ตอน 6 ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก

วันที่ 04 มิย. พ.ศ.2561

 ภาพพระศรีศากยมุนี นำมาจากจีนโดยเจ้าหญิง Wencheng พระชายาชาวจีนของกษัตริย์ Songtsan Gampo (The 7th cent JOWO SHAKYAMUNI housed in the JOKHANG brought by SONGTSEN GAMPO S CHINESE wife WEN CHENG)

      มาถึงตอนสำคัญมากอีกตอนคือ ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》 เพราะมีคำถามที่ถกเถียงกันในหมู่นักศึกษาและผู้สนใจประวัติพระแก่นจันทน์ว่า พระแก่นจันทน์ประทับนั่งหรือประทับยืน? เพราะจากการการศึกษาจากเรื่องราวของพระพุทธรูปหรือพระแก่นจันทน์ หลักฐานที่อ้างอิงกันอยู่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่ได้มาจากตำนานพระเจ้าแก่นจันทน์ (มีหลายฉบับ) ชินกาลมาลีปกรณ์  วัฏฏังคุลีชาดกในเชียงใหม่ปัญญาสชาดก และหนังสือปิฏกมาลาของล้านนา และจากเอกสารภาษาไทยที่เราได้เรียนได้ศึกษากันจากการแปลที่สำคัญคือจากคำบอกเล่าของพระเสวียนจั้ง(พระถังซัมจั๋ง) ผู้ที่เดินทางไปแสวงบุญที่อินเดีย ได้บันทึก เรื่องจดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยชัดเจนว่า ประทับนั่งหรือประทับยืน และส่วนใหญ่ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ที่ปรากฏรูปจำลองพระแก่นจันทน์ จะเป็นพระพุทธรูปประทับยืนเป็นส่วนมาก ยังไม่ปรากฏเห็นว่าจะประทับนั่งเลย(แต่ขนานพระนามว่า ปางห้ามพระแก่นจันทน์)) และจากการสันนิฐานตามลักษณะการแกะสลักแล้วพระแก่นจันทน์ประทับยืนที่แกะสลักจากไม้แก่นจันทน์ที่มีลักษณะต้นไม้สูง ถ้าเป็นปางประทับยืนจะสลักได้ง่ายกว่าสอดคล้องกับต้นไม้จันทน์
          แต่จากตำนานพระแก้วมรกตที่อ้างอิงมาจากตำนานพระแก่นจันทน์ก็เป็นปางประทับนั่ง และเอกสารที่แปลจากภาษาอังกฤษจะใช้คำว่าประทับนั่งก็มีอยู่ เมื่อยังหาข้อสรุปไม่ได้ชัดเจนว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ จึงต้องได้ย้อนกลับไปหาเอกสารปฐมภูมิคือ จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกที่เป็นภาษาจีนโบราณ ที่พระเสวียนจั้ง(พระถังซัมจั๋ง) ท่านได้เห็นมากับตาและได้บันทึกไว้และได้จำลองกลับไปที่ประเทศจีนด้วย

ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》
《大唐西域記》卷5: “城內故宮中有大精舍,高六十餘尺,有刻檀佛像,上懸石蓋,鄔陀衍那王(唐言出愛。舊云優填王,訛也)之所作也。靈相間起,神光時照。諸國君王恃力欲舉,雖多人眾,莫能轉移。遂圖供養,俱言得真,語其源迹,即此像也。初,如來成正覺已,上昇天宮,為母說法,三月不還。其王思慕,願圖形像。乃請尊者沒特伽羅子,以神通力,接工人上天宮,親觀妙相,雕刻栴檀。如來自天宮還也,刻檀之像起迎世尊,世尊慰曰:「教化勞耶?開導末世,寔此為冀。” [1]
 
