ตอน 7 ตามหาพระแก่นจันทน์ จากบทภาพยนต์ เสวียนจั้ง บุรุษพุทธานุภาพ

วันที่ 05 มิย. พ.ศ.2561

http://buddhazine.com/film-xuan-zang-tayang-di-bioskop-bulan-april-2016/
         Xaun Zang บุรุษพุทธานุภาพ ว่าด้วยเรื่องจริงของการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลกใบนี้ ซึ่งเป็นการเดินทางของพระนามว่า “Xuan Zang” อ่านว่า “เสวียนจั้ง” ที่เดินทางไกลผ่านความยากลำบากมากมายแต่ท่านก็เอาชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อพุทธบูชาเป็นระยะทางกว่า 6,900 กิโลเมตรเป็นการเดินทางทางบกในช่วงราชวงศ์ถัง ศตวรรษที่ 6 นานถึง 4 ปี จากนครหลวงฉางอันของราชวงศ์ถัง สู่สถานที่ที่ปัจจุบันคือประเทศอินเดีย จาริกแสวงบุญเพื่อเก็บรวบรวมพระไตรปิฎกแห่งศาสนาพุทธ ณ มหาวิทยาลัยนาลันทารวมใช้ระยะเวลายาวนานกว่าสิบเก้าปี ผ่าน 110 แคว้น และนำกลับมายังประเทศจีนและท่านใช้เวลาในการการแปลและเทศน์สอนคัมภีร์เหล่านั้นตลอดชีวิต
แหล่งข้อมูล fb/เส้นทางสายไหม The Silk Road
       ในหนังสือ พระถังซำจั๋ง ชีวิตจริงไม่อิงนิยาย ของอุษา โหละจรูญ ซึ่งเป็นหนังสือที่กล่าวบรรยายประวัติถึงพระถังซำจั๋งได้ดีที่สุดเล่มหนึ่ง ในหนังสือเล่มนี้หน้า 64-65 ได้เขียนถึงตอนที่พระเจ้าศีลาทิตย์ ส่งพระถังซำจั๋งกลับสู่ประเทศจีนอย่างยิ่งใหญ่ และมอบค่าเดินทางให้ด้วย และที่สำคัญ"ทรงมีพระราชสาสน์ที่จารึกอักษรลงบนผ้ากรรปาสิก ลงครั่งประทับตราของพระองค์ ให้ข้าหลวงถือไปยังแคว้นต่างๆ ที่สมณะเสวียนจั๋งต้องจาริกผ่านไป ให้ช่วยจัดยวดยานพาหนะ บรรทุกพระไตรปิฎก พระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปต่างๆ รับส่งต่อกันไปจนถึงชายแดนประเทศจีน อีกทั้งจัดเจ้าหน้าที่ล่ามภาษาอีก 4 คนร่วมไปกับคณะเดินทางด้วย"
       แต่น่าเสียดายในหนังสือไม่ได้บอกรายละเอียดว่าพระบรมสารีกธาตุ และพระพุทธรูปต่างๆ จำนวนเท่าไรและมีอะไรบ้าง
การศึกษาชีวิตและผลงานด้านวรรณกรรมพระพุทธศาสนาของสมณะเสวียนจั้ง (พระถังซัมจั๋ง) (๒๕๔๗)  นางสาวอุษา โลหะจรูญ

http://www.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=131



       ภาพยนต์ช่วงอัญเชิญพระไตรปิฏก พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปและสิ่งของต่างๆ กลับประเทศจีน มีฉากสำคัญคือขนของนั่งเรือข้ามแม่น้ำสินธุและเจอพายุซัดทำให้เรือคว่ำสิ่งของต่างๆ หล่นลงจากเรือและหนึ่งในนั้นคือภาพพระพุทธรูปแก่นจันทน์ที่ท่านได้นำมาด้วย

เจอพายุฝน

พระพุทธรูปหล่นลงสู่แม่น้ำ

จมลงในน้ำ

สามารถนำขึ้นมาได้

จะเห็นได้ว่าในภาพยนตร์พระพุทธรูปที่พระถังซำจั๋งนำติดตัวไปจะเป็นพระพุทธรูปปางพระแก่นจันทน์ แต่เป็นปางประทับยืนมีขนาดความสูงประมาณ 1 ฟุต ซึ่งมีเค้าโครงเรื่องจริงอยู่ ถือเป็น 1 ใน 7 พระพุทธรูปที่พระถังซำจั๋งนำกลับไปประเทศจีน แต่จะจริงอย่างไรบ้างนั้น นักวิจัยคงต้องสืบค้นต่อไป และในบันทึกของพระภิกษุจีนเสวียนจั้ง ในผูกที่ 12 กล่าวไว้ถึงพระพุทธรูปที่นำจากอินเดียกลับประเทศจีนอีกปางหนึ่งว่า “刻檀佛像一躯,通光座高尺有五寸,拟憍赏弥国出爱王思慕如来,刻檀写真像”。แปลว่า พระพุทธรูปลักษณะประทับนั่งจำหลักด้วยไม้จันทน์ขนาด 5 นิ้ว, จากแบบที่กษัตริย์ทรงสิเนหาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, จำหลักได้เหมือนจริง) ซึ่งสรุปจากหลักฐานในบทความที่ผ่านมา เราจะทราบว่าพระพุทธรูปแก่นจันทน์ที่พระถังซำจั๋งนำจากอินเดียไปสู่จีนนั้นเป็นพระพุทธรูปแก่นจันทน์สูง 5 นิ้ว จำลองจากพระพุทธรูปแก่นจันทน์ปางประทับนั่งขององค์จริงสูง 5 ฟุต

