพลเถระ และพระภัทรสาลเถระ ไปประกาศศาสนาในเกาะตัมพปัณณิทวีป (ประเทศลังกา)
ต่อมาได้ทรงโปรดให้พระสังฆมิตตาเถรีนำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ จากพุทธคยาไปปลูก ณ เมืองอนุราธปุระ ที่ประเทศลังกา พร้อมทั้งให้อุปสมบทแก่เหล่ากุลสตรีในลังกาที่ประสงค์จะเป็นภิกษุณี
เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงแล้วพระองค์ทรงใช้หลัก "ธรรมราชา" เป็นหลักนโยบายในการปกครอง ทรงศึกษาและประพฤติปฏิบัติธรรมะอย่างเคร่งครัด ทรงก่อสร้างหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชนตลอดจนทรงเน้นเรื่องธรรมทาน คือการแนะนำสั่งสอนธรรมะ คือ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน ทรงแนะนำให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติธรรม และทรงส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี เช่น ลูกต้องเชื่อฟังบิดามารดา ลูกศิษย์ต้องเชื่อฟังครูบาอาจารย์ และให้ปฏิบัติต่อคนรับใช้อย่างดี เป็นต้น
ต้นแบบพุทธมามกะ
แม้พระเจ้าอโศกมหาราชจะทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของโลก พระองค์ก็ทรงเป็นอุบาสกและอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา พระองค์ยังทรงศึกษาพระไตรปิฎกจากแทบเบื้องบาทของพระอรหันตสาวกเจ้า ดังข้อความที่ปรากฏในศิลาจารึกที่ค้นพบ ณ เมืองวีราฏ (ซึ่งขณะนี้เก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ถานประจำเมืองกัลกัตตา) พระเจ้าอโศกมหาราชทรงรับสั่งกับพระภิกษุสงฆ์ไว้ว่า
"ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย พระคุณเจ้าย่อมตระหนักดีแล้วถึงความศรัทธาและคารวะที่โยมมีต่อพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆเจ้า"
"พระคุณเจ้าผู้ควรแก่การคารวะทั้งหลายสิ่งใดที่พระบรมศาสดาของเราได้ตรัสอนไว้สิ่งนั้นย่อมเป็นไปด้วยดี และย่อมเหมาะสมทุกประการ"
เพื่อที่จะให้พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสถิตสถาพรอยู่ชั่วกาลนานพระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระราชบัญชาให้จัดการจารึกพระพุทธวัจนะเหล่านี้ไว้ในแผ่นศิลาและเสาศิลาอย่างเป็นการถาวร ซึ่งศิลาจารึกชิ้นแรกของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นได้กล่าวถึงคุณสมบัติประการแรกที่เหล่าพุทธบริษัททั้งหลายควรมีควรบ่มบำเพ็ญให้เกิดขึ้น นั่นคือความไม่ประมาท หรือที่เรียกกันในภาษาบาลีว่า อัปปมาท
ข้อความในพระพุทธวจนะบทแรกที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงบัญญัติให้จารึกไว้บนแผ่นศิลา มีดังนี้ "ความไม่ประมาทเป็นทางไปสู่ความไม่ตาย ความประมาทเป็นทางไปสู่ความตาย ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่มีวันตาย ผู้ที่ประมาทย่อมเหมือนผู้ที่ตายแล้ว"
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสดุดีความพยายามเพื่อบรรลุถึงธรรมให้เป็นที่ซาบซึ้งแก่คนทั่วไปว่า "มิใช่แต่เพียงผู้ยิ่งใหญ่เท่านั้นที่จะบรรลุถึงผลแห่งความพยายามเพื่อธรรมะได้ มนุษย์ทุกรูปทุกนาม แม้จะต่ำต้อยเล็กน้อยสักเพียงไรก็ตาม หากมีความพากเพียรพยายามแล้วไซร้ ย่อมเข้าสู่ภาวะแห่งความหลุดพ้นได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงพยายามนำพระธรรมนี้มาเผยแผ่ให้สาธุชนได้ทราบ ขอให้ผู้มีกุศลจิตทั้งหลายทั้งเล็กโตใหญ่น้อย จงพยายามเพื่อความหลุดพ้นนี้เถิด ขออนุชนรุ่นหลังผู้จะอุบัติตามเรามา จงได้ใฝ่ใจในความจริงเรื่องนี้ และจงใช้ความพยายามในทำนองเดียวกัน ชั่วกาลนานเท่านาน"
มีหนังสือเล่มหนึ่ง สดุดีพระเจ้าอโศกมหาราชไว้ว่า
"พระเจ้าอโศกมิได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติของพระองค์ ด้วยการแก้ไขความประพฤติของบุคคลเท่านั้น พระองค์ได้ทรงสร้าง ถานพยาบาลเพื่อรักษาความเจ็บป่วยของทั้งคนและสัตว์ ได้ทรงปลูกสวนต้นยาสมุนไพรไว้แจกจ่ายแก่พสกนิการทั่วประเทศ พระองค์ทรงปฏิรูประบบราชทัณฑ์ก่อนหน้าความคิดของมนุษย์ในยุคต่อมานับได้เป็นเวลานานกล่าวคือ พระองค์ได้ทรงย้ำถึงความสำคัญที่จะต้องชี้แนะให้ผู้กระทำความผิด เห็นความผิดของตนแล้วเลิกกระทำความผิดแทนที่จะมุ่งหน้าลงโทษทัณฑ์ผู้กระทำความผิดแต่อย่างเดียว พระเจ้าอโศกได้ทรงเผยแผ่การศึกษาอย่างกว้างขวาง ทรงตักเตือนประชาชนให้มีความเมตตาปรานีต่อทาสและคนใช้ พระองค์ได้ทรงสร้างที่พักคนเดินทาง (ธรรมศาลา) ทรงขุดบ่อน้ำ และปลูกต้นไม้ริมทางเดินเพื่อความร่มเย็นของผู้สัญจรไปมา พระองค์ได้ทรงหางานให้หญิงม่ายและหญิงยากจนทำ และทรงจัดการสงเคราะห์คนชรา
