Xuanzang returns to China from India, Dunhuang mural in Cave 103
http://factsanddetails.com/china/cat2/4sub8/entry-5453.html
ภายหลังจากที่สมณะเสวียนจั้ง 玄奘 หรือพระถังซำจั๋งเดินทางกลับจากประเทศอินเดียค.ศ. 643 พร้อมอัญเชิญพระไตรปิฏกฉบับภาษาสันสกฤตเป็นจำนวน 657 ปกรณ์ พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปและสิ่งของอื่นๆ มาถึงแผ่นดินต้าถัง เมืองหลวงฉางอัน ในปี ค.ศ.645 จักรพรรดิถังไท่จงทรงให้การต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ ท่านได้จัดตั้งสนามแปลคัมภีร์ขึ้นภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าถังไท่จง และพระเจ้าถังเกาจง ตลอดเวลากว่า 19 ปี ท่านได้ร่วมกับพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ ทำการแปลคัมภีร์ออกมาเป็นจำนวน 74 ปกรณ์ 1334 ผูก ล้วนเป็นการแปลออกมาตลอดทั้งฉบับ ผลงานการแปลคัมภีร์ของท่าน ได้มีอิทธิพลต่อวงการพระพุทธศาสนาในยุคสมัยของท่าน และยุคต่อๆมา ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นระเบียบวิธีการแปล กระแสการศึกษาวิชาโยคาจารซึ่งเป็นพระพุทธศาสนาแนวอภิปรัชญา และวิชาเหตุวิทยา จนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "สี่นักแปลผู้ยิ่งใหญ่" (พระกุมารชีพ พระปรมรรถ พระอโมฆวัชระ) เป็นผู้ทำให้มีการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศจีนและประเทศอินเดียขึ้น อย่างเป็นทางการ
https://www.dmc.tv/pages/ความรู้รอบตัว/พระถังซัมจั๋ง-Monk-Xuanzang.html
เคยสงสัยมานานแล้วว่า พระถังซำจั๋งท่านอัญเชิญอะไรมาบ้างนอกจากคัมภีร์พระไตรปิฎก เพราะท่านได้เดินทางไปศึกษาและปฏิบัติภารกิจในที่ต่างๆ มากมายเป็นเวลากว่า 19 ปี เวลากลับมาที่จีนย่อมนำสิ่งของศักดิ์และสำคัญกลับเมืองจีนด้วย
ในหนังสือ พระถังซำจั๋ง ชีวิตจริงไม่อิงนิยาย ของอุษา โหละจรูญ ซึ่งเป็นหนังสือที่กล่าวถึงบรรยายประวัติพระถังซำจั๋งได้ดีที่สุดเล่มหนึ่ง ในหนังสือเล่มนี้หน้า 64-65 ได้เขียนถึงตอนที่พระเจ้าศีลาทิตย์ ส่งพระถังซำจั๋งกลับสู่ประเทศจีนอย่างยิ่งใหญ่ และมอบค่าเดินทางให้ด้วย และที่สำคัญ"ทรงมีพระราชสาสน์ที่จารึกอักษรลงบนผ้ากรรปาสิก ลงครั่งประทับตราของพระองค์ ให้ข้าหลวงถือไปยังแคว้นต่างๆ ที่สมณะเสวียนจั๋งต้องจาริกผ่านไป ให้ช่วยจัดยวดยานพาหนะ บรรทุกพระไตรปิฎก พระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปต่างๆ รับส่งต่อกันไปจนถึงชายแดนประเทศจีน อีกทั้งจัดเจ้าหน้าที่ล่ามภาษาอีก 4 คนร่วมไปกับคณะเดินทางด้วย"
การศึกษาชีวิตและผลงานด้านวรรณกรรมพระพุทธศาสนาของสมณะเสวียนจั้ง (พระถังซัมจั๋ง) (๒๕๔๗) นางสาวอุษา โลหะจรูญhttp://www.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=131
แต่น่าเสียดายในหนังสือไม่ได้บอกรายละเอียดว่าพระบรมสารีกธาตุ และพระพุทธรูปต่างๆ จำนวนเท่าไรและมีอะไรบ้าง เมื่อได้ค้นอย่างละเอียดจึงได้พบข้อมูลอันสำคัญจากบันทึกของชื่อฮุ่ยหลี่ (玄奘的弟子慧立) ศิษย์พระเสวียนจั๋ง ทำให้เราทราบรายละเอียดว่า พระเสวียนจั๋งได้อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ 150 องค์, พระพุทธรูปทั้งหมด 7 องค์ เป็น พระพุทธรูปทองคำ 2 องค์, พระพุทธรูปเงิน 1 องค์, พระพุทธรูปแก่นจันทน์ 4 องค์, พระสูตร 657 สูตร ดังหลักฐานที่ปรากฏว่า