แปล
《大唐西域記》(จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก สำเร็จเป็นรูปเล่ม เมื่อ ..1189)[2] ท่านได้บันทึกไว้ว่า ในภายในกลางพระนครเก่าของพระราชา (นครโกสัมพีของพระเจ้าอุเทนมีมหาวิหารอยู่  (大精舍) , สูง 60 ฟุต (เป็นความสูงของวิหาร), มีพระพุทธรูปจำหลักด้วยไม้จันทน์ที่ประดิษฐานไว้ โดยมีแผ่นศิลาปกคลุมอยู่ (คล้ายตำแหน่งเหนือองค์พระประธานมีเศวตฉัตร ๕ ชั้นของพระพุทธรูปในยุคปัจจุบัน)เป็นพระพุทธรูปที่พระเจ้าอุเทนทรงสร้างไว้ลักษณะพระพุทธรูปเหมือนมีชีวิต และเปล่งประกายรัศมีออกมาแม้ว่าจะมีพระราชาจากหลายแคว้นประสงค์ที่จะอัญเชิญไปยังแว่นแคว้นของพระองค์แต่ไม่สามารถที่จะขยับเขยื้อนองค์พระพุทธรูปได้จึงต้องนำรูปจำลองไปสักการะแทนทั้งนี้ต่างก็เชื่อกันว่า  พระพุทธรูปแก่นจันทน์เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะเหมือนพระพุทธองค์ทุกประการ  และเป็นต้นแบบของพระพุทธรูปในลักษณะนี้ , เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วจึงเสด็จไปบนสวรรค์ทรงเทศนาโปรดพุทธมารดา, 3 เดือนไม่กลับมา (三月不还พระเจ้าอุเทนทรงมีความระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก จึงมีรับสั่งให้สร้างพระพุทธรูปแก่นจันทน์ โดยกราบนิมนต์พระมหาโมคคัลลานะ (尊者没特伽罗子), ใช้ฤทธิ์พาช่างขึ้นไปบนสวรรค์ให้ช่างมองพุทธลักษณะอย่างละเอียด , แกะสลักด้วยไม้แก่นจันทน์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์พระพุทธรูปแก่นจันทน์ได้ลุกขึ้นต้อนรับพระพุทธองค์ (刻檀之像起迎世尊 ผู้แปลมีความเห็นว่า พระพุทธรูปแต่เดิมได้ประทับนั่งอยู่ จึงใช้คำว่าลุกต้อนรับ ดังนั้นพระพุทธรูปต้นแบบน่าจะเป็นลักษณะประทับนั่ง และในบันทึกของพระภิกษุจีน เสวียนจั้ง ในผูกที่ 12กล่าวไว้ถึงพระพุทธรูปที่นำจากอินเดียกลับประเทศจีนว่า 刻檀佛像一躯,通光座高尺有五寸,拟憍赏弥国出爱王思慕如来,刻檀写真像แปลว่า พระพุทธรูปลักษณะประทับนั่งจำหลักด้วยไม้จันทน์ขนาด 5 นิ้ว , จากแบบที่กษัตริย์ทรงสิเนหาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำหลักได้เหมือนจริง) , พระพุทธองค์ได้ตรัสถามพระพุทธรูปแก่นจันทน์ว่า “เทศนาเหนื่อยไหม?  การแนะนำสั่งสอนต้องทำจนถึงหมดยุคสมัยของพระพุทธศาสนา (นัยยะของท่านหมายถึง หลังพุทธปรินิพพาน 10,000 ปี)
 
โดยมีแผ่นศิลาปกคลุมอยู่ (คล้ายตำแหน่งเหนือองค์พระประธานมีเศวตฉัตร ๕ ชั้นของพระพุทธรูปในยุคปัจจุบัน)
 
[1] T51, no. 2087, p. 898, a6-19
 
[2] 成书于唐贞观二十年(646年) 
มีมหาวิหารอยู่ (大精舍) , สูง 60 ฟุต (เป็นความสูงของวิหาร)
พระพุทธรูปแก่นจันทน์ได้ลุกขึ้นต้อนรับพระพุทธองค์ (刻檀之像起迎世尊 ผู้แปลมีความเห็นว่า พระพุทธรูปแต่เดิมได้ประทับนั่งอยู่ จึงใช้คำว่าลุกต้อนรับ ดังนั้นพระพุทธรูปต้นแบบน่าจะเป็นลักษณะประทับนั่ง และในบันทึกของพระภิกษุจีน เสวียนจั้ง ในผูกที่12 กล่าวไว้ถึงพระพุทธรูปที่นำจากอินเดียกลับประเทศจีนว่า 刻檀佛像一躯,通光座高尺有五寸,拟憍赏弥国出爱王思慕如来,刻檀写真像แปลว่า พระพุทธรูปลักษณะประทับนั่งจำหลักด้วยไม้จันทน์ขนาด 5 นิ้ว , จากแบบที่กษัตริย์ทรงรักในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำหลักได้เหมือนจริง)

       จากหลักฐานทางเอกสารบันทึกของพระเสวียนจั้ง(พระถังซัมจั๋ง) พ.ศ.1189 ที่เมืองฉางอันนี้ และจากบันทึกพระอุตตมสงฆ์ ฟาเหียน (法顯) : บันทึกการเดินทาง สืบพระศาสนาในประเทศอินเดีย พ.ศ. 942-957 ตอนนี้ก็บันทึกว่า ...ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับ พุทธปฏิมานั้นหลีกจากที่ประทับไปรับเสด็จ พระพุทธเจ้าตรัสสั่งกะพุทธปฏิมาว่า "จงกลับไปนั่งตามเดิม เมื่อเราตถาคตปรินิพพานแล้ว จะควรแก่บริษัททั้ง 4 ได้กระทำธรรมมารยาท" พุทธปฏิมาก็กลับไปอยู่ตามเดิม... จะเห็นได้ว่าพระแก่นจันทน์เป็นปางประทับนั่ง
        ส่วนว่าเมื่อมีหลักฐานประมาณนี้เราพอจะสรุปได้อย่างแน่นอนหรือยังว่า พระพุทธรูปหรือพระแก่นจันทน์เป็นปางประทับนั่ง? ความชัดเจนจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามหลักฐานอื่นๆ เช่นโบราณวัตถุมีรูปหรือวัตถุแกะสลักหรือวัตถุอื่นๆ กันต่อไป
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.001078716913859 Mins