ตามท้องถนนในนครหลวงแห่งปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกก็ได้จัดให้มีถังน้ำตั้งไว้อย่างเป็นระเบียบ เพื่อป้องกันอัคคีภัยและทรงตราเป็นกฎหมายขึ้นว่า ผู้ใดที่ไม่ช่วยเพื่อนบ้านดับไฟจะต้องถูกปรับเงินเป็นการลงโทษ อีกประการหนึ่ง ในท้องถนนหลวงนั้น ใครจะทิ้งสัตว์ตายหรือสิ่งปฏิกูลใด ๆ ไม่ได้ จะถือว่าเป็นความผิด ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย พระเจ้าอโศกทรงจัดให้มีทบวงขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลสวัสดิภาพของเผ่าชนที่ล้าหลังในราชอาณาจักรของพระองค์ โดยเฉพาะแล้วทรงปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เห็นประเทศใหญ่น้อยทั้งหลายมีไมตรีจิตมิตรสัมพันธ์ต่อกัน พระองค์ได้ทรงส่ง มณทูตไปเผยแผ่ศาสนาพุทธในดินแดนไกลในทิศตะวันตก เช่น ในประเทศซีเรีย เป็นต้น พระองค์ทรงถือว่าไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ของพระองค์เป็นเหมือนลูกหลานและทรงประทานเกียรติแก่มนุษย์ทั่วไปว่า เป็นพระประยูรญาติของพระองค์" ดังที่ปรากฏในศิลาจารึกแผ่นที่ 13 ซึ่งพบ ณ เมืองกาลสี ความว่า "ลูกของเรา หลานของเรา ตลอดจนเหลนของเราที่จะเกิดตามเรามา จะต้องไม่คิดถึงการทำสงครามอีกต่อไป"
พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงให้มีการจารึกข้อความลงในแผ่นหินศิลา เรียกว่า ศิลาจารึกพระเจ้าอโศก ซึ่งจารึกเหล่านี้ได้เล่าเรื่องราวที่สำคัญ ๆ พระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญ การนำเอาหลักธรรมพระพุทธศาสนามาปรับประยุกต์ใช้ ประกาศให้ชาวเมืองถือปฏิบัติ และพระองค์ยังได้เสด็จจาริกแสวงบุญไปยังสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์ คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทรงค้นจนแน่พระทัยว่าใช่สถานที่เหล่านั้นแน่ จึงทรงให้จารึกไว้เป็นหลักฐาน
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงได้รับพระสมัญญาว่า "พระเจ้าธรรมาโศกราช" และในศิลาจารึก คัมภีร์ทีปวงศ์ เรียกพระองค์ว่า "ปิยทัสสี" ถือได้ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นกษัตริย์ที่ทำให้พระพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีปรุ่งเรืองมาก มีการส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามดินแดนต่าง ๆ ทำให้มีผู้นับถือศาสนาพุทธมากขึ้นทั่วทวีปเอเชีย พระองค์ทรงเปลี่ยนสนามรบเพื่อการครอบครองดินแดนอันไม่สิ้นสุด มาเป็นสนามแห่งกองทัพธรรมเพื่อการเผยแผ่อันไร้พรมแดน นักประวัติศาสตร์ต่างยกย่องพระองค์ให้เป็นหนึ่งในอัคร
มหาบุรุษแห่งประวัติศาสตร์โลก
2. ดร.บาบาสาเหบ พิมเรา รามจิ อัมเบดการ์
ประวัติชีวิต
ดร.อัมเบดการ์ มีชื่อเต็มว่า ดร.บาบาสาเหบ พิมเรา รามจิอัมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar) ชื่อเดิมที่บิดามารดาตั้งให้คือ "พิม" เกิดในวรรณะจัณฑาล ที่ยากจนที่สุดตระกูลหนึ่งของอินเดีย ในเมืองนาคปูร์ รัฐมหาราษฎร์ ทางตอนกลางของอินเดีย เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2434 ท่านเกิดในหมู่บ้านคนอธิศูทร (คนวรรณะจัณฑาล มีชื่อเรียกมากมาย เช่น หริจันทร์ จัณฑาล อธิศูทร) ชื่อว่า อัมพาวดี เป็นบุตรชายคนสุดท้อง คนที่ 14 ของ นายรามจิ และนางพิมมาไบสักปาล
ก่อนที่ท่านจะเกิดนั้น มีเรื่องเล่าว่า ลุงของพ่อ ซึ่งไปบวชเป็นสันยาสี (ผู้ถือสันโดษ ตามแนวคิดเรื่องอาศรม 4 ของินดู) อาศัยอยู่ตามป่าเขา ได้มาพำนักในแถบละแวกบ้านของเขาพ่อจึงไปนิมนต์ให้มารับอาหารที่บ้าน นักบวชสันยาสีนั้นปฏิเสธ แต่ได้ให้พรแก่พ่อว่า "ขอให้มีบุตรชาย และบุตรชายของเธอจงมีชื่อเสียง เกียรติในอนาคต ได้จารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ชาติอินเดีย" ซึ่งภายหลังพรนั้นก็สำเร็จ มปรารถนาแม้จะเกิดมาในครอบครัวอธิศูทรที่ยากจนแต่บิดาก็พยายามส่งเสียจนเด็กชายพิมสามารถเรียนจนจบประถม 6 ได้ เมื่อจบแล้ว บิดาก็ไม่ได้หยุดที่จะให้บุตรได้รับความรู้ พยายามอดมื้อกินมื้อ เงินที่ได้รับจากการรับจ้างแบกหาม ก็เอามาส่งเสียเป็นค่าเล่าเรียนให้กับเด็กชายพิม จนกระทั่งสามารถส่งให้เรียนจนจบมัธยมได้สำเร็จแต่ในระหว่างการเรียนนั้น เขาต้องเผชิญหน้ากับความดูหมิ่นเหยียดหยามของทั้งครูอาจารย์ และนักเรียนซึ่งเป็นคนในวรรณะสูงกว่า
เรื่องบางเรื่องที่กลายเป็นความช้ำใจในความทรงจำของพิม เช่นว่า เมื่อเข้าไปในห้องเรียนทั้งครู และเพื่อนร่วมชั้นต่างก็แสดงอาการขยะแขยง รังเกียจ ในความเป็นคนวรรณะต่ำของท่านเขาไม่ได้รับอนุญาตแม้แต่การที่จะไปนั่งบนเก้าอี้ในห้องเรียน ต้องเลือกเอาที่มุมห้อง แล้วปูกระสอบนั่งเรียนอยู่อย่างนั้น แม้แต่เวลาจะส่งงานต่ออาจารย์ อาจารย์ก็มีทีท่ารังเกียจ ไม่อยากจะรับสมุดของเขา
เวลาที่เขาถูกสั่งให้มาทำแบบทดสอบหน้าชั้นเรียน นักเรียนในห้องที่เอาปินโตห่ออาหารมากินที่โรงเรียน แล้ววางไว้บนกระดานดำ จะเร่งกรูกันไปเอามาไว้ก่อน เพราะกลัวว่าความเป็นเสนียดของพิม จะไปติดห่ออาหารของพวกเขาที่วางอยู่บนกระดานดำ