ข้อมูลพระพุทธรูป 7 องค์ที่นำมาจากอินเดีย จาก 《大唐大慈恩寺三藏法师传》 การบันทึกของ ศิษย์พระเสวียนจ้างชื่อฮุ่ยหลี่ (玄奘的弟子慧立)
《大唐大慈恩寺三藏法師傳》卷6:「即以安置法師於西域所得如來肉舍利一百五十[24]粒;摩揭陀國前正覺山龍窟留影金佛像一軀,通光座高三尺三寸;擬婆羅痆斯國鹿野苑初轉法輪像,刻檀佛像一軀,通光座高三[25]尺五寸;擬憍賞彌國出愛王思慕如來刻檀寫真像,刻檀佛像一軀,通光座高二尺九寸;擬劫比他國如來自天宮下降寶階像,銀佛像一軀,通光座高四尺;擬摩揭陀國鷲峯山說《法花》等經像,金佛像一軀,通光座高三尺五寸;擬那揭羅曷國伏毒龍所留影像,刻檀佛像一軀,通光座高尺有[26]五寸;擬吠舍釐國巡城行化,[27]刻檀像等。」
(CBETA, T50, no. 2053, p. 252, b21-c4)
[24]粒+(金佛像一軀通光座高尺六寸擬)十三字【甲】。[25]尺+(有)【宋】【元】【明】【宮】【甲】。[26]五=三【宋】【元】【明】【宮】【甲】。[27]〔刻檀〕-【甲】。
ข้อมูลพระพุทธรูป 7 องค์ที่นำมาจากอินเดีย จาก 《大唐大慈恩寺三藏法师传》 การบันทึกของ ศิษย์พระเสวียนจ้างชื่อฮุ่ยหลี่ (玄奘的弟子慧立) บันทึกในผูกที่ 6 จากทั้งหมด 10 ผูก โดยสาระที่นำมาเสนอคือ พระเสวียนจ้างได้อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ 150 องค์, พระพุทธรูปทั้งหมด 7 องค์ เป็น พระพุทธรูปทองคำ 2 องค์, พระพุทธรูปเงิน 1 องค์, พระพุทธรูปแก่นจันทน์ 4 องค์, พระสูตร 657 สูตร
โดยส่วนที่สนใจเป็นพิเศษคือข้อมูลพระพุทธรูป 7 องค์ที่นำมาจากอินเดีย โดยเฉพาะพระพุทธรูปแก่นจันทน์ 4 องค์ที่นำมาด้วย เมื่อสืบค้นตามหาจึงพบข้อมูลดังนี้ เนืองจากพระพุทธรูปองค์จริงยังตามหาไม่พบ ในเอกสารบอกเพียงลักษณะปางอะไรไว้ และบางองค์ที่พบก็สร้างจำลองไว้ตามแบบเดิมอีกที่หนึ่ง หลักฐานพระพุทธรูปต่างๆ ตามต่อไปนี้ เราได้นำมาใส่แทนเพื่อให้เห็นภาพและนึกภาพออก
1. 摩揭陀國前正覺山龍窟留影金佛像一軀,通光座高三尺三寸;
รูปปั้นพระพุทธรูปทองคำจำลองจากแคว้นมคธ ลักษณะพระพุทธรูปพระโพธิสัตว์ ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา ประทับนั่งขัดสมาธิ ในถ้ำดงคสิริ(สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนที่จะทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตำบลพุทธคยา จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย (ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในสมัยพุทธกาล) สูง 3 ฟุต 3 นิ้ว
2. 擬摩揭陀國鷲峯山說《法花》等經像,金佛像一軀,通光座高三尺五寸;
พระพุทธรูปทำจากทอง จากเมืองมคธ ลักษณะพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสัทธรรมปุณฑริกสูตร (สันสกฤต: सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र, Saddharma Puṇḍarīka Sūtra) ที่พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ (靈鷲山(梵文Gṛdhrakūṭa),梵名中譯鷲峰山) สูง 3 ฟุต 5 นิ้ว
ปางแสดงธรรมด้วยสองพระหัตถ์ พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ จีบพระอังคุฐกับพระดัชนีเข้าด้วยกันซึ่งพระอมิตาภพุทธะเป็นที่แพร่หลายขึ้นในประเทศจีน จาก พระพุทธศาสนามหายานนิกายสุขาวดี
3. 擬劫比他國如來自天宮下降寶階像,銀佛像一軀,通光座高四尺;
พระพุทธรูปทำจากเงิน จากเมืองสังกัสนคร ลักษณะพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก สูง 4 ฟุต
พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์จากพระพุทธรูปในพิพิธภัณฑ์เมืองลั่วหยาง ลักษณะพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คาดว่าทำหรือได้รับศิลปะในการทำจากสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก พ.ศ.763
4. 擬婆羅痆斯國鹿野苑初轉法輪像,刻檀佛像一軀,通光座高三尺五寸;