  ส่วนหลักฐานชิ้นสำคัญที่ชี้ชัดว่า พระพุทธรูปแก่นจันทน์องค์จริงนั้นสูงเท่าใดปรากฏในคัมภีร์ชื่อ เอโกตตราคม ถือว่าเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่เก่าที่สุดในขณะนี้ ถือเป็นข้อมูลสำคัญอีกชิ้นที่ได้กล่าวถึงขนาดรูปร่างพระพุทธรูปแก่นจันทน์ อยู่ในคัมภีร์ เอโกตตราคม ซึ่งแปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนเมื่อปี พ.ศ. 927 - 928 (ค.ศ. 384 - 385) ได้แสดงหลักฐานว่าพระพุทธรูปแก่นจันทน์มีขนาดสูง 5 ฟุตว่า

 

 

《增一阿含經》(Ekottara Āgama-sūtra)
 
        เนื้อหาภาษาจีนที่ระบุไว้คือ
《增壹阿含經》卷28〈聽法品36〉:「群臣白王:「當以何寶作如來形像?」
是時,王即勅國界之內諸奇巧師匠,而告之曰:「我今欲作形像。」
巧匠對曰:「如是。大王!」
是時,優填王即以牛頭栴檀作如來形像高五尺。」
(T02, no. 125, p. 706, a14-18)
 
แปลว่า พระเจ้าอุเทนปรารภในเวลาออกราชการ มีรัฐมนตรี 群臣(诸臣,大臣们ได้ถามกำชับว่าพวกเราจะสามารถทำจำหลักพระพุทธรูปได้เหรอแล้วก็ได้ช่วยกันตามหาช่างทั่วทั้งปฐพี จนสามารถหาช่างมาได้ เมื่อถึงเวลาพระเจ้าอุเทนทรงให้จำหลักพระพุทธรูปด้วยไม้จันทน์สูง 5 ฟุต
 
  และข้อมูลอีกชิ้นว่า
 
《增壹阿含經》卷28〈聽法品36〉:「爾時,優填王手執牛頭栴檀像,并以偈向如來說:
「我今欲所問,  慈悲護一切,
 作佛形像者,  為得何等福?」」
(T02, no. 125, p. 708, a27-b1)
《增一阿含經》(Ekottara Āgama-sūtraผูกที่ 28 หัวข้อฟังธรรมเรื่องที่ 36 
แปลโดยย่อว่า  ในครั้งนั้นพระเจ้าอุเทนแห่งเมืองโกสัมพีทรงให้จำหลักพระพุทธรูปด้วยไม้จันทน์

優填王即以牛頭栴檀作如來形像高五尺。

พระเจ้าอุเทนทรงให้จำหลักพระพุทธรูปด้วยไม้จันทน์สูง 5 ฟุต

《增一阿含經》(Ekottara Āgama-sūtra)ผูกที่ 28 หัวข้อฟังธรรมเรื่องที่ 36 (T02, no. 125, p. 706, a14-18)

 

        ณ หลักฐานตอนนี้ 《增一阿含經》(Ekottara Āgama-sūtra) ถือว่าเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวว่าพระเจ้าอุเทนทรงสร้างพระพุทธรูปแก่นจันทน์ ซึ่งพระภิกษุธัมมนันทิ (昙摩难提 Dharmanandi)ในปี พ.ศ.927 ได้มุขปาฐะจากภาษาสันสกฤต แล้ว พระภิกษุจากเมืองฉางอันนามว่า 竺佛念(zhú fó niàn) ได้แปลเป็นภาษาจีนบันทึกใน 《增一阿含經》(Ekottara Āgama-sūtra)ข้อมูลตำนานหรือแนวคิดเรื่อง พระแก่นจันทน์สามารถย้อนไปถึงยุคต้นพุทธศักราชปีเก้าร้อยกว่านับโดยรวมก็เกือบ 2000 กว่าปีแล้ว ดังนั้นจากหลักฐานเอกสารจากพระสูตรและทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ได้ว่าปรัชญาและแนวคิดการสร้างพระแก่นจันทน์มีมานานแล้วอย่างแน่นอน ส่วนจะมีหลักฐานด้านอื่นๆ อะไรเพิ่มเติมนั้น โปรดติดตามตอนต่อไป

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.037319068113963 Mins