แม้แต่เวลาที่จะไปดื่มน้ำที่ทางโรงเรียนจัดไว้ เขาก็ถูกห้ามอย่างเด็ดขาดที่จะไปจับต้องแท็งก์น้ำ หรือแก้วที่วางอยู่ เพราะทุกคนรังเกียจว่าเสนียดของเขาจะไปติดที่แก้วน้ำ เขาต้องขอร้องเพื่อน ๆ ที่พอมีความเมตตาอยู่บ้าง ให้ตักน้ำแล้วให้เขาคอยแหงนหน้า อ้าปาก ให้เพื่อนเทน้ำลงในปากเพื่อป้องกันเสนียดในความเป็นคนต่างวรรณะของเขา ซึ่งเป็นความน่าเจ็บช้ำใจยิ่งนัก
อย่างไรก็ตาม ในโลกนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ยักษ์มาร ครูคนหนึ่งซึ่งเป็นวรรณะพราหมณ์ แต่เป็นผู้มีเมตตาผิดกับคนในวรรณะเดียวกัน บางครั้งครูท่านนี้ก็จะแบ่งอาหารของตนให้เขา แต่ครูก็แสดงออกมากไม่ได้ เพราะอาจจะถูกคนในวรรณะเดียวกันเกลียดชังไปด้วย ครูท่านนี้คิดว่าเหตุที่เขาถูกรังเกียจ เพราะความที่นาม กุลของเขา "สักปาล" บ่งชัดความเป็นอธิศูทร (นามสกุลของคนอินเดีย เป็นตัวบอกวรรณะด้วย) ครูท่านนั้นได้เอานามสกุลของตน เปลี่ยนให้กับเขา โดยแก้ที่ทะเบียนโรงเรียน ให้เขาใช้นาม กุลว่า "อัมเบดการ์" เขาจึงได้ใช้นามสกุลใหม่นั้นเป็นต้นมา (จากนาม สกุลอัมเบดการ์นี้เอง ทำให้หลาย ๆ คนคิดว่า พิมเป็นคนในวรรณะพราหมณ์)
หลังจากอดทนต่อความยากลำบาก การถูกรังเกียจจากคนรอบข้าง ที่รู้ว่าเขาเป็นคนอธิศูทรแล้ว เขาก็ได้สำเร็จการศึกษาจบมัธยม 6 ซึ่งนับว่าสูงมากสำหรับคนวรรณะอย่างเขา แต่มาถึงขั้นนี้ พ่อของเขาก็ไม่สามารถที่จะส่งเสียให้เรียนต่อไปได้อีก จนจบปริญญาตรี โชคดีที่ในขณะนั้น มหาราชาแห่งเมืองบาโรดา ซึ่งเป็นมหาราชาผู้มีเมตตา พระองค์ไม่มีความรังเกียจในคนต่างวรรณะ ปรารถนาจะยกระดับการศึกษาแม้คนระดับอธิศูทร ได้มีนักสังคมสงเคราะห์นำเขาเข้าเฝ้ามหาราชา พระองค์ทรงพระราชทานเงินทุนในการศึกษาต่อของเขา โดยให้เป็นเงินทุนเดือนละ 24 รูปี ทำให้เขาสามารถเรียนจบปริญญาตรีได้ ต่อมามหาราชาแห่งบาโรดาทรงคัดเลือกนักศึกษาอินเดีย เพื่อจะทรงส่งให้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเขาได้รับคัดเลือกด้วย เขาได้พบกับสิ่งที่เรียกว่า อิสรภาพ และความเสมอภาคเพราะที่อเมริกานั้นไม่มีคนแ ดงอาการรังเกียจเขา ในความเป็นคนอธิศูทร เหมือนอย่างในประเทศอินเดีย หลังจากจบการศึกษาถึงขั้นปริญญาเอกแล้ว เรียกว่ามีชื่อนำหน้าว่า ดร.พิม อัมเบดการ์ เขาก็เดินทางกลับมาอินเดีย และได้พยายามต่อสู้เพื่อคนในวรรณะเดียวกัน ไม่ใช่แต่เท่านั้น เขาพยายามต่อสู้กับความอยุติธรรมที่สังคมินดูยัดเยียดให้กับคนในวรรณะต่ำกว่า
ดร. อัมเบดการ์ ทำงานในหลาย ๆ เรื่อง หลังจากจบการศึกษาที่อเมริกาแล้ว เขาเป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัยซิดนาห์ม ในบอมเบย์ ในปี พ.ศ. 2461 ต่อมาได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าชายแห่งเมืองโครักขปูร์ ซึ่งเป็นผู้มีพระทัยเมตตาเช่นเดียวกับมหาราชาแห่งบาโรดา ปรารถนาที่จะถอนรากถอนโคนความอยุติธรรมที่สังคมินดูกีดกันคนในวรรณะอื่น ๆ ได้ทรงอุปถัมภ์ให้คนอธิศูทรมารับราชการในเมืองโครักขปูร์ แม้นายควาญช้าง พระองค์ก็เลือกจากคนอธิศูทรและพระองค์ยังทรงอุปถัมภ์ในการจัดทำหนังสือพิมพ์มุขนายก หรือ "ผู้นำคนใบ้" ของ ดร.อัมเบดการ์ เช่น อุปถัมภ์ค่ากระดาษพิมพ์ และอื่น ๆ ซึ่งแม้เขาไม่ได้เป็นบรรณาธิการเองแต่อยู่เบื้องหลัง และเขียนบทความลง ในบทความครั้งหนึ่ง มีคำพูดที่คมคายน่าสนใจว่า
"อินเดียเป็นดินแดนแห่งความเหลื่อมล้ำต่ำสูงสังคมินดูนั้นช่างสูงส่งประดุจหอคอยอันสูงตระหง่าน มีหลายชั้นหลายตอน แต่ไม่มีบันไดหรือช่องทาง ที่จะเข้าไปสู่หอคอยอันนั้นได้คนที่อยู่ในหอคอยนั้นไม่มีโอกาสที่จะลงมาได้ และจะติดต่อกับคนในหอคอยเดียวกันในอีกชั้นหนึ่งก็ทำไม่ได้ ใครเกิดในชั้นใดก็ตายในชั้นนั้น"
ดร.อัมเบดการ์ได้กล่าวถึงว่าสังคมินดูมีส่วนประกอบอยู่ 3 ประการ คือ พราหมณ์มิใช่พราหมณ์ และอธิศูทรพราหมณ์ผู้สอนศาสนามักกล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่ในทุกหนแห่ง ถ้าเช่นนั้น พระเจ้าก็ต้องมีอยู่ในอธิศูทร แต่พราหมณ์กลับรังเกียจคนอธิศูทร เห็นเป็นตัวราคี นั่นแสดงว่าเขากำลังเห็นพระเจ้าเป็นตัวราคีใช่หรือไม่ง
ดร. อัมเบดการ์มีผลต่อความเคลื่อนไหวหลาย ๆ อย่างในอินเดียขณะนั้น เขาเป็นอธิศูทรคนแรกที่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของอินเดีย หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช เป็นผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย เป็นผู้ที่ชี้แจงต่อที่ประชุมในโลกสภา โดยการอนุมัติของดร.ราเชนทรประสาทให้ชี้แจงอธิบายต่อผู้ซักถามถึงบางข้อบางประเด็นในรัฐธรรมนูญหนังสือพิมพ์บางฉบับลงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า ดร.