พระพุทธรูปแกะสลักจากไม้แก่นจันทน์ จากเมืองพาราณสี ลักษณะพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร สูง 3 ฟุต 5 นิ้ว
องค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในยุคสมัยคุปตะ (Gupta Period) ประมาณปี พ.ศ. ๘๐๐-๑๒๐๐ ยุคนี้ นับว่าเป็นยุคที่มีความเจริญสูงสุด แห่งพุทธศิลป์. พระพุทธรูป ที่ถูกค้นพบ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ปางปฐมเทศนานี้ ถือกันว่า เป็นพุทธปฏิมาที่งดงามมาก
5. 擬憍賞彌國出愛王思慕如來刻檀寫真像,刻檀佛像一軀,通光座高二尺九寸;
พระพุทธรูปแกะสลักจากไม้แก่นจันทน์ จากเมืองโกสัมพี ที่กษัตริย์ทรงสิเนหาต่อพระบรมศาสดา สูง 2 ฟุต 9 นิ้ว (สันนิษฐานว่า เป็นองค์เดียวกับแก่นจันทน์ที่พระถังซำจั๋งจำลองมาจากองค์จริงที่จำลองจากพระพุทธองค์ครั้งไปแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์)
พระพุทธรูปแก่นจันทน์ปางแสดงพระธรรมเทศนาที่ยังหลงเหลือลักษณะของพระพุทธรูปนี้คือที่ พระพุทธรูปที่ถ้ำผาหลงเหมิน (จีนตัวย่อ: 龙门石窟; จีนตัวเต็ม: 龍門石窟; พินอิน: lóngmén shíkū, หลงเหมินฉือคู) เป็นกลุ่มถ้ำบนหน้าผา ห่างออกไปทางใต้ 12 กิโลเมตรจากเมืองลั่วหยาง ในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน
หรือพระพุทธรูปแก่นจันทน์อาจจะคล้ายพระพุทธรูปปางนี้? ที่อชันตาถ้ำที่ 26
6. 擬那揭羅曷國伏毒龍所留影像,刻檀佛像一軀,通光座高尺有五寸;
พระพุทธรูปแกะสลักจากไม้แก่นจันทน์ จากนครหาระ คือเมืองเจลาลาบาท ประเทศอัฟกานิสถาน ( "那揭罗曷"是梵文Nagarahāra的音译。那揭罗曷国的旧地,在今阿富汗南部的贾拉拉巴德(Jelālābād)地区 ) ลักษณะปางนาคปรก สูง 5 นิ้ว
7. 擬吠舍釐國巡城行化,刻檀像等。
พระพุทธรูปแกะสลักจากไม้แก่นจันทน์ จากเมืองเวสาลี (跋阇国的名称音译又作:跋耆国、拔祗国、越祇国等;都城与国家名称混用的音译又作:吠舍离国(《佛国记》)、吠舍釐国(《大唐西域记》卷七)、吠舍厘、毘舍离、毗耶离、鞞舍离、维耶、维耶离、鞞舍隶夜等。意译为:广博严净城、庄严、广严城、好稻城、好成城等。) ลักษณะปางลีลา ไม่มีบันทึกขนาดความสูง
ปางนาคาวโลก
เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแห่งพระองค์แก่พระอานนท์แล้ว พระพุทธองค์พร้อมพระสงฆ์สาวก 500 องค์ เสด็จไปยังเมืองไพศาลี (เวสาลี) ประทับ ณ กุฎาคารศาลา ป่ามหาวัน แสดงพระธรรมเทศนาโปรดแก่กษัตริย์ลิจฉวีทั้งปวง จากนั้นจึงทรงรับนิมนต์เสด็จไปรับภัตตาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น หลังจากทรงรับอาหารบิณฑบาตและทรงทำภัตตกิจแล้ว จึงเสด็จออกจากเมืองไพศาลี ทรงประทับยืนนอกประตูเมือง เยื้องพระวรกายผินพระพักตร์ทอดพระเนตรเมือง ตรัสว่า “ตถาคตจะเล็งแลเมืองเวสาลีเป็นปัจฉิมทัศนาการในคราวนี้เป็นที่สุด จะมิได้กลับมาเห็นอีกต่อไป” สถานที่แห่งนั้นจึงมีชื่อปรากฏว่า“นาคาวโลกเจดีย์”
สรุปว่า พระพุทธรูปที่พระถังซำจั๋งอัญเชิญไปจากอินไปสู่ประเทศจีนนั้น มีพระบรมสารีริกธาตุ 150 องค์, พระพุทธรูปทั้งหมด 7 องค์ เป็น พระพุทธรูปทองคำ 2 องค์, พระพุทธรูปเงิน 1 องค์, พระพุทธรูปแก่นจันทน์ 4 องค์ และพระสูตร 657 สูตร เราก็ได้ความรู้เรืองพระพุทะรูป 7 องค์และมีองค์พระพุทธรูปแ่นจันทน์ 4 องค์มีปางปฐมเทศนาทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปางพระแก่นจันทน์(เมื่อครั้งไปแสดงธรรมที่ดาวดึงส์โปรดพุทธมารดา) ปางนาคปรก และปางลีลาซึ่งเป็นปางที่หาได้ยากไม่ค่อยพบในสมัยนั้น ส่วนการตามหาพระแก่นจันทน์จะเป็นอย่างไรโปรดติดตามตอนต่อไป