อัมเบดการ์ทำหน้าที่ชี้แจง อธิบาย เรื่องร่างรัฐธรรมนูญต่อผู้ร่วมประชุม ประดุจพระอุบาลีเถรเจ้าวิสัชนาข้อวินัยบัญญัติ ในที่ประชุมปฐมสังคายนาต่อพระสงฆ์ 500 รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธานฉะนั้น และเขาเป็นผู้ต่อสู้เพื่อทำลายความอยุติธรรมที่คนในชาติเดียวกัน หยิบยื่นให้กับคนในชาติเดียวกัน แต่ต่างวรรณะกันเท่านั้น ดร.อัมเบดการ์แต่งงาน 2 ครั้ง ครั้งแรกกับคนในวรรณะเดียวกัน ครั้งที่ 2 เมื่อเขาอายุได้ 56 ปี กับแพทย์หญิงในวรรณะพราหมณ์ ชื่อว่า ชาดา คาไบ ในโรงพยาบาลที่เขาเข้ารับการรักษาอาการป่วย และเป็นครั้งแรกที่คนในวรรณะต่ำเช่นเขาได้แต่งงานกับคนในวรรณะสูงและมีคนใหญ่คนโต นักการเมือง พ่อค้า คนในวรรณะต่าง ๆ มาร่วมงานแต่งงานของเขามากมายหลังจากนั้นเขาลงจากเก้าอี้ทางการเมือง เพราะต้องการทำงานเพื่อเรียกร้องความถูกต้องให้กับคนที่อยู่ในวรรณะต่ำ ที่ได้รับการข่มเหงรังแกเท่านั้น
การปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
เหตุการณ์สำคัญประการหนึ่งที่เขากระทำและเป็นสิ่งที่มีคุณูปการมากต่อพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย คือการเป็นผู้นำชาวพุทธศูทรกว่า 5 แสนคน ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ความจริงเขาสนใจพระพุทธศาสนามานานแล้ว โดยเฉพาะจากการได้อ่านหนังสือชื่อว่า "ภควาน บุดดา" (พุทธประวัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า) เขียนโดยพระธัมมานันทโกสัมพี และพบว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่มีข้อรังเกียจในเรื่องวรรณะ ไม่ปิดกั้นการศึกษาพระธรรมให้ความเสมอภาค และภราดรภาพแก่คนทุกชั้น
จิตใจของดร.อัมเบดการ์ เป็นชาวพุทธอยู่ก่อนแล้ว แต่เขาตั้งใจจะทำให้เป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้นสิ่งที่ปรารถนาก็คือ การปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ พร้อมกับพี่น้องชาวอธิศูทร ในงานฉลองพุทธชยันตี (Buddhajayanti) เขาได้กล่าวสดุดีพระพุทธศาสนา ได้เขียนหนังสือเผยแผ่หลายเล่ม เช่น "พุทธธรรม "(Buddha and His Dhamma) "ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา" (The Essential of Buddhism) และคำปาฐกถาอื่น ๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์ภายหลัง เช่น "การที่พระพุทธศาสนาหมดไปจากอินเดีย" (The down fall of Buddhism in India) เป็นต้น
ก่อนหน้าที่จะมีงานฉลองพุทธชยันตี เป็นที่ทราบกันดีว่า อินเดียในขณะนั้น มีชาวพุทธอยู่แทบจะเรียกได้ว่าน้อยจนเรียกไม่ได้ว่ามี แต่เหตุใดจึงมีงานฉลองนี้ขึ้น คำตอบนี้น่าจะอยู่กับท่านยวาห์ ราล เนรูห์ ซึ่งท่านได้กล่าวคำปราศรัยไว้ในที่ประชุมโลก ภา (รัฐสภาของอินเดีย เรียกว่า โลก ภา) เรื่องการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ว่า
"พระพุทธเจ้าเป็นบุตรที่ปราดเปรื่องยิ่งใหญ่ และรอบรู้ที่สุดของอินเดีย ในโลกนี้ซึ่งเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เคียดแค้น และรุนแรง คำสอนของพระพุทธเจ้าส่องแสงเหมือนดวงอาทิตย์ที่รุ่งโรจน์ ไม่มีคนอินเดียคนใด ที่จะนำเกียรติยศ เกียรติภูมิ กลับมาสู่อินเดียได้เท่ากับพระพุทธองค์ หากเราไม่จัดงานฉลองท่านผู้นี้แล้ว เราจะไปฉลองวันสำคัญของใคร" และได้กล่าวอีกตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้าไม่นับถือศาสนาใด ๆ ในโลกทั้งนั้น แต่หากจะต้องเลือกนับถือแล้วข้าพเจ้าขอเลือกนับถือพระพุทธศาสนา"
ในงานฉลองพุทธชยันตีนั้น รัฐบาลอินเดียได้จัดสรรงบประมาณการจัดงานฉลองตลอด 1 ปีเต็ม ๆ โดยวนเวียนฉลองกันไปตามรัฐต่าง ๆ รัฐบาลอนุมัติงบประมาณต่าง ๆ เช่น ตัดถนนเข้าสู่พุทธสังเวชนียสถานต่าง ๆ ให้ดีขึ้นสร้างธรรมศาลา อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาร่วมงานพุทธชยันตีจากประเทศต่าง ๆ จัดพิมพ์หนังสือ ดุดีพระพุทธศาสนา จัดทำหนังสือวิชาการพระพุทธศาสนา โดยนักปราชญ์หลายท่านเขียนขึ้น ประธานาธิบดีราธ กฤษนัน เขียนคำนำสดุดีพุทธคุณ ให้ชื่อว่า "2,500 years of Buddhism" (2,500 ปีแห่งพระพุทธศาสนา)
ส่วนในการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะนั้น ดร.อัมเบดการ์ได้นำชาววรรณะศูทรปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปูร์สาเหตุที่เลือกเมืองนี้ แทนที่จะเป็นเมืองใหญ่ ๆ อย่างบอมเบย์ หรือเดลลี เขาให้เหตุผลว่า "ผู้ที่ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตอนแรก ๆ นอกจากพระสงฆ์ คือพวกชนเผ่านาค ซึ่งถูกพวกอารยันกดขี่ข่มเหง ต่อมาพวกนาคได้พบกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดงธรรมจนพวกนาคเหล่านั้นเลื่อมใสปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ และเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วเมืองนาคปูร์นี้ เป็นเมืองที่พวกนาคตั้งหลักแหล่งอยู่" (คำกล่าวของท่านอัมเบดการ์มีมูลอยู่ไม่น้อย และจะว่าไปแล้ว หลังจากพระพุทธศาสนาเริ่มถูกทำลายจากอินเดีย เมืองนาคปูร์เป็นเมืองที่มีชาวพุทธอาศัยอยู่มาก และเป็นเมืองที่มีชาวศูทร หรือคนวรรณะต่ำอยู่มากอีกด้วย ดังนั้นศูนย์กลางพุทธศาสนิกชนในอินเดียปัจจุบันที่เป็นคนวรรณะศูทรจึงอยู่ที่นาคปูร์)
ในการปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ 5 แสนคน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 นั้น ผู้ปฏิญาณตนได้กล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ และคำปฏิญญา 22 ข้อ ของ ดร.อัมเบดการ์ ดังเช่น ข้าพเจ้าจะไม่บูชาพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุต่อไป เป็นต้น
บั้นปลายชีวิต
เป็นที่น่าเสียดายว่า หลังจากพิธีปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธได้ 3 เดือน ดร.อัมเบดการ์ ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคร้าย ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2499 (ในอินเดียเป็นปี 2500 อินเดียนับพุทธศักราชเร็วกว่าไทย 1 ปี เช่นเดียวกับพม่า และลังกา)สร้างความยุ่งเหยิงให้กับชาวศูทรมากมาย เพราะยังไม่ทันพาพวกเขาไปถึงจุดหมาย ท่านก็มาด่วนถึงแก่กรรมไปเสียก่อนเหมือนเรือที่ขาดหางเสือ
ดร.อัมเบดการ์ ผู้เกิดมาจากสังคมอันต่ำต้อย ต่อสู้เพื่อตัวเอง เพื่อสังคม และเพื่อประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม ตั้งแต่เกิดจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต บัดนี้เขาจากไปแล้ว ทิ้งแต่ความดีเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้สรรเสริญ
3. คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
ประวัติชีวิต
คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เกิดเมื่อวันขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา พ.ศ. 2452 ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2452 ที่อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นลูกคนที่ 5 จากทั้งหมด 9 คน ของพ่อพลอยแม่พัน ขนนกยูง ในครอบครัวชาวนาผู้มีฐานะปานกลาง
วิถีชีวิตของชาวนาหล่อหลอมให้คุณยายเป็นคนแข็งแกร่ง อดทน เพราะต้องช่วยพ่อแม่ทำนาตลอด นาของท่านปราศจากวัชพืชและให้ผลผลิตสูงกว่านาของเพื่อนบ้านข้างเคียง เพราะท่านเป็นคนขยันอย่างที่สุด ออกไปนาแต่เช้ามืดขนาดที่ว่าเพื่อนบ้านที่มีนาติดกันพยายามจะไปที่นาให้เช้าอย่างไร ก็ไม่เคยไปถึงก่อนคุณยายเลยสักครั้งเดียว จนคุณยายได้รับสมญายกย่องว่า "แข้งเหล็ก" คือขยันมาก ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย มีมานะ มีความอดทนหาใครเสมอเหมือนได้ยากยิ่ง ด้วยเหตุนี้ฐานะทางบ้านของคุณยายจึงอยู่ในระดับที่ดีพอควร ไม่เป็นหนี้สินใคร แต่เนื่องจากคุณยายทุ่มเทเวลาให้กับการทำงานมาก ประกอบกับในสมัยนั้นการศึกษายังไม่ค่อยทั่วถึง คุณยายไม่ได้เรียนหนังสือ จึงอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
ตามหาพ่อ
พ่อของคุณยายเป็นคนที่ติดเหล้าต้องดื่มเหล้าวันละ 10 ตางค์ทุกเย็น ปกติพ่อจะเป็นคนใจดี แต่ถ้าดื่มเหล้าเข้าไปครั้งใด ก็จะหาเรื่องมาถกเถียงกับแม่ทุกครั้งไป แม่ก็จะมีถ้อยคำไว้ปราบพ่อโดยเฉพาะ คือพูดออกไปคราใดพ่อก็จะหายเมาทันทีว่า "ไอ้นกกระจอก มาอาศัยรังเขาอยู่ บ่นอะไรพึมเชียว" เนื่องจากพ่อมาอยู่บ้านของแม่ที่มีฐานะดีกว่าตนจึงเป็นปมแห่งความน้อยเนื้อต่ำใจอยู่ภายในจิตใจเสมอมา
วันหนึ่งพ่อทนไม่ไหว เมื่อได้ยินแม่พูดเช่นนี้ จึงถามลูก ๆ ว่าจริงไหม แม่เขาด่าอย่างนี้จริงไหม ไม่มีใครกล้าตอบ นอกจากคุณยาย จึงบอกพ่อไปว่า "แม่ไม่ได้ว่าพ่ออย่างนั้นหรอก" เพราะไม่อยากให้พ่อแม่ทะเลาะกัน แต่ความหวังดีนั้นกลับกลายเป็นผลร้าย เพราะพ่อหันมาโกรธคุณยายแทน และแช่งให้คุณยายหูหนวก 500 ชาติ
คำแช่งของพ่อติดอยู่ในใจของคุณยายนับแต่นั้นมา เพราะท่านเชื่อว่าคำให้พรของพ่อแม่นั้นศักดิ์สิทธิ์สามารถส่งผลได้จริงตามที่พูด ฉะนั้นคำสาปแช่งก็คงต้องศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน ด้วยความกลัวเช่นนั้น คุณยายจึงตั้งใจว่าจะขออโหสิกรรมต่อพ่อในยามที่พ่อใกล้จะละโลกตามธรรมเนียมที่เคยเห็นมา เพราะถ้าไปขอขมาตอนพ่อยังแข็งแรงอยู่ ท่านอาจจะโกรธขึ้นมาอีกก็เป็นได้
ต่อมาไม่นาน พ่อของคุณยายก็ล้มป่วยลงและในเช้าวันที่เป็นวาระสุดท้ายของพ่อ หลังจากดูแลพ่อเสร็จแล้ว คุณยายก็ไปท้องนาตามปกติ เมื่อกลับถึงบ้าน ก็เห็นทุกคนกำลังร้องไห้กับการจากไปของพ่อ พี่น้องต่างตำหนิว่าคุณยายไปที่ไหนมา ทำไมไม่มาขอขมาพ่อ คุณยายฟังด้วยใจที่สงบนิ่ง ไม่ร้องไห้คร่ำครวญ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ เพียงแต่ใจกับคิดกังวลเกี่ยวกับคำแช่งของพ่ออยู่ตลอดเวลา เนื่องจากกลับมาขอขมาไม่ทัน กลัวว่าจะติดตัวไปภพชาติเบื้องหน้า เพราะท่านกลัวบาปจึงตั้งปณิธานที่จะตามหาพ่อในสัมปรายภพนับแต่วันนั้นเป็นต้นมา
สู่เส้นทางธรรม
ในราวปี พ.ศ. 2470 มีข่าวร่ำลือว่าหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ สามารถสอนคนให้เข้าถึงธรรมกายได้ และใครที่เข้าถึงแล้วก็สามารถไปนรก สวรรค์ หรือนิพพานได้ ไปเยี่ยมญาติมิตรที่ตายไปแล้วก็ได้ อีกทั้งไปช่วยให้พ้นนรกก็ได้ เมื่อได้ยินข่าวนี้คุณยายดีใจมาก ท่านตั้งใจว่าจะต้องไปพบหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญให้ได้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2478 เมื่อคุณยายอายุได้ 26 ปี ท่านตัดสินใจไปอยู่กับญาติที่กรุงเทพฯ เพื่อแสวงหาธรรม แม้ว่าแม่ของคุณยายจะไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่อาจเหนี่ยวรั้งคุณยายไว้ได้ แม่จึงมอบเงินให้คุณยาย 2 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
เมื่อมาอยู่กับญาติที่กรุงเทพฯ แล้ว พอคุณยายสืบทราบว่าคุณนายเลี้ยบชอบไปทำบุญที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นประจำ อีกทั้งยังเป็นอุปัฏฐากที่สำคัญของวัดด้วย ท่านจึงไป มัครทำงานบ้านให้กับบ้านนี้ ทั้งที่คุณยายมาจากครอบครัวที่มีฐานะพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้อย่างสบาย ๆ มีศักดิ์ศรีและเป็นที่ยอมรับของคนทั้งหมู่บ้าน แต่คุณยายก็ยอมที่จะทำหน้าที่นี้ เพียงเพื่อจะได้มีโอกาสในการไปวัดปากน้ำฯ เนื่องจากในสมัยนั้นการจะเข้าไปอยู่ในวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นเรื่องไม่ง่ายนัก เพราะที่วัดมีพระภิกษุและแม่ชีอยู่เป็นจำนวนมาก
คุณยายเป็นผู้ที่ขยันขันแข็ง อดทน มีระเบียบวินัย รักความสะอาด และซื่อตรง คุณนายเลี้ยบถึงกับไว้ใจมอบกุญแจห้องเก็บสมบัติให้คุณยายช่วยดูแลสมบัติล้ำค่าทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในกำปันซึ่งอยู่ในห้องนี้ ไม่มีใครสามารถเข้าไปได้แม้แต่ลูกหลาน นอกจากเจ้าของบ้านกับคุณยาย ด้วยความรับผิดชอบของคุณยาย เจ้าของบ้านจึงมั่นใจว่าเขาสามารถไปไหนมาไหนได้โดยไม่ต้องห่วงกังวล เจ้าของบ้านจึงทั้งรักและไว้วางใจคุณยายอย่างมาก
เมื่อเห็นคุณยายทองสุขสำแดงปัน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่วัดปากน้ำฯ ที่ปฏิบัติธรรมได้ผลดีมา อนสมาธิที่บ้านของคุณนายเลี้ยบอยู่เป็นประจำ คุณยายก็อยากที่จะเรียนด้วยจึงหมั่นปรนนิบัติคุณยายทองสุขอย่างดี และเมื่อคุณยายทองสุขสอนธรรมปฏิบัติให้แก่ท่านจนกระทั่งได้เข้าถึงพระธรรมกาย และแนะนำคุณยายให้ไปหาพ่อด้วยวิชชาธรรมกาย เมื่อคุณยายได้พบพ่อที่ยมโลกของมหานรกขุมที่ 5 เพราะกรรมดื่มสุราเป็นอาจิณแล้ว ท่านได้ขอขมาพ่อและอาศัยพระธรรมกายแนะนำพ่อให้อาราธนาศีล 5 พร้อมกับนึกถึงบุญ หลังจากรับศีลแล้วพระธรรมกายก็พาพ่อขึ้นไปสวรรค์ จากนั้นคุณยายก็สอนให้พ่อทำสมาธิ เพื่อจะได้ไม่ต้องตกไปนรกอีก
ทำวิชชา
ต่อมา ปี พ.ศ. 2481 คุณยายได้ขอลาคุณนายเลี้ยบไปบวชชีที่วัดปากน้ำฯ 1 เดือน โดยมีคุณยายทองสุขเป็นผู้พาไป เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พบคุณยายครั้งแรก ท่านมองคุณยายนิ่งอยู่ครู่หนึ่งก็ทักขึ้นมาด้วยถ้อยคำที่ยากต่อการเข้าใจสำหรับคุณยายในขณะนั้นว่า "มึงมันมาช้าไป" แล้วท่านก็ส่งคุณยายเข้าโรงงานทำวิชชาในวันนั้นเลย ซึ่งโดยปกติการที่จะเข้าโรงงานทำวิชชาใน มัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก จะต้องผ่านด่าน คือ การทดสอบจากผู้ที่เข้าถึงธรรมกายรุ่นพี่ก่อน จึงจะเข้าโรงงานทำวิชชาได้ แต่คุณยายไม่ได้ผ่านขั้นตอนนี้เลย พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านสั่งให้เข้าไปทำวิชชาได้ทันที
นอกจากการเข้าโรงงานทำวิชชาจะยากแล้ว การมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่เช่นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่เพียงแต่ต้องปรับตัวให้เข้ากับ ถานที่ใหม่ ยังจะต้องปรับให้เข้ากับบุคคลรอบข้างอีกด้วย เนื่องจากคุณยายเป็นคนใหม่ไม่รู้จักใครสิ่งของเครื่องใช้ที่ได้รับจึงล้วนแต่เป็นของเก่าที่เขาเก็บทิ้งไว้โดยไม่มีใครดูแล แต่คุณยายก็ไม่รู้สึกเสียใจ ท่านนำสิ่งของเหล่านั้นมาซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพใช้ได้ นำมาซัก มาขัดถูจนดูสะอาดใหม่เอี่ยมสามารถใช้การได้อย่างดีส่วนเรื่องอาหาร คนเก่า ๆ ที่อยู่มาก่อน ก็ไม่ยอมให้คุณยายไปร่วมวงด้วย เพราะท่านมีรูปร่างผอม ตาลึก เนื้อตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ใครเห็นก็ต้องคิดว่าท่านเป็นโรค กลัวจะติดเชื้อโรค จากท่าน ด้วยเหตุนี้เวลาเขาตักอาหารให้ ก็จะเสือกไสให้เหมือนไม่เต็มใจ คุณยายต้องพบกับสภาพเช่นนี้ทุกวัน หากเป็นคนอื่นคงยากจะทนอยู่ต่อไปได้ แต่คุณยายเป็นคนใจใสบริสุทธิ์ มองโลกในแง่ดี ท่านคิดว่าเป็นธรรมดาที่คนทำครัวต้องเหนื่อยมากเป็นพิเศษ ดังนั้นไม่ว่าเขาจะแสดงกิริยาอย่างไร หน้าที่ของท่านคือรับประทานอาหารซึ่งเป็นของพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ เพื่อให้มีแรงปฏิบัติธรรมและศึกษาวิชชาธรรมกายเท่านั้นส่วนใครจะมองว่าคุณยายเป็นโรคนั้นท่านก็คิดว่าดีเหมือนกัน จะได้ปลีกตัวมาอยู่ตามลำพัง มีเวลาตรึกธรรมะขณะรับประทานได้สะดวก ท่านไม่เคยหวั่นไหวต่อเรื่องที่มากระทบใจให้เป็นอุปสรรคต่อการแสวงหาธรรมะของท่านเลย
คุณยายพากเพียรฝึกฝนตรึกธรรมะอย่างต่อเนื่อง เอาใจไว้ตรงกลางกายตลอด ไม่ว่าพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำฯ จะถามเรื่องใดคุณยายตอบได้ถูกต้องละเอียด จนได้รับเลือกจากท่านให้เป็นหัวหน้าเวรดึกเพราะเห็นว่าคุณยายมีความตั้งใจในการศึกษาวิชชาธรรมกายมีญาณทัสสนะแม่นยำ มีความรับผิดชอบสูง และเป็นผู้มีร่างกายแข็งแรง
ซึ่งการทำวิชชาในสมัยนั้น จะทำกันเป็นผลัดตลอดต่อเนื่องกันไม่มีหยุดส่วนในยามสงครามโลก จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 1 ผลัด ผลัดละ 6 ชั่วโมง ตลอดทั้งวันทั้งคืน 24 ชั่วโมง แต่คุณยายมักจะมานั่งสมาธิก่อนเวลา และเมื่อหมดกะแล้วก็จะนั่งต่อไปอีกอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เพื่อคอยฟังว่าพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ จะสั่งงาน หรือมีการอบรม หรือแก้ไขอย่างไรด้วยเหตุนี้ความรู้ที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ท่านมี คุณยายจึงไม่ปล่อยให้ตกหล่นเลย คุณยายรู้หมด และทำได้หมด แม้ไม่รู้หนังสือก็ตาม
แม้ในช่วงที่เกิด งครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดลงกรุงเทพฯ มาก พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯก็ใช้ให้ชุดที่ทำวิชชาได้คล่องคอยช่วยประเทศชาติให้ปลอดจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากสงครามท่านจะคอยตรวจสอบเวลาที่เครื่องบินมาทิ้งระเบิด โดยจะคอยถามพวกทำวิชชาว่า เครื่องบินจะมาทิ้งระเบิดเวลาไหน ถ้าคุณยายตอบ ทุกคนจะเตรียมปิดไฟ เพราะรู้กันดีว่าญาณทัสสนะของคุณยายแม่นยำมาก จึงหาคำตอบมาตอบได้อย่างถูกต้อง ซึ่งถ้าหากไม่ขยัน ไม่จดจ่อ จะทำให้ตอบคำถามผิด เวลาใครตอบผิดอย่างนี้พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ก็จะดุว่า "ไอ้ขี้ไต้" เพราะธรรมชาติของขี้ไต้จะต้องเขี่ยก่อนจึงติดไฟ เปรียบเสมือนผู้ที่ไม่ใส่ใจทำวิชชาต้องให้คอยกระตุ้นเตือนอยู่เสมอ แต่ตลอดชีวิตของคุณยายท่านไม่เคยโดนดุด้วยคำนี้เลย
คุณยายเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยมักน้อยสันโดษ ชอบให้ไม่ชอบสะสม ไม่ว่าใครขออะไรท่านก็จะให้เสมอ ท่านสนใจอยู่แต่เรื่องธรรมะภายในเท่านั้น เรื่องภายนอกท่านไม่ นใจเลย นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้ที่มีความกตัญูอย่างยอดเยี่ยม ท่านดูแลคุณยายทองสุขผู้เป็นครูบาอาจารย์สอนธรรมะให้เข้าถึงพระธรรมกายเป็นคนแรกจวบจนวาระสุดท้ายอย่างสมบูรณ์ที่สุด แม้แต่ตอนที่คุณยายทองสุขป่วยหนักเป็นโรคมะเร็งที่มดลูกขั้นสุดท้าย มีอาการรุนแรงมาก คุณยายก็คอยปรนนิบัติอย่างดี คอยให้ยา ทำความสะอาดเช็ดถูตัว ซักเสื้อผ้า ดูแลอยู่เช่นนี้ตลอดวันตลอดคืนจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ก็ได้จัดงานศพให้อย่างสมเกียรติ
ก่อนที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ จะมรณภาพ ท่านเรียกประชุมลูกศิษย์ทั้งหมด ให้ทุกคนช่วยกันเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก เพราะสำคัญและมีประโยชน์มาก วิชชานี้จะช่วยคนได้ทั้งโลก และสั่งไม่ให้คุณยายไปไหน ให้อยู่วัดปากน้ำฯ รอคอยผู้ที่จะมาสืบทอดวิชชาธรรมกายในวันข้างหน้าต่อไป ซึ่งต่อมาคุณยายก็ได้พบผู้สืบทอดคือพระราชภาวนาวิสุทธิ์ หลวงพ่อธัมมชโย (ไชยบูลย์ สุทธิผล) และหมู่คณะที่ได้มาร่วมกันสร้างวัดพระธรรมกายขึ้นมาได้ในที่สุด
ต้นแบบพุทธมามกะ
แม้คุณยายจะไม่รู้หนังสือ ไม่เคยศึกษาพระปริยัติธรรมเลย แต่น่าอัศจรรย์คำสอนทุกถ้อยคำรวมทั้งข้อวัตรปฏิบัติของท่านตลอดชีวิต ล้วนสอดคล้องกับพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เช่น คุณยายจะสอนบุคคลทุกระดับชนชั้นที่มีโอกาสพบกับท่านว่า
1. "ให้ละบาปอกุศล (ความชั่ว) ให้ทำแต่ความดี และทำใจให้ใส" ซึ่งตรงกับโอวาทที่พระพุทธองค์ทรงประทานแก่พระอรหันตสาวกในวันมาฆบูชาที่เรียกว่า "โอวาทปาฏิโมกข์" ความว่า การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
2. "มนุษย์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ความทุกข์ในปัจจุบันก็เพราะกรรมไม่ดีในอดีต ไม่ว่าจะเป็นวันเวลาที่ผ่านมาในชาตินี้ หรือในอดีตชาติ ฉะนั้นต้องละชั่ว ให้รักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด ให้ทำความดี เข้าวัดทำบุญทำทาน ฟังธรรมะ ฟังพระเทศน์ จะได้รู้จักหนทางการสร้างความดีเยอะ ๆ และทุกวันก็ต้องสวดมนต์ นั่งธรรมะ ทำใจให้ใสว่าง" ซึ่งก็ตรงกับที่ปรากฏในบท "อภิณหปัจจเวกขณปาฐะ" ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
3. คุณยายเป็นผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตาอย่างมาก ท่านมักจะให้โอกาสในการอบรมธรรมะที่วัดแก่กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่อายุยังไม่มาก เพื่อปลูกฝังคุณธรรมแต่ยังเยาว์วัยทั้งยังมาให้โอวาท ให้กำลังใจ และเชิญชวนให้มาช่วยงานพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง เพราะคุณยายเห็นว่า หากพวกเขามาวัดจะได้ฝึกฝนตนให้เป็นคนดี รู้จักเลือกคบเพื่อน ไม่ไปคบคนพาลและมีเป้าหมายชีวิตที่ถูกต้อง
4. คุณยายไม่เบื่อในการสอนธรรมะเลย ท่านจะสอนแล้ว อนอีกสอนซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ซึ่งก็ตรงกับพระพุทธพจน์บทหนึ่งที่กล่าวไว้ในมหาสุญญตสูตร ว่า "ดูก่อนอานนท์ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอ เหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบ ๆ อยู่ เราจักข่มแล้ว ๆ จึงบอก จักยกย่องแล้ว ๆ จึงบอก ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจักตั้งอยู่ได้"
5. คุณยายเป็นผู้ที่มีหัวใจกัลยาณมิตรอันยิ่งใหญ่ ท่านทำหน้าที่กัลยาณมิตรกับทุกคนทุกชนชั้นอย่างเท่าเทียมกัน ท่านปรารถนาเพียงให้ทุกคนเป็นคนดีที่โลกต้องการ และให้ได้มีเสบียงบุญติดตัวไปทุกภพทุกชาติ นอกจากนี้ท่านยังมีความชาญฉลาดในการอบรมสั่งสอนผู้อื่นสร้างคนให้เป็นแบบอย่างในพระพุทธศาสนา เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาว เป็นที่พึ่งแก่ชาวโลก ดังปรากฏเป็นแบบอย่างที่ชัดเจน คือ กลุ่มคณะบุคคลทั้งหลายที่คุณยายให้การอบรมสั่งสอนสมัยเป็นฆราวาสนั้น เมื่อบวชเป็นพระภิกษุแล้วสามารถสร้างงานให้กับพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย เช่น พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ และคณะพระภิกษุผู้บุกเบิกสร้างวัด เป็นต้น
6. คุณยายเป็นผู้มีความอดทนอย่างมาก ท่านจะสอนเสมอว่า การสร้างบารมีทั้งหลายต้องอดทนมาก ๆ ท่านเล่าว่าสมัยทำวิชชาอยู่กับพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำฯก็เหมือนกันท่านทนทุกอย่างไม่ว่าพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำฯ จะให้ทำอะไร คุณยายไม่เคยปฏิเสธจนกระทั่งได้รับคำชมว่า "ลูกจันทร์นี้ หนึ่งไม่มีสอง" ซึ่งคำชมนี้พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ พูดเพียงครั้งเดียวในชีวิตของท่านเท่านั้น และไม่พูดกับใครอีกเลย
7. คุณยายมีความเคารพในพระรัตนตรัยอย่างยิ่งยวด
- คุณยายจะมีพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งที่ระลึกอยู่ตลอดเวลา แม้เวลาปลูกต้นไม้ ท่านก็ยังระลึกชาติไปในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ท่านจะนั่งสมาธิภาวนาทุกวัน ใจของท่านดิ่งเข้ากลางพระธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านับพระองค์ไม่ถ้วน
- แม้คุณยายจะไม่รู้หนังสือ ไม่ได้เรียนพระปริยัติธรรม แต่ข้อวัตรปฏิบัติของคุณยายเป็นไปตามธรรม และทุกถ้อยคำที่อบรมสั่งสอนศิษย์ล้วนเป็นไปตามพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสิ้น
- แม้ความเคารพในพระสงฆ์ของคุณยาย ก็มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย เมื่อคุณยายได้พบพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำฯ ท่านก็ให้ความเคารพพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ อย่างเต็มหัวใจ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนอย่างไม่มีเงื่อนไข และแม้ว่าคุณยายจะเป็นอาจารย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อทั้งสอง แต่ท่านก็ให้ความเคารพพระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นอย่างมาก ให้ความเคารพพระภิกษุสามเณรทุกรูปสร้างโรงทาน บำรุง อุปัฏฐาก ดูแลเรื่องภัตตาหารเพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้มีเวลาบำเพ็ญสมณกิจอย่างเต็มที่ ท่านมีปัจจัยเท่าใดก็ถวายแด่สงฆ์ ให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการปกครองดูแลทั้งหมด ท่านขอเป็นแค่เด็กวัด
ตลอดชีวิตของคุณยายนับแต่เยาว์วัย ท่านดำรงตนเป็นพุทธมามกะโดยเนื้อแท้ ตั้งใจประกอบแต่กรรมดี ปฏิบัติตนตามธรรมสั่ง มบุญสร้างบารมีอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ทั้งกาย วาจา ใจ ท่านเป็นผู้ที่ทำอะไรทำจริง เป็นยอดของบุคคลผู้เป็นต้นบุญต้นแบบผู้ดำเนินรอยตามบาทพระบรมศาสดาอย่างดีเยี่ยม
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 004 คู่มือพุทธมามกะ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree